Nepenthes rajah

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes rajah
หม้อล่างขนาดใหญ่ของ Nepenthes rajah บนยอดเขากีนาบาลู เกาะบอร์เนียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  rajah
ชื่อทวินาม
Nepenthes rajah
Hook.f. (1859)
จุดสีเขียวแสดงถึงการกระจายพันธุ์ของ Nepenths rajah บนเกาะบอร์เนียว
ชื่อพ้อง

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah = ราชา) เป็นพืชกินสัตว์ชนิดหนึ่งในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชถิ่นเดียวที่พบได้ในภูเขากีนาบาลูและภูเขาทามบูยูกอนที่ใกล้กันในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว[2] N. rajah ขึ้นบนดินแบบเซอร์เพนทีน ร่วน และชื้น สูงจากระดับน้ำทะเล 1500 - 2650 เมตร N. rajah ได้รับการจัดเป็นพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่อาศัยโดย IUCN และอยู่ในบัญชีที่ 1 ของ ไซเตส

N. rajah ถูกพบครั้งแรกโดยฮักฮ์ โลว (Hugh Low) บนภูเขากีนาบาลูในปี ค.ศ. 1858 และถูกจัดจำแนกลักษณะในปีนั้นเองโดยโยเซพ ดาลตัน ฮุคเกอร์และตั้งชื่อตามเจมส์ บรุค คนขาวคนแรกที่ได้ปกครองรัฐซาราวัก (White Rajah) ฮุคเกอร์เรียกมันว่า "พืชที่โดดเด่นที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา"[3] ตั้งแต่ถูกค้นพบจนเริ่มมีการปลูกเลี้ยงในปี ค.ศ. 1881 เป็นเวลายาวนานที่ N. rajah เป็นที่ต้องการอย่างมาก เป็นพืชที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในนักสะสมทั่วไปเพราะหายาก มีราคาแพง และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ จนกระทั่งมีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ราคาของ N. rajah จึงลดลงมาอย่างมาก ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เลี้ยง

N. rajah มีหม้อที่ใหญ่มาก สูงได้ถึง 35 เซนติเมตร กว้าง 18 เซนติเมตร[4] ซึ่งสามารถจุน้ำได้ถึง 3.5 ลิตร[5] และมีน้ำย่อยถึง 2.5 ลิตร ทำให้มันอาจเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ใหญ่ที่สุดในสกุล ส่วนลักษณะอื่น ๆ ของ N. rajah ไม่ว่าจะเป็นใบ สายดิ่ง ก็พบได้น้อยมากในชนิดอื่น ๆ

มีการพบซากสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในหม้อของ N. rajah (มีการยืนยันว่าพบหนูตกลงไปในหม้อของ N. rajah[6]) มันเป็น 1 ใน 2 ชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีรายการว่าสามารถดักจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ตามธรรมชาติ ซึ่งอีกชนิดหนึ่งก็คือ N. rafflesiana นอกจากนี้ยังมีสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงกบ สัตว์เลื้อยคลาน และนกบางชนิด แต่โดยปกติแล้วอาหารของมันก็คือแมลงและมด

ถึงแม้หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะดักและกินสัตว์หลายชนิดก็ตาม แต่ก็มีสัตว์บางชนิดที่ได้รับประโยชน์ซึ่งเป็นการพึ่งพากันทั้ง 2 ฝ่าย เหมือนเป็นสัญลักษณ์พิเศษประจำต้นไม้ และเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในที่อื่นได้ เรียกว่า nepenthebionts (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยหม้อข้าวหม้อแกงลิง) ในส่วนของ N. rajah เองก็มีลูกน้ำ 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ และได้ชื่อวิทยาศาสตร์ตามมันว่า: Culex rajah และ Toxorhynchites rajah

ลูกผสมตามธรรมชาติของ N. rajah กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในป่าสามารถแยกออกจากกันได้ง่ายมาก เพราะลูกผสมที่พบบนภูเขากีนาบาลู (ยกเว้น N. lowii) จะโตช้าเหมือน N. rajah ซึ่งไม่มีชนิดไหนคล้ายกับมันในตอนนี้

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

1ฮุคเกอร์ได้จัดจำแนก N. rajah เป็นสปีชีส์ในปี ค.ศ. 1859 และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เซอร์ เจมส์ บรุค คนผิวขาวคนแรกที่ได้ปกครองรัฐซาราวัก : (White Rajah) [7] คำว่า rajah ในภาษามลายูแปลว่า "ราชา" ในอดีต ชื่อของ N. rajah เขียนว่า Nepenthes Rajah[3][8][9][10][11] ซึ่งเป็นการเขียนที่ผิดหลักเกณฑ์ (ที่ถูกต้องคือ Nepenthes rajah) [12] บางครั้ง N. rajah ก็ถูกเรียกว่า Giant Malaysian Pitcher Plant (หม้อข้าวหม้อแกงลิงยักษ์แห่งมาเลเซีย) [13] หรือ Giant Pitcher Plant (หม้อข้าวหม้อแกงลิงยักษ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

คลิก [แสดง] ดูรายละเอียดทางพฤกษศาสตร์ของ Nepenthes rajah.
รายละเอียดทางพฤกษศาสตร์: ลำต้น: โดยทั่วไปทอดนอนหรือทอดชูยอด ไม่เลื้อยไต่ เนื้อหยาบ หนา 15–30 mm ยาว ≤6 m (ทั่วไป ≤3 m) มีสีเหลืองถึงเขียว เป็นปล้องรูปทรงกระบอก ≤20 cm ใบ: คล้ายแผ่นหนัง มีก้านใบสั้น มีสีเหลืองถึงเขียว ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบรูปขอบขนานตามยาว ยาว 25–80 cm กว้าง 10–15 cm, ลักษณะกลมและมียอดแบบก้นปิด, ฐานกลม, สอบเรียวไปทางก้านไป สายดิ่ง/มือจับต่อออกจากใต้ใบห่างจากยอด 2–5 cm ก้านใบมีร่องเล็กตามยาว, มีปีก ยาว ≤15 cm lหนา ≤1 cm, ขยายที่โคน, กาบหุ้มรอบลำต้น 3/4 ของเส้นรอบวง มีเส้นใบ 3–4 เส้นตามยาว (อาจมีได้ถึง 5) แต่ละข้าง โดยแยกออกจากส่วนฐานของเส้นกลางใบ วิ่งขนานในส่วนนอกเกินครึ่งของแผ่นใบ, เส้นใบรูปขนนกวิ่งเอียงทแยงไปทางขอบใบ มีลักษณะขุระไม่เรียบเสมอในส่วนนอกของแผ่นใบ สายดิ่ง/มือจับยาวพอ ๆ กับใบ คือยาว ≤50 cm หนา 5–6 mm เมื่อใกล้แผ่นใบ, หนา 10–25 mm เมื่อใกล้กับหม้อ, โค้งลง, มีสีเหลืองถึงแดง, จะเข้มขึ้นเมื่อใกล้กับหม้อ หม้อ: รูปคนโทถึงทรงรีสั้น, สูง 20–40 cm กว้าง 11–18 cm, ภายนอกมีสีแดงถึงม่วง, ผิวภายในมีสีเขียวมะนาวถึงม่วง, มีปีกเป็นชายครุย 2 ปีกวิ่งจากฐานถึงปาก จะกว้างขึ้นและเป็นชายครุยมากขึ้นเมื่อใกล้ปาก กว้าง 6–25 mm เมื่ออยู่ใต้ปาก, ส่วนชายครุยยาว ≤7 mm แต่ละส่วนมีขนาด 2–4 mm มีต่อมที่ตลอดพื้นผิวภายในหม้อ ประมาณ 300–800 ต่อม/cm², ต่อมอยู่ในส่วนล่าง (ส่วนย่อยอาหาร) มีขนาดใหญ่ ส่วนบนสูงจากกึ่งกลางขึ้นไปเรียบลื่น ปากราบถึงเฉียง, ความยาวด้านหน้าของหม้อเป็น 1/2 ถึง 2/5 ของด้านหลัง, ปากยืดไปทางฝาหม้อไปในคอยาว 2.5–4 cm เพอริสโตม (ปาก) แผ่ออก กว้าง 10–15 mm ทางด้านหน้า กว้าง 20–50 mm ไปทางฝาหม้อ, คล้ายเปลืกหอยแครง, เพอริสโตมที่ยืดที่อยู่ภายในไปในแผ่นที่ตั้งฉากกว้าง 10–20 mm, สันแต่ละส่วนมีขนาด 0.5–1 mm ที่ส่วนใน, 1–2 mm ที่ส่วนขอบนอก, เป็นฟันแยก, ฟันของขอบในมี 2 - 4 อันตลอดความยาว ฝาเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน, ส่วนปลายมล, ฐานเป็นรูปหัวใจ, ยาว 15–25 cm กว้าง 11–20 cm รูปโค้งมีสันวิ่งยาวตลอดฝาตรงกลาง เส้นสันมีขนาดครึ่งนึงของฐานล่าง สันสูง 5–10 mm จากฐาน กว้าง 3–8 mm, ไม่มีรยางค์ ผิวใต้ฝาปกคลุมไปด้วยต่อมบนสันตลอดความกว้างปาก ส่วนต่อมที่เหลืออื่น ๆ ก็จะลู่เข้าหา เดือยยาว ≤20 mm, ไม่มีกิ่ง, ขึ้นจากสันหลังของหม้อใกล้กับฝาหม้อ, หนาราว ๆ 2 mm ที่ฐาน, สอบเรียว ไม่ค่อยจะสร้างหม้อกลางและหม้อบน, รูปกรวย, เล็กกว่า, สีจืดกว่า; ปกติมีสีเหลือง, ปีกถูกลดขนาดกลายเป็นสัน ช่อดอกตัวผู้: ช่อกระจะยาว, ก้านดอกยาว 20–40 cm, หนาราว ๆ 10 mm ที่ฐาน, ราว ๆ 7 mm ที่ส่วนยอด, รูปทรงกระบอก, สีเหลืองเขียวถึงส้ม, แกนกลางยาว 30–80 cm, ทำมุมและเป็นร่อง, สอบเรียว ก้านดอกส่วนล่างยาว 20–25 mm, มี 2 ดอก, เอียงดอกหนึ่งสูงกว่าอีกดอกที่เอียงสั้นกว่า ไม่มีใบประดับ ดอกมีสีน้ำตาลอ่อนถึงเหลือง, ส่งกลิ่นหอมแรง กลีบรวมรูปรีถึงรูปขอบขนาน, ยาว ≤8 mm, มล, สีม่วงองุ่น เส้าเกสรแข็งยาว 3–4 mm, อับเรณูใน 1 ของ 1 1/2 เป็นวงรอบ ช่อดอกตัวเมีย: ทั่วไปคล้ายช่อดอกตัวผู้, แต่กลีบรวมลู่แคบ ผลมีก้านดอกย่อยสั้นยาว 10–20 mm, หนาพอ ๆ กัน, สอบเรียวเล็กน้อยทั้งหัวและท้าย, สีส้มน้ำตาล, ลิ้นกว้าง 2.5–4 mm เมล็ดรูปเส้นด้ายยาว 3–8 mm, นิวเคลียสมีรอยย่นเล็กน้อย สิ่งปกคลุม: ทุกส่วนถูกปกคลุมด้วยขนยาว, ร่วงง่าย, สีขาวหรือน้ำตาลเมื่อยังมีอายุน้อย, เมื่อโตเต็มที่จะเรียบเกลี้ยง ลำต้นมีขนกางยาวสีน้ำตาลเมือยังเล็ก, และเรียบเกลี้ยงหลังจากนั้น หม้อมีขนสีน้ำตาลกางยาวหนาแน่นเมื่อยังเด็ก, เมื่อหม้อโตขึ้นจะมีบาง ๆ หรือไม่มีเลย ช่อดอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่นเมื่อยังเล็ก, หลังจากนั้นจะมีเพียงบาง ๆ ในส่วนล่าง, สิ่งปกคลุมจะติดทนในส่วนบนก้านดอกและบนวงกลีบรวม, รังไข่มีขนแนบชิดหนาแน่น, ผลจะมีขนเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อื่น ๆ : สีของตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์พืชมีสีน้ำตาลเข้มมากบ้างน้อยบ้าง[11][14]
หม้อล่างและหม้อบนของต้นที่โตเต็มที่

