เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jennifer Lawrence)
เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์
ลอว์เรนซ์ในปี ค.ศ. 2016
เกิดเจนนิเฟอร์ ชเรเดอร์ ลอว์เรนซ์
(1990-08-15) 15 สิงหาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี)
อินเดียนฮิลส์ รัฐเคนทักกี สหรัฐ
ชื่ออื่นเจนนิเฟอร์ ชเรเดอร์ มาโรนี่ย์[1]
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน2006–ปัจจุบัน
คู่สมรสคุก มาโรนีย์ (สมรส 2019)
บุตร1
รางวัลรายชื่อเต็ม

เจนนิเฟอร์ ชเรเดอร์ ลอว์เรนซ์ (อังกฤษ: Jennifer Shrader Lawrence, เกิด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1990)[2] เป็นนักแสดงหญิงและนางแบบชาวอเมริกา ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักแสดงหญิงที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลกในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2015–2016[3] และได้รับเลือกจากไทม์ให้เป็นอยู่ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกประจำปี ค.ศ. 2013 และได้รับการจัดอันดับโดยฟอบส์ให้อยู่ใน 100 บุคคลผู้ทำเงินได้สูงที่สุดในโลก ประจำปี ค.ศ. 2014 และ ค.ศ. 2016 นอกจากนี้ยังเคยได้รับการโหวตให้เป็นผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุดในโลกโดยเอฟเอชเอ็มในปี ค.ศ. 2014[4]

เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ เริ่มต้นการเป็นนักแสดงจากการแสดงละครของโบสถ์คริสต์เมื่ออายุประมาณ 9 ปี จากนั้นได้เริ่มเล่นละครเพลงของโรงเรียน จนกระทั่งเมื่ออายุ 14 ปี เธอได้รับการจับตามองจากแมวมองในขณะที่เธอไปเที่ยวกับครอบครัวที่นิวยอร์ก และได้เซ็นสัญญาก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ลอสแอนเจลิส โดยหลังจากย้ายมาที่ลอสแอนเจลิสเธอเริ่มมีบทบาทเป็นตัวประกอบเล็กๆของรายการโทรทัศน์ ก่อนที่จะได้รับบทบาทเป็นนักแสดงนำในละครซิตคอม Bill Engvall Show ทางสถานีโทรทัศน์ TBS (ค.ศ. 2007–2009) จากนั้นได้แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในบทบาทนักแสดงสมทบหญิงในเรื่อง Golden Party (ค.ศ. 2008) และได้บทบาทนักแสดงนำในภาพยนตร์เป็นครั้งแรกจากภาพยนตร์แนวดรามาเรื่อง The Poker House (ค.ศ. 2008) ที่เธอแสดงร่วมกับโคลอี เกรซ มอเรตซ์ในวัยเด็ก จากผลงานการแสดงในเรื่องนี้ทำให้เธอเริ่มได้รับความสนใจในวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูดมากขึ้น จากนั้นเธอได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Burning Plain (ค.ศ. 2008) ร่วมกับนักแสดงที่มีชื่อเสียงอย่างชาร์ลีซ เทรันและคิม เบซิงเงอร์ ซึ่งแม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้แต่เธอก็ได้รับรางวัลในฐานะนักแสดงจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส

จนกระทั่งเธอได้แสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง Winter's Bone - ​เธอผู้ไม่แพ้ (ค.ศ 2010) ภาพยนตร์ที่สร้างจากนวนิยายแนวดรามา ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะจากบทบาทการแสดงของเธอที่ได้รับคำชื่นชมทั้งจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นครั้งแรกในขณะที่อายุเพียง 20 ปี โดยปัจจุบันเธอเป็นนักแสดงหญิงที่ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ที่อายุน้อยที่สุดในสาขานี้เป็นอันดับที่ 3 รองจาก คูเวจาเน่ วัลลิส (9 ปี) และ คีชา แคสเซิล-ฮิวส์ (13 ปี)[5]อย่างไรก็ตามบทบาทการเป็นนักแสดงที่ถือว่าทำให้เธอโด่งดังและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมากที่สุดคือการรับบทเป็นเรเวน ดาร์คโฮลม์ / มิสทีคในภาพยนตร์ชุดเอ็กซ์เมน (2011–2019) และการรับบทเป็นแคตนิส เอฟเวอร์ดีน​ในภาพยนตร์ชุดเกมล่าเกม (2012–2015)[6][7]

