บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก On the internet, nobody knows you're a dog)

ภาพการ์ตูนของปีเตอร์ สไตเนอร์ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กเกอร์

On the Internet, nobody knows you're a dog ("บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา") เป็นภาษิตซึ่งเริ่มใช้ในคำบรรยายภาพการ์ตูน ของปีเตอร์ สไตเนอร์ ซึ่งตีพิมพ์ใน เดอะนิวยอร์กเกอร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2536[1][2] ในภาพการ์ตูน มีรูปหมา 2 ตัว ตัวหนึ่งนั่งบนเก้าอี้หน้าคอมพิวเตอร์ และกล่าวคำบรรยายภาพแก่หมาอีกตัวซึ่งนั่งบนพื้น[3] จนปี 2554 ภาพดังกล่าวเป็นการ์ตูนที่ได้รับการตีพิมพ์เพิ่มมากที่สุดจากเดอะนิวยอร์กเกอร์ และสเตย์เนอร์ได้รับเงินจากการตีพิมพ์ซ้ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ[1][4][5]

ประวัติ[แก้]

ปีเตอร์ สไตเนอร์ นักเขียนการ์ตูนและผู้ร่วมงานในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ตั้งแต่ปี 2522[6] กล่าวว่า ทีแรกการ์ตูนดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่ต่อมามันเกินควบคุม และเขารู้สึกคล้ายกับผู้สร้างใบหน้าสไมลีย์[1] อันที่จริง สไตเนอร์ไม่ได้สนใจอินเทอร์เน็ตขณะที่เขาวาดการ์ตูน และแม้ว่าเขามีบัญชีออนไลน์อยู่บัญชีหนึ่ง เขาระลึกได้ว่าการ์ตูนไม่ได้มีความหมายที่ "ลึกซึ้ง" ใด ๆ แต่เขาวาดเพื่อเป็นการ์ตูน "ที่มีคำบรรยายใต้ภาพ" เท่านั้น[1]

ในการสนองต่อความเป็นที่นิยมของการ์ตูน เขากล่าวว่า "ผมไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่ามันจะเป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำกว้างกว้างเช่นนั้น"[1]

บริบท[แก้]

การ์ตูนภาพนี้สร้างช่วงเวลาที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต ในช่วงก่อนหน้านั้น มีเพียงแค่วิศวกรและอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงที่การ์ตูนภาพนี้ออกมาเป็นจุดเปลี่ยน โดยอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นหัวข้ออภิปรายในนิตยสารเกี่ยวกับความสนใจทั่วไปอย่าง เดอะนิวยอร์กเกอร์ มิตช์ เคเพอร์ ผู้ก่อตั้งโลตัสซอฟต์แวร์และนักกิจกรรมอินเทอร์เน็ตยุคแรก ให้ความเห็นในบทความหนึ่งในนิตยสารไทม์ เมื่อปี 2536 ว่า "สัญลักษณ์ที่แท้จริงที่บอกว่าความสนใจที่เป็นที่นิยมได้ถึงระดับมวลชนมาถึงแล้วในฤดูร้อนนี้ เมื่อเดอะนิวยอร์กเกอร์พิมพ์ภาพการ์ตูนที่แสดงสัตว์มีเขี้ยวสองตัวที่ชำนาญคอมพิวเตอร์"[7]

การ์ตูนดังกล่าวแสดงถึงความเข้าใจในความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับความสามารถที่ผู้ใช้จะรับหรือส่งข้อความแบบไม่ระบุตัวตน ลอเรนซ์ เลสซิก แนะว่า "ไม่มีใครรู้"เพราะชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้ระบุตัวตน แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในพื้นที่ เช่น ในมหาวิทยาลัยของผู้ใช้อาจจะบังคับก็ตาม แต่การเข้าถึงก็จะเก็บสารสนเทศนี้ไว้เป็นส่วนตัว และไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด[8]

