เฮลโลคิตตี

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hello Kitty)

เฮลโลคิตตี
ตัวละครใน ซานริโอ
เฮลโลคิตตี
ปรากฏครั้งแรกค.ศ. 1974
ปรากฏครั้งสุดท้ายปัจจุบัน
สร้างโดยยูโกะ ชิมิซุ
ให้เสียงโดยญี่ปุ่น:
ฟูยูมิ ชิราอิชิ (คิตตีแอนด์มิมิส์นิวอัมเบรลลา)
มามิ โคยามะ (เฮลโลคิตตีส์ซินเดอรลลา)
อาเคมิ โอกามุระ (เฮลโลคิตตีส์เฟอร์รีเทลเทียเตอร์)
เมกุมิ ฮายาชิบาระ (ซานริโอเวิร์ลออฟแอนิเมชัน, เฮลโลคิตตีส์พาราไดส์, ซาริโอปุโรแลนด์โชว์ (หลากหลาย))[1][2]
อังกฤษ:
ทารา สตรอง (เฮลโลคิตตีส์เฟอร์รีเทลเทียเตอร์)
คาเรน เบิร์นสตีน (ไดสุกิ! เฮลโลคิตตี)
โมนิกา รีออล (เฮลโลคิตส์แอนิเมชันเทียเตอร์)
เมลิสซา ฟาห์น (เฮลโลคิตตีส์พาราไดส์)
แชนนอน แซตเทิลไมเออร์ (โกรว์อิงอัพวิตเฮลโลคิตตี)
โซเนสส์ สตีเวนส์[3]
จูเลียต ซิมมอนส์ (เฮลโลคิตตีแอนด์เฟรนส์ - เลตส์เลิร์นทูเกเตอร์)[4]
จูเลีย เซลส์ (เดอะเวิร์ลออฟเฮลโลคิตตี)[4]
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ตัวการ์ตูนเด็กผู้หญิงที่มีลักษณะเหมือนแมวหางกุดญี่ปุ่น[5]
เพศหญิง
ครอบครัวมิมิ (น้องสาวฝาแฝด)
จอร์จ (พ่อ)
แมรี (แม่)
แอนโทนี (ปู่)
มาร์กาเรต (ยาย)
ชาร์มมี คิตตี (แมวสัตว์เลี้ยง)
เดียร์ แดเนียล (เพื่อนสมัยเด็ก)
มายเมโลดี้ (เพื่อนสนิท)
สัญชาติอังกฤษ[6]
ชื่อเต็มคิตตี ไวต์[6]

เฮลโลคิตตี (ญี่ปุ่น: ハローキティโรมาจิHarō Kitiอังกฤษ: Hello Kitty)[7] (ชื่อเต็ม: คิตตีไวท์; ญี่ปุ่น: キティ・ホワイトโรมาจิKiti howaitoอังกฤษ: Kitty White) [6] คือตัวละครที่สร้างโดยบริษัทซานริโอ้ ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบครั้งแรกโดยคุณยูโกะ ชิมิซุ โดยเธอวาดออกมาเป็นภาพแมวญี่ปุ่นหางสั้น เพศเมีย สีขาว ที่ติดโบว์สีแดง[8] เฮลโลคิตตีปรากฏตัวครั้งแรกในรายการ “A vinyl coin purse” เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในปี 1974 และถูกนำไปออกอากาศที่สหรัฐอเมริกาในปี 1976 [9][10]โดยคมีบุคลิกที่แสดงออกถึงความน่ารักของวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของญี่ปุ่น[11] ในปี 2010 ที่เฮลโลคิตตีที่มีอายุครบ 36 ปี บริษัทซานริโอได้สร้างให้ตัวละครนี้เป็นปรากฏการณ์การตลาดระดับโลกที่มีมูลค่าถึง ห้าพันล้านดอลล่าร์[12] และต่อมาในปี 2014 เมื่อเฮลโลคิตตีมีอายุ 40 ปี ก็สามารถสร้างมูลค่าตลาดได้ถึงเจ็ดพันล้านดอลลาร์ โดยไม่ต้องมีการโฆษณาใด ๆ[13]

จากเป้าหมายเดิมที่มุ่งเน้นลูกค้าในกลุ่มก่อนวัยรุ่น ซึ่งตลาดของเฮลโลคิตตี ได้ขยายไปสู่ผู้บริโภคที่เป็นผู้ใหญ่ เราสามารถพบผลิตภัณฑ์ของเฮลโลคิตตีได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์การเรียน เครื่องประดับแฟชั่น จนถึงสินค้าราคาแพง ๆ และคิตตีถูกสร้างเป็น ละครทีวีเฮลโลคิตตี สำหรับเด็กอีกหลายตอน นอกจากนั้นยังเป็น ตัวละครหลักของสวนสนุกซานริโอ้ 2 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ ฮาร์โมนีแลนด์ และสวนสนุกในร่ม ซานริโอ้ พูโรแลนด์ อีกด้วย

