กินทามะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gintama)
กินทามะ
หน้าปกของหนังสือมังงะกินทามะเล่มแรก
銀魂
(Gintama)
แนว
มังงะ
เขียนโดยฮิเดอากิ โซราจิ
สำนักพิมพ์ชูเอชะ
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยสยามอินเตอร์คอมิกส์
ในเครือจัมป์คอมิกส์
นิตยสาร
นิตยสารภาษาไทย
กลุ่มเป้าหมายโชเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่8 ธันวาคม พ.ศ. 254620 มิถุนายน พ.ศ. 2562
จำนวนเล่ม77 (หนังสือ)
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดย
อำนวยการโดย
  • โนริโกะ โคบายาชิ (ตอนที่ 1–13)
  • ไดจิ มูโต (ตอนที่ 1–112)
  • รีวตะ วากานาเบะ (ตอนที่ 1–150)
  • ฟูกาชิ อาซูมะ (ตอนที่ 14–201)
  • นาโอกิ ซาซาดะ (ตอนที่ 113–201)
  • ฮิโรมิตสค ฮิงูจิ (ตอนที่ 151–201)
เขียนบทโดยอากัตสึกิ ยามาโตยะ
ดนตรีโดยออดิโอไฮส์
สตูดิโอซันไรส์
ถือสิทธิ์โดยเมเดียลิงก์
เครือข่ายTXN (ทีวีโตเกียว)
เครือข่ายภาษาไทย
ฉาย 4 เมษายน พ.ศ. 2549 25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ตอน201 (รายชื่อตอน)
ไลต์โนเวล
กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ
เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ
วาดภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ
สำนักพิมพ์ชูเอชะ
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยสยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์
ในเครือจัมป์เจบุ๊กส์
กลุ่มเป้าหมายชาย
วางจำหน่ายตั้งแต่3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25494 มิถุนายน พ.ศ. 2561
จำนวนเล่ม8
อนิเมะโทรทัศน์
  • กินทามะ'/กินทามะ อะโพสโทรฟี่ (ตอนที่ 1–51)
  • กินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลา/กินทามะ เอ็นโชเซ็น (ตอนที่ 52–64)
กำกับโดยโยอิจิ ฟูจิตะ
อำนวยการโดย
  • ฮิโรมิตสึ ฮิงูจิ
  • ชินจิโร โยโกยามะ
  • ฟูกาชิ อาซูมะ (ตอนที่ 1–13)
  • ชินโนซูเกะ วาดะ (ตอนที่ 14–64)
เขียนบทโดยอากัตสึกิ ยามาโตยะ
ดนตรีโดยออดิโอไฮส์
สตูดิโอซันไรส์
ถือสิทธิ์โดยเมเดียลิงก์
เครือข่ายTXN (ทีวีโตเกียว)
เครือข่ายภาษาไทย
ฉาย 4 เมษายน พ.ศ. 2554 28 มีนาคม พ.ศ. 2556
ตอน64 (รายชื่อตอน)
อนิเมะโทรทัศน์
กินทามะ มารุ
กำกับโดยชิซูรุ มิยาวากิ
อำนวยการโดย
  • ซูซูมุ มัตสึยามะ
  • ซูซูมุ มิอูระ
  • โทโมยูกิ ไซโต
เขียนบทโดย
ดนตรีโดยออดิโอไฮส์
สตูดิโอบันไดนัมโคพิกเชอส์
ถือสิทธิ์โดยเมเดียลิงก์
เครือข่ายTXN (ทีวีโตเกียว)
เครือข่ายภาษาไทยทรู สปาร์ก จัมป์
ฉาย 8 เมษายน พ.ศ. 2558 30 มีนาคม พ.ศ. 2559
ตอน51 (รายชื่อตอน)
โอวีเอ
กินทามะ: ภาคหอมย้อมรัก
กำกับโดยชิซูรุ มิยาวากิ
อำนวยการโดย
  • ฮิโรมิตสึ ฮิงูจิ
  • ซูซูมุ มัตสึยามะ
  • ยู ฮนดะ
ดนตรีโดยออดิโอไฮส์
สตูดิโอบันไดนัมโคพิกเชอส์
ฉาย 8 เมษายน พ.ศ. 2558 30 มีนาคม พ.ศ. 2559
ตอน2
อนิเมะโทรทัศน์
  • กินทามะ พีเรียด (ตอนที่ 1–12)
  • ภาคโพโรริ (ตอนที่ 13–25)
  • ภาคชิโรงาเนะ โนะ ทามาชี (ตอนที่ 26–51)
กำกับโดยชิซูรุ มิยาวากิ
อำนวยการโดย
  • ฮิโรมิตสึ ฮิงูจิ
  • ซูซูมุ มัตสึยามะ
เขียนบทโดย
  • ชู มัคสึบาระ
  • ทากุ คิชิโมโตะ
  • มาซากิ ทาจิบานะ
ดนตรีโดยออดิโอไฮส์
สตูดิโอบันไดนัมโคพิกเชอส์
ถือสิทธิ์โดยเมเดียลิงก์
เครือข่ายTXN (ทีวีโตเกียว)
เครือข่ายภาษาไทยทรู สปาร์ก จัมป์
ฉาย 8 มกราคม พ.ศ. 2560 7 มกราคม พ.ศ. 2561
ตอน51 (รายชื่อตอน)
อนิเมะ
กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ
สตูดิโอบันไดนัมโคพิกเชอส์
ภาพยนตร์อนิเมะ
ภาพยนตร์คนแสดง
วิดีโอเกม
  • Gintama Dee-Ess: Odd Jobs Grand Riot! (พ.ศ. 2549)
  • Gintama: Gintoki vs. Hijikata!? The Huge Fight Over Silver Souls in the Kabuki District!! (พ.ศ. 2549)
  • Gintama: Together with Gin! My Kabuki District Journal (พ.ศ. 2550)
  • Gintama: General Store Tube: Tsukkomi-able Cartoon (พ.ศ. 2550)
  • Gintama: Silver Ball Quest: Gin's Job-Change to Save the World (พ.ศ. 2550)
  • Gintama's Sugoroku (พ.ศ. 2556)
  • Gintama Rumble (พ.ศ. 2561)

