นางงามจักรวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Miss Universe)
นางงามจักรวาล
คําขวัญBeautifully Confident
ก่อตั้ง28 มิถุนายน 1952; 71 ปีก่อน (1952-06-28)
ประเภทการประกวดความงาม
สํานักงานใหญ่
ภาษาทางการ
อังกฤษ
จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์
ราอูล โรชา คานตู
องค์กรปกครอง
เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป
เลกาซี โฮลดิง กรุ๊ป
สังกัดเจเคเอ็น เลกาซี
งบประมาณ
US$100 ล้าน (รายปี)
เว็บไซต์MissUniverse.com

การประกวดนางงามจักรวาล หรือ มิสยูนิเวิร์ส (อังกฤษ: Miss Universe) เป็นการประกวดความงามประจำปี เริ่มจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยแปซิฟิกมิลส์ (Pacific Mills) บริษัทเสื้อผ้าจากรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ และหลังจากนั้นได้บริหารงานโดยเคย์เซอร์-รอธ (Kayser-Roth) และตามด้วยกัล์ฟแอนด์เวสเทิร์นอินดัสทรีซ์ (Gulf and Western Industries) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ดอนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ซื้อกิจการและบริหารงานโดยองค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ขายกิจการองค์การนางงามจักรวาลให้เอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ผ่านไอเอ็มจี จนกระทั่งในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ได้เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาลผ่านเจเคเอ็น เมตาเวิร์ส ไอเอ็นซี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่จัดตั้งตามกฎหมายของสหรัฐ [1] วันที่ 23 มกราคม 2567 เจเคเอ็นได้ขายหุ้น 50% ขององค์กรนางงามจักรวาลให้กับ ราอูล โรชา นักธุรกิจและเศรษฐีชาวเม็กซิโก ทำให้เป็นผู้ร่วมจัดการประกวดนางงามจักรวาลในปัจจุบัน

รูปแบบการแข่งขัน[แก้]

ในยุคที่ไอเอ็มจีถือลิขสิทธิ์ การแข่งขันจะคัดเลือกสาวงามจากประเทศที่ส่งเข้าประกวด โดยผ่านรอบ Prelimnary ซึ่งคะแนนจากส่วนนี้จะส่งผลต่อการเข้ารอบในวันประกวดจริง โดยจะแยกเป็นคะแนนที่มาจาก การเดินชุดว่ายน้ำ (Swimming Suit Competition), การเดินชุดราตรี (Evening Gown Competition) และการสัมภาษณ์ต่อหน้าคณะกรรมการ (Interview) โดยเมื่อจบจากรอบนี้ ในวันประกวดจริง จะมีการประกาศผู้ที่ได้คะแนนสะสมจากรอบ Prelimnary ที่สูงสุด 20 อันดับเพื่อเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย (Semifinalist) จากนั้นผู้เข้าประกวดทั้ง 20 คนจะต้องสปีช 15 วินาที เพื่อคัดเข้ารอบ 10 คนต่อไป โดยรอบ 10 คนสุดท้าย จะใช้การเดินชุดว่ายน้ำและชุดราตรีตัดสินผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย และผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ เรียงตามลำดับการประกาศชื่อในรอบก่อนหน้า โดยคำถามที่แตกต่างกัน เพื่อคัดเข้ารอบ 3 คนสุดท้าย และทั้งสามคนจะต้องตอบคำถามเดียวกัน โดยผู้ที่รอตอบคำถาม จะต้องสวมหูฟังเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงผู้เข้าประกวดคนอื่น โดยคะแนนในรอบต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นคะแนนตัดสิน ก่อนที่กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในตำแหน่งต่าง ๆ อีกครั้งจากไฟนอลลุค ในช่วงสุดท้ายนางงามผู้ครองมงกุฎจากปีก่อนหน้าจะเดินอำลาตำแหน่ง ตามด้วยการประกาศรองอันดับสอง และผู้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล ตามลำดับ (ก่อนปี 2011 พิธีกรจะประกาศชื่อรองอันดับหนึ่ง ตามด้วยผู้ครองมงกุฎนางงามจักรวาล)

หลังจากเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาล จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจเคเอ็นได้ประกาศว่านับตั้งแต่การประกวดนางงามจักรวาล 2023 เป็นต้นไป สตรีที่ผ่านการสมรสและสตรีข้ามเพศจะสามารถเข้าร่วมการประกวดได้ โดยจักรพงษ์ในฐานะเจ้าของกิจการองค์การนางงามจักรวาล จะไม่มีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในการประกวดดังกล่าว[2] นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวธุรกิจเสริม ได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ[3], ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย[4] และกิจการนำเที่ยว[5]

ช่องโทรทัศน์[แก้]

สหรัฐ

  • CBS (1955 - 2002)
  • NBC (2003 - 2014)
  • FOX (2015 - 2016 , 2021)
  • FYI (2020)
  • The Roku Channel (2022 – ปัจจุบัน)

ประเทศไทย

ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี[แก้]

ปี ประเทศ ผู้ดำรงตำแหน่ง เวทีประกวดระดับชาติ สถานที่ เข้าร่วม
2023  นิการากัว เชย์นิส ปาลาซิโอส (Sheynnis Palacios) มิสนิการากัว เอลซัลวาดอร์ ซันซัลวาดอร์,เอลซัลวาดอร์ 84
2022  สหรัฐ อาร์บอนนีย์ เกเบรียล (R'Bonney Gabriel) มิสยูเอสเอ สหรัฐ นิวออร์ลีนส์, รัฐลุยเซียนา, สหรัฐ 83
2021 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย หรนาซ สันธู (Harnaaz Sandhu) มิสดีวา อิสราเอล ไอลัต, อิสราเอล 80
2020 ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก อันเดรอา เมซา (Andrea Meza) เมฆิกานา อูนิเบร์ซัล สหรัฐ ฮอลลีวูด, รัฐฟลอริดา, สหรัฐ 74
2019 ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ โซซีบีนี ทุนซี (Zozibini Tunzi) มิสเซาท์แอฟริกา สหรัฐ แอตแลนตา, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐ 90

ทำเนียบนางงามจักรวาล[แก้]

องค์กรนางงามจักรวาล[แก้]

องค์การนางงามจักรวาล เป็นองค์การในปัจจุบันที่เป็นเจ้าของและดำเนินการประกวดนางงามจักรวาล จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2020 องค์การนางงามจักรวาลได้ประกาศให้สิทธิ์การดำเนินการจัดประกวดมิสยูเอสเอและมิสทีนยูเอสเอ ให้กับคริสตัล สจวร์ต ซึ่งเป็นมิสยูเอสเอ 2008 แต่อีกสองปีต่อมาเธอถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิ์ดังกล่าวจึงกลับมาอยู่กับองค์กรนางงามจักรวาล[6][7]

องค์การนางงามจักรวาล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก, เม็กซิโกซิตี และจังหวัดสมุทรปราการ องค์การขายสิทธิทางโทรทัศน์ให้กับการประกวดนางงามจักรวาลในประเทศอื่น ๆ

ผู้ครองตำแหน่งองค์การนางงามจักรวาล[แก้]

