มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Maleficent (film))
มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ
A live-action rendition of the Walt Disney character Maleficent, with the text "Angelina Jolie" above and "Disney's Maleficent" below
ใบปิดประชาสัมพันธ์
กำกับโรเบิร์ต สตรอมเบิร์ก
บทภาพยนตร์ลินดา วูลเวอร์ตัน
สร้างจาก
อำนวยการสร้างโจ รอธ
นักแสดงนำ
กำกับภาพดีน เซมเลอร์
ตัดต่อ
  • คริส เลเบนซอน
  • ริชาร์ด เพียร์สัน
ดนตรีประกอบเจมส์ นิวตัน เฮาเวิร์ด
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์
โมชันพิกเชอส์
วันฉาย28 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 (2014-05-28)(ลอสแอนเจลิส)
30 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 (2014-05-30)(สหรัฐ)
12 มิถุนายน ค.ศ. 2014 (2014-06-12)(ไทย)
ความยาว97 นาที
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง180–263 ล้านดอลลาห์สหรัฐ[1]
ทำเงิน758.5 ล้านดอลลาห์สหรัฐ[2]
ต่อจากนี้มาเลฟิเซนต์: นางพญาปีศาจ (2019)

มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ (อังกฤษ: Maleficent) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวจินตนิมิตด้านมืดที่ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 2014 กำกับโดยโรเบิร์ต สตรอมเบิร์ก จากบทภาพยนตร์โดยลินดา วูลเวอร์ตัน ร่วมอำนวยการสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์และรอธฟิล์มส เป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงที่สร้างจากภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา ของวอลต์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1959 ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเทพนิยายชื่อเดียวกันของชาร์ล แปโร ในปี ค.ศ. 1697 แต่ดำเนินเรื่องราวผ่านมุมมองของมาเลฟิเซนต์ นางฟ้าผู้ชั่วร้าย ว่าด้วยความสัมพันธ์อันขัดแย้งระหว่างนางกับกษัตริย์และเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรมนุษย์ แสดงนำโดยแอนเจลีนา โจลี เป็นตัวละครหลัก ร่วมด้วยชาร์ลโต คอปเลย์, แอลล์ แฟนนิง, แซม ไรลีย์, อิเมลดา สตอนตัน, จูโน เทมเพิล, เลสลีย์ แมนวิลล์, เบรนตัน ทเวทส์ และเคนเนธ แครนแฮม ในบทบาทสมทบ

มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ เคยเตรียมสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในปี ค.ศ. 2003 ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นภาพยนตร์คนแสดงในปี ค.ศ. 2006 หลังจากที่ดิสนีย์เข้าซื้อกิจการของพิกซาร์ เดิมทีทิม เบอร์ตัน รับหน้าที่กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ในที่สุดก็ถอนตัว และถูกแทนที่ด้วยสตรอมเบิร์กในการกำกับเรื่องแรกของเขา โจลีเซ็นสัญญารับบทนำในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2012 และยังรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ร่วมกับไมเคิล วิเอรา, ดอน ฮาห์น, ปาลัค พาเทล, แมตต์ สมิธและซาราห์ แบรดชอว์[3] มีประกาศรายชื่อนักแสดงหลักที่เหลือระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2012 โดยเริ่มการถ่ายภาพยนตร์ฉากสำคัญที่ไพน์วูดสตูดิโอส์ (Pinewood Studios) ในบักกิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012

มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ลอสแอนเจลิสเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 และเข้าฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมโดยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ ได้รับการวิจารณ์ที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ซึ่งชื่นชมการแสดง วิชวลเอฟเฟกต์ และเครื่องแต่งกายของโจลี โดยมีการวิจารณ์ที่มุ่งเป้าไปที่บทและน้ำเสียงที่ไม่สอดคล้องกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในด้านรายได้โดยทำรายได้ทั่วโลกกว่า 578 ล้านดอลลาห์สหรัฐ และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 4 ประจำปี ค.ศ. 2014 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของโจลีด้วย ในบรรดาภาพยนตร์ฉบับคนแสดงของดิสนีย์ มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 6 จนถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 87 ภาคต่อเรื่อง มาเลฟิเซนต์: นางพญาปีศาจ ออกฉายในปี ค.ศ. 2019

