คนอสซอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Knossos)
คนอสซอส
Κνωσός
ทางเข้าด้านทิศเหนือที่ได้รับการบูรณะพร้อมกับภาพปูนเปียกรูปกระทิง
เกาะครีตแสดงตำแหน่งเมืองฮีราคลีออน ที่ตั้งของคนอสซอส
ที่ตั้งฮีราคลีออน เกาะครีต กรีซ
ภูมิภาคชายฝั่งตอนกลางเหนือ ห่างจากฮีราคลีออนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กม. (3.1 ไมล์)
พิกัด35°17′53″N 25°9′47″E / 35.29806°N 25.16306°E / 35.29806; 25.16306พิกัดภูมิศาสตร์: 35°17′53″N 25°9′47″E / 35.29806°N 25.16306°E / 35.29806; 25.16306
ประเภทหมู่พระราชฐาน ศูนย์กลางการบริหาร เมืองหลักของเกาะครีตและดินแดนในเขตอำนาจ
ความยาว5 กม. (3.1 ไมล์)[1]
ความกว้าง3 กม. (1.9 ไมล์)
พื้นที่รวมทั้งหมด: 10 ตร.กม. (3.9 ตร.ไมล์) ตัวพระราชวัง: 14,000 ตร.ม. (150,000 ตร.ฟุต)[2]
ความสูงไม่ทราบ
ความเป็นมา
ผู้สร้างไม่ทราบ
สร้างตั้งถิ่นฐานครั้งแรกเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อน ค.ศ. พระราชวังหลังแรกมีอายุย้อนไปถึง 1,900 ปีก่อน ค.ศ.
ละทิ้งช่วงหนึ่งในสมัยมิโนอันตอนปลาย (LM IIIC) 1,380–1,100 ปีก่อน ค.ศ.
สมัยยุคหินใหม่ถึงยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย พระราชวังหลังแรกสร้างขึ้นในสมัยมิโนอันตอนกลาง (MM IA)
วัฒนธรรมไมนอส, ไมซีนี
เกี่ยวเนื่องกับมิโนอันตอนกลาง: ไม่ทราบกลุ่มชาติพันธุ์ชัดเจน แต่เรียกว่าเป็นชาวมิโนอัน มิโนอันตอนปลาย: ชาวกรีกไมซีนี
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นค.ศ. 1900–1931
ค.ศ. 1957–1960
ค.ศ. 1969–1970
ผู้ขุดค้นผู้ค้นพบช่วงแรก: อาร์เธอร์ อีแวนส์, เดวิด จอร์จ โฮการ์ธ, ดันแคน แม็คเคนซี; ผู้ขุดค้น: ทีโอดอร์ ฟิฟ สถาปนิก, คริสเตียน ดอลล์ สถาปนิก
สภาพได้รับการบูรณะและพร้อมให้เข้าชม
ผู้บริหารจัดการ23rd Ephorate of Prehistoric and Classical Antiquities
การเปิดให้เข้าชมใช่
เว็บไซต์"Knossos". British School at Athens.
"Knossos". Odysseus. กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสาธารณรัฐเฮลเลนิก. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2007.
ส่วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี

คนอสซอส (อังกฤษ: Knossos, ออกเสียง: /ˈknɒsɒs/; กรีกโบราณ: Κνωσός, อักษรโรมัน: Knōsós, [knoˈsos], อักษรลิเนียร์บี: 𐀒𐀜𐀰 Ko-no-so)[3] หรือที่เรียกว่า "ลายวงกต" หรือ "พระราชวังคนอสซอส" คือแหล่งโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดของยุคสัมฤทธิ์บนเกาะครีต และได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป[4]

มีผู้ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้มาตั้งแต่ยุคหินใหม่ ชื่อคนอสซอสมาจากภาษากรีกโบราณที่กล่าวถึงเมืองหลักบนเกาะครีต พระราชวังคนอสซอสกลายเป็นศูนย์กลางทางพิธีและการเมืองของอารยธรรมและวัฒนธรรมไมนอส บนผนังของพระราชวังเป็นภาพรายละเอียดของชีวิตชาวครีตในปลายยุคสัมฤทธิ์ พระราชวังถูกทิ้งร้างในช่วงสิ้นสุดยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย ในเวลาใดไม่ทราบแน่ชัด[5] และไม่มีใครทราบเหตุผลว่าทำไม ปัจจุบันคนอสซอสกลายเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพราะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหญ่ฮีราคลีออน คนอสซอสได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นอันมากโดยเซอร์อาร์เทอร์ อีแวนส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ

ในสมัยพระราชวังแรก (ประมาณ 2,000 ปีก่อน ค.ศ.) บริเวณเมืองมีประชากรมากถึง 18,000 คน[6] ในสมัยรุ่งเรืองที่สุด พระราชวังและเมืองรอบ ๆ มีประชากรมากถึง 100,000 คน หลัง 1,700 ปีก่อน ค.ศ. ไม่นานนัก[7][8][9]

เมืองคนอสซอสมีความสำคัญจนตลอดสมัยคลาสสิกและสมัยโรมัน แต่ชาวเมืองย้ายไปอยู่ในเมืองคันดักส์ซึ่งเป็นเมืองใหม่ (ฮีราคลีออนในปัจจุบัน) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 คนอสซอสก็มีชื่อใหม่ว่า "มาครีเทคอส" (Makryteikhos หรือ "กำแพงยาว") แต่บิชอปแห่งกอร์ทินยังคงเรียกตนเองว่าบิชอปแห่งคนอสซอสมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[10] ในปัจจุบันคำว่า "คนอสซอส" ใช้เฉพาะในการเรียกแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ที่ปริมณฑลของเมืองฮีราคลีออนเท่านั้นเอง

การสะกด[แก้]

คำว่าคนอสซอสเคยถูกแผลงเป็นภาษาละตินอยู่หลายแบบ เช่น Cnossus หรือ Cnossos และบางครั้งเขียนเป็น Knossus, Gnossus หรือ Gnossos[11][12] แต่ปัจจุบันมีการเขียนคำนี้เกือบทุกครั้งด้วยรูปแบบ Knossos[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Papadopoulos, John K (1997). "Knossos". ใน Delatorre, Marta (บ.ก.). The conservation of archaeological sites in the Mediterranean region : an international conference organized by the Getty Conservation Institute and the Paul Getty Museum, 6–12 May 1995. Los Angeles: The Paul Getty Trust. p. 93.
  2. McEnroe, John C. (2010). Architecture of Minoan Crete: Constructing Identity in the Aegean Bronze Age. Austin: University of Texas Press. p. 50. อย่างไรก็ตาม Davaras 1957, p. 5 หนังสือคู่มือทางการเล่มหนึ่งระบุว่าพระราชวังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างและยาว 150 เมตร (490 ฟุต) และมีเนื้อที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร (220,000 ตร.ฟุต)
  3. palaeolexicon.com, "Mycenaean Greek and Linear B", Palaeolexicon.
  4. Todd Whitelaw 2000, p. 223.
  5. Castleden, Rodney (1993). Life in Bronze Age Crete. London; New York: Routledge. p. 35.
  6. Castleden, Rodney (2002). "Life in the Towns". Minoan Life in Bronze Age Crete. Routledge. p. 68. ISBN 978-1-134-88064-5.
  7. Ring, Trudy; Noelle Watson; Paul Schellinger (2013). "Crete (Greece)". Southern Europe: International Dictionary of Historic Places. Routledge. p. 172. ISBN 978-1-134-25958-8.
  8. Mithen, Steven (2012). Thirst: For Water and Power in the Ancient World. Harvard University Press. p. 77. ISBN 978-0-674-07219-0.
  9. Humphrey, John William (2006). "Bronze Age Civil Engineering". Ancient Technology. Greenwood Publishing Group. p. 56. ISBN 978-0-313-32763-6.
  10. Oliver Rackham and Jennifer Moody (1996). The Making of the Cretan Landscape. Manchester University Press. pp. g. 94, 104. ISBN 0-7190-3646-1.
  11. EB (1878).
  12. EB (1911), p. 573.
  13. "Google Ngram Viewer". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2018.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คนอสซอส