รีเวิร์สแทรนสคริปเทส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Reverse transcryptase)
RNA-directed DNA polymerase
ภาพโครงสร้างผลิกศาสตร์ของเอนไซม์ Reverse transcriptase ของไวรัสเอชไอวี โดย [1]
Identifiers
EC number 2.7.7.49
CAS number 9068-38-6
IntEnz IntEnz view
BRENDA BRENDA entry
ExPASy NiceZyme view
KEGG KEGG entry
MetaCyc metabolic pathway
PRIAM profile
PDB structures
Gene Ontology AmiGO / EGO

รีเวิร์สแทรนสคริปเทส (อังกฤษ: reverse transcriptase, RT) เป็นเอนไซม์ที่สร้างดีเอ็นเอคู่สม (complementary DNA, cDNA) โดยใช้อาร์เอ็นเอเป็นแม่แบบ กระบวนการนี้เรียกว่าการถอดรหัสย้อนกลับ (reverse transcription) เอนไซม์นี้ถูกใช้ในกระบวนการการทำซ้ำสารพันธุกรรมทั้งหมดของไวรัสบางชนิด เช่น เอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ถูกใช้ในการเพิ่มจำนวนของสารพันธุกรรมที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ที่เรียกว่าเรโทรทรานสโพซอน (retrotransposon) และถูกใช้ในการต่อขยายเทโลเมียร์ ณ ส่วนปลายของโครโมโซมแบบเส้นของเซลล์ยูคาริโอต กระบวนการเหล่านี้ไม่ได้ขัดต่อหลักเกณฑ์กลางของชีววิทยาโมเลกุล เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าอาร์เอ็นเอและดีเอ็นเอสามารถส่งข้อมูลกลับไปกลับมาได้ ไม่ได้เป็นการส่งข้อมูลทางเดียวเหมือนเมื่อพิจารณาการส่งข้อมูลจากดีเอ็นเอไปเป็นโปรตีน[2][3][4]

reverse transcriptase ถูกค้นพบโดย Howard Temin แห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison และโดย David Baltimore แห่ง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี ค.ศ. 1970 โดยไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1975 ร่วมกับ Renato Dulbecco สำหรับการค้นพบ

เอนไซม์ reverse transcriptase ที่ได้รับการศึกษามาพอสมควรแล้วได้แก่

การประยุกต์ใช้[แก้]

ยาต้านไวรัส[แก้]

จากการที่ไวรัสเอชไอวีใช้เอนไซม์รีเวิร์สแทรนสคริปเทสในการทำซ้ำสารพันธุกรรมและสร้างไวรัสตัวใหม่ (เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการเพิ่มจำนวนของเรโทรไวรัส) มียาโดยเฉพาะที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อยับยั้งกระบวนการนี้ทำให้สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ โดยรวมๆ ยาในกลุ่มนี้เรียกว่า reverse transcriptase inhibitor รวมถึงชนิดที่เป็น nucleoside และ nucleoside analogue อย่าง zidovudine, lamivudine และ tenofovir รวมถึง non-nucleoside inhibitor อย่าง nevirapine ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. PDB 3KLF; Tu X, Das K, Han Q, Bauman JD, Clark AD Jr, Hou X, Frenkel YV, Gaffney BL, Jones RA, Boyer PL, Hughes SH, Sarafianos SG, Arnold E (September 2010). "Structural basis of HIV-1 resistance to AZT by excision". Nat. Struct. Mol. Biol. 17 (10): 1202–9. doi:10.1038/nsmb.1908. PMC 2987654. PMID 20852643.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Crick F (August 1970). "Central dogma of molecular biology". Nature. 227 (5258): 561–3. Bibcode:1970Natur.227..561C. doi:10.1038/227561a0. PMID 4913914. S2CID 4164029.
  3. Sarkar S (1996). The Philosophy and History of Molecular Biology: New Perspectives. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers. pp. 187–232.
  4. Danchin É, Pocheville A, Rey O, Pujol B, Blanchet S (2019). "Epigenetically facilitated mutational assimilation: epigenetics as a hub within the inclusive evolutionary synthesis". Biological Reviews. 94: 259–282. doi:10.1111/brv.12453. S2CID 67861162.