โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Multiple Sclerosis)
โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส
(Multiple sclerosis)
ชื่ออื่นDisseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata
ภาพขยาย 1:100 ย้อมสี CD68 แสดงให้เห็นแมโครฟาจจำนวนมากในบริเวณซึ่งมีการทำลายปลอกไมอีลินที่เกิดใน MS
สาขาวิชาประสาทวิทยา
อาการเห็นภาพซ้อน, ตาบอดข้างเดียว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, การรับสัมผัสผิดปกติ, การทรงตัวผิดปกติ[1]
การตั้งต้นอายุ 20–50 ปี[2]
ระยะดำเนินโรคเรื้อรัง[1]
สาเหตุไม่ทราบสาเหตุ[3]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms and medical tests[4]
การรักษาMedications, physical therapy[1]
พยากรณ์โรค5–10 year shorter life expectancy[5]
ความชุก1 ล้านคนในสหรัฐ (2022)[6] และประมาณ 2.8 ล้านคนทั่วโลก (2020)[7]

โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (อังกฤษ: multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา[5] ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1868 โดยฌอง-มาร์ติน ชาร์โคต์

MS ส่งผลต่อการทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างกันของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลัง ปกติเซลล์ประสาทจะติดต่อกันโดยส่งสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่าศักยะงานไปตามแกนประสาทซึ่งปกติจะถูกห่อหุ้มด้วยปลอกไมอีลิน ในผู้ป่วย MS นั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายไมอีลินไป เมื่อไม่มีไมอีลิน แกนประสาทจะไม่สามารถนำสัญญาณได้ดีเท่าเดิม ชื่อโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิสนั้นหมายถึงแผลเป็นที่เกิดขึ้นในเนื้อขาวของสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติจะประกอบด้วยไมอีลินเป็นส่วนใหญ่ แม้ปัจจุบันกลไกของโรคนี้จะเป็นที่ทราบกันดี แต่สาเหตุที่แน่ชัดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบ มีทฤษฎีว่าสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมหลายตัวที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

ผู้ป่วยอาจมีอาการทางระบบประสาทได้แทบทุกรูปแบบ ส่วนใหญ่มักดำเนินไปจนทำให้เกิดความพิการทั้งทางร่างกายและการนึกคิด โรคนี้มีการดำเนินโรคหลายรูปแบบ คือแบบเป็นโรคกลับซึ่งมีอาการใหม่ๆ เพิ่มในช่วงที่มีอาการกำเริบแต่ละครั้ง หรือแบบลุกลามซึ่งค่อยๆ มีอาการเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ระหว่างการกำเริบแต่ละครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อโรคเป็นมากขึ้นมักเริ่มมีความบกพร่องของระบบประสาทที่เป็นถาวร

ปัจจุบัน MS ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย วิธีรักษาในปัจจุบันมุ่งไปที่การช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ตามปกติหลังการกำเริบ การป้องกันการกำเริบ และการป้องกันความพิการ ยาที่ใช้รักษา MS มักมีผลข้างเคียงมากจนผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถรับยาต่อเนื่องได้ จึงมีผู้ป่วยหลายคนพยายามใช้การรักษาทางเลือกซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ พยากรณ์โรคนั้นทำนายได้ยาก ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรค ลักษณะโรคของผู้ป่วยแต่ละคน อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการเมื่อโรคดำเนินไปมาก อายุขัยจะสั้นกว่าคนทั่วไปประมาณ 5-10 ปี[5]

พยากรณ์โรค[แก้]

Disability-adjusted life year for multiple sclerosis per 100,000 inhabitants in 2004
  no data
  less than 13
  13–16
  16–19
  19–22
  22–25
  25–28
  28–31
  31–34
  34–37
  37–40
  40–43
  more than 43

พยากรณ์โรคของผู้ป่วย MS แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของโรคที่เป็น เพศ อายุ อาการแรกเริ่ม และระดับความพิการ[8] อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นในช่วงเวลาเป็นสิบปี โดยมีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งเสียชีวิตอยู่ที่ 30 ปี[5]

