น้ำหล่อลื่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pre-ejaculate)
น้ำหล่อลื่นหลั่งออกจากหัวองคชาตของชายมนุษย์

น้ำหล่อลื่น (อังกฤษ: pre-ejaculate, pre-ejaculatory fluid, preseminal fluid, Cowper's fluid, pre-cum) เป็นน้ำเหนียว ๆ ใส ๆ ไม่มีสีที่ขับออกมาจากท่อปัสสาวะขององคชาตชายเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ แม้จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกับน้ำอสุจิ แต่น้ำหล่อลื่นก็มีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างจากน้ำอสุจิอย่างสำคัญ ยังไม่ชัดเจนว่า มีตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่นด้วยหรือไม่ คือ มีงานวิจัยหลายงานที่ไม่พบตัวอสุจิ หรือพบแต่น้อย แต่ว่า งานวิจัยเหล่านี้ไม่สามารถให้ข้อสรุปโดยอุปนัยเพราะว่ามีจำนวนตัวอย่างน้อยเกินไป[1][2][3][4] และหลังจากนั้น ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2011 ก็มีงานวิจัยแสดงผลตรงกับข้ามอีกงานหนึ่ง ที่ไม่สามารถให้ข้อสรุปโดยอุปนัยเช่นเดียวกัน ที่พบหลักฐานที่ผสมผเส รวมทั้งชายที่มีน้ำหล่อลื่นมีความเข้มข้นของตัวอสุจิสูง[5] เชื่อกันว่า น้ำหล่อลื่นทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นและทำฤทธิ์กรดให้เป็นกลาง ผู้ชายแต่ละคนหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมาในปริมาณที่ไม่เท่ากัน และบางคนก็ไม่มีเลยด้วยซ้ำ

แหล่งกำเนิดและองค์ประกอบ[แก้]

ผู้ชายมีการหลั่งน้ำหล่อลื่นเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ เมื่อกำลังสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เมื่อมีการเล้าโลมก่อนเพศสัมพันธ์ หรือในระยะต้น ๆ ของการมีเพศสัมพันธ์ เกิดการหลั่งแม้ก่อนที่จะถึงจุดสุดยอดและก่อนการหลั่งน้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นโดยหลักเกิดจากต่อม bulbourethral gland (หรือที่เรียกว่า Cowper's gland) โดยมี glands of Littre (ซึ่งเป็นต่อมที่หลั่งเมือกลงสู่ท่อปัสสาวะ) ร่วมด้วย[6]

ปริมาณน้ำหล่อลื่นแตกต่างไปในระหว่างบุคคล และบางคนไม่มีน้ำหล่อลื่นเลยด้วยซ้ำ[7] ในขณะที่พวกอื่นอาจจะหลั่งออกถึง 5 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ช้อนชา)[2][6]

น้ำหล่อลื่นมีสารประกอบเคมีบางอย่างเหมือนน้ำอสุจิ เช่นเอนไซม์ acid phosphatase แต่ว่า สารเคมีในน้ำอสุจิบางอย่าง เช่นเอนไซม์ gamma-glutamyl transferase ก็ไม่มีเลยในน้ำหล่อลื่น[8]

หน้าที่[แก้]

ตัวอสุจิไม่ถูกกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นกรด น้ำหล่อลื่นทำฤทธิ์กรดของปัสสาวะที่ค้างอยู่ในท่อปัสสาวะให้เป็นกลาง เป็นการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวอสุจิ และแม้แต่ช่องคลอดของผู้หญิงเองก็มีฤทธิ์กรด ดังนั้น การหลั่งน้ำหล่อลื่นก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิ อาจทำให้ภาวะแวดล้อมของช่องคลอดเหมาะสมเพื่อการอยู่รอดของตัวอสุจิ[6]

นอกจากนั้นแล้ว น้ำหล่อลื่นยังทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นในกิจกรรมทางเพศต่าง ๆ ด้วย[6] และมีบทบาทในการจับเป็นก้อน (เหมือนวุ้น) ของน้ำอสุจิ[6]

ความเสี่ยงต่อโรคและการตั้งครรภ์[แก้]

