วงศ์งูเส้นด้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leptotyphlopidae)
วงศ์งูเส้นด้าย
งูเส้นด้ายบาร์เบโดส (Leptotyphlops carlae) เป็นงูดินหรืองูเส้นด้ายที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รวมถึงเป็นงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: Scolecophidia
วงศ์: Leptotyphlopidae
Stejneger, 1892
ชื่อพ้อง
  • Stenostomata Ritgen, 1828
  • Stenostomi Wiegmann & Ruthe, 1832
  • Stenostomina Bonaparte, 1845
  • Stenostomatidae Günther, 1885
  • Stenostomidae Cope, 1886
  • Glauconiidae Boulenger, 1890
  • Leptotyphlopidae Stejneger, 1892[1]

วงศ์งูเส้นด้าย (อังกฤษ: Slender blind snake, Thread snake) เป็นวงศ์ของงูจำพวกงูดินวงศ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptotyphlopidae

ลักษณะเด่นของงูดินวงศ์นี้ คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและไม่มีฟัน ช่องเปิดของตาอยู่ที่กระดูกฟรอนทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน 4-5 ซี่ ไม่มีกระดูกของระยางค์ขาแต่มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อลำตัว ไม่มีปอดข้างซ้าย ไม่มีท่อนำไข่ข้างซ้าย

มีลักษณะลำตัวเรียวยาวมาก มีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร แต่บางชนิด เช่น Leptotyphlops macrolepis และ L. occidentalis มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร แต่ในชนิด L. carlae กลับมีความยาวเพียง 10 เซนติเมตร นับเป็นงูชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก[2][3]

อาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ มีความแตคกต่างกันมากทั้งแห้งแล้งและชุ่มชื้น กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะปลวกเป็นอาหารหลัก สามารถเสาะแสวงหารังปลวกได้จากสารเคมีในตัวปลวก เนื่องจากอาศัยอยู่ในจอมปลวกจึงพบบางชนิด เช่น L. dulcis บนต้นไม้สูงจากพื้นดินโดยเลื้อยไปในภายในรังของปลวกที่อยู่ตามต้นไม้

พบประมาณ 90 ชนิด ทุกชนิดแพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ทั้งหมด แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ

แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. Catherine Brahic (August 3, 2008). "World's smallest snake discovered". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-01. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  3. Barbara K. Kennedy. "World's smallest snake found in Barbados". Penn State University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  4. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]