เอชดี 69830

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก HD 69830)
เอชดี 69830

เอชดี 69830 คือดาวแคระเหลืองชนิด G8V
มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ (G2V)
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว กลุ่มดาวท้ายเรือ
ไรต์แอสเซนชัน 08h 18m 23.94706s[1]
เดคลิเนชัน -12° 37′ 55.8116″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) +5.98[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมG8V[3]
ดัชนีสี U-B0.33[2]
ดัชนีสี B-V0.75[2]
ดัชนีสี V-R0.40
ดัชนีสี R-I0.36
ชนิดดาวแปรแสงnone
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+30.4[4] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 278.99 ± 0.25[1] mas/yr
Dec.: −987.59 ± 0.29[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)80.04 ± 0.35[1] mas
ระยะทาง40.7 ± 0.2 ly
(12.49 ± 0.05 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)5.47 ± 0.01[5]
รายละเอียด
มวล0.863 ± 0.043[3] M
รัศมี0.905 ± 0.019[3] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.53[6]
กำลังส่องสว่าง0.622 ± 0.014[3] L
อุณหภูมิ5,394 ± 62[3] K
การหมุนตัว35.1 ± 0.8 days[7]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)0.8±0.5[3] km/s
ชื่ออื่น
285 G. Puppis,[8] BD−12°2449, GJ 302, HIP 40693, HR 3259, LHS 245, SAO 154093[9]
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata
Exoplanet Archivedata
ARICNSdata
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
data

เอชดี 69830 หรือ HD 69830 (285 G. Puppis) เป็นดาวแคระเหลืองที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 41 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ค้นพบวงแหวนแคบ ๆ ของจานเศษซาก (Debris disk) ที่มีอุณหภูมิปานกลาง โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์[10] ประกอบด้วยฝุ่นละอองปริมาณมากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ ในปี พ.ศ. 2549 ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะสามดวง ที่มีมวลอย่างน้อยที่สุดเทากับดาวเนปจูน ได้รับการยืนยันว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ ซึ่งวงโคจรอยู่ภายในกว่าวงแหวนของจานเศษซาก[11]

ระยะห่างและการสังเกตเห็นได้[แก้]

เอชดี 69830 เป็นดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และกำลังส่องสว่างในระดับ V ชนิด G8V มีมวลประมาณ 86% , มีรัศมี 90%, กำลังส่องสว่าง 62% และ 89% ของสัดส่วนธาตุเหล็กเมื่อเทียบกับของดวงอาทิตย์ อายุของดาวนั้นประมาณไว้ที่ 10.6 ± 4 พันล้านปี เอชดี 69830 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 40.7 ปีแสง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มดาวท้ายเรือ (Poop Deck) สามารถเห็นได้ทางตะวันออกของดาวซิริอุส, ตะวันตกเฉียงใต้ของดาวโพรซิออน, ตะวันออกเฉียงเหนือของดาววีเซน (Wezen, Delta Canis Majoris) และทางเหนือของดาวเนออส (Naos, Zeta Puppis)

ระบบดาวเคราะห์[แก้]

ระบบดาวเคราะห์ เอชดี 69830[11][12]
ดาวเคราะห์
(ตามลำดับจากดาว)
มวล กึ่งแกนเอก
(AU)
คาบการโคจร
(วัน)
ความเยื้องศูนย์กลาง ความเอียงของวงโคจร รัศมี
บี 10.2 M 0.0785 8.667 ± 0.003 0.1 ± 0.04
ซี 11.8 M 0.186 31.56 ± 0.04 0.13 ± 0.06
ดี 18.1 M 0.63 197 ± 3 0.07 ± 0.07 ~4 R
แถบดาวเคราะห์น้อย 0.93–1.16 AU

ดาวเคราะห์[แก้]

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทีมนักดาราศาสตร์ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (ESO) ใช้สเปกโทรมิเตอร์ HARPS ในกล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวลาซิยาขนาด 3.6 เมตรในทะเลทรายอาตากามาประเทศชิลี ตรวจสอบและประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์[13] ด้วยมวลต่ำสุดอยู่ระหว่าง 10 ถึง 18 เท่าของโลก ดาวเคราะห์ทั้งสามสันนิษฐานว่าคล้ายกับดาวเนปจูนหรือดาวยูเรนัส จนถึงปี พ.ศ. 2554 ไม่พบดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี จากการตรวจติดตามในระยะ 3 หน่วยดาราศาสตร์ของระบบ เอชดี 69830

