กุหลาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rose)

กุหลาบ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Eocene–Recent
Rosa rubiginosa กุหลาบป่าที่พบในยุโรปและเอเชียตะวันตก
Rosa 'Precious Platinum', กุหลาบพันธุ์สวนแบบ hybrid tea
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
วงศ์ย่อย: Rosoideae
เผ่า: Roseae
สกุล: Rosa
L.[1]
ชนิดต้นแบบ
Rosa cinnamomea
L.[2]
ชนิด

ดูรายการชนิด Rosa

ชื่อพ้อง[3]
  • Bakeria (Gand.) Gand., nom. illeg.
  • Chabertia (Gand.) Gand.
  • Chavinia (Gand.) Gand.
  • Cottetia (Gand.) Gand.
  • Crepinia (Gand.) Gand., nom. illeg.
  • Ernestella Germ.
  • Hesperhodos Cockerell
  • Hulthemia Dumort.
  • × Hulthemosa Juz.
  • Juzepczukia Chrshan.
  • Laggeria (Gand.) Gand.
  • Lowea Lindl.
  • Ozanonia (Gand.) Gand.
  • Platyrhodon Decne. ex Hurst, nom. illeg.
  • Pugetia (Gand.) Gand.
  • Rhodophora Neck., nom. invalid.
  • Rhodopsis (Endl.) Rchb., nom. rejic.
  • Ripartia (Gand.) Gand.
  • Saintpierrea Germ.
  • Scheutzia (Gand.) Gand., nom. illeg.

กุหลาบ คือดอกไม้ในสกุล Rosa ในวงศ์ Rosaceae ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

กุหลาบ เป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกมาแต่โบราณ ว่ากันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อ 70 ล้านปีมาแล้ว และเคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแต่ก่อนกุหลาบนั้นเป็นกุหลาบป่าและมีรูปร่างไม่เหมือนในทุกวันนี้ แต่เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์จนขยายเป็นพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย

ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์ก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอกส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน เพราะชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมาก แม้ว่าจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังลงทุนสร้างสถานที่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย เพราะสำหรับชาวโรมันแล้วดอกกุหลาบนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน อีกทั้งชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก เป็นทั้งของขวัญ และเป็นดอกไม้สำหรับทำมาลัยต้อนรับแขก รวมถึงเป็นดอกไม้สำหรับงานฉลองต่าง ๆ แถมยังเป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ และยาได้อีกด้วย

ถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความโรแมนติก โดยมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของเทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงามและความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่า ดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ ที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม

แม้จะไม่มีการบันทึกอย่างชัดเจนว่าดอกกุหลาบนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยตอนไหน แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ว่า เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก็ได้มีการกล่าวถึงกุหลาบเอาไว้ และยังมีตำนานดอกกุหลาบของไทยที่เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มาก แต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาปให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา

ผลิตภัณฑ์[แก้]

1. เป็นส่วนประกอบของยา ในสมัยเมดิเตอเรเนียนโบราณ

2.เครื่องหมายแสดความภักดี ใช้สื่อความหมาย ความปรารถนาที่เร้าอารมณ์ และความหรูหรา

3.ธูป มาลัย น้ำหอม ไวน์ สบู่

ความหมายของสี[แก้]

สีแดง สื่อความหมายถึง "รักคุณเข้าแล้ว" ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

 สีชมพู สื่อความหมายถึง "ฉันจะรักและดูแลคุณตลอดไป" ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

 สีขาว สื่อความหมายถึง "ฉันรักคุณด้วยความบริสุทธิ์ใจ" ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

 สีเหลือง สื่อความหมายถึง "เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ"

 สีส้ม สื่อความหมายถึง "ฉันรักคุณเหมือนเดิมนะ" [ต้องการอ้างอิง]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

กุหลาบเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความยาวประมาณ 30-200 เซนติเมตร ลำต้นเตี้ยและสูง มีหนามหรือไม่มี แล้วแต่ชนิดพันธุ์ลำต้นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านมารอบต้นใบเป็นใบรวมแตกออกจากกิ่งก้านก้านใบจะมีหูใบติด อยู่ด้วยลักษณะใบโคนใบมนปลายใบแหลมขอบใบมีหยักเล็กน้อย ตัวใบนิ่มมีสีเขียวใบจะออกจากก้านใบเป็นคู่ขนาดความกว้างของ ใบประมาณ 2- 4 เซนติเมตรยาวประมาณ3 - 5เซนติเมตรดอกเป็นดอกเดี่ยวมีก้านดอกยาวแตกออกจากปลายกิ่งหรือง่ามใบที่กิ่ง ลักษณะดอกเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆประมาณ 4-6 ชั้นดอกมีกลีบ 5-15 กลีบขอบดอกเรียบตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย อยู่รวมกันดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกบานมี ความกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นใบดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