เนื้อเรื่อง[แก้]

หญิงชรานางหนึ่งเล่าความว่า ในเมืองทิพย์ชื่อ เดอะมัวร์ส (The Moors) ซึ่งประชิดติดเมืองมนุษย์ เทพธิดาผู้มากฤทธิ์องค์หนึ่งนามว่า มาเลฟิเซนต์ ได้พบและรักมนุษย์หนุ่มนาม สเตฟาน ผู้มีใจใคร่จะเป็นราชา แต่ยิ่งนานวัน ทั้งคู่ก็ยิ่งห่างกัน จนวันหนึ่งสเตฟานเลิกมาหานาง ขณะที่มาเลฟิเซนต์เติบใหญ่กลายเป็นผู้พิทักษ์แห่งเมืองทิพย์

ต่อมา พระเจ้าเฮนรี กษัตริย์เมืองมนุษย์ ยกรี้พลมาตีเมืองทิพย์ แต่ทรงแพ้แก่มาเลฟิเซนต์ จึงทรงกริ้วโกรธเป็นกำลัง มีรับสั่งว่า ผู้ใดตามล้างผลาญนางเพื่อแก้แค้นแทนพระองค์ได้ จะให้ผู้นั้นสืบบัลลังก์ สเตฟานสบช่องขึ้นเป็นใหญ่ จึงกลับไปหามาเลฟิเซนต์ในคืนหนึ่ง เขาวางยาสลบนาง แต่หักใจปลิดชีวิตนางไม่ลง เขาจึงใช้เหล็กอันเป็นวัตถุมีอำนาจสังหารเทพธิดาตัดปีกนางออก แล้วแสดงปีกนั้นต่อพระเจ้าเฮนรีที่กำลังจะวายปราณเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า เขาได้ฆ่านางแล้ว มาเลฟิเซนต์หัวใจแหลกลาญ จึงหันไปสร้างดินแดนอนธการอยู่ในเมืองทิพย์นั้น แล้วรับเอานกกาชื่อ เดียวัล มาเป็นคนสนิท ให้มีฤทธิ์แปลงกายได้นานัปการ

วันหนึ่ง เดียวัลมาแจ้งว่า สเตฟานได้เสวยราชย์ในเมืองมนุษย์แล้ว บัดนี้ กำลังประกอบพิธีสมโภชพระราชธิดาที่เพิ่งประสูติมีพระนามว่า ออโรรา เพื่อแก้แค้นสเตฟาน มาเลฟิเซนต์จึงบุกไปงานสมโภชโดยมิได้รับเชิญ แล้วสาปพระกุมารีให้ทรงถูกเข็มปั่นฝ้ายตำพระดัชนีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สิบหกและบรรทมไปตลอดกาล พระเจ้าสเตฟานทรงขอให้นางปรานี นางจึงทูลว่า คำสาปนี้แก้ได้ด้วยจุมพิตจากรักแท้ และไม่มีอำนาจอื่นใดในโลกลบล้างได้ แล้วนางก็จากไป พระเจ้าสเตฟานทรงเกรงมาเลฟิเซนต์จะเคียดแค้นพระองค์ยิ่งนัก จึงรับสั่งให้ริบเครื่องปั่นฝ้ายทั้งหมดในแว่นแคว้น แล้วให้นางฟ้าสามองค์ คือ น็อตกราสส์, ฟลิตเทิล และทิสเซิลวิต นำพระราชธิดาไปรับเลี้ยงไว้ในป่าจนกว่าจะลุวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สิบหก

