Priming

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Priming (หมายความว่า การเตรียมการรับรู้) เป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับความจำโดยปริยายที่การเปิดรับเอาสิ่งเร้าอย่างหนึ่งมีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่ง ผลการทดลองที่มีอิทธิพลของเดวิด ไมเออร์ และรอเจอร์ ชวาเนเวลด์ท ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[1][2][3] มีผลให้เกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ priming ผลงานดั้งเดิมของพวกเขาแสดงว่า เราตัดสินใจได้เร็วกว่าว่า อักษรติด ๆ กันนั้นเป็นคำ ๆ หนึ่ง ถ้าคำนั้นตามหลังคำที่เกี่ยวข้องกันโดยความหมายหรือโดยความสัมพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกำหนดคำว่า "นางพยาบาล" ถ้าตามคำว่า "นายแพทย์" ได้เร็วกว่าถ้าตามคำว่า "ขนมปัง" งานการทดลองหลายงาน[2][3] สนับสนุนทฤษฎีว่า การเกิดการทำงานทางประสาทที่กระจายไปเกี่ยวกับคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับความง่ายขึ้นที่เห็นในแบบการทดลองที่ให้กำหนดว่าเป็นศัพท์หรือไม่เป็นศัพท์ (lexical decision task) .

ปรากฏการณ์ priming สามารถเกิดขึ้นเพราะการเกิดขึ้นซ้ำกันของสิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นโดยการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (perceptual) โดยความหมาย (semantic) หรือโดยความคิด (conceptual) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอ่านรายการศัพท์ที่รวมคำว่า "table (โต๊ะ) " ก่อน (คือมีการเตรียมการรับรู้) และภายหลังต้องเติมคำให้เต็มจากอักษรเริ่มด้วยว่า "tab" (เป็นบทการทดสอบเรียกว่า Word-stem completion test) เรามีโอกาสที่จะตอบว่า "table" มากกว่าถ้าเราไม่มีการเตรียมการรับรู้ไว้ก่อน อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราเห็นภาพร่างที่ไม่สมบูรณ์ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าคืออะไร แล้วมีการแสดงภาพร่าง ๆ ต่อ ๆ ไปจนกระทั่งสามารถระบุได้ ถ้ากลับมาดูภาพแรก ๆ ในภายหลังที่ตอนแรกไม่สามารถระบุได้ ก็จะสามารถระบุได้ว่าคืออะไรเร็วกว่าที่ดูเป็นครั้งแรก[4]

ผลปรากฏของปรากฏการณ์ priming นั้นอาจจะชัดมากและมีผลยาวนาน ชัดกว่าและยาวนานกว่าความจำในการรู้จำ (recognition memory) ธรรมดาเสียอีก[5] ผลของ priming ถึงแม้ไม่รู้ตัวก็ยังสามารถมีผลต่อการเลือกคำใน Word-stem completion test แม้ว่าจะทำการทดสอบนั้นหลังจากที่ลืมว่าเห็นคำอะไรไปนานแล้ว[5] ปรากฏการณ์นี้เกิดได้ดีที่สุดเมื่อสิ่งเร้าทั้งสองอย่างเป็นแบบ (modality) เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การเตรียมการรับรู้ทางตาดีที่สุดถ้าใช้ตัวช่วยทางตา และการเตรียมการรับรู้คำศัพท์ดีที่สุดถ้าใช้ตัวช่วยโดยคำศัพท์ แต่ priming ก็เกิดข้าม modality ได้อีกด้วย [6] หรือระหว่างคำที่มีความเกี่ยวข้องกับเช่น "นายแพทย์" และ "นางพยาบาล"[1][7]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Meyer, D.E.; Schvaneveldt, R.W. (1971). "Facilitation in recognizing pairs of words: Evidence of a dependence between retrieval operations". Journal of Experimental Psychology. 90: 227–234. doi:10.1037/h0031564.
  2. 2.0 2.1 Schvaneveldt, R.W.; Meyer, D.E. (1973), "Retrieval and comparison processes in semantic memory", ใน Kornblum, S. (บ.ก.), Attention and performance IV, New York: Academic Press, pp. 395–409
  3. 3.0 3.1 Meyer, D.E.; Schvaneveldt, R.W.; Ruddy, M.G. (1975), "Loci of contextual effects on visual word recognition", ใน Rabbitt, P.; Dornic, S. (บ.ก.), Attention and performance V, London: Academic Press, pp. 98–118
  4. Kolb & Whishaw: "Fundamentals of Human Neuropsychology" (2003), page 453-454, 457.
  5. 5.0 5.1 Tulving, Endel; Daniel L. Schacter; Heather A. Stark (1982). "Priming Effects in Word Fragment Completion are independent of Recognition Memory". Journal of Experimental Psychology: Learning, Memory and Cognition. 8 (4).
  6. ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยบางท่านใช้วิธี priming ข้าม modality เพื่อตรวจสอบความบกพร่องทางวากยสัมพันธ์ในคนไข้ที่มีความเสียหายในเขต Broca's area ของสมอง ดู
    • Zurif, E.B.; Swinney, D.; Prather, P.; Solomon, J.; Bushell, C. (1993). "An on-line analysis of syntactic processing in Broca's and Wernicke's aphasia". Brain and Language. 45 (3): 448–464. doi:10.1006/brin.1993.1054. PMID 8269334.
    • Swinney, D., E. Zurif, P. Prather, and T. Love (1993) . "The neurological distribution of processing operations underlying language comprehension." Manuscript, Department of Psychology, University of California, San Diego.
    • ดูบทความย่อที่ Zurif, E.B. (1995), "Brain Regions of Relevance to Syntactic Processing." in "Knowledge of Meaning: An Introduction to Semantic Theory", eds. Richard Larson and Gabriel Segal. MIT Press.
  7. Friederici, Angela D.; Karsten Steinhauer; Stefan Frisch (1999). "Lexical integration: Sequential effects of syntactic and semantic information". Memory & Cognition. 27 (3): 438–453. doi:10.3758/BF03211539. "Semantic priming" refers to the finding that word recognition is typically faster when the target word (e.g., "doctor") is preceded by a semantically related prime word (e.g., "nurse") .