สำหรับประเทศไทย พันธุ์กุหลาบที่ใช้ปลูกเป็นไม้มงคล

1. พันธุ์สีขาว ได้แก่ - Misty Morn - Blanche Mallerine - White Christmas

2. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ - King's Ransom - Golden Master Piece

3. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ - Christian Dior - Swarthmore - Scarlet Knight

4. พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ - Bel Ange - Queen Elizabeth

5. พันธุ์ดอกสีแสด ได้แก่ - Super Star - Tanya

6. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ - Blue Moon

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ[แก้]

กายวิภาคของกุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ ค.ศ. 2022 มีการซื้อขายถึง 900 ล้านดอลล่าสหรัฐ และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้นละผู้ซื้อรายใหญ่ คือ USA 713 ล้านดอลล่าสหรัฐ

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น

ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น

ประเภท[แก้]

กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้ จัดอยู่ในประเภทไม้ดอก

  • กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ลักษณะ
    1. ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่
    2. กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกตั้งแต่ 25-50 กลีบหรือมากกว่า
    3. ก้านดอกแข็งแรง และตั้งตรง
    4. ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร
    5. ในประเทศไทยออกดอกตลอดปี
    6. แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี
    7. ออกดอกสม่ำเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ๆ
    8. ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร
    9. ลำต้นตั้งตรง ซึ่งจะทำให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่
    10. ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง
    11. ฟอร์มดอกดี ทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม
    12. กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก
    13. กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง
    14. ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย
    15. ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว
    16. ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้)

พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า

พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์, นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน

พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา

พันธุ์ ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์

พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา

พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์

นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม

  • กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วงขาว) เป็นต้น
  • กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
  • กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
  • กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี
  • กุหลาบเลื้อย (Climbing roses) เป็นประเภท Climber (Cl) นิยมปล่อยให้เลื้อยเกาะไปตามซุ้มต้นไม้ เรือนต้นไม้ แนวกำแพง แนวรั้ว ลักษณะ
    1. มีความสูงตั้ง 12 ฟุตขึ้นไป
    2. ดอกอาจจะออกเป็นพวก หรือดอกเดี่ยวขนาดใหญ่
    3. ลำต้น กิ่งทอดยาวอ่อนโค้งได้ไกล
  • Polyantha (Pol) เป็นลูกผสมระหว่าง Rosa Multiflora กับ Rosa Chinensis ลักษณะ
    1. มีขนาดพุ่มเตี้ย แข็งแรง ทนทาน
    2. ออกดอกเป็นพวกลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนู
    3. Polyantha จะมีหูใบที่มีลักษณะของ Rosa Multiflora

การคัดเลือกสายพันธุ์[แก้]

การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้

  1. มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
  2. อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถบานได้ทนถึง 16 วัน
  3. กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
  4. กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
  5. สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
  6. กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
  7. มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง

กุหลาบเป็นพืชไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าไม้ดอกอื่น ๆ หลายชนิด คือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด  การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง  ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. การเพาะเมล็ดกุหลาบ

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที  ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน  จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป  แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่  ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

ก.  การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว  อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1. นำฝักกุหลาบที่แก่เต็มที่ไปฝังไว้ในกระบะที่บรรจุทรายชื้น เก็บไว้ในอุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮน์  เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว จึงเอาฝักกุหลาบมาแกะเอาเมล็ดเพาะ

2.  เมื่อตัดฝักกุหลาบมาจากต้น นำมาผ่าครึ่งด้วยมีด ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้เขี่ยเอาเมล็ดออกมา  เมล็ดกุหลาบมีลักษณะคล้ายเมล็ดแอปเปิ้ล ขนาดใกล้เคียงกัน (ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์)ฝักหนึ่ง ๆ อาจจะมีถึง 70 เมล็ด(5-70)

ข.  การเพาะเมล็ด  หลังจากเมล็ดงอกรากออกมาแล้ว  นำเอาไปเพาะในกระถาง หรือกระบะเพาะต่อไป ในต่างประเทศใช้ส่วนผสมสูตรของ จอห์น  อินเนส(John Innes) โดยมีส่วนผสมดังนี้