ด้านล่างนี้เป็นรายนามผู้ครองตำแหน่งทั้งหมดขององค์การนางงามจักรวาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ปี นางงามจักรวาล ประเทศ มิสยูเอสเอ รัฐ มิสทีนยูเอสเอ รัฐ
2023 เชย์นิส ปาลาซิโอส  นิการากัว โนเอเลีย วอยต์  รัฐยูทาห์ อุมาโซเฟีย ศรีวาสตาวา  รัฐนิวเจอร์ซีย์
2022 อาร์บอนนีย์ เกเบรียล  สหรัฐ มอร์แกน โรมาโน[a]  รัฐนอร์ทแคโรไลนา ฟอลลอน เมดิ  รัฐเนแบรสกา
2021 หรนาซ สันธู  อินเดีย แอล สมิธ[b]  รัฐเคนทักกี บรีอันนา ไมลส์[b]  รัฐฟลอริดา
2020 อันเดรอา เมซา  เม็กซิโก อาชยา แบรนช์  รัฐมิสซิสซิปปี คิอิลานี อารูดา  รัฐฮาวาย
2019 โซซีบีนี ทุนซี  แอฟริกาใต้ เชสลี คริสต์  รัฐนอร์ทแคโรไลนา เคลีห์ แกร์ริส  รัฐคอนเนทิคัต
2018 แคทรีโอนา เกรย์  ฟิลิปปินส์ แซราห์ โรส ซัมเมอส์  รัฐเนแบรสกา เฮลีย์ คอลบอร์น  รัฐแคนซัส
2017 เดมี-ลีห์ เนล-ปีเตอร์  แอฟริกาใต้ แครา แมกคัลล็อก  วอชิงตัน ดี.ซี. โซเฟีย โดมิงเกซ-ไฮธ์อฟฟ์  รัฐมิสซูรี
2016 อีริส มีเตอนาร์  ฝรั่งเศส เดเชานา บาร์เบอร์ คาร์ลี เฮย์  รัฐเท็กซัส
2015 เพีย วูร์ทซบาค  ฟิลิปปินส์ โอลิเวีย จอร์แดน  รัฐโอคลาโฮมา แคทเธอรีน ฮาอิค  รัฐลุยเซียนา
2014 เปาลินา เบกา  โคลอมเบีย เนีย ซานเชซ  รัฐเนวาดา แคเธอรีน ลี เกรแฮม  รัฐเซาท์แคโรไลนา
2013 กาบริเอลา อิสเลร์  เวเนซุเอลา แอริน เบรดี  รัฐคอนเนทิคัต แคสซิดี้ วูล์ฟ  รัฐแคลิฟอร์เนีย
2012 โอลิเวีย คัลโป  สหรัฐ นานา แมรีเวเตอร์[a]  รัฐแมริแลนด์ โลแกน เวสต์  รัฐคอนเนทิคัต
2011 ไลลา ลอปึช  แองโกลา อลิสซา แคมพาเนลลา  รัฐแคลิฟอร์เนีย แดเนียล โดตี้  รัฐเท็กซัส
2010 ฆิเมนา นาบาร์เรเต  เม็กซิโก ริมา ฟากิห์  รัฐมิชิแกน คามี ครอว์ฟอร์ด  รัฐแมริแลนด์
2009 เอสเตฟานิอา เฟร์นันเดซ  เวเนซุเอลา คริสเตน ดัลตัน  รัฐนอร์ทแคโรไลนา สตอร์มี เฮนลีย์  รัฐเทนเนสซี
2008 ดายานา เมนโดซา คริสตัล สจวร์ต  รัฐเท็กซัส สเตวี เพร์รี  รัฐอาร์คันซอ
2007 ริโยะ โมริ  ญี่ปุ่น เรเชล สมิท  รัฐเทนเนสซี ฮิลารี ครูซ  รัฐโคโลราโด
2006 ซูเลย์กา ริเบรา เมนโดซา  ปวยร์โตรีโก เทรา คอนเนอร์  รัฐเคนทักกี เคธี่ แบลร์  รัฐมอนแทนา
2005 นาตาลี เกลโบวา  แคนาดา เชลซี คูลีย์  รัฐนอร์ทแคโรไลนา อัลลี ลาฟอร์ซ  รัฐโอไฮโอ
2004 เจนนิเฟอร์ ฮอว์กินส์  ออสเตรเลีย เชนดี ฟินเนสซีย์  รัฐมิสซูรี เชลลีย์ แฮนนิก  รัฐลุยเซียนา
2003 อาเมเลีย เบกา  สาธารณรัฐโดมินิกัน ซูซี กัสติโย  รัฐแมสซาชูเซตส์ ทามี่ ฟาร์เรล  รัฐออริกอน
2002 ออกซานา โฟยโดโรวา[c]  รัสเซีย ชานเทย์ ฮินตัน  วอชิงตัน ดี.ซี. วาเนสซา เซมโรว์  รัฐวิสคอนซิน
จัสติน ปาเสก[d]  ปานามา
2001 เดนิส กีโญเนส  ปวยร์โตรีโก แคนเดซ ครูเกอร์  รัฐเท็กซัส มาริสซา วิทลีย์  รัฐมิสซูรี
2000 ลาร่า ดัตตา  อินเดีย ลินเนตต์ โคล  รัฐเทนเนสซี จิลเลียน แพร์รี่  รัฐเพนซิลเวเนีย
1999 เอ็มพูเล่ คเว-ลาโกเบ้  บอตสวานา คิมเบอร์ลี เพรสเลอร์  รัฐนิวยอร์ก แอชลีย์ โคลแมน  รัฐเดลาแวร์
1998 เวนดี ฟิตซ์วิลเลียม  ตรินิแดดและโตเบโก ชอว์เน เจบเบีย  รัฐแมสซาชูเซตส์ วาเนสซา มินนิลโล  รัฐเซาท์แคโรไลนา
1997 บรุก ลี  สหรัฐ แบรนดี เชอร์วูด[a]  รัฐไอดาโฮ เชลลี มัวร์  รัฐเทนเนสซี
1996 อาลิเซีย มาชาโด  เวเนซุเอลา อาลี แลนดรี  รัฐลุยเซียนา คริสตี้ ลี วู้ดส์  รัฐเท็กซัส
1995 เชลซี่ สมิธ  สหรัฐ ชานนา โมเกลอ[a]  รัฐนิวยอร์ก คีย์ลี ซู แซนเดอร์ส  รัฐแคนซัส
1994 ชุชมิตา เซน  อินเดีย ลู พาร์กเกอร์  รัฐเซาท์แคโรไลนา ชอนน่า แกมบิล  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1993 ดายานารา ตอร์เรส  ปวยร์โตรีโก เคนยา มัวร์  รัฐมิชิแกน ชาร์ลอตต์ โลเปซ  รัฐเวอร์มอนต์
1992 มิเชล แมคลีน  นามิเบีย แชนนอน มาร์เกทิก  รัฐแคลิฟอร์เนีย เจมี โซลิงเจอร์  รัฐไอโอวา
1991 ลูปีตา ยอนส์  เม็กซิโก เคลลี แมกคาร์ตี  รัฐแคนซัส จาแนลล์ บิชอป  รัฐนิวแฮมป์เชอร์
1990 มูนา กรุดท์  นอร์เวย์ แคโรล จิสต์  รัฐมิชิแกน บริดเจตต์ วิลสัน  รัฐออริกอน
1989 อังเคลา ฟิสเซอร์  เนเธอร์แลนด์ เกร็ตเชน โพเฮมัส  รัฐเท็กซัส แบรนดี เชอร์วูด  รัฐไอดาโฮ
1988 ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก  ไทย คอร์ตนีย์ กิบส์ มินดี้ ดันแคน  รัฐออริกอน
1987 เซซิเลีย โบโลโก  ชิลี มิเชลล์ โรเยอร์ คริสตี แอดดิส  รัฐมิสซิสซิปปี
1986 บาร์บารา ปาลาซิโอส เตย์เด  เวเนซุเอลา คริสตี ฟิชเนอร์ อัลลิสัน บราวน์  รัฐโอคลาโฮมา
1985 เดโบรา การ์ติ-เดว  ปวยร์โตรีโก ลอรา มาร์ตีเนซ-ฮาร์ริง เคลลี่ หู  รัฐฮาวาย
1984 อีวอนน์ ไรดิง  สวีเดน ไม แชนลีย์  รัฐนิวเม็กซิโก เชอรีส ฮาวเก้น  รัฐอิลลินอย
1983 ลอร์เรน ดาวเนส  นิวซีแลนด์ จูลี ฮาเยก  รัฐแคลิฟอร์เนีย รูธ ซาคาเรียน  รัฐนิวยอร์ก
1982 คาเรน ไดแอน บอลด์วิน  แคนาดา เทร์รี อัตลีย์  รัฐอาร์คันซอ ↑ ไม่มีการจัดการประกวดขึ้น
(ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1983)
1981 อิเรเน ซาเอซ  เวเนซุเอลา คิม ซีลบรีด  รัฐโอไฮโอ
1980 ชอว์น เวเทอร์ลี  สหรัฐ จีนิน ฟอร์ด[a]  รัฐแอริโซนา
1979 มาริตซา ซายาเลโร  เวเนซุเอลา แมรี เทริส ฟรีเอล  รัฐนิวยอร์ก
1978 มาร์กาเรต การ์ดิเนอร์  แอฟริกาใต้ จูดี แอนเดอร์สัน  รัฐฮาวาย
1977 จาเนียล คอมมิสซิออง  ตรินิแดดและโตเบโก คิมเบอร์ลี ทอมส์  รัฐเท็กซัส
1976 รีน่า เมซซิงเกอร์  อิสราเอล บาร์บารา ปีเตอร์สัน  รัฐมินนิโซตา
1975 แอนน์ มาเรีย โพห์ทาโม  ฟินแลนด์ ซัมเมอร์ บาร์โทโลมิว  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1974 อัมปาโร มูโยซ  สเปน แคเรน มอร์ริสัน  รัฐอิลลินอย
1973 มาการีตา โมแรน  ฟิลิปปินส์ อะแมนดา โจนส์
1972 เคอร์รี่ แอนน์ เวลส์  ออสเตรเลีย ทันยา วิลสัน  รัฐฮาวาย
1971 จอร์เจียน่า ริสก์  เลบานอน มิเชล แมกโดนัลด์  รัฐเพนซิลเวเนีย
1970 มาริโซล มาลาเรต  ปวยร์โตรีโก เดโบราห์ เชลตัน  รัฐเวอร์จิเนีย
1969 กลอเรีย เดียซ  ฟิลิปปินส์ เวนดี ดัสคอมบ์
1968 มาร์ธา แวสคอนเซลลอส  บราซิล โดโรที อันส์เทตต์  รัฐวอชิงตัน
1967 ซิลเวีย ฮิตช์ค็อก  สหรัฐ เชอรีล แพตตัน[a]  รัฐฟลอริดา
1966 มากาเรต้า อาวิดสัน  สวีเดน มาเรีย เรแมนยี  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1965 อาภัสรา หงสกุล  ไทย ซู แอน ดาวนีย์  รัฐโอไฮโอ
1964 คอรินนา โซเพอิ  กรีซ บอบบี จอห์นสัน  วอชิงตัน ดี.ซี.
1963 เอด้า มาเรีย วากัส  บราซิล มาริต โอเซอร์ส  รัฐอิลลินอย
1962 นอร์มา โนลัน  อาร์เจนตินา แมเชล วิลสัน  รัฐฮาวาย
1961 มาร์ลีน ชมิท  เยอรมนี ชารอน บราวน์  รัฐลุยเซียนา
1960 ลินดา เบเมนต์  สหรัฐ ลินดา เบเมนต์  รัฐยูทาห์
1959 อากิโกะ โคจิมะ  ญี่ปุ่น เทร์ ลินน์ ฮันติงดอน  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1958 ลุซ มารินา ซูลัวกา  โคลอมเบีย ยูร์ไลน์ โฮเวล  รัฐลุยเซียนา
1957 กลาดิส เซนเดร์  เปรู แมรี ลีโอนา เกจ[e]  รัฐแมริแลนด์
ชาร์ลอตต์ เชฟฟีลด์[a]  รัฐยูทาห์
1956 แครอล มอร์ริส  สหรัฐ แครอล มอร์ริส  รัฐไอโอวา
1955 ฮิลเลวี รอมบิน  สวีเดน คาร์ลีน คิง จอห์นสัน  รัฐเวอร์มอนต์
1954 มิเรียม สตีเวนสัน  สหรัฐ มิเรียม สตีเวนสัน  รัฐเซาท์แคโรไลนา
1953 คริสตียาน มาร์แตล  ฝรั่งเศส เมอร์นา แฮนเซน  รัฐอิลลินอย
1952 อาร์มี คูเซลา  ฟินแลนด์ แจ็กกี เลาก์รี  รัฐนิวยอร์ก
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 รองอันดับ 1 มิสยูเอสเอ ได้รับตำแหน่งมิสยูเอสเอหลังจากที่เจ้าของตำแหน่งเดิมได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลหรือถอนตัวจากตำแหน่งมิสยูเอสเอไม่ว่ามีกรณีใดก็ตาม
  2. 2.0 2.1 มิสยูเอสเอและมิสทีนยูเอสเอไม่ได้อยู่ภายใต้ดำเนินการขององค์การนางงามจักรวาลในปี 2021 และปี 2022
  3. ในปี 2002 ออกซานา โฟยโดโรวา ลาออกจากตำแหน่งนางงามจักรวาล
  4. รองอันดับ 1 นางงามจักรวาล ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลหลังจากที่เจ้าของตำแหน่งเดิมลาออกจากตำแหน่งหรือถอดตำแหน่งนางงามจักรวาล
  5. ในปี 1957 แมรี ลีโอนา เกจ ถูกถอดตำแหน่งมิสยูเอสเอ เมื่อมีการเปิดเผยว่าเธอแต่งงานแล้วและเป็นแม่ของลูกสองคน

รางวัลพิเศษ[แก้]

ตัวแทนประเทศไทย[แก้]

ปัจจุบันตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาลสามารถเข้ารอบได้เป็นจำนวนทั้งหมด 14 ครั้ง โดยตำแหน่งที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้คือ นางงามจักรวาล ในปี 1965 และ 1988 สำหรับตำแหน่งล่าสุดของประเทศไทยคือ รองชนะเลิศอันดับ 1 ในปี 2023

ผลงานตัวแทนประเทศไทยในนางงามจักรวาล
ตำแหน่งในการประกวด ตัวแทนประเทศไทย
นางงามจักรวาล
รองชนะเลิศอันดับ 1
รองชนะเลิศอันดับ 2
เข้ารอบ 5/6 คนสุดท้าย
เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
เข้ารอบ 15/20 คนสุดท้าย
รางวัลพิเศษ ตัวแทนประเทศไทย
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
ขวัญใจช่างภาพ
มิสปอปปูล่าโหวต
นางงามยิ้มสวย
นางงามมิตรภาพ
ผู้สร้างอิมแพคให้กับสังคม (Leadership Awards ImpacWayv)

อ้างอิง[แก้]

  1. "การได้มาซึ่งกิจการทั้งหมดขององค์กรนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) รวมถึงลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกัน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2022-10-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  2. "'แอน-จักรพงษ์' ถือครองกิจการ 'องค์กรนางงามจักรวาล' เป็นความภูมิใจของคนไทย". เดลินิวส์.
  3. "Miss Universe เปิดตัว M*U Beverage กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและน้ำแร่อัลคาไลน์ธรรมชาติระดับพรีเมี่ยม คัดสรรแหล่งน้ำบริสุทธิ์จากประเทศไอซ์แลนด์". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-07-17.
  4. "เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เปิดตัว Miss Universe Skincare พร้อมสร้างปรากฏการณ์ Superstar Marketing คว้าที่สุดแห่งความงามระดับจักรวาลจากทุกทวีปขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์". mgronline.com. 2023-07-26.
  5. อีไฟแนนซ์ไทย, สำนักข่าว. "JKN เปิดตัว Miss Universe Travel ท่องเที่ยวไฮเอนด์ ประเดิมเอลซัลวาดอร์". efinancethai.com.
  6. Chareunsy, Don. "Philippines crowned Miss Universe after Harvey wrongly names Colombia winner". LasVegasSun.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ February 5, 2016.
  7. Brantley-Jones, Kiara (December 30, 2020). "Exclusive: Crystle Stewart takes on new leadership role for Miss USA, Miss Teen USA". Good Morning America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2021. สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]