ปลาอายุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Plecoglossidae)
ปลาอายุ
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Osmeriformes
อันดับย่อย: Osmeroidei
วงศ์: Plecoglossidae
สกุล: Plecoglossus
Temminck & Schlegel, 1846
สปีชีส์: P.  altivelis
ชื่อทวินาม
Plecoglossus altivelis
(Temminck & Schlegel, 1846)
ชนิดย่อย
  • P. a. altivelis (Temminck & Schlegel, 1846)
  • P. a. chinensis Wu & Shan, 2005
  • P. a. ryukyuensis Nishida, 1988
ชื่อพ้อง
  • Salmo altivelis Temminck & Schlegel, 1846

ปลาอายุ (ญี่ปุ่น: アユ, 鮎, 年魚, 香魚; ชื่อวิทยาศาสตร์: Plecoglossus altivelis) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Plecoglossus และวงศ์ Plecoglossidae [2]

ลักษณะและวงจรชีวิต[แก้]

ปลาอายุมีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มีอายุสูงสุด 2 หรือ 3 ปี[1] แต่โดยเฉลี่ยแล้วเพียง 1 ปีเท่านั้น จึงมักถูกเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า 年魚 (โรมาจิ: toshi-gyo) หมายถึง "ปลาหนึ่งปี"[3]

ปลาอายุเป็นปลาที่สามารถพบได้ในแม่น้ำรวมถึงชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ฮ่องกง, ตอนเหนือของเวียดนาม และพบได้ในบางพื้นที่ที่ไม่ติดกับทะเล เช่น ทะเลสาบบิวะ[1] รวมถึงไต้หวัน ที่ถูกนำเข้า[1] จัดว่าเป็นปลาที่มีความสำคัญของภูมิภาคแถบนี้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งทะเล กินอาหารได้หลากหลายทั้งสาหร่าย, ครัสเตเชียน, แมลงน้ำ รวมถึงฟองน้ำ สามารถกินสาหร่ายที่เกาะอยู่ตามโขดหินได้ด้วยฟันที่เป็นรูปเลื่อย[3] แต่เมื่อถึงฤดูวางไข่จะว่ายน้ำทวนขึ้นไปวางไข่ถึงแหล่งต้นน้ำในแถบหุบเขาหรือลำธาร เหมือนกับปลาแซลมอน ในช่วงนี้ปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีสีสันสดใสกว่าปกติ ตัวผู้จะว่ายตามตัวเมียที่มองหาที่วางไข่ จากนั้นเมื่อตัวเมียเข้าประจำที่วางไข่ ตัวผู้จะเข้าไปฉีดสเปิร์มเพื่อปฏิสนธิ มักจะวางไข่ในจุดที่น้ำไหลแรงเพื่อให้ไข่ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ เมื่อวางไข่เสร็จ ลำตัวปลาจะเต็มไปด้วยบาดแผลและจะหมดแรงก่อนจะตายลงในที่สุด และจะตกเป็นอาหารแก่สัตว์อื่น [4]

ที่ญี่ปุ่น ที่เมืองเซกิ รวมถึงเมืองกิฟุ[5] ในจังหวัดกิฟุ มีประเพณีการจับปลาอายุด้วยการใช้นกกาน้ำที่แม่น้ำนางาระ โดยเป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 1,300 ปีแล้ว เรียกว่า "เทศกาลอูไก" (鵜飼) จะมีในช่วงกลางปีของทุกปี[6] จนได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสายน้ำ"[7] จัดเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกิฟุ รวมถึงจังหวัดกุมมะ ในส่วนของชื่อภาษาอังกฤษที่หมายถึง "ปลาหวาน" มาจากเนื้อที่มีรสชาติหวาน [8] โดยเป็นที่กล่าวขานกันว่ามีรสชาติหวานกลมกล่อมเหมือนแตงโม[9]

การจำแนก[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (บ้างแบ่งออกได้เป็น 2[2] หรือบางแหล่งจัดรวมเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยถือเป็นชื่อพ้องของกันและกัน)[10]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Huckstorf, V. 2012. Plecoglossus altivelis. The IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 18 February 2016.
  2. 2.0 2.1 "Plecoglossus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. 3.0 3.1 Queen of Freshwater Streams. เก็บถาวร 2014-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Food Forum. Kikkoman Global Website.
  4. "สารคดี สายน้ำ…กำเนิดชีวิต The River-Odyssey of Life ตอน 2". ช่อง 7. 2018-04-09.
  5. Cormorant-Fishing on the Nagara River. เก็บถาวร 2014-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gifu Rotary Club.
  6. "เทศกาลอูไก (鵜飼) "การจับปลาด้วยนกกาน้ำ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  7. ราชินีแห่งสายน้ำ ?ปลาอายุ? สู่ ห้องอาหารญี่ปุ่น คิสโซะ
  8. Symbols of Gifu Prefecture. Gifu Prefectural Government.
  9. Gadsby, P. The chemistry of fish. Discover Magazine 25 November 2004.
  10. Froese, R. and D. Pauly, Editors. Plecoglossus altivelis altivelis. FishBase. 2015.
  11. World Conservation Monitoring Centre 1996. Plecoglossus altivelis ryukyuensis. The IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 November February 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Takeshima, Hirohiko; Iguchi, Kei-ichiro & Nishida, Mutsumi (2005): Unexpected Ceiling of Genetic Differentiation in the Control Region of the Mitochondrial DNA between Different Subspecies of the Ayu Plecoglossus altivelis.
  • Zool. Sci. 22(4): 401–410. doi:10.2108/zsj.22.401 (HTML abstract)