ดาวโคจรด้วยความเอียงของวงโคจร 13+27-13สันนิษฐานว่ามุมเอียงของวงโคจรสัมพัทธ์กับโลกนั้น[7] เป็นผลรวมมุมเอียงของดาวเคราะห์ทั้งหมด[14] อย่างไรก็ตามดาวเคราะห์ บี และ ซี นั้นเป็น "ดาวเนปจูนร้อน" และปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ภายนอกระบบนี้มีบางสิ่งมีความสัมพันธ์เป็นมุมเอียงเมื่อเทียบกับแกนของดาวฤกษ์[15]

ดาวเคราะห์นอกสุดที่ค้นพบนั้นดูเหมือนจะอยู่ในเขตอาศัยได้ของระบบ ซึ่งน้ำจะยังคงมีเสถียรภาพในสถานะของเหลว (ข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์หลัก จะบอกให้ทราบว่าขอบเขตที่แท้จริงของเขตอาศัยได้อยู่ในบริเวณใด) เอชดี 69830 เป็นระบบดาวเคราะห์นอกระบบแห่งแรกที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ โดยไม่พบดาวเคราะห์ใดที่เปรียบเทียบมวลได้กับดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์

จานเศษซาก[แก้]

ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ตรวจพบจานเศษซาก (Debris disk) ในระบบ เอชดี 69830 ที่สอดคล้องกับแถบดาวเคราะห์น้อยที่ถูกสร้างขึ้นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของระบบสุริยะถึงยี่สิบเท่า ตอนแรกสันนิษฐานว่าแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวงโคจร ที่เทียบเท่ากับวงโคจรของดาวศุกร์ในระบบสุริยะ ซึ่งจะวางไว้ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงที่สองและสามของระบบ เอชดี 69830 แผ่นจานมีปริมาณของฝุ่นเพียงพอที่ในเวลากลางคืนของดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง จะปรากฏส่องสว่างในแถบจักรราศีบนทรงกลมท้องฟ้า ด้วยความสว่างกว่า 1,000 เท่าที่สามารถเห็นได้ง่ายมากกว่าการมองเห็นทางช้างเผือกบนโลก

การวิเคราะห์เพิ่มเติมของสเปกตรัมของฝุ่นพบว่า ประกอบด้วยวัสดุที่ผ่านกระบวนการมาอย่างมาก เช่นมาจากดาวเคราะห์น้อยประเภท ซี (Carbonaceous asteroid) ที่มีรัศมีอย่างน้อย 30 กม. ซึ่งแตกกระจายและอุดมไปด้วยแร่โอลิวีน และสะเก็ดซึ่งครั้งหนึ่งประกอบด้วยของเหลวซึ่งจะไม่สามารถมีได้เมื่ออยู่ในระยะใกล้กับดาวฤกษ์ แต่ดูเหมือนว่าแถบดาวเคราะห์น้อยที่ผลิตฝุ่นนั้นจะอยู่นอกวงโคจรของดาวเคราะห์ชั้นนอกสุดประมาณ 1 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์ บริเวณนี้มีการสั่นพ้องของวงโคจรเป็นอัตราส่วน 2: 1 และ 5: 2 เฉลี่ยกับดาวเคราะห์ เอชดี 69830 ดี[12]

แกลเลอรี[แก้]

ภาพจำลองเปรียบเทียบท้องฟ้ากลางคืนบนโลก
กับบนดาวเคราะห์ในระบบ เอชดี 69830
ภาพจำลองเปรียบเทียบท้องฟ้ากลางคืนบนโลก
กับบนดาวเคราะห์ในระบบ เอชดี 69830
 
วงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบ
เอชดี 69830 และจานเศษซาก
วงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบ
เอชดี 69830 และจานเศษซาก
 