นางฟ้าทั้งสามนั้นสะเพร่า มิได้เอาใจใส่พระราชธิดาตามสมควร มาเลฟิเซนต์และเดียวัลจึงมาคอยปรนนิบัติพัดวีอยู่ไม่ห่าง แม้เดิมจะจงเกลียดจงชังมากก็ตาม ครั้นพระราชธิดาเจริญพระชันษาที่สิบห้า ก็เสด็จไปพบมาเลฟิเซนต์ ทรงให้รู้สึกเสมือนว่า มาเลฟิเซนต์เฝ้าคุ้มครองป้องกันพระองค์เสมอมา จึงทรงเชื่อว่า มาเลฟิเซนต์เป็น "นางฟ้าแม่ทูนหัว" ของพระองค์ มาเลฟิเซนต์เองเมื่อให้พระราชธิดาพำนักอยู่กับตนนานเข้า ก็เริ่มตระหนักว่า ตนรักพระราชธิดามากเพียงไร นางจึงพยายามเพิกถอนคำสาปให้ แต่ไร้ผล เพราะเดิมนางได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีอำนาจใดในโลกลบล้างได้"

ภายหลัง ออโรราพบเจ้าชายรูปงามพระนามว่า ฟิลลิป ที่กำลังเสด็จไปวังพระเจ้าสเตฟาน ทั้งสองมีใจปฏิพัทธ์กันในบัดดล เจ้าชายฟิลลิปทรงให้คำมั่นว่าจะเสด็จกลับมาหาออโรราให้จงได้ ต่อมาเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สิบหกมาถึง ออโรรายังทรงพอพระทัยจะอยู่กับมาเลฟิเซนต์มากกว่าจะเสด็จกลับเมืองมนุษย์ มาเลฟิเซนต์เองก็หวังจะให้เป็นเช่นนั้น คิดว่า คงช่วยป้องปัดมิให้คำสาปสัมฤทธิ์ผลได้ ทว่า นางฟ้าทั้งสามรุดมาแถลงว่า เป็นมาเลฟิเซนต์ที่สาปออโรรามาแต่พระเยาว์ ออโรราทรงฟังแล้วก็พระทัยสลาย เสด็จหนีมาเลฟิเซนต์คืนสู่วังพระราชบิดา

พระเจ้าสเตฟานทรงขังออโรราไว้ในวังจนกว่าวันเฉลิมพระชนม์จะพ้นไป กระนั้น ออโรราเสด็จไปพบเครื่องปั้นฝ้ายที่ริบไว้แต่เดิม และทรงถูกเข็มตำนิ้วพระหัตถ์ คำสาปเป็นอันบรรลุผล มาเลฟิเซนต์เสียใจที่ไม่อาจปกป้องพระธิดาได้ จึงลอบพาเจ้าชายฟิลลิปมาสู่วัง หวังใจว่า ที่เจ้าชายและเจ้าหญิงได้ทรงพบกันในป่านั้น แม้จะเป็นเวลาอันสั้น ก็อาจช่วยให้บังเกิดรักแท้มาแก้คำสาปได้ เจ้าชายฟิลลิปทรงบรรจงจุมพิตออโรรา แต่ว่าไม่เป็นผล มาเลฟิเซนต์ก็เสียใจหนัก จึงปวารณาจะพิทักษ์รักษาพระราชธิดาจากเภทภัยทั้งหลายจนกว่าจะเสด็จจากบรรทม กล่าวแล้วก็จุมพิตพระนลาฏพระราชธิดาด้วยความรัก ฉับพลัน พระราชธิดาทรงตื่นจากพระบรรทม มาเลฟิเซนต์จึงเข้าใจว่า รักใดในโลกนี้ก็ไม่จริงแท้เท่ารักที่แม่มีให้ลูก พระราชธิดาทรงเรียกขานมาเลฟิเซนต์ว่า "แม่ทูนหัว" ด้วยทรงซาบซึ้งถึงความรักประหนึ่งมารดาที่มาเลฟิเซนต์มีให้ และทรงอภัยมาเลฟิเซนต์ในทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว

เจ้าหญิงออโรรายังทรงปรารถนาจะกลับไปอยู่กับมาเลฟิเซนต์ในเมืองทิพย์ มาเลฟิเซนต์จึงพาเสด็จหนี ทว่า พระเจ้าสเตฟานเสด็จมาขวางและทรงใช้ข่ายเหล็กจับมาเลฟิเซนต์ไว้ได้ แล้วทหารของพระองค์พร้อมด้วยศัสตราวุธทำด้วยเหล็กกล้าจึงเตรียมฆ่านาง มาเลฟิเซนต์ใช้กำลังเฮือกสุดท้ายจำแลงนกกาเดียวัลเป็นมังกรเพื่อช่วยให้นางกับพระราชธิดาหนีไป แต่ทัพมนุษย์กล้าแกร่งนัก มังกรเดียวัลถูกเหล่าทหารใช้โซ่ตรวนรัดจนสิ้นฤทธิ์ ในโมงยามที่มาเลฟิเซนต์กำลังจะถูกประหารนั้นเอง เจ้าหญิงออโรราถอดปีกของมาเลฟิเซนต์ที่รักษาไว้ในคุกออกมาคืนให้ มาเลฟิเซนต์จึงได้ฟื้นฤทธานุภาพโดยบริบูรณ์ และเอาชนะพระเจ้าสเตฟานได้ มาเลฟิเซนต์ละเว้นพระชนม์โดยขอให้เลิกรากันเท่านี้ ก่อนที่นางจะพาพระราชธิดาบินจากไป ทว่า พระเจ้าสเตฟานไม่ทรงยอมแพ้ ทรงโผนไปเกาะมาเลฟิเซนต์ไว้ มาเลฟิเซนต์ทรงตัวไว้ได้ แต่พระเจ้าสเตฟานนั้นทรงพลัดตกลงสู่เบื้องล่างถึงแก่พระชนมชีพ

ครั้นแล้ว มาเลฟิเซนต์ก็รวมเมืองทิพย์เมืองคนเข้าเป็นหนึ่ง และตั้งออโรราปกครอง ตอนท้ายปรากฏว่า หญิงเฒ่าผู้เล่าเรื่องนั้นคือออโรราในบั้นปลายพระชนม์

นักแสดง[แก้]