โดยในปี ค.ศ.2012 เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ในวัย 22 ปี ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมและได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นครั้งแรกจากการแสดงในภาพยนตร์ที่กำกับโดยเดวิด โอ.รัสเซลล์ เรื่อง Silver Linings Playbook - ลุกขึ้นใหม่ หัวใจมีเธอ ส่งผลให้เธอเป็นนักแสดงหญิงที่อายุน้อยที่สุดลำดับ 2 ที่ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานี้รองจาก มาร์ลี แมตลิน นักแสดงเจ้าของสถิติได้รับรางวัลนี้เมื่ออายุ 21 ปี จากการแสดงในเรื่อง Children of a Lesser God - รักนี้ไม่มีคำพูด (ค.ศ. 1986)[8]

ต่อมาเธอได้ร่วมงานกับผู้กำกับ เดวิด โอ.รัสเซลล์อีกครั้ง โดยรับบทเป็นนักแสดงสมทบในภาพยนตร์เรื่อง American Hustle -โกงกระฉ่อนโลก (ค.ศ. 2013) จากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลแบฟตาและได้รับรางวัลลูกโลกทองคำอีกครั้งในสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม[9][10][11][12] ต่อมาในปี ค.ศ. 2015 เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำเป็นสมัยที่ 3 ในฐานะนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง Joy - จอย เธอสู้เพื่อฝัน ก่อนที่จะมีผลงานภาพยนตร์ไซไฟเรื่อง Passengers - คู่โดยสารพันล้านไมล์ (ค.ศ. 2016) และมีผลงานภาพยนตร์แนวจิตวิทยาระทึกขวัญเรื่องมารดา! (ค.ศ. 2017) รวมถึงการแสดงในบทบาทสายลับในภาพยนตร์เรื่อง Red Sparrow - ผู้หญิงร้อนพิฆาต (ค.ศ. 2018)

เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ จัดเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่มักจะพูดถึงเรื่องคตินิยมสิทธิสตรีและให้การสนับสนุนสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งสหรัฐอเมริกา (PPFA) โดยในปี ค.ศ. 2015 เธอได้ก่อตั้งมูลนิธิเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ และได้ให้การสนับสนุนกีฬาโอลิมปิกสำหรับผู้พิการทางสติปัญญา (Special Olympics) นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 2018 เธอได้ก่อตั้งบริษัทผลิตละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ของเธอเองชื่อว่า Excellent Cadaver

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ เกิดและเติบโตที่ อินเดียนฮิลส์ , รัฐเคนทักกี เธอเป็นบุตรของนาง คาเรน ลอร์เรนซ์ ผู้จัดการค่ายฤดูร้อนสำหรับเด็ก และนาย แกรี่ ลอว์เรนซ์ เจ้าของบริษัทซีเมนต์ก่อสร้าง[13][14] โดยเธอมีพี่ชาย 2 คนคือเบนและเบลน[14] เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ เข้ารับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมแคมเมอเรอร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐบาลในลุยส์วิลล์ เธอไม่สนุกกับวัยเด็กของเธอเนื่องจากอาการสมาธิสั้นและความวิตกกังวลทางสังคมและคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับเพื่อน[14][15] ลอว์เรนซ์บอกว่าความวิตกกังวลของเธอหายไปเมื่อเธอแสดงบนเวทีและการแสดงนั้นทำให้เธอประสบความสำเร็จ

ช่วงวัยเรียนของลอเรนซ์ เธอได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์และเล่นกีฬาซอฟต์บอล ฮอกกี้ รวมถึงบาสเก็ตบอล เมื่อเติบโตขึ้นเธอเริ่มให้ความสนใจในการขี่ม้าและมักจะไปดูม้าที่ฟาร์มอยู่บ่อยครั้ง โดยเธอเคยประสบอุบัติเหตุตกจากหลังม้าจนบาดเจ็บที่กระดูกก้นกบ[16] เมื่อพ่อของเธอทำงานอยู่ที่บ้านเธอมักจะแสดงเป็นตัวตลกหรือแสดงเป็นนักบัลเล่ต์ให้พ่อดูอยู่เสมอ จนกระทั่งเมื่ออายุ 9 ปี เธอได้แสดงละครต่อหน้าผู้ชมคนอื่นๆเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการแสดงละครในโบสถ์คริสต์ที่มีเนื้อหาจากหนังสือโยนาห์โดยเธอแสดงเป็นโสเภณีแห่งเมืองนิเนเวห์ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเธอยังคงมีส่วนร่วมในการแสดงในโบสถ์และละครเพลงของโรงเรียน[17][18]