งานวิจัยต่าง ๆ พบเชื้อเอชไอวี (HIV) ในน้ำหล่อลื่นของชายผู้มีเชื้อโดยมาก[1][9][10] และการติดเชื้อเอชไอวีนั้น สามารถนำไปสู่โรคเอดส์

ความเชื่อสามัญที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 เพราะอาศัยงานวิจัยของทีมนักวิจัยทางเพศที่มีชื่อเสียงคือมาสเตอร์และจอห์นสัน[11] ก็คือ น้ำหล่อลื่นอาจมีตัวอสุจิที่สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ และมีการใช้ความเชื่อนี้เป็นฐานในการไม่ให้ใช้การดึงออก (ก่อนการหลั่งน้ำอสุจิ) เป็นวิธีคุมกำเนิด แต่ว่า ก็มีงานวิจัยบางงานที่พบว่า การดึงออกมีผลสำเร็จเท่ากับถุงยางอนามัยในการป้องกันการตั้งครรภ์[12] มีงานวิจัยงานเล็ก ๆ หลายงาน (ได้ตัวอย่างจากชายตั้งแต่ 4 ถึง 23 คน)[5] ที่สรุปว่า ไม่มีตัวอสุจิ และดังนั้น น้ำหล่อลื่นจึงไม่มีผลในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์[1][2][3][4]

แต่ว่า มีข้อจำกัดสำคัญในงานวิจัยเหล่านั้นคือ การวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำหล่อลื่นได้ทำหลัง 2 นาที "วิกฤติ" ที่หลั่งออกมา คือว่า การหาตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ในน้ำหล่อลื่นที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยที่แห้งผ่าน 2 นาทีไปแล้วด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นสิ่งที่ "ทำได้ยากยิ่ง"[5] ดังนั้น ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2011 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้รวบรวมอาสาสมัครชาย 27 คน เพื่อวิเคราะห์น้ำหล่อลื่นที่หลั่งออกภายใน 2 นาที และพบว่า ชาย 11 คนใน 27 คน (41%) มีตัวอสุจิ และใน 10 คน (37%) มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ "มีจำนวนพอสมควร" (คือตั้งแต่ 1 ล้านจนถึง 35 ล้านตัว)[5] เพื่อการเปรียบเทียบ มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า ในจำนวนคู่ครองที่ตั้งครรภ์ภายใน 1 ปีหลังเริ่มพยายาม มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิ (ต่อการหลั่งแต่ละครั้ง) น้อยกว่า 23 ล้านตัวหรือน้อยกว่านั้น[13] ถึงกระนั้น จำนวนตัวอสุจิทั้งหมด (เหมือนกับคุณสมบัติหรือค่าวัดอื่น ๆ ของน้ำอสุจิและตัวอสุจิ) ไม่ใช่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีว่า ใครมีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์[14]

เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า การปัสสาวะหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิจะล้างท่อปัสสาวะกำจัดตัวอสุจิที่เหลือ[15] ดังนั้น ผู้ที่รับการทดลองในงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ที่มีตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่น ก็ได้ทำการปัสสาวะ (บางครั้งมากกว่าหนึ่งครั้ง) ก่อนที่จะหลั่งน้ำหล่อลื่นเพื่อการวิเคราะห์ (แต่ก็ยังพบตัวอสุจิ)[5] แต่ว่า มีประเด็น 2 ข้อที่ควรพิจารณา ประเด็นแรกก็คือ นักวิจัยเสนอว่า ชายบางคนอาจจะขับตัวอสุจิไปผสมกับน้ำหล่อลื่น (แม้ว่า นักวิจัยจะไม่ได้เสนอกระบวนการที่จะให้เกิดการณ์นี้ได้) และประเด็นที่สองก็คือ นักวิจัยยอมรับว่า จริง ๆ แล้ว ผู้รับการทดลองบางคนอาจจะส่งตัวอย่างน้ำอสุจิ (ไม่ใช่น้ำหล่อลื่น) เพราะอายว่า ไม่สามารถผลิตน้ำหล่อลื่นออกมาให้เป็นตัวอย่าง[5]

การหลั่งมากเกินไป[แก้]

ในกรณีที่มีน้อย ผู้ชายบางคนอาจจะมีน้ำหล่อลื่นมากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดความอายหรือเกิดความรำคาญ มีรายงานที่แสดงผลที่น่าพอใจเมื่อบำบัดด้วยการทานยา 5-alpha-reductase inhibitor[16]