ตัวละคร[แก้]

จากข้อมูลตัวละครอย่างเป็นทางการสำหรับเฮลโลคิตตี ชื่อเต็มของเธอคือ คิตตีไวท์ (ญี่ปุ่น: キティ・ホワイトโรมาจิKiti howaitoทับศัพท์: Kitty White) เธอเกิดในเขตชานเมืองของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน มีความสูงเท่ากับแอปเปิ้ล 5 ผล และน้ำหนักเท่ากับแอปเปิ้ล 3 ผล ภาพลักษณ์ของเธอคือหญิงสาวที่สดใสและใจดี สนิทกับน้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่มาก อบคุ้กกี้เก่งและชอบทานพายแอปเปิ้ลที่แม่ทำ เธอชอบสะสมของน่ารัก ๆ และวิชาที่เธอชื่นชอบในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ดนตรี และศิลปะ[6][14]

เฮลโลคิตตี เป็นตัวละครที่รายล้อมไปด้วยครอบครัวขนาดใหญ่ที่ทุกคนมีนามสกุลไวท์ น้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่ เป็นเด็กผู้หญิงที่ขี้อายมาก ชอบเย็บปักถักร้อยและฝันถึงการแต่งงาน ในขณะที่คิตตีสวมโบว์สีแดงที่หูซ้ายของเธอ มิมมี่จะสวมโบว์สีเหลืองอยู่ทางด้านขวา จอร์จซึ่งเป็นพ่อของพวกเขาเป็นคนที่น่าเชื่อถือ มีอารมณ์ขัน แต่มักจะเหม่อลอยอยู่บ่อย ๆ ในขณะที่แม่ (แมรี่) ทำอาหารเก่งและชอบทำงานบ้าน คุณปู่แอนโทนี่ชอบที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ส่วนคุณยายมาร์กาเร็ตชอบเย็บผ้า[14] เดียร์ แดเนียลเป็นเพื่อนในวัยเด็กของคิตตี เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม ในลอนดอน มีชื่อจริงว่า แดเนียล สตาร์ เขาออกเดินทางไปกับพ่อแม่ของเขาและต้องจากเฮลโลคิตตีเป็นเวลานาน เขามีบุคลิกที่ทันสมัยและมีความอ่อนไหว เต้นและเล่นเปียโนเก่ง สนใจในการถ่ายภาพและฝันที่จะเป็นคนดัง[15]

ชาร์มมี คิตตี (Charmmy Kitty) คือแมวเปอร์เซียสีขาวที่เป็นสัตว์เลี้ยงของคิตตี อ่อนน้อมเชื่อฟังเจ้าของและชอบของที่มีประกายเงางาม สร้อยที่คล้องคอแชมมี่ห้อยกุญแจเปิดกล่องเครื่องประดับ[16] ของคิตตี นอกจากนี้คิตตียังมีสัตว์เลี้ยงเป็นหนูแฮมสเตอร์ที่มีชื่อว่าชูการ์ ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเดียร์ แดเนียล[17]

ประวัติผู้ออกแบบ[แก้]

ยูโกะ ชิมิซุ นักออกแบบรุ่นแรกของคิตตีจนถึงปี 2010

ในปี 1962 ชินทาโร ซูจิ ผู้ก่อตั้งซานริโอ้ เริ่มขายรองเท้าแตะยางพิมพ์ลายดอกไม้[18] ซูจิสังเกตเห็นว่าสามารถเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มการออกแบบที่น่ารักบนรองเท้าแตะ จึงจ้างให้นักเขียนการ์ตูน การออกแบบตัวละครที่น่ารักสำหรับสินค้าของเขา[18] บริษัทได้ผลิตสินค้าโดยมีลายรูปตัวละครเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ[19] เฮลโล โหลคิตตีได้รับการออกแบบโดย ยูโกะ ชิมิซุ และถูกบันทึกอยู่ในตัวละครหลักของซานริโอ้ ในต้นปี 1974 [10] ภาพของการปรากฏตัวครั้งแรกในรายการ “A vinyl coin purse” ในประเทศญี่ปุ่น เป็นภาพที่คิตตีนั่งอยู่ระหว่างขวดนมและชามปลาทอง[20] และปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1976[9]