แอนเจลีนา โจลี (ซ้าย), แอลล์ แฟนนิง (กลาง) และ ชาร์ลโต คอปเลย์ (ขวา) เป็นนักแสดงนำในภาพยนตร์
  • แอนเจลีนา โจลี รับบทเป็น มาเลฟิเซนต์ (Maleficent),[4] ผู้พิทักษ์ที่ดุร้ายและพยาบาทแห่งเมืองมัวร์ส ผู้แก้แค้นการทรยศของสเตฟาน อดีตคนรักของนาง ด้วยการสาปออโรรา พระราชธิดาของเขา[3] แตกต่างจากภาพยนตร์แอนิเมชันต้นฉบับ ตัวละครเวอร์ชันนี้แสดงความเห็นอกเห็นใจมากกว่า[5] ในขณะที่ภาพยนตร์ดำเนินไป มาเลฟิเซนต์ก็เปลี่ยนจากผู้ถูกกระทำกลายเป็นวายร้าย หลังจากการทรยศของสเตฟาน และในที่สุดก็กลายเป็นวีรสตรีเพราะความรู้สึกของความเป็นแม่ที่เธอมีต่อออโรรา[6] Jolie described her character as "slightly insane, extremely vibrant, a little wicked, and has a big sense of humor, so she's quite full-on. She's one of those characters that, for me, you couldn't do halfway."[7] She further admitted that Maleficent was one of the most difficult characters that she had ever played because "she represents all sides of what it is to be human, even though she is not… For me, the journey of playing her has been much heavier, much more emotional, and much more difficult an experience than I expected."[8]
    • อิโซเบลล์ มอลลอย รับบทเป็น มาเลฟิเซนต์ในวัยเด็ก[9]
    • เอลลา เพอร์เนลล์ รับบทเป็น มาเลฟิเซนต์ในวัยรุ่น[10]
  • แอลล์ แฟนนิง รับบทเป็น ออโรรา (Aurora),[11] หรือที่รู้จักในชื่อ เจ้าหญิงนิทรา (Sleeping Beauty),[12] an innocent daughter of Stefan and Leila who falls under Maleficent's curse.[3] Fanning described her character as "very free spirited, and since she has been kept away from normal life, she's very open to things and innocent. But that's what makes her very likable and charming."[13] Robert Stromberg also highlighted the contrast between Aurora and Maleficent, which he described as the "beacon of light vs. darkness… It reminds me a little of the girl plucking petals from the flower in Frankenstein. It's such a wonderful contrast and the joy in making this film was bringing those two elements together and discovering things that we normally wouldn't know."[14]
    • วีเวียน โจลี-พิตต์ รับบทเป็น ออโรราเมื่อมีพระชนมายุ 5 พรรษา[15]
    • เอเลนอร์ เวอร์ธิงตัน ค็อกซ์ ออโรราเมื่อมีพระชนมายุ 8 พรรษา[16]
    • เจเน็ต แมคเทียร์ รับบทเป็น ออโรราเมื่อมีพระชนมายุมากแล้ว ซึ่งเป็นผู้บรรยายของภาพยนตร์[6]
  • ชาร์ลโต คอปเลย์ รับบทเป็น สเตฟาน (Stefan),[17] Aurora's ambitious and vengeful father and Maleficent's former childhood friend/lover, who cuts off the latter's wings to become the king.[3] Unlike his animated counterpart, this version of the character is portrayed in a more antagonistic light.[6] Commenting on his character, Copley said that "it was an opportunity to play a character that was almost like a cautionary tale for men… To have a character like Stefan, who has what most men have, which is a desire to be ambitious, and driven, and the proverbial king of his castle. He literally becomes the king of his castle, but is prepared to sacrifice his true love to get there… It was an interesting character and opportunity to play that kind of male ego running away with itself."[18]
    • ไมเคิล ฮิกกินส์ รับบทเป็น สเตฟานขณะทรงพระเยาว์[19]
    • แจ็กสัน บิวส์ รับบทเป็น สเตฟานขณะเจริญพระชันษา[3]
  • เลสลีย์ แมนวิลล์, อิเมลดา สตอนตัน และจูโน เทมเพิล รับบทเป็น ฟลิตเทิล (Flittle), น็อตกราสส์ (Knotgrass) และทิสเซิลวิต (Thistlewit),[20][21] a trio of incompetent and inept pixies whom Stefan charges with taking care of Aurora until her sixteenth birthday.[3] These versions of the characters are markedly different from their animated counterparts (ในชื่อ ฟลอรา, โฟนา และเมอร์รีเวเธอร์), with their role being reduced to comic relief.[22] Commenting on her character, Manville said that Flittle is "incredibly proud of her special magical power that allows her to turn things blue. She can turn everything blue and she thinks everything should be blue as well."[23] Staunton described Knotgrass as "the most important pixie – in her own head. Very bossy, very organized, has to control everything. There are three pixies and she is the self-appointed grown-up among them."[24] According to Temple, Thistlewit is "the youngest member and she is definitely more 'away with the fairies' than the other two. She’s more distracted by nature. She wants to smell flowers and she wants to dance around, so she's a much younger free spirit."[23]
  • แซม ไรลีย์ รับบทเป็น เดียวัล (Diaval),[20] Maleficent's shape-shifting raven companion.[3] Riley described his character as "Maleficent's loyal ally who can fly to places and spy for her. Their relationship blooms and Diaval develops an affection for her. He's the only character who's capable of telling her when she becomes a little overwrought and who really knows what she's thinking."[25] Stromberg elaborated that Diaval is "the conscience in the ear of Maleficent at all times. He helps her down the path of finding out who she is. He comes at the lowest point in Maleficent's life and becomes, in addition to Aurora, the other character that really pulls Maleficent out of her dark hole."[3]

The film also features Brenton Thwaites as Phillip,[26] a prince who befriends and falls in love with Aurora.[27] Kenneth Cranham portrays King Henry,[20] Stefan's predecessor and Leila's father,[28] whose efforts to conquer the Moors get him slain by Maleficent.[29] Hannah New portrays Princess Leila,[3] King Henry's daughter, Stefan's wife, and Aurora's mother.[30] New described her character as a "demure, untouchable princess."[31]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับเชิงวิพากษ์[แก้]

การแสดงของแอนเจลีนา โจลี ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ทั่วโลก[32]

มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจได้รับเสียงวิจารณ์ที่หลากหลาย ซึ่งมีทั้งชมเชยและตำหนิระคนกัน โดยส่วนมากชื่นชมด้านการแสดง วิชวลเอฟเฟกต์ และเครื่องแต่งกาย แต่ตำหนิด้านบทภาพยนตร์และการกำกับของสตรอมเบิร์ก ส่วนการแสดงของโจลีในบทมาเลฟิเซนต์นั้นได้รับคำชมเป็นอย่างมาก ในเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์ (Rotten Tomatoes) มีผู้ออกความเห็น 161 ราย ให้ภาพยนตร์ได้คะแนนร้อยละ 54 ต่อคำวิจารณ์ 273 รายการ เฉลี่ย 5.7 จากคะแนนเต็ม 10 และลงมติว่า "การแสดงอันน่าดึงดูดของแอนเจลีนา โจลี นั้นดีเด่นกว่าสเปเชียลเอฟเฟกต์มลังเมลืองในภาพยนตร์เป็นไหน ๆ แต่โชคไม่ดีที่ตัวภาพยนตร์ทำให้ความบากบั่นอันน่าประทับใจทั้งหลายต้องเสียเปล่า"[33] ส่วนในเว็บไซต์เมตาคริติก (Metacritic) มีผู้วิจารณ์ 44 ราย และให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คะแนน 56 เต็ม 100[34] โดยรวมคืออยู่ในระดับ "ปานกลาง" และจากการสำรวจผู้ชมของเว็บไซต์ซีนะมาสกอร์ (CinemaScore) ได้จัดอันดับให้ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในเกรด A จากเกรด A+ ถึง F[35]

แม้ภาพยนตร์มีคะแนนไม่ดี แต่การแสดงของโจลีกลับเป็นที่ชื่นชมในหมู่ผู้วิจารณ์ รอบ คอลลิน จากหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ (The Telegraph) ว่า "การที่ดิสนีย์เอา เจ้าหญิงนิทรา มาแปลงโฉมใหม่นี้ขาดเสน่ห์ที่แท้จริงไปหน่อย ดีที่แอนเจลีนา โจลี ช่วยกู้หน้าไว้ได้"[36] เบตซี ชาร์กีย์ จากหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ (Los Angeles Times) ว่า "เรียกได้ว่าเป็นหนังของโจลีเพราะตัวละครมาเลฟิเซนต์ที่เธอแสดงเลยทีเดียว พอมีตัวนี้ ตัวละครอื่น ๆ แม้กระทั่งออโรรา ก็เลือนหายไปหมดสิ้น"[37] แอน ฮอร์นาเดย์ จากหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ว่า "แม้มีข้อจำกัดต่าง ๆ นานา มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ ก็ยังดูได้สนุกดีอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้ ก็เพราะตัวละครหลักตัวเดียวเลย"[38] แดเนียล เอ็ม. คิมเมล ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ "ก้าวไปได้ก็เพราะพลานุภาพในการแสดงของแอนเจลีนา โจลี ถ้าจะให้พูดเป็นคำแล้วก็ เธอช่างล้ำเลิศ"[39] แมต ซอลเลอร์ ซีตซ์ เขียนลงเว็บไซต์ของโรเจอร์ อีเบิร์ต ว่า เขาชอบแก่นเรื่องและฝีมือของโจลี อย่างไรก็ดี เขาว่า ฉากที่มาเลฟิเซนต์รู้ว่าปีกหายไปนั้นเป็น "ภาพที่น่ารังเกียจที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมาในหนังจักร ๆ วงศ์ ๆ ฮอลลีวูดนับตั้งแต่เรื่อง อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง เมื่อปี 2005 ที่เอาอัสลันไปบูชายัญเหมือนพระเยซู"[40] ขณะที่ริชาร์ด โรเปอร์ จากหนังสือพิมพ์ ชิคาโกซันไทมส์ (Chicago Sun-Times) ว่า "เนื้อเรื่องนี่ดูแล้วอาจรู้สึกมึนตึ้บอย่างเดียวกับที่นางเอกเป็น"[41]

แมรี คอสตา ผู้พากย์เสียงออโรราในภาพยนตร์แอนิเมชันต้นฉบับ กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "เป็นหนังยอดเยี่ยมมาก" และกล่าวเสริมว่า "เป็นแนวคิดและมุมมองที่ต่างออกไปจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเรื่องราวใหม่ที่น่าสนใจ" เธอกล่าวถึงการแสดงของโจลีว่า "ไม่มีใครที่สามารถรับบทมาเลฟิเซนต์ได้เยี่ยมไปกว่านี้อีกแล้ว" รวมทั้งว่า "เธอสง่างามมาก!"[42]

อ้างอิง[แก้]

  1. FilmL.A. (May 2015). "2014 Feature Film Study" (PDF). FilmL.A. Feature Film Study. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2023. สืบค้นเมื่อ November 11, 2017.
  2. "Maleficent (2014)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2014. สืบค้นเมื่อ December 6, 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Maleficent Press Kit" (PDF). Walt Disney Studios. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 9, 2014. สืบค้นเมื่อ June 6, 2014.
  4. Szalai, Georg; McClintock, Pamela (February 11, 2012). "Berlin 2012: Disney's 'Maleficent' Will Be Angelina Jolie's Next Starring Role". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2022. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
  5. Burk, Greg (June 12, 2014). "Op-Ed: Disney's 'Maleficent': Romancing the devil". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2023. สืบค้นเมื่อ November 30, 2023.
  6. 6.0 6.1 6.2 "The Differences Between 'Maleficent' and 'Sleeping Beauty'". Yahoo!. May 31, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
  7. Solomon 2014, p. 130.
  8. "Q & A with Angelina Jolie on Maleficent". Geek Ireland. May 28, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2024. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
  9. Charalambous, Sophia (November 8, 2012). "Chelmsford schoolgirl stars in Disney movie with Angelina Jolie". Essex Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2014. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
  10. Stephens, Hallie (May 29, 2014). "Meet Young Angelina Jolie in 'Maleficent': Actress Ella Purnell". Yahoo!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2022. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
  11. "Elle Fanning on the spell of 'Maleficent'". The Columbus Dispatch. June 4, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2024. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
  12. Fleming, Mike Jr. (March 3, 2012). "Elle Fanning To Join Angelina Jolie In 'Maleficent'". Deadline Hollywood. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2022. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
  13. "Elle Fanning is Princess Aurora in 'Maleficent'". ClickTheCity.com. May 15, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2022. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
  14. Desowitz, Bill (May 30, 2014). "Director Robert Stromberg Talks 'Maleficent': Cutting Edge Virtual Cinema and Age-Old Emotional Storytelling". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2023. สืบค้นเมื่อ February 25, 2023.
  15. Duboff, Josh (March 5, 2014). "Vivienne Jolie-Pitt Scored Maleficent Role Because All Other Children Were Terrified of Angelina Jolie". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2016. สืบค้นเมื่อ March 20, 2014.
  16. Miles, Tina (October 4, 2012). "Young Formby actress to play Sleeping Beauty in Angelina Jolie's Disney movie Maleficent". Liverpool Echo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2013. สืบค้นเมื่อ January 2, 2023.
  17. Patten, Dominic (May 3, 2012). "Sharlto Copley In Talks To Join Angelina Jolie in Disney's 'Maleficent'". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2023. สืบค้นเมื่อ January 6, 2023.
  18. Cornet, Roth (May 26, 2014). "Sharlto Copley's Done Playing Villains After Maleficent". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2020. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