เมื่ออายุได้ 14 ปี เธอได้ไปเที่ยวพักผ่อนในฤดูใบไม้ผลิกับครอบครัวที่นครนิวยอร์ก ในช่วงเวลาดังกล่าวขณะเธอยืนดูการเต้นเบรกแดนซ์​บนถนนที่ยูเนียน สแควร์ เธอได้รับความสนใจจากแมวมองของบริษัทจัดหานักแสดงและถูกชักชวนไปออดิชันเป็นนักแสดง[19][17] อย่างไรก็ตามแม่ของเธอไม่สนับสนุนให้เธอเป็นนักแสดงเท่าไหร่นัก แต่เธอเองก็เกลี้ยกล่อมให้แม่อนุญาตให้เธอย้ายไปอยู่ที่นครนิวยอร์กเพื่อเรียนรู้เรื่องบทละคร จนแม่เธออนุญาต ในที่สุดเธอก็ทดสอบบทผ่านและได้เซ็นสัญญากับ CESD บริษัทจัดหานักแสดงและนางแบบชื่อดัง ก่อนที่ทางบริษัทจะช่วยเกลี่ยกล่อมให้แม่ของเธอยอมให้เธอย้ายไปอยู่ที่ลอสแอนเจลิส

การงาน[แก้]

2006–09: เริ่มอาชีพงานแสดง[แก้]

ในปี 2006 เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ได้แสดงเป็นตัวประกอบที่ปรากฏตัวเพียง 1 ตอนในซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง ​Monk ต่อมาได้ปรากฏตัวในซีรีส์แนวสืบสวนสอบสวนที่ได้รับความนิยมของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส​อย่าง ​Cold Case -​ Season 4 ในตอนที่ชื่อว่า A Dollar, a Dream รวมถึงแสดงเป็นตัวประกอบจำนวน 2 ตอนในซีรีส์ Midium[20]โดยหลังจากมีบทบาทเป็นตัวประกอบในซีรีส์โทรทัศน์มาบ้างแล้ว เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ก็ได้รับโอกาสให้เป็นนักแสดงนำในซิตคอม​ของสถานีโทรทัศน์ TBS เรื่อง The Bill Engvall Show รับบทบาทเป็น ลอเรน เพียร์สัน ซึ่งเป็นลูกสาวคนโต[21] โดยซีรีส์ชุดนี้ออกอากาศครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 และดำเนินเรื่องมาถึงปีที่ 3[22]โดยจัดเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ซึ่งหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์​ได้ชื่นชมการแสดงของเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ว่าฉากที่เธอเล่นนั้นสามารถขโมยซีนได้หลายครั้ง นอกจากนี้หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก เดลีนิวส์ ก็ได้ชื่นชมว่า การแสดงของเธอประสบความสำเร็จในการส่งสาร์นแห่งความกราดเกรี้ยวของบรรดาสาวๆวัยรุ่น[23][24]จากการแสดงอันยอดเยี่ยมของเธอในบทบาทดังกล่าวทำให้ในปี ค.ศ. 2009 เธอได้รับรางวัล Young Artist Award สาขา นักแสดงวัยรุ่นที่มีผลงานยอดเยี่ยมทางซีรีส์โทรทัศน์[25]

ในปีค.ศ. 2007 , เธอได้ถูกทดสอบสำหรับบทบาท เบลล่า สวอน จากภาพยนตร์ แวมไพร์ ทไวไลท์ , โดยบทบาทก็ถูกตกไปอยู่กับ คริสเตน สจ๊วต[26][27] ในปีค.ศ. 2008 , เธอได้ปรากฏในบทบาทเล็กๆน้อย ในภาพยนตร์ Garden Party รับบทเป็น Tiff [28] และปีเดียวกันนี้ ในภาพยนตร์ Poker House เจนนิเฟอร์ยังได้รับบทเป็น Agnes[29] เธอยังได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ลอสแอนเจลิสสำหรับการแสดงยอดเยี่ยม ในปีค.ศ. 2008 จากบทบาทของเธอในภาพยนตร์

ในสื่อออนไลน์[แก้]

เมื่อ 31 สิงหาคม 2014 ได้มีภาพเปลือยกายของเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์หลุดออกมาใน 4chan ซึ่งค่อนข้างจะเป็นไปได้ว่าจะถูกเจาะระบบข้อมูลจากแฮคเกอร์ ซึ่งเจนนิเฟอร์ยืนยันว่าภาพที่หลุดออกไปเป็นรูปของเธอเอง ซึ่งเหล่าดาราดังจำนวน 54 คนต่างก็โดนแฮครูปส่วนตัวไปเผยแผร่ด้วย[30]