บริษัทตัดสินใจที่จะสร้างให้เฮลโลคิตตีเกิดใน ประเทศอังกฤษ เพราะในช่วงเวลาที่คิตตีถูกสร้างขึ้นมา อะไรก็ตามที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษให้ความรู้สึกทันสมัยมาก สำหรับคนญี่ปุ่น นอกจากนี้ ซานริโอ้ก็มีตัวละครอื่น ๆ ที่เกิดในสหรัฐอยู่แล้ว พวกเขาจึงต้องการสร้างให้คิตตีมีความแตกต่างออกไป[11][21] ชิมิซุ ได้ชื่อคิตตี จากนิยายชื่อมองผ่านกระจก ของ ลูอิส แครอล ที่อยู่ในตอนต้นของหนังสือ ที่อลิซเล่นกับแมวของเธอที่ชื่อ คิตตี[22] คำขวัญซานริโอ้ คือ "การสื่อสารในสังคม" และซูจิอยากตั้งชื่อของแมวที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้น ครั้งแรกที่เขาคิดว่า "ไฮ คิตตี" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ "เฮลโล" ซึ่งสื่อถึงคำอวยพรได้ด้วย[23] ตัวแทนประชาสัมพันธ์ของบริษัทได้อธิบายว่าคิตตีไม่มีปากเพราะพวกเขาต้องการให้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครและมีความสุข หรือเศร้าร่วมไปกับคิตตี[11][24] อีกอย่างหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมคิตตีไม่มีปากคือการที่เธอ" พูดออกมาจากหัวใจ” คิตตีเป็นเหมือนกับทูตของซานริโอ้สู่ทั่วโลกและไม่ได้ยึดติดกับภาษาใดโดยเฉพาะ[21] "บริษัทมองเห็นคิตตีเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและพวกเขาหวังว่าเธอจะส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนทั่วโลก[11] มีบางคนให้ข้อสังเกต[โดยใคร?] ว่าเฮลโลคิตตีมีต้นกำเนิดมาจากแมวกวักของญี่ปุ่น (มะเนะกิเนะโกะ) ซึ่งชื่อคิตตีเองก็มีที่มาจากแมวกวัก ซึ่งหมายถึงการกวักมือเรียกแมวในภาษาอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

หลังจากที่เปิดตัวปี 1974 เฮลโลคิตตี ก็ขายดีในทันที และ ส่งผลให้ยอดขายรวมของซานริโอ้เพิ่มขึ้นถึงเจ็ดเท่าหลังจากที่เผชิญกับภาวะยอดขายตกต่ำในปี 1978[11][25] มีคอลเลคชั่นคิตตีที่ออกแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ วางจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นไปในสังคมในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้ ยูโกะ ยามากูชิ ซึ่งเป็นนักออกแบบหลักของเฮลโลคิตตี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกล่าวว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบคิตตี รุ่นใหม่ ๆ จากแฟชั่น, ภาพยนตร์และโทรทัศน์[11][25]

ในช่วงแรกคิตตีเน้นการทำตลาดเฉพาะเด็กผู้หญิงเท่านั้น แต่ตั้งแต่ปี 1990 กลุ่มเป้าหมายสำหรับคิตตีได้ขยายออกไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นแบรนด์ย้อนยุค[11][21] ทั้งนี้ซานริโอ้เริ่มมีการออกแบบผลิตภัณฑ์คิตตีสำหรับผู้ใหญ่มากขึ้น เช่นกระเป๋าและแล็ปท็อป [11][21][25] เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้เป็นพิเศษ ในปี 1994-1996 มีการวางจำหน่าย เฮลโลคิตตี รุ่นคิตตี เฟซ ซึ่งเน้นการออกแบบสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น[11]

ซานริโอ้ กล่าวว่า ในปี 1999 มีคิตตีรุ่นใหม่ ๆ ออกวางจำหน่ายถึง 12,000 แบบต่อปี[23] ทั้งนี้ในปี 2008 สามารถทำรายได้กว่าหนึ่งร้อยล้านดอลล่าร์ ซึ่งมากถึงครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของซานริโอ้ทั้งบริษัท ทั้งนี้คิตตีมีวางจำหน่ายมากกว่า 50,000 แบบในกว่า 60 ประเทศ[21]ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยแนวโน้มแฟชั่นในญี่ปุ่น ส่งผลให้บริษัทเริ่มใช้สีเข้ม ลดสีชมพู และใช้การออกแบบที่มีรูปแบบที่น่ารักน้อยลงในการออกแบบคิตตีรุ่นใหม่ ๆ[25]

