Lateral Intraparietal Cortex

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Lateral Intraparietal Cortex (ตัวย่อ LIP) อยู่ใน intraparietal sulcus ของสมอง[1] เป็นไปได้มากว่า คอร์เทกซ์นี้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวตา เพราะว่า การกระตุ้นเขตนี้ด้วยไฟฟ้ามีผลเป็น saccades[2] คือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของตา และเชื่อกันว่า คอร์เทกซ์นี้มีบทบาทกับหน่วยความจำใช้งาน (working memory[3] ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวตา โดยทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ (ซึ่งเรียกว่า การทดสอบ saccade แบบทิ้งช่วง หรือ delayed saccade task)[4][5]

  1. ให้สัตว์ทดลองเพ่งที่จุดตรึงที่ตรงกลางของจอคอมพิวเตอร์
  2. แสดงรูปเป้าหมายเป็นรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งที่รอบนอกของจอ
  3. เอารูปเป้าหมายออก ตามด้วยระยะเวลาแปรช่วงหนึ่งที่ไม่ทำอะไร (ระยะทิ้งช่วง)
  4. เอาจุดตรึงที่ตรงกลางของจอออก
  5. ให้สัตว์ทดลองเปลี่ยนการเพ่งไปที่รูปเป้าหมาย (ที่เอาออกไปแล้ว)

พบว่า นิวรอนใน LIP เริ่มตอบสนองตั้งแต่เริ่มแสดงรูปเป้าหมาย และก็ตอบสนองต่อไปเรื่อย ๆ แม้ในระยะทิ้งช่วงจนกระทั่งเอาจุดตรึงตรงกลางจอออก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นิวรอนหยุดการตอบสนอง และการเคลื่อนไหวตาแบบ saccades ก็เริ่มขึ้น และในที่สุดสัตว์ทดลองก็ทำการเพ่งที่จุดเป้าหมาย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีหลักฐานด้วยว่านิวรอนใน LIP ทำการตอบสนองคือยิงศักยะงานเมื่อมีการเคลื่อนไหวแบบ saccades ในการทดสอบแบบ two-alternative forced choice[6][7] ผลสรุปสำหรับการทดลองนี้ก็คือ นิวรอนใน LIP บันทึกข้อมูล (ในที่นี้คือตำแหน่งของจุดเป้าหมาย) ที่นำมาใช้เพื่อควบคุมนำทางการเคลื่อนไหวตาแบบ saccades นั่นก็คือ คอร์เทกซ์เขตนี้มีหน่วยความจำใช้งาน[3]ที่จำเพาะเจาะจงต่อ Sensory modality คือการเห็น (และไม่มีจำเพาะเจาะจงกับ modality อื่น ๆ เช่นการได้ยินเป็นต้น)

นอจากคอร์เทกซ์นี้แล้ว ยังมีเขตอื่น ๆ ในสมองที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อ sensory modality อื่น ๆ

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Bear, Mark, Barry Connors, and Michael Paradiso. (2002). Neuroscience: Exploring the Brain. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 757–758.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Saccade หมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ๆ ของตา ของศีรษะ หรือของส่วนอื่นในร่างกาย หรือของอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังหมายถึงการเปลี่ยนความถี่อย่างรวดเร็วของสัญญาณส่ง หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างอื่น ๆ ได้อีกด้วย Saccades (พหูพจน์) เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างไปยังทิศทางเดียวกันอย่างรวดเร็ว
  3. 3.0 3.1 หน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้
  4. Gnadt, J. W., & Andersen, R. A. (1988) . Memory related motor planning activity in posterior parietal cortex of macaque. Experimental Brain Research, 70 (1), 216-220.
  5. Pesaran, B., Pezaris, J. S., Sahani, M., Mitra, P. P., & Andersen, R. A. (2002) . Temporal structure in neuronal activity during working memory in macaque parietal cortex. Nature neuroscience, 5 (8), 805-811.
  6. two-alternative forced choice (2AFC) เป็นวิธีการทดสอบทางจิตฟิสิกส์ (psychophysics) เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสัตว์ทดลอง กล่าวโดยเฉพาะก็คือ 2AFC มักจะใช้ในการทดสอบความรวดเร็วและความแม่นยำของการเลือกตัวกระตุ้นระหว่างตัวกระตุ้น 2 ตัว มีขั้นตอนพื้นฐานคือ 1. แสดงตัวกระตุ้น 2 ตัวพร้อม ๆ กันเช่นตัวกระตุ้นทางตา 2. ทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งให้กับสัตว์ทดลองในการตอบสนอง 3. สัตว์ทดลองตอบสนองด้วยการเลือกตัวกระตุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
  7. Platt, Michael L.; Paul W. Glimcher (1999-07-15). "Neural correlates of decision variables in parietal cortex". Nature. 400 (6741): 233–238. Bibcode:1999Natur.400..233P. doi:10.1038/22268. ISSN 0028-0836. PMID 10421364. S2CID 4389701.