Nepenthes rajah เป็นไม้เลื้อยเหมือนกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในสกุล ลำต้นทอดยาวไปบนดิน และจะยึดเกี่ยวเพื่อดึงตัวสูงขึ้น เมื่อเจอวัตถุที่สามารถค้ำจุนมันได้ ลำต้นหนา (≤30 มิลลิเมตร) ยาวประมาณ 3 เมตร และอาจยาวได้ถึง 6 เมตร[15] N. rajah ไม่สร้างไหลเหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น แต่จะแตกกอแทน เมื่อมีอายุมากขึ้น

ใบ[แก้]

ใบถูกสร้างขึ้นมาตลอดลำต้นด้วยระยะห่างที่เท่า ๆ กัน และยึดติดกับลำต้นไว้ด้วยก้านใบที่ยาวลู่ไปตามใบจรดสายดิ่ง ปลายสายดิ่งจะมีตุ่มนิ่ม ๆ เล็ก ๆ เมื่อถูกกระตุ้นทางสรีรวิทยาก็จะพัฒนาจนกลายเป็นกับดัก ด้วยเหตุนี้หม้อนั้นพัฒนามาจากใบไม่ใช่ดอกอย่างที่เข้าใจกัน แผ่นใบมีสีเขียวเหมือนกับใบไม้ทั่วไป

ลักษณะของโล่ (หลุม) บนใบของ N. rajah

ใบของ N. rajah มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เหมือนหนัง ขอบใบพริ้วเป็นคลื่น มีลักษณะคล้ายโล่ตรงบริเวณสายดิ่งเชื่อมต่อกับข้างใต้แผ่นใบ ก่อนที่จะถึงปลายใบ ลักษณะนี้พบใน N. rajah เด่นชัดกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น และยังพบใน N. clipeata อีกด้วย อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่พบใน 2 ชนิดนี้เท่านั้น ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลาย ๆ ชนิดที่โตเต็มที่ก็จะแสดงลักษณะนี้ออกมาเหมือนกันเพียงแต่ไม่เด่นชัดเท่า ๆ นั้น สายดิ่งจะเชื่อมต่อตรงจุดห่างจากปลายใบประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร[14] มีเส้นใบ 3 - 5 ยาวขนานตามยาวไปกับแผ่นใบและเส้นใบย่อยยาวไปจรดขอบใบ ใบเป็นรูปหอกยาวประมาณ 80 เซนติเมตร กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร

หม้อ[แก้]

หม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิดมีลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกันคือประกอบได้ด้วยตัวหม้อ มีฝาหม้ออยู่ด้านบนที่คอยป้องกันน้ำฝนตกลงไปเจือจางของเหลวในหม้อ มีวงแข็งเป็นมัน หรือที่เรียกว่าเพอริสโตมล้อมรอบทางเข้าไปสู่ตัวหม้อ (ยกเว้นหม้อบนของ N. inermis ที่ไม่มี) มีปีกเป็นคู่ยาวไปตลอดด้านหน้าหม้อของหม้อล่างสันนิษฐานว่าไว้ให้แมลงไต่จากพื้นมาสู่ปากหม้อ แต่ปีกจะลดขนาดลงหรือหายไปเมื่อกลายเป็นหม้อบน สำหรับแมลงที่บินได้ที่เป็นเหยื่อหลักของหม้อบน

หม้อล่าง

N. rajah ก็เหมือนกับชนิดอื่น ๆ ในสกุล ที่ผลิตหม้อขึ้นมา 2 ชนิด หม้อล่างโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ มีสีสันมากกว่าหม้อบน เป็นรูปไข่ ในหม้อล่างสายดิ่งจะอยู่ด้านหน้าของหม้อด้านเดียวกับปากและปีก จากตัวอย่างที่เก็บได้หม้ออาจมีขนาดสูงถึง 40 เซนติเมตร สามารถจุน้ำได้ถึง 3.5 ลิตร[5] และภายในบรรจุไปด้วยน้ำย่อยถึง 2.5 ลิตร แม้ว่าโดยสว่นมากแล้วจะมีไม่เกิน 200 มิลลิลิตร[16] N. rajah อาจมีหม้อล่างใหญ่ที่สุดในสกุล คู่แข่งของมันก็เห็นจะมีเพียง N. merrilliana, N. truncata และ N. rafflesiana ไจแอนท์ฟอร์มเท่านั้น หม้อจะพบวางเอนกอยู่บนพื้นไม่ก็อยู่รอบ ๆ วัตถุที่สามารถค้ำยันมันไว้ได้ สีภายนอกของมันมีสีแดงถึงม่วง ส่วนภายในมีสีเขียวมะนาวถึงม่วง ตัดกับส่วนอื่นของต้นที่มีสีเขียวเหลือง หม้อล่างของ N. rajah สามารถแยกจากหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นบนเกาะบอร์เนียวได้ง่าย[17]

หม้อบนที่หาดูได้ยาก

เมื่อต้นโตเต็มที่ก็จะสร้างหม้อบน ที่เล็กกว่ารูปกรวยและสีสันน้อยกว่าหม้อล่าง สายดิ่งจะอยู่ด้านหลังของหม้อ หม้อบนที่แท้จริงควรเป็นเช่นนั้น แต่หม้อบนของ N. rajah กลับไม่ค่อยได้เห็นนัก เพราะลำต้นของมันไม่เคยยาวเกิน 1-2 เมตร ก่อนจะแห้งและกลายเป็นรากให้หน่อใหม่ที่แตกขึ้นมา[18]

เป็นเพราะหม้อล่างและหม้อบนมีความแตกต่างทางด้านรูปร่างลักษณะ ตามความสามารถที่ดึงดูดและจับเหยื่อต่างชนิดกัน มันจึงไม่มีหม้อกลาง

เพอริสโตมของ N. rajah มีลักษณะพิเศษเป็นจักกว้างที่ขอบ มีแดงดึงดูดใจ มีสันแคบสั้นบนเพอริสโตม มีฟันที่ปลายที่ขอบเส้นด้านในตลอดรอบปาก ปีกทั้งคู่ยาวจากสายดิ่งไปสุดใต้ปาก

ฝาหม้อของ N. rajah มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล ซึ่งเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของชนิดนี้ มีรูปไข่และมีสันหนาคล้ายกระดูกงูเรือผ่าตรงกลางยาวตลอดฝา มีเดือยเดี่ยวยื่นออกมาด้านหลังฝายาวประมาณ 20 มิลลิเมตร[4]

N. rajah มีต่อมน้ำหวานขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ทั่วทั้งหม้อ ซึ่งต่างจากชนิดอื่น ๆ ทำให้ง่ายต่อการจดจำ ในผิวของหม้อ จะมีต่อมทั้งหมดอยู่ 300 - 800 ต่อม/ตารางเซนติเมตร[11]

ช่อดอกของ N. rajah

ดอก[แก้]

เราสามารถจะเห็นดอกของ N. rajah ได้ตลอดทั้งปี ดอกจำนวนมากจะถูกสร้างขึ้นบนช่อดอกที่เกิดจากบริเวณส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกนั้นจะมีขนาดประมาณ 80 - 120 เซนติเมตร[4][5] แต่ละดอกของ N. rajah จะอยู่บนก้านดอกย่อย (ก้านคู่) หรือเป็นช่อดอกที่เรียกว่า "ช่อกระจะ" (ตรงข้ามกับช่อแยกแขนงที่มีก้านดอกย่อยหลายดอก) สีเหลืองออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ถึงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและยาวน้อยกว่า 8 มิลลิเมตร[4] N. rajah มีดอกแบบดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นเหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ฝักมีสีน้ำตาลส้ม ยาว 10 - 20 มิลลิเมตร (ดูรูป)

ลักษณะอื่น ๆ[แก้]

  • ระบบรากของ N. rajah จะยาวและแผ่ขยายออกไปกว้างมาก แม้ว่ามันจะเป็นระบบรากที่ตื้นเหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ ก็ตาม
  • ทุกส่วนของจะพบขนสีขาวเมื่อต้นไม้ยังมีอายุน้อย แต่ขนเหล่านี้จะหายไปและเปลี่ยนเป็นขนแข็ง (indumentum) แทน
  • สีของหม้อที่แห้งหรือตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์พืชที่เก็บมาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม (ดูรูป).
  • มีความแตกต่างน้อยมากในจำนวนประชาการของ Nepenthes rajah ตามธรรมชาติ และด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีรูปแบบหรือความหลากหลายอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ ยิ่งไปกว่านั้น N. rajah ยังไม่มีชื่อพ้อง[19]ไม่เหมือนกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายมากกว่า

เหยื่อ[แก้]

สัตว์เลื้อยคลานในภาพถูกพบในหม้อที่เพิ่งเปิดฝาใหม่ ๆ

Nepenthes rajah เป็นพืชกินสัตว์ที่มีเหยื่อหลายประเภท บางครั้งก็เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มีการบันทึกไว้อย่างน้อย 2 ครั้งที่พบหนูตกลงไปในหม้อ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1862 โดยสเพนเซอร์ เซนต์ จอห์น (Spenser St. John) ผู้ติดตามของฮักฮ์ โลวในการปีนขึ้นยอดเขากีนาบาลูทั้ง 2 ครั้ง[20] และในปี ค.ศ. 1988 แอนเทีย ฟิลลิปซ์ (Anthea Phillipps) และ แอนโทนี แลมบ์ (Anthony Lamb) ได้ยืนยันสิ่งที่ถูกบันทึกไว้นี้อีกครั้งด้วยการพบซากหนูอยู่ในหม้อขนาดใหญ่ของ N. rajah[6][20] ทำให้ N. rajah เป็นที่รู้กันดีว่าบางครั้งมันสามารถดักเหยื่อที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กได้ รวมถึงกบ สัตว์เลื้อยคลาน และ นกบางชนิด สัตว์พวกนี้ที่ตกลงไปในกับดักน่าจะเป็นสัตว์ป่วย หาที่หลบภัย หรือกระหายน้ำจนมาดื่มน้ำจากในหม้อของ N. rajah และแน่ใจได้ว่าร่างกายของสัตว์เหล่านั้นคงไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ปกติ[21] แต่แมลงและมดต่างหากที่เป็นเหยื่อหลักของมัน[16] สัตว์ขาปล้องอื่น ๆ เช่น ตะขาบก็มีรายงานว่าพบซากในหม้อของ N. rajah ด้วย

N. rafflesiana เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นเพียงชนิดเดียวที่มีเอกสารยืนยันว่าสามารถจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติเป็นอาหารได้ ในบรูไนมีการพบซากกบ ตุ๊กแก และ จิ้งเหลนในหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้เหมือนกัน[22][21] แม้แต่หนูก็เคยมีรายงานบันทึกไว้[23] ในวันที่ 29 กันยายน ปี ค.ศ. 2006 ที่ Jardin botanique de Lyon (สวนพฤกษศาสตร์แห่งเมืองลียง) ในประเทศฝรั่งเศสได้พบว่า N. truncata ที่ได้เลี้ยงไว้ มีหนูที่กำลังเน่าอืดอยู่ในหม้อ ซึ่งมีรูปถ่ายยืนยัน[24]

ผลกระทบซึ่งกันและกันกับสัตว์[แก้]

สัตว์อิงอาศัย[แก้]

ถึงแม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะมีชื่อเสียงทางด้านดักและกินสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร แต่หม้อของมันก็ยังมีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิดหรือที่รู้จักกันในชื่อสัตว์อิงอาศัย (Fauna animals) เช่นแมลงวันและตัวอ่อนริ้น แมงมุม (โดยเฉพาะแมงมุมปู) ไร มด และปูบางชนิดเช่น Geosesarma malayanum แต่ที่พบมากที่สุดคือลูกน้ำซึ่งเป็นผู้บริโภคตัวอ่อนหรือไข่สัตว์ชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดในระหว่างการพัฒนาตัวเป็นยุง สัตว์ที่แสนพิเศษจำนวนมากนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ถ้าไม่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิง พวกมันจึงได้ชื่อว่า nepenthebionts (สิ่งมีชีวิติที่อาศัยหม้อข้าวหม้อแกงลิง) [25]