สินค้า[แก้]

แอร์บัส เอ330-200 ของอีวีเอแอร์ในลวดลายพิเศษเฮลโลคิตตี
โบอิง 777-300อีอาร์ของอีวีเอแอร์ในลวดลายพิเศษเฮลโลคิตตี

แรกเริ่มเดิมทีที่กลุ่มเป้าหมายหลักของเฮลโลคิตตี ยังคงเป็นเด็กหญิงอยู่นั้น สินค้าที่ผลิตออกมายังเป็นพวกตุ๊กตา, สติ๊กเกอร์, การ์ดอวยพร, เสื้อผ้า, ของใช้กระจุกกระจิก, เครื่องเขียน และกระเป๋าใส่เครื่องเขียน แต่หลังจากที่มีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ก็มีการวางจำหน่ายสินค้าประเภท เครื่องปิ้งขนมปัง, โทรทัศน์, เครื่องใช้ในบ้าน, อุปกรณ์นวด และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่สินค้าทั่วไป, สินค้าราคาสูง และสินค้าประเภทของสะสมหายาก[26]

การเงิน[แก้]

ในปี 2009 ธนาคารแห่งอเมริกา นำเสนอสมุดเช็คและบัตรวีซ่าเดบิตในธีม เฮลโลคิตตี ซึ่งมีใบหน้าของคิตตีบนเช็คและบัตร[27] ทั้งนี้บัตรเดบิตการ์ด มาสเตอร์การ์ดได้ใช้เฮลโลคิตตี เป็นธีมบัตรมาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว[28]

สินค้าประเภทไฮ เอน (สินค้าที่มีราคาสูง)[แก้]

ประตูทางเข้าร้านซานริโอชอร์ป กรุงมาดริด ออกแบบเป็นโครงใบหน้าเฮลโลคิตตี

ซานริโอ้และบริษัทคู่ค้าได้ออกผลิตภัณฑ์เฮลโลคิตตีภายใต้สินค้าหลาย ๆ แบรนด์ เช่นกีตาร์ไฟฟ้า เฮลโลคิตตี สตาร์โตแคสเตอร์ (ภายใต้แบรนด์ เฟนเดอร์ในสหรัฐอเมริกาในปี 2006) และ แอร์บัส เอ330-200 ได้ออกแบบเครื่องบินเชิงพาณิชย์ สำหรับเครื่องบินเจ็ทในนามเฮลโลคิตตี เจท (ของสายการบินอีวาแอร์เวย์ของไต้หวันในปี2005- 2009)[29] ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 2011 ถึงต้น 2012, อีวาแอร์เวย์สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งด้วยการออก "เฮลโลคิตตี เจท" ด้วยแอร์บัส เอ330-300 ลำใหม่ถึง 3 ลำด้วยกัน และต้องเพิ่ม เอ330-200s อีกถึง 2 ลำหลังจากที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมากในช่วงกลางปี 2012 ปี หลังจากนั้นอีก 1 ปี อีวาแอร์เวย์ก็ได้เพิ่มเครื่องโบอิง 777-300อีอาร์ให้เป็นเฮลโลคิตตี เจท อีกหนึ่งลำ ซึ่งไม่เพียงแต่คิตตีเท่านั้น ยังมีตัวละครซานริโอ้อื่น ๆ บนเครื่องบินอีกด้วย ในปี 2009 นอกเหนือจากเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว คิตตียังเข้าสู่ตลาดไวน์ โดยมีถึง 4 รูปแบบ โดยเป็นการจำหน่ายแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีไว้เพื่อตอบสนองการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น[30]

เครื่องประดับ[แก้]

ในฤดูใบไม้ผลิปี 2005 บริษัทซิมมอนส์ จิวเวลรี่และ ซานริโอ้ได้ประกาศความร่วมมือออกแบบเครื่องประดับร่วมกัน "คิโมรา ลี ซิมมอนส์ สำหรับเฮลโลคิตตี" ที่เปิดตัวเฉพาะห้างไนแมน มาร์คัส ในราคาตั้งแต่ 300 ถึง 5,000 ดอลลาร์ ออกแบบโดย คิโมรา ลี ซิมมอนส์ และเปิดตัวเป็นคอลเลกชันแรก เป็นเครื่องประดับทั้งหมดทำด้วยมือซึ่งประกอบด้วยเพชร,อัญมณีและหินมีค่า, ทอง 18K,เงินสเตอร์ลิง,เครื่องประดับลงยาและเซรามิก[31]