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 van Leeuwen, F. (2007). "Validation of the new Hipparcos reduction". Astronomy and Astrophysics. 474 (2): 653–664. arXiv:0708.1752. Bibcode:2007A&A...474..653V. doi:10.1051/0004-6361:20078357.Vizier catalog entry
  2. 2.0 2.1 2.2 Mermilliod, J.-C. (1986), "Compilation of Eggen's UBV data, transformed to UBV (unpublished)", Catalogue of Eggen's UBV Data. SIMBAD, Bibcode:1986EgUBV........0M.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Tanner, Angelle; และคณะ (February 2015), "Stellar Parameters for HD 69830, a Nearby Star with Three Neptune Mass Planets and an Asteroid Belt", The Astrophysical Journal, 800 (2): 5, arXiv:1412.5251, Bibcode:2015ApJ...800..115T, doi:10.1088/0004-637X/800/2/115, 115.
  4. Evans, D. S. (June 20–24, 1966). "The Revision of the General Catalogue of Radial Velocities". ใน Batten, Alan Henry; Heard, John Frederick (บ.ก.). Determination of Radial Velocities and their Applications, Proceedings from IAU Symposium no. 30. Determination of Radial Velocities and Their Applications. Vol. 30. University of Toronto: International Astronomical Union. p. 57. Bibcode:1967IAUS...30...57E.
  5. Holmberg, J.; และคณะ (2009). "The Geneva-Copenhagen survey of the solar neighbourhood. III. Improved distances, ages, and kinematics". Astronomy and Astrophysics. 501 (3): 941–947. arXiv:0811.3982. Bibcode:2009A&A...501..941H. doi:10.1051/0004-6361/200811191.Vizier catalog entry
  6. Ramírez, I.; และคณะ (February 2013), "Oxygen abundances in nearby FGK stars and the galactic chemical evolution of the local disk and halo", The Astrophysical Journal, 764 (1): 78, arXiv:1301.1582, Bibcode:2013ApJ...764...78R, doi:10.1088/0004-637X/764/1/78.
  7. 7.0 7.1 Simpson, E. K.; และคณะ (November 2010), "Rotation periods of exoplanet host stars", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 408 (3): 1666–1679, arXiv:1006.4121, Bibcode:2010MNRAS.408.1666S, doi:10.1111/j.1365-2966.2010.17230.x.
  8. Benjamin Apthorp Gould, reprinted; updated by Frederick Pilcher. "Uranometria Argentina". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2011-02-04.
  9. "HD 69830". SIMBAD. Centre de données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 2015-04-25.
  10. Beichman, C. A.; และคณะ (2005). "An Excess Due to Small Grains around the Nearby K0 V Star HD 69830: Asteroid or Cometary Debris?". The Astrophysical Journal. 626 (2): 1061–1069. arXiv:astro-ph/0504491. Bibcode:2005ApJ...626.1061B. doi:10.1086/430059.
  11. 11.0 11.1 Lovis, Christophe; และคณะ (2006). "An extrasolar planetary system with three Neptune-mass planets" (PDF). Nature. 441 (7091): 305–309. arXiv:astro-ph/0703024. Bibcode:2006Natur.441..305L. doi:10.1038/nature04828. PMID 16710412. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-26.
  12. 12.0 12.1 Lisse, C. M.; และคณะ (2007). "On the Nature of the Dust in the Debris Disk Around HD 69830". The Astrophysical Journal. 658 (1): 584–592. arXiv:astro-ph/0611452. Bibcode:2007ApJ...658..584L. doi:10.1086/511001.
  13. "Trio of Neptunes and their Belt: HARPS Instrument Finds Unusual Planetary System". ESO – Science release. 18 May 2006.
  14. "hd_69830_b". Extrasolar Planet Encyclopaedia. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
  15. Roberto Sanchis-Ojeda; Josh N. Winn; Daniel C. Fabrycky (2012). "Starspots and spin-orbit alignment for Kepler cool host stars". Astronomische Nachrichten. 334 (1–2): 180–183. arXiv:1211.2002. Bibcode:2013AN....334..180S. doi:10.1002/asna.201211765.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


พิกัด: Sky map 08h 18m 23.9s, −12° 37′ 55.0″