ความสัมพันธ์ที่ผสมผสานระหว่างสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก คำถามก็คือทำไมสัตว์เหล่านี้ต้องขโมยอาหารจากหม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ อะไรคือผลประโยชน์ที่ยุ่งเหยิงของทั้ง 2 ฝ่าย โดยนัยยะของการอยู่ร่วมกันที่ต้องทดลองและสืบสวนและต้องอภิปรายกันต่อไป ชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) ชี้แจงว่าผู้ถูกอิงอาศัยเป็นเหมือนกับ"บ้านที่ผู้อิงอาศัยอาศัยอยู่ ได้รับการปกป้องและอาหารจากต้นไม้ ขณะที่ผู้อิงอาศัยก็ช่วยย่อยสลายเหยื่อ และรักษาระดับแบคทีเรียให้คงที่ไว้ในระดับต่ำ" [26]

การจำแนกชนิด[แก้]

ขนาดและรูปทรงหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าสัตว์ผู้อิงอาศัยหลายชนิดจะมีการปรับตัวเป็นพิเศษให้เข้าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่อิงอาศัยอยู่ ใน N. rajah ก็ไม่เป็นข้อยกเว้น ยุง 2 ชนิดที่มีชื่อตามมันว่า Culex (Culiciomyia) rajah และ Toxorhynchites (Toxorhynchites) rajah ถูกค้นพบโดยมัสซุฮิซะ สึคะโมะโตะ (Masuhisa Tsukamoto) ในปี ค.ศ. 1989 อ้างอิงจากลูกน้ำที่ถูกเก็บตัวอย่างจากในหม้อของ N. rajah บนภูเขกีนาบาลู 3 ปีก่อนหน้า[27] ทั้ง 2 ชนิดพบว่าอาศัยอยู่ร่วมกับตัวอ่อนของ Culex (Lophoceraomyia) jenseni Uranotaenia (Pseudoficalbia) moultoni และ Tripteroides (Rachionotomyia) sp. No. 2 ซึ่งที่ยังไม่ถูกจำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน ใน C. rajah สึคะโมะโตะบันทึกไว้ว่า

ผิวลำตัวของมันถูกปกคลุมไปด้วยโพรโทซัว Vorticella ที่ยังมีชีวิต[28]

ในปัจจุบันยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับยุงชนิดนี้ที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าเป็นด้านชีววิทยาเมื่อกลายเป็นยุง ถิ่นที่อยู่ หรือความรู้ด้านแพทย์ที่สำคัญเกี่ยวกับทิศทางของโรค ซึ่งก็เหมือนกับ T. rajah ที่ไม่มีความรู้ด้านชีววิทยาเกี่ยวกับมันเลย ยกเว้นรู้แต่แค่ว่าไม่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออก

ความเสียหายที่ถูกทำลายโดนศัตรูพืช

อีกชนิดหนึ่งคือ Culex shebbearei ในอดีตมีการบันทึกว่าเป็นสัตว์ผู้อิงอาศัยใน N. rajah พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1931 โดย เอฟ.ดับเบิลยู. เอ็ดวาดซ์ (F. W. Edwards) [29] อ้างอิงจากตัวอย่างของ เอช.เอ็ม. เพนด์ลิบูรี (H. M. Pendlebury) ในปี ค.ศ. 1929 ที่เก็บจากต้นไม้บนภูเขากีนาบาลู อย่างไรก็ตามสึคะโมะโตะมีการเขียนถึงข้อมูลใหม่ในชนิดนี้เพียงเล็กน้อย

มันดูเหมือนกันจนลงความเห็นได้ว่า C. rajah เป็นชนิดใหม่ที่ไม่มีชื่อเสียงนักและรู้จักกันในชื่อของ C. shebbearei กันมาเป็นเวลานาน มากกว่าที่จะคิดว่าเกิดมี C. shebbearei และ C. rajah n. sp. อาศัยอยู่ในหม้อของ Nepenthes rajah บนยอดเขากีนาบาลู[28]

ศัตรูพืช[แก้]

ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างหม้อข้าวหม้อแกงลิงและสัตว์ท้องถิ่นนั้น ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งหมด บางครั้ง N. rajah ก็ถูกโจมตีโดยแมลงด้วยการกัดกินใบและอาจจะทั้งแผ่นใบเลยด้วยซ้ำ อีกทั้งลิงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกหากินตอนกลางคืนบางชนิดก็ฉีกทำลายหม้อเพื่อจะดื่มน้ำที่อยู่ข้างใน[30]

การจัดจำแนก[แก้]

Regiae Clade
N. maxima N. pilosa N. clipeata
N. oblanceolata * N. burbidgeae N. truncata
N. veitchii N. rajah N. fusca
N. ephippiata N. boschiana N. stenophylla **
N. klossii N. mollis N. lowii
 * ปัจจุบันถูกพิจารณาว่ามีความคล้ายคลึงอย่างมากกับ N. maxima.
 ** Danser บันทึกว่าเป็นตัวอย่างของ N. fallax.
Distribution of the Regiae
Distribution of the Regiae
 การกระจายตัวของ Regiae, โดย Danser (1928).
 Note: ปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่า N. maxima หายไปจากบอร์เนียว

Nepenthes rajah ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นเลย โดยดูได้จากหม้อที่ผิดแปลก และลักษณะรูปร่างของใบ แต่อย่างไรก็ตาม มีความพยายามที่จะพิจารณาจัดมันให้อยู่ในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง เนื่องมาจาก ความเกี่ยวเนื่องในสกุลตามหลักการอนุกรมวิธาน ที่ N. rajah มีร่วมกับชนิดอื่น ๆ ในมัน

ศตวรรษที่ 19[แก้]

หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกแบ่งเป็นสกุลย่อยครั้งแรกในปี ค.ศ. 1873 เมื่อฮุคเกอร์ได้เขียนถึงสกุลนี้ลงในเอกสารตีพิมพ์ของเขา โดยฮุคเกอร์ได้แยก N. pervillei ออกจากชนิดอื่นบนข้อเท็จจริงที่ว่าเมล็ดของชนิดนี้ไม่มีสิ่งที่ยื่นต่อออกมาเหมือนกับที่พบชนิดอื่น ๆ (คิดว่าน่าจะหมายถึง N. madagascariensis) และจัดมันให้อยู่ในสกุลย่อย Anurosperma (มาจากภาษาละติน: anuro: ปราศจากเส้นประสาท, sperma: เมล็ด) และชนิดอื่น ๆ อยู่ในสกุลย่อย Eunepenthes (มาจากภาษาละติน : eu: จริง; หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่แท้จริง)

ความพยายามครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดย กึนเทอร์ ฟอน มันน์นาเกทท์ทา นูด์ แลร์เคนเนา เบค (Günther von Mannagetta und Lërchenau Beck) ในผลงานที่ชื่อ Monographische Skizze (ภาพร่าง) [31]ของเขา เบคคง 2 สกุลย่อยที่ถูกสร้างโดยฮุคเกอร์ไว้ แต่แบ่ง Eunepenthes ออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ : Retiferae, Apruinosae และ Pruinosae N. rajah ถูกจัดอยู่ใน Apruinosae (มาจากภาษาละติน: apruinosa: ไม่แข็งเย็น) แต่มีคนเห็นด้วยกับเบคน้อยมาก และส่วนมากจะใช้แค่พื้นฐานการจัดหมวดหมู่เท่านั้น

ศตวรรษที่ 20[แก้]

มีการพิจารณาแก้ไขการจัดหมวดหมู่ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1908 โดยจอห์น มิวร์เฮด แมกฟาร์แลน (John Muirhead Macfarlane) ในเอกสารตีพิมพ์ของเขา[32] น่าประหลาดที่แมกฟาร์แลนไม่ตั้งชื่อกลุ่มที่เขาทำการแบ่ง อาจเพราะความสนใจของเขาไม่ได้มุ่งเน้นพิจารณาลักษณะการแบ่งชั้นของสกุล

ในปี ค.ศ. 1928 บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) แจงไว้ในเอกสารสัมมนาของเขาที่ชื่อ The Nepenthaceae of the Netherlands Indies (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์) ในนั้นเขาได้แบ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงออกเป็น 6 กลุ่ม (clade) จากลักษณะพื้นฐานของตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ที่เก็บไว้[33] แต่ละกลุ่มมีชื่อดังนี้: Vulgatae, Montanae, Nobiles, Regiae, Insignes และ Urceolatae. แดนเซอร์จัด N. rajah ไว้ใน Regiae (ภาษาละติน: ออกเสียง rēgia= ขนาดใหญ่) กลุ่ม Regiae แสดงตามตารางด้านขวามือ

พืชส่วนมากในกลุ่มนี้มีขนาดหม้อที่ใหญ่ รวมถึงใบกับก้านใบ มีขนหยาบสีน้ำตาลแดง มีช่อดอกแบบช่อกระจะ หม้อบนเป็นแบบทรงกรวย มีติ่งบนผิวใต้ฝาหม้อใกล้ยอด (ยกเว้น N. lowii) มีปากที่แบนราบหรือแผ่ออก ชนิดหลัก ๆ ใน Regiae ส่วมมากเป็นพืชประจำถิ่นในเกาะบอร์เนียว แต่พื้นฐานความรู้ในปัจจุบันในพืชสกุลนี้ ทำให้ต้องมีการไตร่ตรองถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกใน Regiae อย่างรอบคอบ ถึงแม้ความคล้ายคลึงจะไม่เป็นที่กล่าวถึงว่าเหมือนสกุลอื่น ๆ [34] และถึงแม้จะมีข้อขัดข้องบ้างก็ตาม แต่การจำแนกของแดนเซอร์ก็เป็นการพยายามที่ดี ที่พยายามจะทำให้ดีขึ้นจากแต่ก่อน

งานอนุกรมวิธานของแดนเซอร์ (1928) ถูกปรับปรุงใหม่โดย แฮร์มันน์ ฮาร์มส์ (Hermann Harms) ในปี ค.ศ. 1936 ฮาร์มส์แบ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็น 3 สกุลย่อย ได้แก่: Anurosperma Hooker.f. (1873) , Eunepenthes Hooker.f. (1873) และ Mesonepenthes Harms (1936) (ภาษาละติน: meso: กลาง) ชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในสกุลย่อย Anurosperma และ Mesonepenthes แตกต่างจากใน Vulgatae ที่แดนเซอร์ได้จัดไว้ ฮาร์มส์เพิ่ม N. rajah ลงในสกุลย่อย Eunepenthes ร่วมกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่ สกุลย่อย Anurosperma เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกเพียงชนิดเดียว (monotypic) ในขณะที่ Mesonepenthes มีสมาชิกเพียง 3 ชนิดเท่านั้น และเขายังเพิ่มกลุ่ม Distillatoriae (ตาม N. distillatoria) อีกด้วย

รูปร่างลักษณะของต่อม[แก้]

ในปี ค.ศ. 1976 ไซเกะโอะ คุระตะ (Shigeo Kurata) เสนอว่าต่อมในหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละชนิดและสามารถใช้แบ่งระหว่างความสัมพันธ์ใกล้ชิดในอนุกรมวิธานหรือใช้เป็นพื้นฐานในการจัดประเภทของพวกมัน คุระตะศึกษาต่อม 2 ชนิด คือ ต่อมน้ำหวานบนฝาหม้อ และ ต่อมย่อยอาหารในตัวหม้อ โดยอย่างหลังเขาแบ่งออกเป็น "ส่วนล่าง" "ส่วนบน" และ "ส่วนกลาง" ถึงแม้จะเป็นวิธีที่แปลกใหม่ที่นักพฤกษศาสตร์และนักอนุกรมวิธานที่ศึกษาในสกุลนี้ส่วนมากไม่ใส่ใจนัก แต่ก็เป็นวิธีที่ทำให้แยกชนิดที่คล้ายคลึงออกจากกันได้โดยง่าย เป็นการสนับสนุนการจัดชั้นในอนุกรมวิธานพื้นฐานในการแบ่งรูปร่างลักษณะ