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ซิมมอนส์ จิวเวลรี่และซานริโอ้ ได้ออกเครื่องประดับและนาฬิกาในคอลเลกชัน "เฮลโลคิตตี®โดยซิมมอนส์ จิวเวลรี่" ซึ่งคอลเลกชันดังกล่าวร่วมมือกับ เซลส์ คอร์ปอร์เรชั่น เพื่อขยายการเข้าถึงของแบรนด์และการพัฒนาเครื่องประดับเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของแฟนคิตตีทุกระดับ การออกแบบใช้การรวมอัญมณีหลากสีสันและเงินสเตอร์ลิงที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าวัยรุ่นด้วยราคาขายปลีกเริ่มต้นที่ 50 ดอลลาร์[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. MEGUMI HOUSE - キングレコードによる林原の紹介ページ。出演履歴にハローキティは出てこない
  2. キティちゃんの声優はあの有名声優だった! だれだかわかる? | ガジェット通信 GetNews
  3. "Your Speaker Coach — Your Speaking Journey". Your Speaking Journey. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
  4. 4.0 4.1 "Hello Kitty Voices - Behind The Voice Actors". behindthevoiceactors.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020. Check mark indicates role has been confirmed using screenshots of closing credits and other reliable sources.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  5. "Sanrio's Shocking Reveal: Hello Kitty Is NOT A Cat: LAist". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-08-28.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Hello Kitty". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2010.
  7. "サンリオキャラクターたちの本名、言えますか?" (ภาษาญี่ปุ่น). 2008-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
  8. "Hello Kitty Hooks Generations On Cute, Kitsch". NPR. 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
  9. 9.0 9.1 Dhamija, Tina (April 1, 2003). "Designing an Icon: Hello Kitty Transcends Generational and Cultural Limits". ToyDirectory. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  10. 10.0 10.1 "Hello Kitty celebrates 30". China News Daily. 2005-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 Takagi, Jun (August 21, 2008). "10 Questions for Yuko Yamaguchi". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-31.
  12. Tabuchi, Hiroko (May 14, 2010). "In Search of Adorable, as Hello Kitty Gets Closer to Goodbye". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2012-10-06.
  13. Detroit Free Press, HELLO KITTY STILL BOWLING ’EM OVER, by Jenee Osterheldt, page D1, July14, 2014
  14. 14.0 14.1 "Sanrio - Hello Kitty Family". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  15. "Sanrio - Dear Daniel". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-26. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  16. "Sanrio - Charmmy Kitty". Sanrio. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  17. "Hello Kitty, My Melody, and other Sanrio characters at SanrioTown". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-08-23.
  18. 18.0 18.1 Belson, K. (2003). Asia times online. The cat who turned kawaii into cash. Retrieved May 19, 2011, from http://www.atimes.com/atimes/Japan/EL13Dh01.html เก็บถาวร 2012-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. "Sanrio Europe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
  20. "Hello Kitty Turns 35". Time. 2009-06-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-14.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Walker, Esther (21 May 2008). "Top cat: how 'Hello Kitty' conquered the world". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 19 September 2008.
  22. "Hello Kitty, You're 30". St. Petersburg Times. November 15, 2004. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  23. 23.0 23.1 Tracey, David (May 29, 1999). "The Small White Cat That Conquered Japan". New York Times.
  24. Walker, Rob. Buying In: The Secret Dialogue Between What We Buy and Who We Are. Random House, Inc., 2008. 18. Retrieved from Google Books on August 30, 2010. ISBN 1-4000-6391-4, ISBN 978-1-4000-6391-8.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Tabuchi, Hiroko (14 May 2010). "In Search of Adorable, as Hello Kitty Gets Closer to Goodbye". NYTimes.com.
  26. Paschal (18 May 2003). "Sanrio's Hula Kitty heads to the beach". Honolulu Star-Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-08-25. สืบค้นเมื่อ 30 April 2015.
  27. ""Bank of America's "My Expression Banking" page with the Hello Kitty theme". สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
  28. Mayer, Caroline E. (October 3, 2004). "Girls Go From Hello Kitty To Hello Debit Card". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
  29. "World's first `Hello Kitty' airplane to make debut Lunar New Year flights". The Taipei Times. December 13, 2005.
  30. Garcia, Catherine (March 26, 2010). "Please pass the bubbly, Hello Kitty". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-23.
  31. "Kimora Lee Simmons for Hello Kitty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
  32. "Hello Kitty Fine Jewelry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-12. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Thai police to wear 'Hello Kitty' armbands as punishment