อ้างอิง[แก้]

  1. Buchanan, Kyle (November 2, 2022). "Who Is Jennifer Lawrence Now?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2022. สืบค้นเมื่อ November 2, 2022.
  2. "Jennifer Lawrence Biography". Biography.com. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  3. https://www.thairath.co.th/content/699854
  4. http://popcornfor2.com/m/detail?id=56503
  5. https://www.bbc.com/news/av/entertainment-arts-21163941/quvenzhane-wallis-youngest-best-actress-oscar-nominee​
  6. "'Hunger Games': Jennifer Lawrence reaps praise from critics". Los Angeles Times. March 23, 2012. สืบค้นเมื่อ March 24, 2012.
  7. "Action Heroine Movies at the Box Office". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  8. "Jennifer Lawrence, Quvenzhané Wallis make Oscar history as nominations are announced". Up and Comers. January 10, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ January 22, 2013.
  9. O'Connell, Michael (December 12, 2013). "Golden Globes Nominations: The Complete List". Hollywoodreporter.com. สืบค้นเมื่อ December 24, 2013.
  10. McCormack, Kirsty (January 16, 2014). "She's only 23! Oscar winner Jennifer Lawrence is nominated for another Academy Award for American Hustle". Daily Express. สืบค้นเมื่อ January 16, 2014.
  11. "Nominations Announced for the 20th Annual Screen Actors Guild Awards® | Screen Actors Guild Awards". Sagawards.org. December 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ December 24, 2013.
  12. "'12 Years a Slave' and 'American Hustle' lead Critics' Choice noms". Edition.cnn.com. สืบค้นเมื่อ December 24, 2013.
  13. Murray, Lorraine. "Jennifer Lawrence". Encyclopedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2016. สืบค้นเมื่อ January 14, 2016.
  14. 14.0 14.1 14.2 Van Meter, Jonathan (August 12, 2013). "The Hunger Games' Jennifer Lawrence Covers the September Issue". Vogue. New York City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2014. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
  15. Levy, Marc (November 15, 2013). "Jennifer Lawrence, la muse de Hollywood" [Jennifer Lawrence, the muse of Hollywood]. Madame Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2017. สืบค้นเมื่อ January 16, 2017.
  16. Heyman, Jessie (November 14, 2015). "5 Things You Didn't Know About Jennifer Lawrence". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2016. สืบค้นเมื่อ March 24, 2016.
  17. 17.0 17.1 Schneller, Johanna (June 11, 2010). "Interview with Winter's Bone star Jennifer Lawrence". The Globe and Mail. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2012. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
  18. Reed, Johnson (November 11, 2010). "Jennifer Lawrence, playing to strength". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2012. สืบค้นเมื่อ January 4, 2022.
  19. Windolf, Jim; Diehl, Jessica (February 2013). "Girl, Uninterruptible". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2016. สืบค้นเมื่อ March 24, 2016.
  20. Zakarin, Jordan (March 22, 2012). "Jennifer Lawrence's Career Journey, from 'Bill Engvall' to 'Hunger Games'". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2016. สืบค้นเมื่อ March 24, 2016.
  21. Reynolds, Simon (March 5, 2012). "Jennifer Lawrence: 'The Hunger Games' star's career in pictures". Digital Spy. pp. 2, 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ March 29, 2014.
  22. Sassone, Bob (September 25, 2009). "Will you miss The Bill Engvall Show?". AOL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ March 29, 2014.
  23. Shales, Tom (July 17, 2007). "TBS's 'Bill Engvall': Leave It to a Father Who Knows Best". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2016. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  24. Hinckley, David (July 18, 2007). "Another family sitcom, no joke". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2016. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
  25. Nemetz, Dave (January 14, 2013). "Jennifer Lawrence's TV past: See her on 'The Bill Engvall Show'". Yahoo!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2014. สืบค้นเมื่อ March 29, 2014.
  26. "Jennifer Lawrence Is 'Relieved' She Lost Twilight Role To Kristen Stewart". Entertainment Wise. December 14, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-23. สืบค้นเมื่อ April 18, 2013.
  27. "Jennifer Lawrence happy about not playing Bella Swan in Twilight". New Delhi Television Limited. December 16, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-13. สืบค้นเมื่อ March 29, 2014.
  28. Higgins 2013, p. 29.
  29. Roberts, Sheila (July 17, 2009). "Interview: Jennifer Lawrence and Director Lori Petty on THE POKER HOUSE". collider.com. สืบค้นเมื่อ March 23, 2012.
  30. "เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ หลุด แฮ็ครูป สะเทือนวงการกว่า 50 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]