ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก HSBC)
ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ชื่อทางการค้า
  • HSBC
  • Hong Kong Bank
ชื่อท้องถิ่น
香港上海滙豐銀行有限公司
ชื่อเดิมฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบง
ประเภทPublic (Non-Listed) Limited Company (Origin: Body Corporate formed by Special Ordinance)[1]
อุตสาหกรรมFinancial Services
ก่อตั้ง1865
ผู้ก่อตั้งSir Thomas Sutherland (1834–1922)
สำนักงานใหญ่1 Queen's Road Central, Central, Hong Kong Island, Hong Kong
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์Investment, commercial, retail and private banking, asset management
พนักงาน
68,700 (includes subsidiaries) (2010)
บริษัทแม่HSBC Holdings plc
บริษัทในเครือMain subsidiaries: Hang Seng Bank Limited, HSBC Bank (China) Company Limited, HSBC Broking Services (Asia) Limited, HSBC Global Asset Management (Hong Kong) Limited, HSBC Insurance (Asia-Pacific) Holdings Limited, HSBC Private Equity (Asia) Limited, HSBC Securities (Asia) Limited
เว็บไซต์www.hsbc.com.hk
อาคารสำนักงานฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่นรุ่นก่อตั้งที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ปี ค.ศ. 1886
ภาพถ่ายทางอากาศสำนักงานของฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ในยุคสาธารณรัฐจีน

ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด (อังกฤษ: The Hongkong and Shanghai Banking Corporation Limited) เป็นธนาคารที่มีชื่อเสียง ก่อตั้งขึ้นและมีฐานอยู่ในฮ่องกง นับแต่ ค.ศ. 1865 เมื่อครั้งยังเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ นับเป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในโลกสมัยใหม่ บริษัทฯ เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มเอชเอสบีสีและนับแต่ ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัทสาขาเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ พีแอลซี ทั้งหมด ธุรกิจของบริษัทฯ มีตั้งแต่บทบาทในการบริหารเงินส่วนบุคคลและการธนาคารพาณิชย์ ไปจนถึงบรรษัทธนกิจ (corporate banking) และวาณิชธนกิจ การธนาคารเอกชนและการธนาคารโลก บริษัทฯ เป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในฮ่องกงโดยมีสาขาและสำนักงานทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งประเทศอื่นทั่วโลก

ประวัติ HSBC ประเทศไทย[แก้]

HSBC ได้เปิดสำนักงานในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1888 เป็นธนาคารพาณิชย์ของเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย โดยปี ค.ศ. 1889 HSBC ได้ออกบัตรธนาคาร (เทียบเท่าธนบัตร) ซึ่งใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยให้เงินกู้แก่รัฐบาลไทยเพื่อสร้างทางรถไฟสายต่างๆ

มกราคม ค.ศ. 2012 HSBC ได้ประกาศขายกิจการธนาคารในส่วนของลูกค้ารายย่อย รวมถึงโอนพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนงานนี้ทั้งหมดให้แก่กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยมีผลหลังวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 เป็นต้นไป[2] แต่ HSBC ประเทศไทยคงกิจการธนาคารสำหรับลูกค้าองค์กรหรือลูกค้าธุรกิจเท่านั้น ปัจจุบัน นาย เคลวิน แทน[3] ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

ที่ตั้งสำนักงาน[แก้]

สำนักงานแห่งแรกของ HSBC ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตรอกกัปตันบุช ถนนสี่พระยา กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันพื้นที่อาคารเดิมได้ถูกรือทิ้งทั้งหมดและต่อมาก่อสร้างเป็น โรงแรมรอยัลออคิดเชอราตัน) โดย HSBC ประเทศไทยได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 ตรงข้ามกับสวนลุมพินี

ปี ค.ศ. 2011 HSBC ประเทศไทยจึงมีการเปิดสำนักงานสาขาทองหล่อ (สุขุมวิท 55) ตามแผนระยะที่สองของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ธนาคารต่างชาติมีสาขาได้สองแห่ง

อ้างอิง[แก้]