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีการดำเนินโรคที่ดีได้แก่ เพศหญิง ชนิดย่อยแบบกลับเป็นซ้ำสลับหาย การมีอาการแรกเริ่มเป็นเส้นประสาทตาอักเสบหรืออาการทางระบบรับสัมผัส การมีอาการกำเริบน้อยครั้งในช่วงปีแรก และโดยเฉพาะการเริ่มเป็นโรคตั้งแต่อายุน้อย[8][9]

อายุขัยของผู้ป่วย MS สั้นกว่าคนปกติประมาณ 5-10 ปี[5] ผู้ป่วย 40% มีอายุได้ถึงวัย 70 ปี[9] อย่างไรก็ดีสองในสามของผู้ป่วยเท่านั้นที่เสียชีวิตจากสาเหตุซึ่งเกี่ยวข้องกับ MS โดยตรง[5] ในกลุ่มผู้ป่วย MS ที่ค่อนข้างมีสุขภาพดีนั้นการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการมากนั้นมักมีความทุพพลภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ[5]

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นมากจนถึงขั้นเดินไม่ได้ก่อนจะเสียชีวิต แต่ผู้ป่วย 90% ก็สามารถเดินได้เป็นเวลา 10 ปี หลังเริ่มมีอาการ และ 75% สามารถเดินได้เป็นเวลา 15 ปีหลังเริ่มมีอาการ[9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "NINDS Multiple Sclerosis Information Page". National Institute of Neurological Disorders and Stroke. 19 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2016. สืบค้นเมื่อ 6 March 2016.
  2. Milo R, Kahana E (March 2010). "Multiple sclerosis: geoepidemiology, genetics and the environment". Autoimmunity Reviews. 9 (5): A387-94. doi:10.1016/j.autrev.2009.11.010. PMID 19932200.
  3. Nakahara J, Maeda M, Aiso S, Suzuki N (February 2012). "Current concepts in multiple sclerosis: autoimmunity versus oligodendrogliopathy". Clinical Reviews in Allergy & Immunology. 42 (1): 26–34. doi:10.1007/s12016-011-8287-6. PMID 22189514. S2CID 21058811.
  4. Tsang BK, Macdonell R (December 2011). "Multiple sclerosis- diagnosis, management and prognosis". Australian Family Physician. 40 (12): 948–55. PMID 22146321. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-05.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Compston A, Coles A (October 2008). "Multiple sclerosis". Lancet. 372 (9648): 1502–1517. doi:10.1016/S0140-6736(08)61620-7. PMID 18970977. S2CID 195686659.
  6. McGinley MP, Goldschmidt CH, Rae-Grant AD (February 2021). "Diagnosis and Treatment of Multiple Sclerosis: A Review". JAMA. 325 (8): 765–779. doi:10.1001/jama.2020.26858. PMID 33620411. S2CID 232019589.
  7. Lane J, Ng HS, Poyser C, Lucas RM, Tremlett H (July 2022). "Multiple sclerosis incidence: A systematic review of change over time by geographical region". Mult Scler Relat Disord. 63: 103932. doi:10.1016/j.msard.2022.103932. PMID 35667315. S2CID 249188137.
  8. 8.0 8.1 Weinshenker BG (1994). "Natural history of multiple sclerosis". Ann. Neurol. 36 (Suppl): S6–11. doi:10.1002/ana.410360704. PMID 8017890.
  9. 9.0 9.1 9.2 Phadke JG (May 1987). "Survival pattern and cause of death in patients with multiple sclerosis: results from an epidemiological survey in north east Scotland". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatr. 50 (5): 523–31. doi:10.1136/jnnp.50.5.523. PMC 1031962. PMID 3495637.
  10. Myhr KM, Riise T, Vedeler C; และคณะ (February 2001). "Disability and prognosis in multiple sclerosis: demographic and clinical variables important for the ability to walk and awarding of disability pension". Mult. Scler. 7 (1): 59–65. PMID 11321195. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-29.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก