แคว้นมคธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Magadh)
อาณาจักรมคธ

พ.ศ. 43พ.ศ. 222
แผนที่แคว้นมคธ
แผนที่แคว้นมคธ
เมืองหลวงราชคฤห์, ปัฏนา
ภาษาทั่วไปภาษาปรากฤต
ศาสนา
ศาสนาฮินดู, ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ, ศาสนาพราหมณ์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
กษัตริย์ 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 43
• สิ้นสุด
พ.ศ. 222
สกุลเงินPanas
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมัยพระเวท
ราชวงศ์โมริยะ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย
 บังกลาเทศ

ราชอาณาจักรมคธ ถือเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในชมพูทวีป ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ ถือกำเนิดขึ้นไล่เลี่ยกับการกำเนิดของมหาชนบท 16 แคว้น มีเมืองหลวงครั้งแรกชื่อราชคฤห์ ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูจึงย้ายเมืองหลวงไปยังปาฏลีบุตร (ปัฏนา) ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มคธได้ผ่านการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะมาจากอำมาตย์สุสุนาค มหาโจรนันทะ จันทรคุปต์ พราหมณ์ปุษยมิตร ฯลฯ แคว้นมคธได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 516 กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสาตวหนะ ต่อมาประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรมคธก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของราชวงศ์คุปตะ อันเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ

รายพระนามกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ[แก้]

กษัตริย์แห่งแคว้นมคธเท่าที่มีหลักฐานแน่นอน แบ่งออกเป็น 7 ราชวงศ์ ดังนี้

ราชวงศ์หารยังกะ[แก้]

  1. พระเจ้าภัตติยะ
  2. พระเจ้าพิมพิสาร
  3. พระเจ้าอชาตศัตรู
  4. พระเจ้าอุทัยภัทร
  5. พระเจ้าอนุรุทธะ
  6. พระเจ้ามุณฑกะ
  7. พระเจ้านาคทาสกะ

การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคเห็นว่า ราชวงศ์หารยังกะเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยตลอด จึงทำรัฐประหารเพื่อมิให้เป็นเสนียดแก่อาณาจักรอีก

ราชวงศ์ศิศุนาค[แก้]

ตั้งโดยขุนนางชื่อศิศุนาค

  1. พระเจ้าศิศุนาค
  2. พระเจ้ากาฬาโศก
  3. พระเจ้าภัทรเสนและพระอนุชา (ปกครองปาฏลีบุตรแบบคณะ)
  4. พระเจ้าโกรันทวรรณะ
  5. พระเจ้ามังคุระ
  6. พระเจ้าสารวันชหะ
  7. พระเจ้าชลิกะ
  8. พระเจ้าอุภกะ
  9. พระเจ้าสัญชัย
  10. พระเจ้าโกรัพยะ
  11. พระเจ้านันทิวรรธนะ
  12. พระเจ้าปัญจมกะ
  13. พระเจ้ามหานันทิน

การสิ้นสุดของราชวงศ์ศิศุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะทำรัฐประหาร

ราชวงศ์นันทะ[แก้]

ตั้งโดยมหาโจรชื่อนันทะ

  1. พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
  2. พระเจ้าธนานันทะ

บางตำราบอกว่ายังมีต่ออีก คือ

  1. พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
  2. พระเจ้าอุครเสน
  3. พระเจ้าปัณฑุกะ
  4. พระเจ้าปัณฑุคติ
  5. พระเจ้าภูตปาละ
  6. พระเจ้าราษฏระปาละ
  7. พระเจ้าโควิศนกะ
  8. พระเจ้าทศสิทธกะ
  9. พระเจ้าไกวรรตะ
  10. พระเจ้าธนานันทะ

การสิ้นสุดของราชวงศ์นันทะ เกิดจากการทำรัฐประหารของจันทรคุปต์ ภายใต้การวางแผนของพราหมณ์จาณักยะ ซึ่งไม่พอใจราชสำนักปาฏลีบุตรในขณะนั้น

ราชวงศ์เมารยะ[แก้]

ตั้งโดยจันทรคุปต์

  1. พระเจ้าจันทรคุปต์
  2. พระเจ้าพินทุสาร
  3. พระเจ้าอโศกมหาราช
  4. พระเจ้าทศรถเมารยะ
  5. พระเจ้าสัมประติ
  6. พระเจ้าศาลิศุกะ
  7. พระเจ้าเทววรรมัน
  8. พระเจ้าศตธันวัน
  9. พระเจ้าพฤหัทรถ

การสิ้นสุดของราชวงศ์เมาริยะ มาจากการทำรัฐประหารของพราหมณ์ปุษยมิตร ซึ่งนับเป็นผลกระทบจากนโยบายของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งผลกระทบต่อพราหมณ์โดยตรง เมื่อราชวงศ์อ่อนแอ กลุ่มอำนาจพราหมณ์จึงเข้าทำรัฐประหาร และกวาดล้างพระพุทธศาสนาในมคธครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา

ราชวงศ์ศุงคะ[แก้]

ตั้งโดยพราหมณ์ชื่อปุษยมิตร ศุงคะ

  1. พระเจ้าปุษยมิตร
  2. พระเจ้าอัคนิมิตร
  3. พระเจ้าวสุชเยษฐา
  4. พระเจ้าวสุมิตร
  5. พระเจ้าภัทรกะ
  6. พระเจ้าปุลินทกะ
  7. พระเจ้าโฆษวสุ
  8. พระเจ้าวัชรมิตร
  9. พระเจ้าภคภัทระ
  10. พระเจ้าเทวภูติ

ราชวงศ์กานวะ[แก้]

  1. พระเจ้าวาสุเทวะ
  2. พระเจ้าภูมิมิตร
  3. พระเจ้านารายณะ
  4. พระเจ้าสุศารมัน

หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 516 พระเจ้าศรีมุขะแห่งสาตวาหนะยึดแคว้นมคธได้เป็นอันว่าแคว้นมคธได้ล่มสลายลงเป็นครั้งแรก ก่อนจะฟื้นอีกครั้งในราชวงศ์คุปตะ

อ้างอิง[แก้]