  19. "Bellshill schoolboy wins role opposite Hollywood star Angelina Jolie in new Disney film". Daily Record. September 18, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2012. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  20. 20.0 20.1 20.2 Kit, Borys (May 7, 2012). "Imelda Staunton, Miranda Richardson Joining Angelina Jolie in 'Maleficent' (Exclusive)". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2023. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  21. Kit, Borys (May 17, 2012). "Juno Temple Joins Angelina Jolie's 'Maleficent' (Exclusive)". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2023. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  22. "Maleficent Writer Linda Woolverton on Adapting Fairy Tales for a New Generation". Women and Hollywood. May 30, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2023. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
  23. 23.0 23.1 Powell, Emma (October 2, 2014). "Imelda Staunton, Juno Temple, and Lesley Manville talk dressing up as fairies for Maleficent". Evening Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2022. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  24. Solomon 2014, p. 140.
  25. Hannett, Michelle (April 17, 2014). "MALEFICENT Behind-The-Scenes Featurette With Angelina Jolie". We Are Movie Geeks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  26. Fleming, Mike Jr. (May 30, 2012). "Disney Crowns Young Prince In 'Maleficent'". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2022. สืบค้นเมื่อ May 30, 2012.
  27. Kritselis, Alex (June 2, 2014). "'Maleficent' Shows That Women Are Heroes". Bustle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2020. สืบค้นเมื่อ February 24, 2024.
  28. Solomon 2014, p. 162.
  29. Building An Epic Batlle (Documentary film). Maleficent (Blu-ray): Walt Disney Studios Home Entertainment. 2014 – โดยทาง YouTube.
  30. Fox, Caroline (October 4, 2020). "Maleficent: What Happened To Aurora's Mother". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2023. สืบค้นเมื่อ February 24, 2024.
  31. Radish, Christina (March 18, 2014). "Hannah New Talks BLACK SAILS, Joining the Show, Playing the Woman in Charge, Getting the Season 2 Pick-Up, and Her Character's Relationships". Collider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 8, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2023.
  32. Acuna, Kirsten (May 28, 2014). "Angelina Jolie Is The Best Part Of 'Maleficent'". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2022. สืบค้นเมื่อ February 14, 2024.
  33. "Maleficent (2014)". Rotten Tomatoes (Flixster). สืบค้นเมื่อ June 5, 2014.
  34. "Maleficent". Metacritic. สืบค้นเมื่อ May 31, 2014.
  35. Bahr, Lindsey (June 1, 2014). "Box office report: 'Maleficent' reigns; 'A Million Ways' disappoints". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2023. สืบค้นเมื่อ February 14, 2024.
  36. Collin, Robbie (May 28, 2014). "Maleficent, review". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  37. Sharkey, Betsy (May 29, 2014). "Review: Angelina Jolie is wickedly good in the not-quite-classic 'Maleficent'". The Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 30, 2014.
  38. Hornaday, Ann (May 30, 2014). "Angelina Jolie stars in 'Maleficent,' a feminist-revisionist take on Sleeping Beauty". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 30, 2014.
  39. Kimmel, Daniel M. (May 29, 2014). "Review – Maleficent". NorthShoreMovies.net. สืบค้นเมื่อ May 30, 2014.
  40. Seitz, Matt (May 29, 2014). "Maleficent Movie Review & Film Summary (2014)". RogerEbert.com. Ebert Digital LLC. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.
  41. Roeper, Richard (June 2, 2014). "Maleficent (2014)". RichardRoeper.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-06. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.
  42. California Institute of the Arts: Mary Costa, Awake and Sing, California Institute of the Arts, 2015

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]