1)  ดินร่วน 2 ส่วน

2)  พีทมอส 2 ส่วน

3)  ทรายหยาบ 1  ส่วน

2. การตอนแบบทับกิ่ง 

เป็นการขยายพันธุ์กุหลาบเลื้อยที่ทำกันมานานแล้ว  ปัจจุบันยังมีทำกันอยู่บ้าง  ด้วยเหตุที่ให้ผลดีและแน่นอน  มีข้อเสียอย่างเดียวคือได้จำนวนน้อยและเสียเวลา

กิ่งที่ใช้ตอน  ควรจะเป็นกิ่งที่เคยให้ดอกมาแล้ว (ไม่อ่อนเกินไป) เป็นกิ่งอวบสมบูรณ์  ควั่นกิ่งให้ห่างจากยอดประมาณ 6-8 นิ้ว ความยาวของรอยควั่นประมาณครึ่งนิ้ว ลอกเอาเปลือกออก  ขูดเอาเยื่อเจริญออกให้หมด  ทาด้วยฮอร์โมนเร่งราก เอ็น .เอ็น.เอ.  ผสมกับ ไอ.บี.เอ. ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ความเข้มข้น 4,500 ส่วนต่อล้าน (ppm) ทิ้งไว้ให้แห้ง  หุ้มด้วยขุยมะพร้าวเปียก  หรือกาบมะพร้าวที่ทุบให้นุ่ม  แล้วแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนในต่างประเทศใช้สแพกนั่มมอสชื้น ๆ ห่อด้วยแผ่นพลาสติก  มัดหัวท้ายให้แน่นประมาณ 10-12 วันจะมีรากงอกออกมา  สามารถตัดไปปลูกได้

3. การขยายพันธุ์กุหลาบด้วยวิธีการต่อกิ่งและการติดตา

  • การต่อกิ่ง (grafting)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  นิยมทำกับกุหลาบที่ปลูกในกระถาง  ไม่นิยมทั่วไป  เพราะเสียเวลาและไม่มีความแน่อน  อีกทั้งต้องใช้ฝีมือพอสมควร

  • การติดตา (budding)

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะสามารถขยายพันธุ์ดีได้เร็วกว่า คนที่มีความชำนาญในการติดตา  จะสามารถทำการติดตาได้มากกว่า 1,000 ต้นต่อวัน ต่อสองคน อีกทั้งยังสามารถคัดเลือกต้นตอทีเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่น  และแต่ละพันธุ์ของกุหลาบพันธุ์ดีที่จะนำมาติด

นอกจากนี้  ถ้าตาพันธุ์ดีที่นำมาติดสามารถเข้ากันได้ดีกับต้นตอ  จะช่วยส่งเสริมความดีเด่นในลักษณะต่าง ๆ ของกุหลาบพันธุ์ดีที่นำมาติดด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นกุหลาบที่ใช้เป็นต้นตอส่วนมากจะมีระบบรากที่แข็งแรงกว่ากุหลาบพันธุ์ดี  ทำให้การปลูกกุหลาบแต่ละครั้งมีอายุให้ผลยาวนานและผลผลิตสูงกว่าการปลูกกุหลาบจากการตอนกิ่ง  หรือการตัดชำ

กุหลาบที่ใช้ทำเป็นต้นตอ ส่วนมากเป็นกุหลาบป่า (Wild species) หรือกุหลาบเลื้อยบางพันธุ์  กุหลาบแต่ละชนิด แต่ละพันธุ์ ใช่ว่าจะเป็นต้นตอที่ดีที่สุดของกุหลาบพันธุ์ดีทุกพันธุ์เสมอไป

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก[แก้]

พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว

การดูแล[แก้]

การให้น้ำ[แก้]

ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5

การให้ปุ๋ยก่อนปลูก[แก้]

ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ

  1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
  2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้

ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก[แก้]

ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร[แก้]

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)

การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร

สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ

  1. ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
  2. ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
  3. ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9

การตัดแต่งกิ่ง[แก้]

การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูกเมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี

การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ

การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี

โรค[แก้]

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา

  • โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
  • โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
  • โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
  • โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
  • โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
  • โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

แมลงและไรศัตรู[แก้]

  1. ไรแดง (Spider mite)
  2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
  3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
  4. หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
  5. ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
  6. เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
  7. เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)

การเก็บเกี่ยว[แก้]

ระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวกุหลาบ คือ ตัดเมื่อดอกกำลังตูมอยู่หรือเห็นกลีบดอกเริ่มแย้ม (ยกเว้นบางสายพันธุ์) หากตัดดอกอ่อนเกินไปดอกจะไม่บาน ในฤดูร้อนควรตัดในระยะที่ยังตูมมากกว่าการตัดในฤดูหนาวเพราะดอกจะบานเร็วกว่า

การสกัด[แก้]

การสกัดด้วยน้้ามันสัตว์ (Extraction by animal fat) ใช้กับน้ ามันหอมระเหยที่ระเหยได้ง่ายเมื่อใช้วิธีกลั่นด้วยไอน้ า วิธีนี้จะใช้เวลานานเพราะ ต้องแช่พืชไว้ในน้ ามันหลายวัน ซึ่งน้ ามันจะช่วยดูดเอากลิ่นหอมของน้ ามันหอมระเหยออกมา วิธีนี้ใช้ ในการสกัดน้ ามันหอมระเหยจากดอกมะลิ ดอกกุหลาบ เป็นต้น เช่น

  • การสกัดด้วยไขมันร้อน ดอกไม้บางชนิด เช่น กุหลาบ ดอกส้ม ฯลฯ เมื่อเด็ดมาจากต้น แล้ว Physiological Activity จะหยุดทันทีไม่เหมือนกับมะลิ ซ่อนกลิ่น ฯลฯ ที่จะมีกลิ่นหอมออกมา ตลอดเวลา เมื่อสกัดด้วยไขมัน ร้อนจะได้น้ ามันหอมระเหยมากและกลิ่นหอมกว่าสกัดด้วยไขมันเย็น วิธีการเตรียมไขมัน เช่นเดียวกับการสกัดด้วยไขมันเย็น แต่อุ่นไขมันให้ร้อนประมาณ 80 องสา เซลเซียส แช่ดอกไม้ลงไปประมาณครึ่ง ชั่วโมงแล้ว ท าให้เย็นสุดท้าย อุ่นให้ร้อนอีกครั้งเพื่อหลอมเหลว และกรองดอกไม้ออกล้างไขมันที่ติดมา ด้วยน้ำอุ่น หรือวางบนผ้ากรองบีบ หรือ ราดน้ำร้อน ชั้นของ น้ำและไขมันจะแยกกันง่าย อาจใช้เซนติฟิวส์เข้าช่วยเอาดอกไม้ออกใช้ไขมันเติม เปลี่ยนดอกไม้สด หลายครั้งจนอิ่มตัว ไขมันร้อนมีกลิ่น น้ำมันหอมระเหยนี้เรียกว่า ปอมเปต

การสกัดสารจากดอกกุหลาบ การสกัดสารสำคัญจากพืชอาจทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่สกัด คุณสมบัติของสารใน การทนต่อความร้อน และชนิดของตัวทำละลายที่ใช้ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน

  • การหมัก (Maceration) เป็นวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืช โดยวิธีการหมักตัวอย่าง พืชกับตัวทำละลายในภาชนะที่ปิด เช่น ขวดปากกว้าง ขวดรูปชมพู่ หรือโถที่ปิดสนิท ทิ้งไว้ 7 วัน หมั่น เขย่าหรือคนบ่อย ๆ เมื่อครบกำหนดเวลาจึงค่อย ๆ รินเอาสารสกัดออก พยายามบีบเอาสารละลาย ออกจากกากให้มากที่สุด รวมสารสกัดที่ได้แล้วนำไปกรอง อาจต้องสกัดซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้สาร สกัดทั้งหมด ข้อดีของวิธีนี้คือ สารไม่ถูกความร้อนแต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองตัวทำละลายมาก
  • การแช่สกัดต่อเนื่อง (Percolation) เป็นวิธีสกัดสารสำคัญแบบต่อเนื่อง โดยใช้ เครื่องมือ Percolator วิธีการคือ นำตัวอย่างพืชมาหมักกับตัวทำละลายพอชื้น ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ พองตัวเต็มที่แล้วค่อย ๆ บรรจุตัวอย่างพืชทีละชั้นลงใน Percolator เติมตัวทำละลายลงไปให้ระดับ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Plant Name Details for Rosa". International Plant Names Index (IPNI). International Organization for Plant Information (IOPI). สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  2. "Plant Name Details for Rosa". International Plant Names Index (IPNI). International Organization for Plant Information (IOPI). สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  3. "Rosa L." Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 2024-01-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]