Nepenthes bicalcarata

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes bicalcarata
หม้อกลางของ N. bicalcarata
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  bicalcarata
ชื่อทวินาม
Nepenthes bicalcarata
Hook.f. (1873)
ชื่อพ้อง

Nepenthes bicalcarata (มาจากคำในภาษาละติน: bi "สอง", calcaratus "เดือย, เขี้ยว")หรือ Fanged Pitcher-Plant[1] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ถิ่นเดียวของทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว

ประวัติ[แก้]

ภาพวาด N. bicalcarata จากบทความของ Macfarlane ในปี ค.ศ. 1908

Nepenthes bicalcarata ถูกจำแนกครั้งแรกโดย โจเซฟ เดลตัน ฮุกเคอร์ (En:Joseph Dalton Hooker) ในปี ค.ศ. 1873 พบพื้นฐานของตัวอย่างที่เก็บมาโดย ฮักฮ์ โลว (En:Hugh Low) และ โอโดอาร์โด เบคคารี (En:Odoardo Beccari) ใกล้กับแม่น้ำลาวัส (Lawas) ในเกาะบอร์เนียว[2] ต้นแบบ Low s.n. ถูกเก็บรักษาไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว[3] 7 ปีต่อมา สเพนเซอร์ เลอ เมอร์ชานต์ มัวร์ (Spencer Le Marchant Moore) ได้จำแนกเป็น Nepenthes dyak บนพื้นฐานของตัวอย่างที่เก็บโดย โจฮันเนส์ อีเลียส ทีจ์สแมนน์ (En:Johannes Elias Teijsmann) ที่ชื่อ Teijsmann 10962 จากแม่น้ำกาปูวัส (Kapuas) ในทางตะวันตกของบอร์เนียว[4][5] ตัวอย่างนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวเช่นกัน[3] และสำเนาถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้แห่งชาติเนเธอร์แลนด์ในไลเดน[6] มีการกล่าวถึงชื่อ N. dyak ซึ่งถูกตั้งในภายหลังในหนังสือหลายเล่ม[7][8] ปัจจุบันมันถูกพิจารณาให้เป็นชนิดเดียวกันกับ N. bicalcarta[9]

Nepenthes bicalcarata ถูกนำมาสู่ยุโรปในปี ค.ศ. 1879 โดยนักสำรวจชาวอังกฤษที่ชื่อ เฟรดเดอร์ริก วิลเลียม เบอร์บิดก์ (Frederick William Burbidge) ซึ่งเก็บมาให้สถานเพาะเลี้ยงวีตช์ (Veitch Nurseries) ที่มีชื่อเสียง มีการปลูกเลี้ยงกันขนานใหญ่และแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในปี ค.ศ. 1881[1]

ในระหว่างที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นที่นิยมอย่างมาก มีบันทึกใน The Gardeners' Chronicle ของปี ค.ศ. 1881 ถึง N. bicalcarata ของสถานเพาะเลี้ยงวีตช์ดังนี้:[10]

N. bicalcarata มีใบที่แข็ง ทน และมีหม้อทีมีเครื่องมือคล้ายกับดักหนูดูดุร้ายที่ฝา ทำให้มันแตกต่างจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นเป็นอย่างมาก

สองสามปีหลังจะถูกนำเข้ามา N. bicalcarata ยังคงเป็นต้นไม้ที่หายาก ในบัญชีวีตช์ในปี ค.ศ. 1889 N. bicalcarata มีราคา £3.3s ต่อต้น ขณะที่ต้นไม้ยอดนิยมอย่าง N. northiana และ N. rajah มีราคาเพียงr £2.2s[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

N. bicalcarata เป็นพืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล เลื้อยไต่ได้สูงถึง 20 ม. ลำต้นทรงกระบอกหนากว่าชนิดอื่น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม. ปล้องอาจยาวถึง 40 ซม.[9][11]

ลำต้นเลื้อยไต่และหม้อบน

ใบของ N. bicalcarata มีก้านใบ คล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบรูปไข่กลับ-รูปใบหอก มีขนาดใหญ่ ยาว 80 ซม.กว้าง 12 ซม.[12] เป็นครีบแคบๆที่ลำต้น แผ่นใบมีเส้นใบตามยาวไม่ชัดเจนและเส้นใบแบบขนนกจำนวนมาก สายดิ่งยาว 60 ซม.กว้าง 8 มม. มีแอ่งและรอยปูดใกล้กับหม้อ[9]

ถึงแม้หลายๆส่วนของพืชจะมีขนาดใหญ่ แต่หม้อก็ไม่ได้ใหญ่ตามอย่างเช่นในชนิด N. rajah แต่กระนั้น หม้อก็อาจมีปริมาตรมากกว่า 1 ลิตร หม้อสูง 25 ซม.กว้าง 16 ซม. มีปีกตะเข็บหนึ่งคู่ยื่นออกมา (กว้าง ≤15 มม.) ตลอดด้านหน้าของหม้อล่าง และจะลดรูปลงเหลือแค่สันในหม้อบน เพอริสโตม (กว้าง ≤20 มม.) มีลักษณะแบบโค้งเข้าหาภายใน มีฟันขนาดเล็กแยกกัน มีหนามแหลมหนึ่งคู่ใต้ฝา ยาว 3 ซม. กลายมาจากสันของเพอริสโตม 10–12 สัน[13] ฝารูปไตถึงรูปหัวใจ ไม่มีรยางค์ เดือยเดี่ยว (ยาว ≤15 มม.) แทรกอยู่ที่ฐานฝา[9]

หม้อล่าง

N. bicalcarata มีช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกอาจยาวถึง 40 ซม. แกนกลางยาว 100 ซม. ในช่อดอกเพศเมียจะสั้นกว่า[14] ก้านดอกย่อยยาว 40 มม.อาจมีดอกถึง 15 ดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกยาว 4 มม.[9]

พืชที่โตเต็มที่ไม่มีสิ่งปกคลุม ขนร่วงง่ายจะพบในพืชที่ยังเล็กและช่อดอก

N. bicalcarata มีการกระจายตัวไม่กว้างนัก ไม่มีหน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิดจำแนกไว้[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  2. Hooker, J.D. 1873. Nepenthaceae. In: A. De Candolle Prodromus systematis universalis regni vegetabilis 17: 90–105.
  3. 3.0 3.1 Schlauer, J. 2006. Nepenthes bicalcarata เก็บถาวร 2020-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  4. Moore, S.L.M. 1880. Alabastra diversa. The Journal of Botany 18: 1–8.
  5. Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A skeletal revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1): 1–106.
  6. Specimen detail: Teijsmann 10962 เก็บถาวร 2011-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Nationaal Herbarium Nederland.
  7. Burbidge, F.W. 1882. Notes on the new Nepenthes. The Gardeners' Chronicle 17(1): 56.
  8. Beccari, O. 1896. Malesia, III (1886–1890): Rivista delle specie del genere Nepenthes, p. 1–15.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  10. [Anonymous] 1881. Messr's Veitch's Nepenthes House. The Gardeners' Chronicle n. ser. 16: 598.
  11. Steiner, H. 2002. Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants. Toihaan Publishing Company, Kota Kinabalu.
  12. Danser, B.H. 1928. The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.
  13. Cheek, M.R. & M.H.P. Jebb 2001. Nepenthaceae. Flora Malesiana 15: 1–157.
  14. Macfarlane, J.M. 1908. Nepenthaceae. In: A. Engler Das Pflanzenreich IV, III, Heft 36: 1–91.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Danser, B.H. 1928. 4. Nepenthes bicalcarata. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.