การกระจายตัวของบริเวณที่มี phenolic และ leucoanthocyanins ใน N. × alisaputrana, N. burbidgeae และ N. rajah
Taxon
1
2
3
4
5
6
7
 8 
Specimen
N. × alisaputrana
+
++
3+
3+
+
++
3+
+
J2442
in vitro
+
++
3+
3+
+
++
+
+
N. burbidgeae
3+
++
3+
3+
-
+
-
-
J2484
N. rajah
-
-
+
±
++
++
3+
+
J2443
Key: 1: Phenolic acid, 2: Ellagic acid, 3: Quercetin, 4: Kaempferol, 5: Luteolin, 6: 'Unknown Flavonoid 1', 7: 'Unknown Flavonoid 3', 8: Cyanidin

±: จุดจางมาก, +: จุดจาง, ++: จุดเข้ม, 3+: จุดเข้มมาก, -: ไม่มี, J = Jumaat

แหล่งที่มา: OnLine Journal of Biological Sciences 2 (9) : 623–625.PDF

การวิเคราะห์ทางไบโอ-เคมี[แก้]

เมื่อที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ มีการใช้การวิเคราะห์ทางชีวเคมีมาใช้หาความสัมพันธ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละชนิด ในปี ค.ศ. 1975 เดวิด อี. เฟร์บรอเทอส์ (David E. Fairbrothers) et al.[35] เป็นคนแรกที่เสนอให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางเคมีกับกลุ่มรูปร่างลักษณะ โดยอยู่บนทฤษฎีที่ว่าต้นไม้ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกันจะผลิตสารประกอบทางเคมีที่ให้ผลทางอายุรเวทที่เหมือนกัน[36]

ในปี ค.ศ. 2002 การจำแนกองค์ประกอบสารพฤกษเคมีและการวิเคราะห์โครมาโทกราฟีถูกใช้ในการศึกษา สารประกอบฟีนอลิก (phenolic) และลูโคแอนโทไซยานิน (leucoanthocyanin) ในลูกผสมตามธรรมชาติและชนิดที่คาดว่าน่าจะเป็นพ่อแม่ของมัน (รวมถึง N. rajah) จากรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวัก[36] การวิจัยใช้ใบจากตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์พืช 9 ตัวอย่าง 8 จุดที่ศึกษาประกอบไปด้วย : กรดฟีนอลิก, ฟลาโวนอล (flavonol), ฟราโวน (flavone), ลูโคแอนโทไซยานิน และ ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ที่ไม่รู้จัก 1 และ 3 ถูกระบุบจากข้อมูลโครมาโทกราฟี การกระจายพันธุ์ในลูกผสม N. × alisaputrana และชนิดที่คาดว่าเป็นพ่อแม่ N. rajah และ N. burbidgeae ถูกแสดงในตารางด้านซ้ายมือ ตัวอย่างของ N. × alisaputrana ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (in vitro) ก็ถูกทดสอบด้วย

ฟีนอลิกและกรดเอลลาจิกไม่พบใน N. rajah ขณะที่ความเข้มของแคมฟ์เฟอรอล (kaempferol) พบว่าจางมาก รูปแบบโครมาโทกราฟีของ N. × alisaputrana เป็นการศึกษาตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการสืบค้นชนิดของพ่อและแม่[36]

ไมริซีทิน (Myricetin) พบว่าไม่มีในการศึกษาในอนุกรมวิธาน ความเห็นเดียวกันนี้พบในผู้ศึกษาสมัยก่อน (อาร์.เอ็ม. ซม (R. M. Som) ในปี ค.ศ. 1988; เอ็ม. เจย์ (M. Jay) และ พี. เลบเบรทอน (P. Lebreton) ในปี ค.ศ. 1972) [37][38] มีการเสนอแนะว่าการไม่มีอยู่ของสารประกอบที่กระจายเป็นวงกว้างอย่างไมริซีทินในพวกหม้อข้าวหม้อแกงลิงอาจต้องพิจารณาเตรียมการ"เพิ่มการวินิจฉัยข้อมูลสำหรับ 6 ชนิดนี้"[39]

การเรียงตัว[แก้]

บรรดาโปรตีนและนิวคลีโอไทด์ของ N. rajah มีการนำมาเรียงตัวเป็นบางส่วนหรือสมบูรณ์ทั้งหมด ดังนี้ :

ชนิดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด?[แก้]

ในปี ค.ศ. 1998 หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่โดดเด่นชนิดหนึ่งได้ถูกค้นพบในประเทศฟิลิปปินส์โดยแอนเดรส์ วิสทูบา (Andreas Wistuba) มีชื่อชั่วคราวว่า N. sp. Palawan 1 มีลักษณะคล้ายกับ N. rajah เป็นอย่างมาก ไม่ว่าทั้งหม้อ หรือรูปร่างลักษณะใบ (ภาพที่1ภาพที่2 เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนภาพที่3 เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) แต่เพราะภูมิประเทศที่ห่างไกลกันของทั้งสองชนิด ทำให้ไม่มีทางที่ทั้งสองชนิดจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ดังนั้นนี่อาจเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการบรรจบ ที่พืชทั้งสองชนิดไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเลย กลับมามีลักษณะรูปร่างที่คล้ายกัน จากการวิวัฒนาการมาคนละสถานที่ เปรียบได้กับการสะท้อนซึ่งกันและกัน ในปี ค.ศ. 2007 หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ก็ได้ถูกจัดหมวดหมู่โดยวิสทูบาและโจชีม นาซ (Joachim Nerz) เป็น N. mantalingajanensis[42]

ประวัติ และความนิยม[แก้]

ดูเพิ่ม: ลำดับเหตุการณ์ของ Nepenthes rajah และลูกผสมทางธรรมชาติของมัน
คลิก [แสดง] เพื่อดูรายชื่อ สิ่งพิมพ์, ภาพวาด, และของสะสมของ Nepenthes rajah ในยุคแรก ๆ
  • สิ่งพิมพ์: Transact. Linn. Soc., XXII, p. 421 t. LXXII (1859) ; MIQ., Ill., p. 8 (1870) ; HOOK. F., in D.C., Prodr., XVII, p. 95 (1873) ; MAST., Gard. Chron., 1881, 2, p. 492 (1881) ; BURB., Gard. Chron., 1882, 1, p. 56 (1882) ; REG., Gartenfl., XXXII, p. 213, ic. p. 214 (1883) ; BECC., Mal., III, p. 3 & 8 (1886) ; WUNSCHM., in ENGL. & PRANTL, Nat. Pflanzenfam., III, 2, p. 260 (1891) ; STAPF, Transact. Linn. Soc., ser. 2, bot., IV, p. 217 (1894) ; BECK, Wien. Ill. Gartenz., 1895, p. 142, ic. 1 (1895) ; MOTT., Dict., III, p. 451 (1896) ; VEITCH, Journ. Roy. Hort. Soc., XXI, p. 234 (1897) ; BOERL., Handl., III, 1, p. 54 (1900) ; HEMSL., Bot. Mag., t. 8017 (1905) ; Gard. Chron., 1905, 2, p. 241 (1905) ; MACF., in ENGL., Pflanzenr., IV, 111, p. 46 (1908) ; in BAIL., Cycl., IV, p. 2129, ic. 2462, 3 (1919) ; MERR., Bibl. Enum. Born., p. 284 (1921) ; DANS., Trop. Nat., XVI, p. 202, ic. 7 (1927).[11]
  • ภาพวาด: Transact. Linn. Soc., XXII, t. LXXII (1859) optima; Gard. Chron., 1881, 2, p. 493 (1881) bona, asc. 1 ; Gartenfl., 1883, p. 214 (1883) bona, asc. 1 ; Wien. Ill. Gartenfl., 1895, p. 143, ic. 1 (1895) asc. 1 ; Journ. Roy. Hort. Soc., XXI, p. 228 (1897) optima; Bot. Mag., t. 8017 (1905) optima; BAIL., Cycl., IV, ic. 2462, 3 (1919) asc. 1 ; Trop. Nat., XVI, p. 203 (1927) asc. 1.[11]
  • ของสะสม: ภูเขากีนาบาลู บอร์เนียวเหนือ, IX 1913, พิพิธภัณฑ์พืชของพิพิธภัณฑ์รัฐซาราวัก (ไม่มีดอกและผล) ; Marai-parai Spur, 1-4 XII 1915, Clemens 11073, หอพรรณไม้, พิพิธภัณฑ์พืชของสวนพฤกษศาสตร์ Buitenzorg (เพศผู้และเพศเมีย) ; 1650 m, 1892, Haviland 1812/1852, พิพิธภัณฑ์พืชของพิพิธภัณฑ์รัฐซาราวัก (เพศผู้และเพศเมีย) [11]

เพราะขนาด รูปร่างที่แปลก และสีที่เด่นสะดุดใจ N. rajah จึงเป็นไม้กินแมลงยอดนิยมอย่างสูง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดในความนิยมของหมู่ผู้ที่ต้องการเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ มันสามารถกล่าวได้ว่า Nepenthes rajah เป็นเศษซากของความรู้อันน้อยนิดเกี่ยวกับพืชชนิดนี้นอกถิ่นกำเนิด เพราะมันต้องการสภาพแวดล้อมที่พิเศษ มีเพียงผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเล็ก ๆ ทั่วโลกที่นั้น ที่สามารถปลูกเลี้ยงได้ แต่กระนั้น N. rajah ก็ยังมีชื่อเสียงมากที่สุดในหมู่หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นเพราะหม้อที่แสนวิเศษของมัน นับย้อนได้ไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

ประว้ติ ตอนต้น[แก้]

หนึ่งในภาพวาดยุคแรก ๆ ของ N. rajah, ถูกตีพิมพ์ใน Life in the Forests of the Far East ในปี ค.ศ. 1862.

N. rajah ถูกพบครั้งแรกโดยฮักฮ์ โลวบนยอดเขากีนาบาลูในปี ค.ศ. 1858.[12] และถูกจัดแนกในปีเดียวกันโดยโยเซพ ดาลตัน ฮุคเกอร์ ชื่อของมันตั้งเป็นเกรียติแก่เจมส์ บรุคซึ่งเป็นคนขาวคนแรกที่ได้ปกครองรัฐซาราวัก : (White Rajah) มีรายละเอียดอยู่ใน The Transactions of the Linnean Society of London ดังนี้ :[3]

Nepenthes Rajah, H. f. (Frutex, 4-pedalis, Low). Foliis maximis 2-pedalibus, oblongo-lanceolatis petiolo costaque crassissimis, ascidiis giganteis (cum operculo l-2-pedalibus) ampullaceis ore contracto, stipite folio peltatim affixo, annulo maximo lato everso crebre lamellato, operculo amplissimo ovato-cordato, ascidium totum æquante.— (ป้าย LXXII.)

Hab.—บอร์เนียว, ฝั่งทะเลเหนือ, บนกีนาบาลู, สูง 5,000 ฟุต (ต่ำ) พืชที่น่าอัศจรรย์นี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ชนิดที่โดดเด่นสะดุดตาตั้งแต่ถูกค้นพบมาจนกระทั่งบัดนี้ และ ด้วยความเคารพ มันควรเทียบเคียงได้กับ Rafflesia Arnoldii ด้วยเหตุนี้มันควรจะได้ชื่อตามเพื่อนของฉัน "ราชาบรุค" ด้วยความช่วยเหลือจากเขาในพื้นที่นี้ มันจะได้เป็นอนุสรณ์ในหมู่นักพฤกษศาสตร์. . . . ฉันมีตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง ใบและหม้อ มันคล้ายกันมากทีเดียว แต่หม้ออีกอันใหญ่เป็น 2 เท่าของอีกอัน ใบของตัวอย่างที่ใหญ่กว่ายาว 18 นิ้ว ไม่นับก้านใบที่หนาเหมือนหัวแม่มือกว้างกว่า 7-8 เท่า ใบคล้ายแผ่นหนังเรียบเกลี้ยง มีเส้นใบไม่ชัดเจน ก้านของหม้อต่อออกมาจากส่วนล่างตรงปลายใบยาว 20 นิ้ว หนาคล้ายนิ้ว หม้อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว มีปีกชายครุย 2 ปีกด้านหน้า ถูกปกคลุมด้วยขนสีสนิม มีต่อมเป็นปุ่มทั่วไปภายใน และความกว้างของแอนนูลัส (วงปาก) ที่ปลิ้นออกมา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1–1½ นิ้ว ฝาปิดมีก้านสั้น ยาว 10 นิ้ว กว้าง 8 นิ้ว

ช่อดอกเกือบไม่ได้ส่วน ช่อกระจะตัวผู้ ยาว 30 นิ้ว มีดอกประมาณ 20 ดอกบนนั้น ส่วนบนและดอกปกคลุมด้วยขนนุ่มสั้นเล็ก ๆ สีสนิม ก้านดอกเพียวบางเป็นแบบเดี่ยวหรือ 2 แฉก ให้ผลแบบช่อกระจะอ้วนสั้น ก้านยาว 1½ นิ้ว มักจะเป็นสองแฉก ผลแห้งแตกรูปแคปซูลยาว ¾ นิ้ว กว้าง ⅓ นิ้ว ออกจะบวมเต่ง ปกคลุมด้วยขนยาวนุ่มสีสนิม

สเพนเซอร์ เซนต์ จอห์นเขียนถึงการพบกับ N. rajah ของเขาบนภูเขากีนาบาลูใน Life in the Forests of the Far East ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1862:[43] ดังนี้

หลังปีนขึ้นสูง 800 ฟุตอีกครั้ง ก็นำพวกเรามาสู่ยอดเขามาเรอี พาเรอี (Marei Parei) ที่ที่พื้นดินเต็มไปด้วยหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สวยงาม พืชที่เราตามหา พืชที่เรียกว่า Nepenthes Rajah ต้นยาวประมาณ 4 ฟุต มีใบกว้างเยียดยาวไปทุก ๆ ส่วน มีหม้อนอนเอนกบนพื้นรอบ ๆ ต้น มีรูปร่างที่น่าทึ่ง ฉันลองวัดมันอันนึง ได้ค่าดังนี้ : ความยาววัดจากด้านหลังยาวเกือบ 14 นิ้ว จากฐานถึงยอดในด้านหน้า 5 นิ้ว และฝาของมัน ยาว 1 ฟุตกว้าง 14 นิ้ว หม้อรูปไข่ ปากของมันมีจีบเป็นชั้น ๆ โดยรอบ ในแนวตั้งกว้าง 2 นิ้ว, ยอดในส่วนลู่แคบกว้าง ¾ นิ้ว ขอบยักรอบปากเป็นคลื่น ใกล้ ๆ กับก้านของหม้อลึก 4 นิ้ว เพื่อที่ว่าปากจะได้วางตัวอยู่บนมันในรูปสามเหลี่ยม สีของหม้อเก่าเป็นสีม่วงเข้ม, แต่หม้อทั่ว ๆ ไปด้านนอกมีสีม่วงสด, และเข้มขึ้นในส่วนล่างแล้วค่อย ๆ สว่างขึ้นไล่ไปถึงขอบปาก ด้านในมีสีเดียวกัน แต่เป็นมันวาว ฝามีสีม่วงสดตรงกลางและไล่มาเขียวที่ขอบ ก้านดอกเพศเมียยาว 1 ฟุตสั้นกว่าเพศผู้, และมีรูปแบบน้อยกว่าอย่างหลัง มันเป็นหนึ่งในผลงานน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ [...] หม้อก่อนที่ฉันจะสังเกตอย่างละเอียดนอนอยู่บนพื้นรอบ ๆ และต้นที่อายุยังน้อยมีหม้อเหมือนกันกับต้นที่มีอายุมาก ขณะที่คนของเราหุงข้าวทำอาหาร เราได้นั่งอยู่น่าเต็นท์เพลิดเพลินกับการทานช็อกโกเลตและสังเกตผู้ติดตามคนหนึ่งของเราใช้หม้อของ Nepenthes Rajah ในการขนน้ำ เมื่อเราสั่งให้เขานำมันมาให้เราดู พบว่ามันสามารถจุน้ำได้ถึง 4 ขวดไพนท หม้อนั้นมีเส้นรอบวงถึง 19 นิ้ว เราถึงกับย้อนไปหาหม้ออื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ และขณะเดียวกัน โลวที่ออกไปเตร็ดเตร่หาดอก ได้พบหม้อใบหนึ่งที่มีหนูตกลงไป

ภาพวาดภาพแรกของ N. rajah ที่ได้รับการปลูกเลี้ยงในยุโรป, ตีพิมพ์ใน The Garden, 1882

N. rajah ถูกเก็บกลับมาครั้งแรกสำหรับสถานเพาะเลี้ยงวีตช์ (Veitch Nurseries) โดยเฟรดเดอร์ริก วิลเลียม เบอร์บิดก์ (Frederick William Burbidge) ในปี ค.ศ. 1878 ระหว่างการเดินทางไปบอร์เนียวครั้งที่ 2 ของเขา[44] ในระยะสั้น ๆ หลังมีการเริ่มปลูกเลี้ยงในปี ค.ศ. 1881 N. rajah ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการอย่างมากในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงผู้มั่งคั่งในสมัยวิกตอเรีย บันทึกใน The Gardeners' Chronicle ของปี ค.ศ. 1881 พูดถึงต้นไม้ของวีตช์ดังนี้ : "N. rajah ที่เห็นยังมีอายุน้อย และมันจะกลายเป็นภาพวาดในหน้าหนังสือของเราเมื่อเร็ว ๆ นี้..."[45] 1 ปีให้หลัง N. rajah น้อยก็ปรากฏตัวที่ Royal Horticultural Society งานแสดงประจำปีเป็นครั้งแรก[46] ของตัวอย่างในงาน ถูกจัดแสดงโดยสถานเพาะเลี้ยงวีตช์เป็น N. rajah ต้นแรกที่ถูกปลูกเลี้ยงในยุโรป และชนะในประกาศนียบัตรชั้น 1[47] ในบัญชีราคาขายของวีตช์ในปี ค.ศ. 1889 N. rajah มีราคา £2.2s ต่อต้น[48] ในเวลานั้นความสนใจและความต้องการในหม้อข้าวหม้อแกงลิงเพิ่มขึ้นสูงมาก The Garden รายงานว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกขยายพันธุ์เป็นพันต้นเพื่อตอบสนองความต้องการในยุโรปที่มีตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ความสนใจในหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็ลดน้อยถอยลงเมื่อขึ้นศตวรรษใหม่ ดูได้จากการปิดตัวลงของสถานเพาะเลี้ยงวีตช์และความสูญเสียต้นไม้ทั้งชนิดแท้และลูกผสมในการปลูกเลี้ยงหลาย ๆ ครั้ง รวมถึง N. northiana และ N. rajah ด้วย ในปี ค.ศ. 1905 ก็ถึงจุดสิ้นสุด N. rajah ของสถานเพาะเลี้ยงวีตช์ก็ได้ตายลง เพราะความต้องการตามธรรมชาติของต้นไม้นั้นยากที่จะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองได้ง่าย ๆ [46] N. rajah ต้นสุดท้ายที่เหลือรอดในการปลูกเลี้ยง ณ.เวลานั้นอยู่ที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติที่ Glasnevin ใน เกาะไอร์แลนด์แต่มันก็ตายตามในไม่ช้า[46] ต้องใช้เวลาอีกหลายปีต่อมา N. rajah ถึงสามารถทำการปลูกเลี้ยงได้

ความนิยมที่กลับมา[แก้]

เมื่อไม่นานมานี้ความสนใจในหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็กลับมาใหม่อีกครั้งทั่วโลก อาจเป็นเพราะไซเกะโอะ คุระตะ ผู้เขียนหนังสือ Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู) (ค.ศ. 1976) ที่มีรูปถ่ายสีสวย ๆ ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ได้นำความสนใจเป็นอย่างมากมายมาสู่พืชที่พิสดารนี้

หม้อข้าวหม้อแกงลิง N. rajah ที่รู้จักกันดีในประเทศมาเลเซีย พืชท้องถิ่นของรัฐซาบะฮ์ ถูกนำมาใช้เพื่อโฆษณารัฐซาบะฮ์และอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและถูกใช้เป็นลักษณะพิเศษบนไปรษณียบัตร N. rajah ยังปรากฏว่าเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงยอดนิยมที่ปรากฏบนสิ่งพิมพ์ รวมถึง Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู) (คุระตะ, ค.ศ. 1976) และ Nepenthes of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) (คลาร์ก, ค.ศ. 1997) ที่ถูกพิมพ์ในโกทา กีนาบาลู (Kota Kinabalu) ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1996 ประเทศมาเลเซียได้จัดพิมพ์แสตมป์ 4 ดวง เป็นรูปหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่มีชื่อเสียง แสตมป์ราคา 30¢ 2 ดวง เป็นรูป N. macfarlanei และ N. sanguinea ส่วนราคา 50¢ อีก 2 ดวงเป็นรูป N. lowii และ N. rajah ออกจำหน่าย[49] แสตมป์ N. rajah ถูกกำหนด ให้มีการระบุบหมายเลยพิเศษในสองระบบระบุบหมายเลขแสตมป์ โดยมีของสก็อต แคททาล็อก (Scott catalogue) เป็นหมายเลข 580 และ Yvert et Tellier เป็นหมายเลข 600

นิเวศวิทยา[แก้]

ภูเขากีนาบาลู[แก้]

ภูเขากีนาบาลู, บอร์เนียว

Nepenthes rajah มีการแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในวงแคบ จำกัดอยู่แค่ภูเขากีนาบาลูและภูเขาทามบูยูกอนที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติกีนาบาลู รัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว[2] ภูเขากีนาบาลูเป็นภูเขาหินแกรนิตมีรูปร่างคล้ายโดม ซึ่งในทางธรณีวิทยานั้น ยังเป็นภูเขาที่มีอายุน้อยเกิดจากการแทรกและยกตัวของแผ่นหินแกรนิตที่อยู่ลึกลงไปใต้เปลือกโลก (granitic batholith) ที่ความสูง 4095.2 เมตรนี่เอง ทำให้มันเป็นภูเขาสูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียวและเป็นหนึ่งในภูเขาสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[50] ที่ฐานล่างของภูเขาประกอบไปด้วยหินทรายและหินเฌล (shale) ที่แปลสภาพมาจากโคลนทรายใต้ท้องทะเลเมื่อราว ๆ 35 ล้านปีมาแล้ว แทรกไปด้วยหินเซอเพ็นทีน (serpentine) ที่อุดมไปด้วยแร่เหล็กและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแกนของแผ่นหินที่ยกตัวขึ้นมา มีสภาพเหมือนปลอกคอที่ล้อมรอบภูเขา ดินแบบนี้นี่เองที่ทำให้พืชบนภูเขากีนาบาลูหลาย ๆ ชนิดเป็นพืชถิ่นเดียว และพืชหายากหลาย ๆ ชนิดก็สามารถพบได้ที่นี่เช่นกัน

บริเวณที่พบแร่เหล็กและแมกนีเซียม (สีเหลือง) ในอุทยานกีนาบาลู (สีเขียว)

ธรณีวิทยา[แก้]

