ส่วนแผ่ประสาทตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Optic radiation)
ส่วนแผ่ประสาทตา
(Optic radiation)
แผนผังสี แสดงการแผ่ของประสาทตาจากเสี้ยว 4 เสี้ยวของเรตินาไปยังสมอง
แผนผังของใยประสาทตาใน internal capsule
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินradiatio optica
นิวโรเนมส์1440
TA98A14.1.08.673
A14.1.09.542
A14.1.09.547
TA25584
FMA61941
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

ส่วนแผ่ประสาทตา[1] (อังกฤษ: optic radiation, geniculo-calcarine tract, geniculostriate pathway, radiatio optica) เป็นกลุ่มแอกซอน (ลำเส้นใยประสาท, วิถีประสาท) ของนิวรอนรีเลย์ใน lateral geniculate nucleus ซึ่งเป็นส่วนของทาลามัส ที่ส่งข้อมูลการเห็นไปยังคอร์เทกซ์สายตา (ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคอร์เทกซ์ลาย) ไปตาม calcarine fissure แต่ละข้างของซีกสมองในมนุษย์จะมีวิถีประสาทเช่นนี้

ส่วนประกอบ[แก้]

ลักษณะที่เด่นของส่วนแผ่ประสาทตา ก็คือมีการแยกออกเป็นสองส่วน

แหล่งกำเนิด เส้นทาง ข้อมูล ความเสียหาย
ใยประสาทจากเรตินาครึ่งล่าง (เรียกว่า "Meyer's loop" หรือ "Archambault's loop") ต้องวิ่งผ่านสมองกลีบขมับโดยวิ่งวนปีกล่างของโพรงสมองข้าง (inferior horn of the lateral ventricle) ส่งข้อมูลของลานสายตาครึ่งบน รอยโรคในสมองกลีบขมับที่ทำความเสียหายให้แก่ Meyer's loop จะทำให้เกิดอาการ "ตาบอดเสี้ยวเดียว" (quadrantanopia) ในครึ่งบนของลานสายตา (ซีกซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับซีกสมองที่เสียหาย)
ใยประสาทจากเรตินาครึ่งบน (เรียกว่า "Baum's loop") วิ่งตรงผ่านสมองกลีบข้างไปยังสมองกลีบท้ายทอย ไปตาม internal capsule ส่วน retrolenticular (ดูรูป) ไปยังคอร์เทกซ์สายตา ส่งข้อมูลของลานสายตาครึ่งล่าง เพราะมีระยะที่สั้นกว่า ใยประสาทนี้มีความเสี่ยงต่อความเสียหายน้อยกว่า
ตาบอดเสี้ยวเดียว (quadrantanopia) ด้านบนซีกขวา เขตลานสายตาที่ตาแต่ละข้างไม่เห็นแสดงเป็นสีดำ ความเสียหายต่อลานสายตาเช่นนี้เป็นอาการเฉพาะแสดงความเสียหายต่อ Meyer's loop ด้านซ้ายของสมอง

ภาพอื่น ๆ[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Optic+radiation จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary
  • Kier LE, Staib LH, Davis, LM, Bronen, RA (1 May 2004). "MR Imaging of the Temporal Stem: Anatomic Dissection Tractography of the Uncinate Fasciculus, Inferior Occipitofrontal Fasciculus, and Meyer's Loop of the Optic Radiation". Am J Neuroradiology. 25 (5): 677–691. PMID 15140705. สืบค้นเมื่อ 2007-12-19.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • http://www2.umdnj.edu/~neuro/studyaid/Practical2000/Q34.htm เก็บถาวร 2007-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน