ไมเคิล เฟ็ลปส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Michael Phelps)
ไมเคิล เฟ็ลปส์
สถิติเหรียญโอลิมปิก
กีฬาว่ายน้ำชาย
ตัวแทนของ  สหรัฐ
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ผลัดฟรีสไตล์ 4×100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ผลัดฟรีสไตล์ 4×200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ผลัดผสม 4×100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2012 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ฟรีสไตล์ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 เดี่ยวผสม 400 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 เดี่ยวผสม 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 เดี่ยวผสม 400 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 200 เมตร
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 ผลัดผสม 4 x 100 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 ผีเสื้อ 100 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ผีเสื้อ 200 เมตร
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 ฟรีสไตล์ 200 เมตร
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร

ไมเคิล เฟรด เฟ็ลปส์ (อังกฤษ: Michael Fred Phelps; 30 มิถุนายน ค.ศ. 1985 — ) เป็นนักกีฬาว่ายน้ำชาวอเมริกันและได้รับการยกย่องให้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์รวมทั้งเป็นหนึ่งในนักกีฬาโอลิมปิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[1][2][3][4][5] เขาได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก 69 หรียญ (23 เหรียญทอง 15 เหรียญเงิน และ 45 เหรียญทองแดง) โดยได้จากโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีก 8 เหรียญ (6 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง) โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน 8 เหรียญทอง และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่สหราชอาณาจักร 4 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงิน[6] ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นนักกีฬาที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกมากที่สุดในโลก[7] โดยลงแข่งขันได้เหรียญทองรวม 23 เหรียญ[8] จากทั้งหมด 28 เหรียญ (ข้อมูลหลังโอลิมปิกฤดูร้อน 2016)

เฟ็ลปส์ยังได้รับเลือกเป็นนักว่ายน้ำโลกประจำปี 2003, 2004, 2006, 2007 และนักว่ายน้ำอเมริกันประจำปี 2001, 2002, 2003, 2004, 2006, 2007

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ไมเคิล เฟ็ลปส์ เกิดที่เมืองรอดเจอส์ฟอร์จ บริเวณชานเมืองของเมืองบอลทิมอร์ในรัฐแมริแลนด์ เขาเรียนจบระดับชั้นมัธยมที่ ทาวสัน ไฮสคูล เมื่อปี 2003 พ่อของเขาชื่อ เฟร็ด เฟ็ลปส์ เป็นตำรวจแห่งรัฐแมริแลนด์ และ เดบบี เดวิสสัน เฟ็ลปส์ แม่ของเขาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนประถม[9] ทั้งคู่หย่าร้างกันในปี ค.ศ. 1994 ไมเคิลมีชื่อเล่นว่า "เอ็มพี" มีพี่สาวอีกสองคนชื่อ วิทนีย์ และ ฮิลารี่ ซึ่งทั้งคู่เป็นนักว่ายน้ำเช่นกัน (โดยวิทนีย์ เกือบจะได้ลงแข่งว่ายน้ำให้กับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในโอลิมปิกเกมส์ 1996 แต่ต้องมาบาดเจ็บเสียก่อน)[10]

ในวัยเด็ก ไมเคิล เฟ็ลปส์ เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เขาเริ่มว่ายน้ำตั้งแต่อายุได้ 7 ปี ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวทั้ง 2 คน และเมื่ออายุ 10 ขวบ เขาก็สามารถทำลายสถิติระดับประเทศเมื่อเทียบกับเด็กอายุรุ่นเดียวกัน และในปี ค.ศ. 2000 ได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น[11]

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ด้วยวัย 19 ปี เฟ็ลปส์ถูกจับในคดีเมาและขับ ที่เมืองซาลิสบิวรี่ รัฐแมริแลนด์ และต้องถูกปรับเงิน 250 ดอลลาร์สหรัฐ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเป็นเวลา 18 เดือน ด้วยการพูดรณรงค์ในเรื่องเมาไม่ขับตามโรงเรียนต่าง ๆ [12][13]

ระหว่างปี 2004 ถึงปี 2008 เฟ็ลปส์ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยศึกษาด้านการตลาดและการจัดการด้านกีฬา โดยเฟ็ลปส์พูดว่าเขาจะกลับมาศึกษาต่อที่บัลติมอร์เพื่อเข้าคัดตัวไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยร่วมกับบ็อบ โบว์แมน เมื่อเขาออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเขาพูดว่า "ผมไม่ได้ว่ายน้ำเพื่อใครอื่น ผมคิดว่าเราทั้งคู่ จะสามารถช่วยให้สโมสรนักกีฬาบัลติมอร์เหนือ (North Baltimore Athletic Club) ไปได้ไกลกว่านี้" โดยทางสโมสรออกมาประกาศว่า โบว์แมนออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเพื่อมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสโมสร[14] เฟ็ลปส์ซื้อบ้านที่เฟลส์พอยต์ในบัลติมอร์ ที่ที่เขาจะกลับมาหลังจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[15]

เพื่อนร่วมทีมของเฟ็ลปส์เรียกเขาว่า "โกเมอร์" เพราะเขาดูเหมือน โกเมอร์ ไพล์ ตัวละครในซิตคอมเรื่อง The Andy Griffith Show[16]

เขามีรายได้โดยประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการโฆษณา บวกกับ 1 ล้านเหรียญจากบริษัทชุดว่ายน้ำสปีโดสำหรับชนะเหรียญทอง 8 เหรียญในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[17]

ในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2016 เฟ็ลปส์ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนสหรัฐอเมริกาสำหรับการแข่งขันว่ายน้ำในโอลิมปิก 2016 นับเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายจากสหรัฐอเมริกาคนแรกที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 5 สมัยติดต่อกัน[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Usain Bolt vs. Michael Phelps: Who's The Greatest Olympian Of All Time?". International Business Times. 2016-08-16.
  2. "Ranking the 10 greatest Olympians of all time". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-09.
  3. "Michael Phelps Biography, Olympic Medals, Records and Age". Olympics.com.
  4. Hamre, Erik (2020-09-10). "Michael Phelps — The Greatest Olympian of All-Time". Medium (ภาษาอังกฤษ).
  5. Hertel, Alyssa. "Where is Michael Phelps now? Olympics legend focused on mental health and family". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "2004 Olympic Games swimming results". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  7. "Olympedia – Michael Phelps". www.olympedia.org.
  8. "Michael Phelps". www.olympedia.org. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
  9. "USA Swimming — Michael Phelps". U.S. Olympic Committee. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
  10. "Life after Swimming", by Mo-Jo Isaac, Swimming World Magazine, November 2005.
  11. Paul McMullen, Amazing Pace: The Story of Olympic Champion Michael Phelps from Sydney to Athens to Beijing. New York: Rodale, Inc., 2006.
  12. "Olympic Champ Sentenced For DUI". CBS News. 2004-12-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
  13. "Michael Phelps". Ask Men. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  14. Kevin Van Valkenburg (2008-05-11). "Phelps returns to attend NBAC fundraiser". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  15. Kevin Van Valkenburg (2008-08-18). "Phelps to rest, reinvent". The Baltimore Sun. p. 1A.
  16. "Phelps's debut lives up to star-spangled expectation". NBC Sports. 2008-08-10.
  17. "Teammate's Final Stroke Keeps Phelps in Hunt for 8 Gold Medals". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  18. Hecht, Hannah (June 29, 2016). "Michael Phelps makes fifth Olympic Team". Swimswam. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]