N. rajah จะขึ้นบนดินที่มีหินเซอเพ็นทีนที่ประกอบไปด้วยนิกเกิลและโครเมียมในปริมาณที่สูงซึ่งเป็นพิษกับพืชชนิดอื่นอีกหลาย ๆ ชนิดแต่ไม่มีผลต่อ N. rajah[13] ซึ่งหมายความว่ามันขึ้นในระบบนิเวศวิทยาที่แทบจะไม่มีการแข่งขันแย่งชิงพื้นที่และสารอาหารกันเลย[51] ก็เหมือนระบบรากของ N. × alisaputrana[52] และ N. villosa[53] ที่รู้กันว่าทนต่อโลหะหนักในดินที่มีหินเซอเพ็นทีนปะปน มีแมกนีเซียมสูงและมีอัลคาไลเล็กน้อย เหมือนชั้นบาง ๆ บนหินอัลตราเมฟิก (หินที่มีเหล็กและแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบหลัก, ดินลูกรัง) ดินประเภทนี้มีประมาณ 16% ของอุทยานแห่งชาติกีนาบาลู ทำให้เกิดพืชถิ่นเดียวจำนวนมาก รวมถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงด้วย ซึ่งมีถึง 4 ชนิดในสกุล รวมถึง N. rajah ที่สามารถพบได้ในอุทยานแห่งนี้เท่านั้น

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธที่อ่านได้จาก "เส้นทางศึกษาธรรมชาติ Nepenthes rajah" (~2000 เมตร จากระดับน้ำทะเล) ที่เวลา 10 โมงเช้า บรรยายกาศท้องฟ้ามืดคลึ้ม

ปกติ N. rajah ขึ้นบนทุ่งหญ้าเปิดโล่งบนที่ลาดเอียงหรือบนที่ราบบนยอดเขา เฉพาะในพื้นที่ซึมน้ำ ดินไม่จับตัวแน่นและมีความชื้นสูง น้ำสามารถระบายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีฝนตกมากแต่ดินก็ไม่แฉะ N. rajah มักพบขึ้นในพงหญ้าโดยเฉพาะหญ้าทรงกระเทียม

ภูมิอากาศ[แก้]

N. rajah ตามธรรมชาติขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1500–2650 เมตร [19][7] จึงจัดได้ว่าเป็นพืชที่สูง (highland) [54] เพราะในความสูงระดับนั้นเองทำให้อุณหภูมิในเวลากลางวันไม่เกิน 25 ℃ และเวลากลางคืนมีอากาศหนาวเย็น[55] และเพราะอุณหภูมิที่ลดลงในเวลากลางคืนทำให้ความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มจาก 65–75% ไปถึง 95% หรือมากกว่านั้น พืชที่ขึ้นสูงในระดับนั้นมักจะโตช้ามากหรือแทบจะไม่โตขึ้นเลยเพราะสิ่งแวดล้อมที่สุดโต่งนั้น ซึ่งมีสภาพมีลมและฝนที่รุนแรง แต่ก็ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง มีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่แกว่งไปมา มีโอกาสที่เมฆปกคลุมสูง เมื่อเมฆน้อยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ความชื้นสัมพัทธ์ลดลง ได้รับแสงมาก แต่เมื่อเมฆมาก อุณหภูมิและแสงจะลดลง ความชื้นสัมพัทธ์จะสูงขึ้น[56] ระดับน้ำฝนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3000 มิลลิเมตร

สถานะอนุรักษ์[แก้]

มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์[แก้]

Nepenthes rajah ถูกจัดอยู่ในสถานะมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ (EN – B1+2e) ในสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามบัญชีแดงโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) [1] อยู่ในรายการที่ 1 ส่วนที่ 2 ของพระราชบัญญัติสงวนพันธุ์สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ของประเทศมาเลเซียในปี ค.ศ. 1997[57] และในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) [58] ซึ่งเป็นข้อห้ามระดับนานาชาติเรื่องการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งมีชีวิตที่มีรายชื่อในบัญชีที่นำออกมาจากป่าหรือได้มาโดยมิชอบโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เพราะความนิยมในหมู่ผู้สะสม ต้นไม้จำนวนมากยังถูกลักลอบนำออกมาจาป่าอย่าผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะสามารถพบได้ในบริเวณอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูเท่านั้น ความนิยมของมันในช่วงปี ค.ศ. 1970 นำไปสู่ การถูกบรรจุในบัญชีที่ 1 ของไซเตสในปี ค.ศ. 1981.[59] ร่วมกับ N. khasiana นอกจาก 2 ชนิดนี้ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่เหลือมีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ 2

ในอนาคตอันใกล้ของ N. rajah จะมีการลดระดับลงเป็นสภาวะ"สิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU) " หรือในบัญชีอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติจัดให้อยู่ในสภาวะ "สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LR (cd) ) " [60] ตามข้อตกลงของศูนย์ติดตามผลการอนุรักษ์ (WCMC) และภายใต้องค์การนี้ได้พิจารณา N. rajah เป็น"สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์"ด้วยเช่นกัน ซึ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้แต่เดิมถูกจัดเป็น"สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (V) "โดย IUCN ในบัญชีสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามเบื้องต้น ค.ศ 1994

ถึงแม้ว่า N. rajah จะมีการกระจายตัวที่แคบ[61] แต่มันก็ไม่ใช่สถานที่ที่หายากที่จะมันจะสามารถขึ้นได้และประชาการไม่ถูกจำกัดด้วยจำนวนนักท่องเที่ยว และอยู่ในที่ห่างไกลของอุทยานแห่งชาติกีนาบาลู ยิ่งกว่านั้น N. rajah มีใบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ยากจะตบตาศุลกากรโดยการตัดหม้อออกเมื่อถูกส่งออกอย่างผิดกฎหมาย

การมาถึงของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ภายนอก (in vitro) ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการผลิตพืชชนิดต่าง ๆ ออกมาจำนวนมากและมีราคาขายที่ต่ำ (ประมาณUS$20-$30 ในกรณีของ N. rajah) การขยายพันธุ์แบบภายนอก (In vitro) เป็นการเพาะพันธุ์ต้นไม้จากเซลล์ที่ได้จากต้นแม่ (ทั่ว ๆ ไปเป็นเมล็ด) เทคโนโลยีนี้ช่วยกำจัดนักสะสมที่ตั้งใจจะไปรัฐซาบะฮ์เพื่อเก็บต้นไม้ออกมาอย่างผิดกฎหมายให้หมดไป ทำให้ความต้องการไม้จากป่าลดลงอย่างรวดเร็ว[62]

ร็อบ แคนต์ลีย์ (Rob Cantley) นักอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงและนักโฆษณาให้เลือกซื้อหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้ประเมินสถานะของต้นไม้ในป่าดังนี้:[63]

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้โตในค่านิยมย่อยที่ชัดเจนอย่างน้อย 2 ข้อ หนึ่งคือถูกปกป้องด้วยอำนาจจากอุทยานแห่งชาติของรัฐซาบะฮ์ อีกหนึ่งโตในที่สาธารณะที่มีข้อห้ามที่เข้มงวดปราศจากการอนุญาต อย่าไรก็ตาม มีการปฏิเสธโดยค่านิยมของบางคนที่รู้มาก และบริเวณที่มีการลาดตระเวณน้อย ต้นไม้และถิ่นที่อยู่ที่ถูกทำลายโดยมาเกิดจากนักท่องเที่ยวที่ไม่มีความรับผิดชอบมากกว่านักสะสมพืชพันธุ์ ในเร็ว ๆ นี้ Nepenthes rajah จะกลายเป็นต้นไม้ธรรมดาสำหรับปลูกเลี้ยงเป็นผลมาจากความหาง่ายและราคาที่ไม่แพงจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฉันเชื่อว่าในวันนี้การเก็บไม้จากป่าเพื่อการค้าจะเหลือน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม N. rajah สำหรับในเชิงพานิชย์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นมีขนาดต้นที่เล็กและมีด้วยกัน 4 แบบ เป็นแม่แบบที่ได้มาจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวในลอนดอน อังกฤษ

การเก็บไม้ออกจากป่าอย่างผิดกฎหมายไม่ใช่เป็นภัยคุกคามชนิดเดียวเท่านั้น เอลนีโญหรือสภาพอากาศที่ผิดเพี้ยนในปี ค.ศ. 1997/98 มีผลรุนแรงต่อหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนภูเขากีนาบาลู[64] ช่วงเวลาที่แห้งแล้งก่อให้เกิดการลดลงของประชากรในธรรมชาติอย่างรุนแรง เกิดไฟป่า 9 จุดในอุทยาน กินพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตรและเกิดกลุ่มหมอกควันขนาดใหญ่ ระหว่างเกิดเอลนีโญ ต้นไม้จำนวนมากถูกย้ายไปที่สถานอนุบาลของอุทยานเป็นการชั่วคราวเพื่อรักษามันไว้ ในภายหลังมันถูกย้ายไปสวนหม้อข้าวหม้อแกงลิงในเมซีเลา (Mesilau) (ดูต่อด้านล่าง) แต่มันกลับเป็นเจตนาร้ายแทน N. rajah เป็นหนึ่งในจำนวน 2-3 ชนิดที่ล้มตายลง การกระทำเช่นนี้ได้ส่งผลดีน้อยมากกับพืชพวกนี้ ต่อมาอันโบะว์ กุนซาลัม (Ansow Gunsalam) ได้สร้างสถานอนุบาลถาวรใกล้กับสถานีเมซีเลาที่ทำการของอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูเพื่อปกป้องพืชที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ รวมถึง N. rajah ด้วย

ต้นไม้ที่สวนถูเขากีนาบาลู

การกระจายตัวในวงแคบ[แก้]

Mesilau Nature Resortที่เปิดใหม่ ใกล้ ๆ กับสนามกอล์ฟข้างหลังหมู่บ้านของ Kundasang เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ตามธรรมชาติได้อย่างแน่นอน[65] ที่นี่มี N. rajah นับโหลขึ้นใกล้กับจุดสูงสุดของพื้นที่ ทั้งต้นเล็ก ๆ และโตเต็มที่ หม้อมีขนาดใหญ่พอใช้ สูงประมาณ 35 เซนติเมตร ต้นไม้พวกนี้ที่นี่มีอายุมากกว่า 100 ปี สถานที่นี้มันถูกเรียกว่า "เส้นทางศึกษาธรรมชาติ Nepenthes rajah " เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 9:00 น. ถึง 16:00 น. ประชากรส่วนมากของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มักเกิดในส่วนที่ห่างไกลของอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูและยากที่นักท่องเที่ยวจะเข้าถึง[65] นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวที่อุทยานสามารถเจอ N. rajah ที่แสดงในสถานอนุบาลที่อยู่ติดกับ "สวนภูเขา" ที่สำนักงานใหญ่อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู[66]

สถานที่อื่น ๆ ในธรรมชาติที่เป็นที่นิยมที่สามารถพบ N. rajah มีที่ราบสูงมาเร เพเร (Marai Parai) แม่น้ำเมซีเลา ทางตะวันออกใกล้ ๆ ถ้ำเมซีเลา ส่วนบนของแม่น้ำโกโลปิสและด้านตะวันออกของภูเขาทามบูยูกอน[67]

ลูกผสมตามธรรมชาติ[แก้]

Nepenthes rajah เป็นที่รู้กันว่ามันสามารถผสมข้ามชนิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากมันออกดอกตลอดทั้งปี Charles Clarke บันทึกไว้ว่า

N. rajah ประสบความสำเร็จมากกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ๆ ในการแพร่กระจายเกสรไปได้ไกลมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำกล่าวที่ว่า ที่ ๆ มีลูกผสมของ N. rajah อยู่นั้นไม่มีพ่อหรือแม่ขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย

อย่างไรก็ตามละอองเกสรสามารถไปได้ไกลสุดประมาณ 10 กิโลเมตร[68]เท่านั้น ลูกผสมระหว่าง N. rajah กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นบนภูเขากีนาบาลูที่ถูกบันทึก[2]มีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก แบบไม่มีลูกผสมชนิดไหนเหมือน (ยกเว้นลูกผสม N. lowii)

ปัจจุบันลูกผสมตามธรรมชาติที่ได้มีการบันทึกไว้มีดังนี้ :[19]

ในสวนภูเขาของอุทยานกีนาบาลู มีลูกผสมที่หายากระหว่าง N. fallax และ N. rajah ลูกผสมชนิดนี้มีใบเหมือน N. fallax แต่มีฝาหม้อและปีกคล้าย N. rajah มีปากแข็งที่ได้มาจาก N. fallax และขนแข็งที่ริมฝาหม้อ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของลูกผสมชนิดนี้[69] พบได้ที่ความสูง 1500–2600 เมตร

ลูกผสม 2 ชนิดของ N. rajah ที่มีชื่อว่า : N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ 2 ของไซเตส และชนิดหลังถูกจัดอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ (EN (D) ) โดย IUCN[70]

Nepenthes × alisaputrana

Nepenthes × alisaputrana[แก้]

N. × alisaputrana (ชื่อเดิม : "Nepenthes × alisaputraiana") [71] ถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ดาทูต แลมรี อารี (Datuk Lamri Ali) ผู้อำนวยการของอุทยานแห่งซาติรัฐซาบะฮ์ พบในอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูในที่เปิดโล่งบนดินเซอเพนทีนเหนือระดับน้ำทะเล 2000 เมตร บ่อยครั้งพบอยู่ท่ามกลาง N. burbidgeae หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีชื่อเสียงจากการรวมลักษณะเด่นที่เกิดจากพ่อแม่ไว้ด้วยกัน โดยได้หม้อขนาดใหญ่จาก N. rajah (สูง ≤35 เซนติเมตร, กว้าง ≤20 เซนติเมตร) [72] ซึ่งไม่มีลูกผสมอื่นของ N. rajah จะเทียบเท่าได้ และได้ความสวยเด่นจาก N. burbidgeae มีเพอริสโตมกว้าง ฝาขนาดใหญ่ โค้งที่เหมือนกัน แต่กระนั้น N. × alisaputrana ก็คล้ายกับ N. rajah มากกว่า N. burbidgeae แต่สามารถแยกชนิดออกจาก N. rajah ได้ โดยต่างกันตรงรูปทรงของฝาหม้อ มีขนสีน้ำตาลสั้นปกคลุม มีสันแคบทรงกระบอกรอบปาก สีของหม้อมีสีเหลือง-เขียว มีจุดแดงหรือน้ำตาล และด้วยเหตุนี้ฟิลลิปซ์และแลมบ์ (ค.ศ. 1996) จึงให้ชื่อสามัญว่า Leopard pitcher-plant หรือ หม้อข้าวหม้อแกงลิงเสือดาว แม้ว่าชื่อนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก เพอริสโตมมีสีเขียวถึงแดงดำมีแถบสีม่วง ใบบางรูปโล่ ต้นเลื้อยไต่ได้ดีและผลิตหม้อบนได้บ่อยและง่ายกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อก่อนก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในรูปวาดใน Insect Eating Plants & How To Grow Them (พืชกินแมลงและการปลูกเลี้ยง) โดยอันเรียน แสลก (Adrian Slack) ปี ค.ศ. 1986) ในรูปวาดหม้อของ N. rajah กลับวาดเป็นหม้อของ N. burbidgeae × N. rajah[73][74]

Nepenthes × kinabaluensis[แก้]

Nepenthes × kinabaluensis

N. × kinabaluensis เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกชนิดหนึ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีหม้อขนาดใหญ่ถึงจะไม่เท่ากับ N. rajah หรือ N. × alisaputrana เป็นลูกผสมทางธรรมชาติของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่โดดเด่น 2 ชนิดบนเกาะบอร์เนียว นั่นก็คือ N. rajah และ N. villosa N. × kinabaluensis สามารถพบได้ที่ภูเขากีนาบาลูเพียงที่เดียวเท่านั้น (จึงเป็นที่มาของชื่อ) และในภูเขาตัมบูยูกอนที่อยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นที่พ่อและแม่ของมันอยู่ร่วมกัน[75] เราสามารถพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จากทางเดินใกล้ถ้ำพากา (Paka) และ หลาย ๆ สถานที่ตามเส้นทางบนสันเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ ที่วางตัวอยู่ทางด้านตะวันตกของส่วนบนของแม่น้ำโกโลปิส (Kolopis) [76] สถานที่ที่เดียวที่เข้าถึงได้จากสถานที่ข้างต้นหรือที่รู้จักกันในชื่อเส้นทางสู่ยอดกีนาบาลู พบได้ระหว่างลายัง-ลายัง (Layang-Layang) และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สถานที่ที่มันขึ้นสูงประมาณ 2900 เมตรโดยไม่มีต้น Dacrydium gibbsiae และต้น Leptospermum recurvum ปกคลุม N. × kinabaluensis กระจายตัวที่ความสูง 2420 - 3030 เมตรจากระดับน้ำทะเล[20] มันขึ้นในที่โล่งของป่าเมฆ ลูกผสมชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่ได้จาก N. rajah คือสันที่ยกสูงที่ด้านในขอบเพอริสโตมและฟันที่ยาว มีปุ่มมากกว่าที่พบใน N. rajah และมีรูปร่างคล้ายแม่ของมัน (N. villosa มีสันปากที่ยกสูง) เพอริสโตมหยาบและแผ่ออก (แต่ไม่เป็นจักเหมือน N. rajah) ฝาหม้อกลมหรือรูปไตและแบน โดยทั่วไปหม้อมีขนาดใหญ่กว่าหม้อของ N. villosa และสายดิ่งต่อจากใต้ปลายใบห่างจากยอดประมาณ 1–2 เซนติเมตร คล้ายกับ N. rajah[77] ในต้นที่มีอายุมากสายดิ่งจะมีลักษณะคล้ายไม้ N. × kinabaluensis มีขนอุยปกคลุมหม้อและขอบใบกลาง ๆ ระหว่างพ่อและแม่ หม้อล่างมีปีกชายครุย 2 ปีก ส่วนหม้อบนปีกจะหายไป สีของหม้อมีความหลากหลายจากสีเหลืองถึงสีเลือดหมู N. × kinabaluensis ผลิตหม้อบนได้ง่ายกว่าพ่อและแม่ ลักษณะทั่วไปจะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ทำให้ง่ายต่อการระบุบมันออกจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นของเกาะบอร์เนียว อย่างไรก็ตามก็ยังเกิดความสับสนขึ้นได้ เมื่อมันถูกระบุบเป็น N. rajah ใน Letts Guide to Carnivorous Plants of the World (Cheers, 1992) [78]

N. × kinabaluensis ถูกเก็บได้ครั้งแรกใกล้กับกัมบารังโอะห์ (Kambarangoh) โดยลิเลียน กิบบส์ (Lilian Gibbs) ในปี ค.ศ. 1910 และถูกจัดจำแนกโดยแมกฟาร์แลนเป็น "Nepenthes sp." ในปี ค.ศ. 1914[79] ถึงแม้ว่าแมกฟาร์แลนจะไม่ตั้งชื่อให้ต้นไม้ แต่เขาบันทึกไว้ว่า "จากรูปร่างลักษณะที่เห็นแสดงว่ามันเป็นลูกผสมระหว่าง N. villosa และ N. rajah"[80] มันได้ถูกจัดจำแนกครั้งสุดท้ายโดยคุระตะในปี ค.ศ. 1976 ว่า N. × kinabaluensis แต่ชื่อของมันกลับถูกเผยแพร่ในชื่อของ "หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู (Nepenthes of Mount Kinabalu) " เพราะ "kinabaluensis" เป็นชื่อตั้งไร้คำบรรยายจากการที่มันมีรายละเอียดไม่เพียงพอและข้อมูลที่ขาดคลานในตัวอย่าง ต่อมาชื่อถูกเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งโดยคุระตะในปี ค.ศ. 1984[81] และโดยอดัมและวิลคักในปี ค.ศ. 1996[82]

ลูกผสมหรือสปีชีส์?[แก้]

หม้อล่างของ N. × kinabaluensis

N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis สามารถสืบพันธุ์ได้ และเหตุนี้อาจมีการผสมระหว่างพวกมันเอง ไคลฟ์ เอ. สทีซ (Clive A. Stace) เขียนไว้ว่า

ลูกผสมที่เสถียรเมื่อมันมีการพัฒนาการกระจายพันธุ์, รูปร่างลักษณะ หรือพันธุกรรมของลักษณะจนห่างไกลที่จะเชื่อมโยงเข้ากับพ่อและแม่ของมัน, ... ถ้าลูกผสมกลายเป็นอิสระ, จำได้, สืบพันธุ์ด้วยตัวเอง, มันเป็น de facto (แท้จริง) คนละชนิดกัน[83]

N. hurrelliana และ N. murudensis เป็น 2 ชนิดตัวอย่างที่คาดกันว่าเป็นลูกผสมดั้งเดิม ส่วน N. × alisaputrana และ N. × kinabaluensis จะเสถียรเพียงพอที่จะเป็นชนิดใหม่หรือไม่ยังต้องมีการพิจารณา[20]กันต่อไป อันที่จริง N. kinabaluensis ถูกพรรณนาลักษณะเป็นสปีชีส์โดยเจ.เอช. อด้ม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) ในปี ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะรองรับและก็ยังไม่มีการตีพิมพ์ในผลงานอื่น ๆ อีกเลย

เพราะดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นของมันในธรรมชาติ ลูกผสมระหว่างหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่เข้าคู่กัน สามารถแสดงออกมาเหมือนพ่อหรือแม่หรือทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับชนิดไหนเป็นแม่ชนิดไหนเป็นพ่อ เมื่อมีการผสมเพศเมีย (หรือฝัก) จะถูกอ้างอิงเป็นอันดับแรก ตามด้วยเพศผู้ (หรือเรณู) นี้คือความแบ่งแยกที่สำคัญมาก ลูกผสมปกติจะแสดงรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดที่ถูกผสม ฝักของแม่จะมีอำนาจเหนือกว่าในแทบทุก ๆ เรื่องและในกรณีลูกผสมจะคล้ายแม่มากกว่าพ่อที่ได้เรณูมา N. × kinabaluensis ในป่าส่วนมากจะแสดงลักษณะเกี่ยวดองกับ N. rajah มากกว่า N. villosa และเหตุนี้จึงคิดว่าน่าจะเป็น N. rajah × N. villosa อย่างไรก็ตามยังมีตัวอย่างที่พบว่าคล้าย N. villosa มากกว่า แสดงให้เห็นว่าอาจมีการผสมกลับกัน (ดู ภาพ เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) เหมือนกับลูกผสม N. rajah อื่น ๆ ที่ไม่รู้ว่าลูกผสมนี้สืบพันธุ์ได้หรือไม่และนี้เป็นรากฐานความไม่แน่นอนที่เพิ่มในสับสนในความแตกต่างระหว่างลูกผสมที่เสถียรและชนิด

การปลูกเลี้ยง[แก้]

ดูเพิ่ม: การปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง

Nepenthes rajah เป็นหนึ่งในหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ปลูกเลี้ยงได้ยากมาก

หม้อล่างขนาดใหญ่ของ N. rajah ที่ได้จากการปลูกเลี้ยง

สิ่งแวดล้อม[แก้]

N. rajah เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ขึ้นบนภูเขาหรือเป็น "พืชที่สูง" โดยขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1500 - 2650 เมตร ดังนั้นจึงต้องการสภาพอากาศที่อุณหภูมิประมาณ 25 - 30 ℃[84] ในตอนกลางวัน และ อากาศเย็นในตอนกลางคืน อุณหภูมิประมาณ 10 - 15 ℃[84] นี่คือข้อสำคัญ แต่มันก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น (พออลุ่มอล่วยได้ ขอให้อยู่ในระดับนั้น) แต่อุณหภูมิในตอนกลางคืนต้องลดลงประมาณ 10 ℃ หรือมากกว่านั้นจากตอนกลางวัน นี่เป็นความต้องการที่สำคัญและเพิกเฉยไม่ได้ เพราะในระยะยาวจะทำต้นไม้ตาย หรืออย่างน้อยที่สุดก็แคระแกร็น

มันก็เหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น ที่ต้องการอากาศชื้นประมาณ 75% R.H.[84] จึงจะเติบโตได้ดีที่สุด และเพิ่มประมาณ 90% R.H. ในตอนกลางคืน อย่างไรก็ตาม N. rajah ทนต่อความชื้นที่แกว่งไปมาได้ และทนเป็นพิเศษเมื่อยังเล็ก แต่มีข้อแม้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 50% R.H. ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องควบคุมความชื้นสัมพัทธ์จำหน่ายแล้ว

ในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ N. rajah ขึ้นในพื้นที่เปิดที่มันได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงหลายคนได้ใช้โคมไฟเม็ตทอล ฮาลไลด์ (metal halide lamp) ในระดับ 500–1000 วัตต์ แทนแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นที่ประสบความสำเร็จ โดยควรแขวนโคมสูงจากต้นไม้ 1 - 2 เมตร[84]ขึ้นกับสถานที่ ผู้เลี้ยงสามารถใช้แสงอาทิตย์โดยตรงก็ได้ แต่แนะนำสำหรับผู้เลี้ยงที่อยู่ในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตรที่มีแสงจัดเพียงพอสำหรับต้นไม้ และต้องได้รับแสง 12 ชั่วโมงให้เหมือนกับที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เพราะบอร์เนียวอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร[84]

เครื่องปลูกและการให้น้ำ[แก้]

สแฟกนัม มอสส์แบบเส้นใยยาว ๆ เป็นเครื่องปลูกที่เหมาะสมที่สุด หรือจะผสม พีทมอสส์, เพอร์ไลต์, เวอร์มิคูไลต์, ทราย, หินภูเขาไฟ, หินพัมมิซ, รากชายผ้าสีดา, เปลือกและรากกล้วยไม้ และ ถ่าน ลงไปด้วยก็ได้ เครื่องปลูกต้องระบายน้ำได้ดีแต่ไม่จับตัวกันแน่น และต้องชุ่มน้ำทั่วกระถางเมื่อมีการให้น้ำ และใช้มอสส์คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

N. rajah มีระบบรากที่แผ่กว้างถึงต้องใช้กระถางที่มีขนาดกว้างเพียงพอสำหรับระบบรากของมัน[84] อย่าเปลี่ยนกระถางบ่อยเพราะต้นไม้จะชะงักหรืออาจตายได้[84]

น้ำที่ใช้แนะนำเป็นน้ำบริสุทธิ์ แม้ว่าจะใช้น้ำกระด้าง N. rajah ก็สามารถทนได้ แต่จะทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุและปฏิกิริยาทางเคมีในเครื่องปลูกได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อต้นไม้ในระยะยาว น้ำที่ให้ควรมีความสะอาดมากกว่า 100 p.p.m. ของสิ่งเจือปน[85] จะเป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการออสโมซิสผันกลับ (reverse osmosis) หรือจะเป็นน้ำกลั่นก็ได้ ควรให้น้ำเป็นเวลา แต่ไม่ควรหล่อน้ำทิ้งไว้เพราะจะทำให้รากเน่าได้

หม้อของ N. rajah ที่ได้จากการปลูกเลี้ยง

การให้อาหารและการให้ปุ๋ย[แก้]

N. rajah เป็นพืชกินสัตว์ที่ต้องการสารอาหารแหล่งอื่นเพิ่มเติมจากที่ได้รับจากดิน มันจึงจับเหยื่อเพื่อชดเชยแร่ธาตุที่ขาดแคลนเช่น ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ในธรรมชาติสารอาหารของพืชสกุลนี้นอกจากที่ได้รับจากดินแล้วมันยังรวมถึงได้จากแมลงหรือเหยื่ออื่น ๆ ที่มันจับได้ แม้ว่ามันอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญในการปลูกเลี้ยง จากการทดลองของฟาร์มเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง[86] ปรากฏว่า"แร่ธาตุรองมีผลทำให้ใบมีสีสันที่ดีขึ้น มีแต่ประโยชน์โดยไม่มีโทษแต่อย่างใด" แต่อย่างไรก็ดีการทดลองนี้ก็ยังต้องมีการตรวจสอบผลการทดลอง จิ้งหรีดนั้นเหมาะสมที่สุดทั้งขนาดและราคา มันสามารถหาซื้อได้ง่าย วิธีให้ก็แค่ใส่มันลงไปในหม้อ ไม่ว่าทั้งยังเป็น ๆ หรือตายแล้วก็ได้

การให้ปุ๋ยเคมี (ที่ประกอบไปด้วย NPK) นั้น พบว่าถ้าให้มากเกินไป "จะทำลายต้นไม้และทำให้เกิดโรคได้ง่าย ซึ่งไม่มีประโยชน์" ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้เจือจางกว่าที่ระบุบในฉลาก

จำไว้ว่าถ้าต้องการจะปลูกเลี้ยงให้สำเร็จ ให้ได้ดีนั้น เราต้องพยายามจำลองสภาพแวดล้อมจากถิ่นที่อยู่ของพืชชนิดนั้น ๆ ให้ได้ ที่สำคัญ N. rajah เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่โตช้ามาก และใช้เวลาถึง 10 ปี จึงจะมีดอกนับตั้งแต่งอกจากเมล็ด และอาจใช้เวลาถึง 100 ปีจึงจะโตเต็มที่ ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เปลี่ยนไป N. rajah อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไป

ความเข้าใจผิด[แก้]

N. rajah ที่ขึ้นใกล้ ๆ กับน้ำตกเล็ก ๆ

ความที่ Nepenthes rajah เป็นที่รู้จักและต้องการอย่างมากมานานกว่าศตวรรษ ทำให้มีเรื่องเล่าขานมากมายเกี่ยวกับมัน ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับตำนานที่มีชื่อเสียงของมันก็คือ N. rajah จะเติบโตเฉพาะในบริเวณที่มีละอองน้ำของน้ำตก บนดินที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง (ดินอัลตราเมฟิก, ดินลูกรัง) ถึงแม้ว่าอย่างหลังจะเป็นจริง แต่ไม่พบ N. rajah แม้แต่ต้นเดียวในบริเวณละอองน้ำตก และเรื่องเล่านั้นดูเหมือนจะมีข้อเท็จจริงอยู่น้อยมาก[2] เหมือนความเข้าใจผิดนี้ถูกทำให้เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางโดยไซเกะโอะ คุระตะในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1976 ได้เขียนไว้ว่า

N. rajah มักพบในพื้นที่เปียกชื้นเช่นหนองน้ำหรือรอบบริเวณน้ำตก[7]

จากข้อเล่าลือจากข้อความบรรทัดบนนั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว N. rajah นั้นขึ้นในบริเวณใกล้เคียงน้ำตก (บันทึกโดย ฮิวโก สไทเนอร์ (Hugo Steiner) , ค.ศ. 2002) "เป็นบริเวณที่มีอากาศชื้นเหมือนถูกจัดเตรียมไว้"[20] มันอาจเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดนี้ขึ้นมา

ส่วนเรื่องเล่าอื่น ๆ ก็อย่างเช่น มันสามารถดักจับลิงตัวเล็ก ๆ หรือสัตว์ขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ ด้วยหม้อของมันได้ เช่นเดียวกับเรื่องเล่าลือทั้งหลายที่ถูกเล่าจนฝังใจกันมาเป็นเวลานาน แต่ก็สามารถอธิบายถึงความเข้าใจผิดในชนิดอื่น ๆ ได้[87] และมันน่าสนใจตรงในบันทึกของชื่อเรียกสามัญของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่เรียกว่า หม้อแกงลิง (Monkey Cups) นั้นเป็นชื่อที่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ลิงมักจะมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้ แสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่านี้ยังมีข้อเท็จจริงอยู่บ้าง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Clarke, Cantley, Nerz, Rischer & Wistuba 2000.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Clarke 1997, p. 123.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hooker 1859.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Clarke 1997, p. 122.
  5. 5.0 5.1 5.2 Focus: Rajah Brooke's Pitcher PlantPDF (111 KB)
  6. 6.0 6.1 Phillipps 1988, p. 55.
  7. 7.0 7.1 7.2 Kurata 1976, p. 61.
  8. Masters 1881.
  9. Reginald 1883.
  10. Hemsley 1905.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Danser 1928, 38.
  12. 12.0 12.1 Phillipps & Lamb 1996, p. 129.
  13. 13.0 13.1 Gibson 1983.
  14. 14.0 14.1 Clarke 1997, pp. 120, 122.
  15. Clarke 1997, pp. 10, 120.
  16. 16.0 16.1 Clarke 2001b, p. 7.
  17. Clarke 2001b, p. 26.
  18. Clarke & Kruger 2005.
  19. 19.0 19.1 19.2 Clarke 1997, p. 120.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Steiner 2002, p. 112.
  21. 21.0 21.1 Clarke 1997, p. 33.
  22. Moran 1991.
  23. "I once found a perfect mouse skeleton in a pitcher of N. rafflesiana" เก็บถาวร 2003-10-19 ที่ archive.todayCh'ien Lee
  24. [Anonymous] 2006.
  25. Beaver 1979, pp. 1–10.
  26. Clarke 1997, pp. 42–43.
  27. Tsukamoto 1989, p. 216.
  28. 28.0 28.1 Tsukamoto 1989, p. 220.
  29. Edwards 1931, pp. 25–28.
  30. Burbidge 1880.
  31. Beck von Mannagetta, G. Ritter 1895.
  32. Macfarlane 1908, pp. 1–91.
  33. Clarke 2001a, pp. 81–82.
  34. Clarke 2001a, p. 82.
  35. Fairbrothers, Mabry, Scogin & Turner 1975.
  36. 36.0 36.1 36.2 Adam, Omar & Wilcock 2002, p. 623.
  37. Som 1988.
  38. Jay & Lebreton 1972, pp. 607–613.
  39. Adam, Omar & Wilcock 2002, p. 624.
  40. Meimberg et al. 2006
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 Meimberg et al. 2001
  42. Nerz & Wistuba 2007.
  43. St. John 1862, pp. 324, 334.
  44. Phillipps & Lamb 1996, p. 20.
  45. [Anonymous] 1881.
  46. 46.0 46.1 46.2 Phillipps & Lamb 1996, p. 22.
  47. Phillipps & Lamb 1996, p. 21.
  48. Phillipps & Lamb 1996, p. 18.
  49. Ellis 2000.
  50. "Sabah Ministry of Tourism, Culture and Environment Homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  51. Adlassnig, Peroutka, Lambers & Lichtscheidl 2005.
  52. Clarke 2001b.
  53. Kaul 1982.
  54. "Vegetation Zones on Mount Kinabalu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  55. Clarke 1997, p. 2.
  56. Clarke 1997, p. 29.
  57. Wildlife Conservation Enactment 1997
  58. APPENDICES I AND II as adopted by the Conference of the PartiesPDF (120 KiB)
  59. Clarke 2001b, p. 29.
  60. Clarke 1997, pp. 170–172.
  61. Simpson 1991.
  62. Clarke 1997, p. 172.
  63. "Nineteenth meeting of the Animals Committee. Geneva (Switzerland) , 18–21 August 2003". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  64. Clarke 2001a, p. 236.
  65. 65.0 65.1 Clarke 2001b, p. 38.
  66. Malouf 1995, p. 68.
  67. Kurata 1976, p. 64–65.
  68. Clarke 1997, p. 143.
  69. Steiner 2002, p. 124.
  70. Arx, Schlauer & Groves 2001, p. 44.
  71. Adam & Wilcock 1992.
  72. Clarke 2001b, p. 10.
  73. Clarke 1997, p. 157.
  74. Slack 1986.
  75. Clarke 1997, pp. 165–167.
  76. Kurata 1976, p. 65.
  77. Clarke 2001b, p. 19.
  78. Cheers 1992.
  79. Kurata 1976, p. 64.
  80. Macfarlane 1914, p. 127.
  81. Kurata 1984.
  82. Adam & Wilcock 1996.
  83. Stace 1980.
  84. 84.0 84.1 84.2 84.3 84.4 84.5 84.6 "On the Cultivation of Nepenthes rajah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  85. D'Amato 1998, p. 7.
  86. "Nepenthes Cultivation and Growing Guides". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-21. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  87. D'Amato 1998, XV.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ทั่วไป[แก้]

รูปภาพ[แก้]

การเพาะปลูก[แก้]

อื่น ๆ[แก้]