จากการศึกษาจองโมราฮาน-มาร์ติน และชูมาเชอร์ (2543) ในหัวข้ออภิปรายเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหาหรือถูกบังคับ แนะว่าการแสดงตนเองจากหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งของแรงกดดันทางใจที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์[9] วลีดังกล่าวอาจหมายความว่า "ไซเบอร์สเปซจะเป็นอิสระเพราะเพศ เชื้อชาติ อายุ หน้าตา หรือแม้แต่ 'ความเป็นสุนัข' จะหายไปหรือถูกประดิษฐ์เปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกินจริงจากความสร้างสรรค์แบบมิได้ยับยั้ง โดยมีจุดประสงค์มากมายทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย" จากความเข้าใจที่สะท้อนออกมาเป็นคำกล่าวของจอห์น กิลมอร์ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของยูซเน็ต[10] วลีดังกล่าวยังแนะให้เห็น "การปลอมตัวผ่านคอมพิวเตอร์" (computer cross-dress) และแสดงให้เห็นว่าเขามีเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ ที่แตกต่างไปจากเดิม[11] ในอีกนัยหนึ่ง "อิสรภาพที่สุนัขเลือกที่จะใช้ประโยชน์ คืออิสรภาพที่จะ 'เปลี่ยนแปลง' เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์กลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นมนุษย์กับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต"[11][12]

บ็อบ มอนคอฟฟ์ บรรณาธิการการ์ตูนจากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ กล่าวว่า "การ์ตูนดังกล่าวสะท้อนความระมัดระวังเรื่องหลอกลวงที่อาจกุขึ้นจากผู้ที่มีความรู้เรื่องเอชทีเอ็มแอลเพียงขั้นแรกเริ่ม"[13]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

การ์ตูนภาพนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับละครเวทีเรื่อง ไม่มีใครรู้ว่าฉันเป็นหมา (Nobody Knows I'm a Dog) โดยอลัน เดวิด เพอร์คินส์ ละครมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล 6 คนที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้คนในชีวิตของเขาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทำให้เขาเข้าสังคมในอินเทอร์เน็ต และใช้ความเป็นนิรนามปกปิดตนเอง[1]

ไซเบอร์ด็อก ชุดโปรแกรมอินเทอร์เน็ตของแอปเปิล ได้ชื่อนี้มาจากการ์ตูนดังกล่าว[14]

การ์ตูนที่วาดโดยคามแรน ฮาฟีซ ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กเกอร์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 นำเสนอสุนัขสองตัวกำลังเฝ้ามองเจ้าของนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ สุนัขตัวหนึ่งถามอีกตัวหนึ่งว่า "จำได้ไหมว่า บนอินเทอร์เน็ต เมื่อไรที่ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นใคร" (Remember when, on the Internet, nobody knew who you were?)[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Fleishman, Glenn (December 14, 2000). "Cartoon Captures Spirit of the Internet". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ October 1, 2007.
  2. Aikat, Debashis "Deb" (1993). "On the Internet, nobody knows you're a dog". University of North Carolina at Chapel Hill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
  3. EURSOC (2007). "New Privacy Concerns". EURSOC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Glenn Fleishman (October 29, 1998). "New Yorker Cartoons to Go on Line". The New York Times. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
  5. "January 2011 Brown's Guide Cover | Brown's Guide to Georgia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-12. สืบค้นเมื่อ 2014-11-11.
  6. January 2011 เก็บถาวร 2014-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Brown's Guide to Georgia
  7. Elmer-DeWitt, Philip; Jackson, David S. & King, Wendy (December 6, 1993). "First Nation in Cyberspace". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ March 21, 2009.
  8. Lessig, Lawrence (2006). Code: Version 2.0. New York: Basic Books. p. 35. ISBN 0-465-03914-6.
  9. Taylor, Maxwell; Quayle, Ethel (2003). Child Pornography: An Internet Crime. New York: Psychology Press. p. 97. ISBN 1-58391-244-4.
  10. Jordan, Tim (1999). "The Virtual Individual". Cyberpower: The Culture and Politics of Cyberspace and the Internet. New York: Routledge. p. 66. ISBN 0-415-17078-8.
  11. 11.0 11.1 Trend, David (2001). Reading Digital Culture. Malden, MA: Blackwell Publishing. pp. 226–7. ISBN 0-631-22302-9.
  12. Singel, Ryan (September 6, 2007). "Fraudster Who Impersonated a Lawyer to Steal Domain Names Pleads Guilty to Wire Fraud". Wired. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007.
  13. Cavna, Michael (July 31, 2013). "'NOBODY KNOWS YOU'RE A DOG': As iconic Internet cartoon turns 20, creator Peter Steiner knows the joke rings as relevant as ever". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2015.
  14. Ticktin, Neil (February 1996). "Save Cyberdog!". MacTech. 12 (2). สืบค้นเมื่อ September 3, 2011.
  15. Peter Vidani. "The New Yorker - A cartoon by Kaamran Hafeez, from this week's..." tumblr.com.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]