ในเคสหนึ่งเช่นนี้ แพทย์ท่านหนึ่งแนะนำให้ใช้ differential diagnosis[17] เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่เป็นอาการน้ำเมือกต่อมลูกหมากไหล (prostatorrhea) ในขณะที่เบ่งถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ[16] ก่อนที่จะเริ่มการบำบัด

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pre-ejaculate

  1. 1.0 1.1 1.2 "Researchers find no sperm in pre-ejaculate fluid". Contraceptive Technology Update. 14 (10): 154–156. October 1993. PMID 12286905.
  2. 2.0 2.1 2.2 Zukerman Z.; Weiss D.B.; Orvieto R. (April 2003). "Short Communication: Does Preejaculatory Penile Secretion Originating from Cowper's Gland Contain Sperm?". Journal of Assisted Reproduction and Genetics. 20 (4): 157–159. doi:10.1023/A:1022933320700. PMID 12762415.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Free M, Alexander N (1976). "Male contraception without prescription. A reevaluation of the condom and coitus interruptus". Public Health Rep. 91 (5): 437–45. PMC 1440560. PMID 824668.
  4. 4.0 4.1 Clark, S. (Sep 1981). "An examination of the sperm content of human pre-ejaculatory fluid". [Unpublished]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Killick SR, Leary C, Trussell J, Guthrie KA. (2011). "Sperm content of pre-ejaculatory fluid". Human Fertility. 14 (1): 48–52. doi:10.3109/14647273.2010.520798. PMC 3564677. PMID 21155689.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Chudnovsky, A. (2007). "Copious Pre-Ejaculation: Small Glands--Major Headaches". Journal of Andrology. 28 (3): 374–5. doi:10.2164/jandrol.107.002576. PMID 17251594. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help), ซึ่งอ้างอิง:
    Chughtai B, Sawas A, O'Malley RL, Naik RR, Ali Khan S, Pentyala S (April 2005). "A neglected gland: a review of Cowper's gland". Int. J. Androl. 28 (2): 74–7. doi:10.1111/j.1365-2605.2005.00499.x. PMID 15811067.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Vazquez E (1997). "Is it safe to suck?". Posit Aware. 8 (4): 15. PMID 11364482.
  8. Gohara WF (February 1980). "Rate of decrease of glutamyltransferase and acid phosphatase activities in the human vagina after coitus". Clin. Chem. 26 (2): 254–7. PMID 6101549.
  9. Pudney, J., Oneta, M., Mayer, K., Seage, G., Anderson, D. (1992). "Pre-ejaculatory fluid as potential vector for sexual transmission of HIV-1". Lancet. 340 (8833): 1470. doi:10.1016/0140-6736 (92) 92659-4. PMID 1360584. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Ilaria, G., Jacobs, J.L., Polsky, B.; และคณะ (1992). "Detection of HIV-1 DNA sequences in pre-ejaculatory fluid". Lancet. 340 (8833): 1469. doi:10.1016/0140-6736 (92) 92658-3. PMID 1360583. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Masters, W.H. (1966). Johnson, V.E. Boston, MA: Little, Brown and Company. p. 211.
  12. Jones, R.K., Fennell, J., Higgins, J.A. and Blanchard, K. (2009). "Better than nothing or savvy risk-reduction practice? The importance of withdrawal" (PDF). Contraception. 79 (6): 407–410. doi:10.1016/j.contraception.2008.12.008. PMID 19442773.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Cooper, T.G. (2010). "World Health Organisation reference values for human semen characteristics". Human Reproduction Update. 16 (3): 231–245. doi:10.1093/humupd/dmp048. PMID 19934213. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  14. Slama, R. (2002). "Time to pregnancy and semen parameters: a cross-sectional study among fertile couples from four European cities". Human Reproduction. 17 (2): 513. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  15. "Withdrawal Method". Planned Parenthood. March 2004. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.
  16. 16.0 16.1 Chudnovsky, A. and C.S. Niederberger (2007)
  17. differential diagnosis เป็นการเช็คอย่างมีระบบเพื่อระบุสิ่งหนึ่งให้ชัดเจน เมื่อมีหลายสิ่งที่เป็นไปได้