หริมันทิรสาหิบ

พิกัด: 31°37′12″N 74°52′37″E / 31.62000°N 74.87694°E / 31.62000; 74.87694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Harmandir Sahib)
หริมันทิรสาหิบ
हरिमन्दिर साहिब
ภาพวิหารภายนอก
ศาสนา
ศาสนาศาสนาซิกข์
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอินเดีย เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย
หริมันทิรสาหิบตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ
หริมันทิรสาหิบ
ที่ตั้งในปัญจาบ
หริมันทิรสาหิบตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หริมันทิรสาหิบ
หริมันทิรสาหิบ (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์31°37′12″N 74°52′37″E / 31.62000°N 74.87694°E / 31.62000; 74.87694
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งคุรุอรชุน
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 1589 (อาคาร)
ค.ศ. 1604 (นำคัมภีร์ อาทิครันถ์ มาประดิษฐาน)[1]
เว็บไซต์
เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการวิหาร

หริมันทิรสาหิบ, ฮรมันดิรซาฮิบ หรือ หริมนเทียรสาหิบ (คุรมุขี: ਹਰਿਮੰਦਰ ਸਾਹਿਬ; เทวนาครี: हरिमन्दिर साहिब; อักษรโรมัน: Harmandir Sahib) หรือ วิหารทอง (Golden Temple) เป็นคุรุทวาราที่สำคัญที่สุดในศาสนาซิกข์[2][3] ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย ชื่อของวิหารนั้นแปลว่า ที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า สถานที่อันเป็นที่ยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (abode of God, exalted holy court)[2][4] ในภาษาไทยได้มีผู้เรียกวิหารนี้อีกหลายชื่อ เช่น วิหารทองคำ, สุวรรณวิหาร เป็นต้น

วิหารนั้นสร้างขึ้นท่ามกลางสระน้ำอมฤตซึ่งสร้างโดยคุรุรามทาสในปี ค.ศ. 1577[5][6] ต่อมา คุรุอรชุน คุรุศาสดาองค์ที่ 5 ตามความเชื่อของซิกข์ได้ทรงรับสั่งให้ซาอี มีอัน มีร์ (Sai Mian Mir) ผู้เป็นปีร์ (pir) ชาวมุสลิมแห่ง ละฮอร์ วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1589[1] ต่อมาในปี ค.ศ. 1604 คุรุอรชุนได้ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ อาทิครันถ์ (ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาคัมถีร์คุรุครันถสาหิพ) และประทานชื่อให้กับวิหารนี้ว่า อัถ สัถ ติรัถ (Ath Sath Tirath) ซึ่งแปลโดยตรงว่าสถานที่แห่ง 68 การแสงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ("shrine of 68 pilgrimages")[2][7] วิหารนั้นได้รับการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ จึงถูกทำลายอย่างต่อเนื่องทั้งจากกองทัพมุสลิมของอาณาจักรในอัฟกานิสถานและจากจักรวรรดิโมกุล[2][3][8] เช่น การบุกทำลายของพระเจ้าอะห์เมด ชาห์ ดูร์รานี (Ahmad Shah Durrani) ในปี ค.ศ. 1757 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1762[2][9] มหาราชา รณชีต สิงห์ ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ ได้ทรงบูรณะวิหารใหม่ครั้งใหญ่โดยประดับด้วยหินอ่อนและทองแดงในปี ค.ศ. 1809 และประดับภายนอกด้วยทองคำเปลวในปี ค.ศ. 1830 ทำให้วิหารแห่งนี้ได้รับชื่อว่าเป็น "วิหารทองคำ" นับแต่นั้นมา[10][11][12]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Arvind-Pal Singh Mandair 2013, pp. 41–42.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Kerr, Ian J. "Harimandar". Encyclopaedia of Sikhism. Punjabi University Patiala. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  3. 3.0 3.1 The Editors of Encyclopaedia Britannica 2014.
  4. Eleanor Nesbitt (2005). Sikhism: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 67–69, 150. ISBN 978-0-19-280601-7.
  5. Louis E. Fenech & W. H. McLeod 2014, p. 33.
  6. Pardeep Singh Arshi 1989, pp. 5–7.
  7. W. Owen Cole 2004, p. 7
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ runion70
  9. Pashaura Singh & Louis E. Fenech 2014, pp. 431–432.
  10. Trudy Ring, Noelle Watson & Paul Schellinger 2012, pp. 28–29.
  11. Eleanor Nesbitt (2016). Sikhism: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 64–65. ISBN 978-0-19-874557-0.
  12. Jean Marie Lafont (2002). Maharaja Ranjit Singh: Lord of the Five Rivers. Oxford University Press. pp. 95–96. ISBN 978-0-19-566111-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

31°37′12″N 74°52′37″E / 31.62000°N 74.87694°E / 31.62000; 74.87694