ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก New Zealand longfin eel)

ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์
สถานะการอนุรักษ์

Gradual Decline (NZ TCS)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
สกุล: Anguilla
J. E. Gray, 1842
สปีชีส์: Anguilla dieffenbachii
ชื่อทวินาม
Anguilla dieffenbachii
J. E. Gray, 1842

ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand longfin eel; เมารี: Tuna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla dieffenbachii) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาตูหนา (Anguillidae)

ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ เป็นปลาตูหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะที่แตกต่างจากปลาตูหนาชนิดอื่น ๆ จากครีบหลังที่ยาวกว่าครีบท้อง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 180 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 18 กิโลกรัม โดยตัวที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลกเป็นตัวเมียอายุกว่า 106 ปี น้ำหนักกว่า 24 กิโลกรัม [3] เป็นปลาที่กระจายพันธุ์เฉพาะในแหล่งน้ำจืด ตามแม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ ทั้งเกาะเหนือ และเกาะใต้ จัดเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าที่สุดด้วย โดยในช่วงปีแรกลูกปลาจะมีความยาวเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่มีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิต และจะตายหลังจากนั้น ซึ่งอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้แก่ 23 ปี สำหรับตัวผู้ 24 ปี สำหรับตัวเมีย โดยว่ายน้ำอพยพไปวางไข่กลางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่อยู่ไกลไปถึง 8,047 กิโลเมตร ในระหว่างการเดินทางนี้ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์จะเปลี่ยนตัวเองให้มีสีเข้มขึ้น ส่วนหัวเล็กลง และดวงตาโตขึ้นเกือบ 2 เท่า และไม่กินอาหาร เมื่อปลาตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ของตัวเมียแล้ว ทั้งคู่ก็จะตาย ก่อนที่ลูกปลาที่ฟักออกมาจะอพยพกลับมายังนิวซีแลนด์ตามสัญชาตญาณและกระแสน้ำในมหาสมุทร[3][4]

ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อชาวเมารี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ โดยเป็นแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่สำคัญ จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในการประมงและการเพาะเลี้ยง[3][5][6]

มีเรื่องกล่าวขานกันว่า ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์สามารถที่จะทะลวงเข้าไปในทวารหนักของแกะที่อยู่บนฝั่ง และกัดกินอวัยวะที่อยู่ภายในได้ แต่ในความจริงแล้ว ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์เป็นปลากินเนื้อ กินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา รวมถึงสัตว์ที่มีเปลือกแข็งเป็นอาหาร และเศษเนื้อหรือเลือดของสัตว์ที่ตายแล้วด้วย เมื่องับเหยื่อได้แล้วจะบิดตัวเหมือนสว่านได้ถึง 700 รอบต่อวินาที ซึ่งนับว่าเร็วกว่าสว่านไฟฟ้าเสียอีก[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pike, C.; Crook, V.; Gollock, M. (2019). "Anguilla dieffenbachii". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T197276A154802213. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T197276A154802213.en. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
  2. Goodman, J.M.; Dunn, N.R.; Ravenscroft, P.J.; Allibone, R.M.; Boubee, J.A.T.; David, B.O.; Griffiths, M.; Ling, N.; Hitchmough, R.A; Rolfe, J.R. (2014). "Conservation status of New Zealand freshwater fish, 2013" (PDF). New Zealand Threat Classification Series 7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Jellyman, D. J. (2009). Forty years on – the impact of commercial fishing on stocks of New Zealand freshwater eels (Anguilla spp.). Paper presented at the Eels at the edge: science, status, and conservation concerns. Proceedings of the 2003 International Eel symposium, Bethesda, Md.
  4. Doole, G. J. (2005). Optimal management of the New Zealand longfin eel (Anguilla dieffenbachii). Australian Journal of Agricultural and Resource Economics, 49(4), 395-411. doi:10.1111/j.1467-8489.2005.00310.x
  5. Potangaroa, J. (2010). Tuna Kuwharuwhau - The Longfin Eel.
  6. McDowall, R. M. (1990). New Zealand freshwater fishes: a natural history and guide (Rev. ed.). Auckland: Heinemann-Reed.
  7. Untold Stories, "River Monsters". สารคดีทางดิสคัฟเวอรี่แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 30 มกราคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]