กินทามะ (ญี่ปุ่น: 銀魂โรมาจิGintama; แปลว่า "จิตวิญญาณสีเงิน") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น แต่งเรื่องและวาดภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ มีฉากในนครเอโดะที่ถูกครอบครองโดยมนุษย์ต่างดาวที่เรียกว่าชาวสวรรค์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับซามูไรชื่อซากาตะ กินโทกิ ซึ่งทำงานเป็นนักรับจ้างอิสระพร้อมด้วยลูกจ้างสองคนคือชิมูระ ชินปาจิและคางุระ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าที่รายเดือน ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และตีพิมพ์ต่อในนิตยสารจัมป์ GIGA ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และเผยแพร่ต่อถึงตอนจบในแอปพลิเคชัน กินทามะ ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2562

ซีรีส์ได้รับการดัดแปลงเป็นออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ผลิตโดยสตูดิโอซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นจึงจัดทำเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ความยาวรวม 367 ตอนเริ่มออกอากาศเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ทางช่องทีวีโตเกียว กระทั่งออกอากาศถึงตอนสุดท้ายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการการสร้างเป็นภาพยนตร์อนิเมะ 3 เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องแรกเข้าฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ภาพยนตร์เรื่องที่สองเข้าฉายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์เรื่องที่สามและเรื่องสุดท้ายเข้าฉายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 นอกจากซีรีส์อนิเมะแล้ว ยังมีการดัดแปลงกินทามะเป็นไลต์โนเวลหลายเล่มและวิดีโอเกมหลายเกม ภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันดัดแปลงชื่อเรื่องว่า กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด เข้าฉายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในประเทศญี่ปุ่นโดยวอร์เนอร์บราเธอส์ ประเทศญี่ปุ่น[3] และมีภาพยนตร์ภาคต่อในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561

มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์รายสัปดาห์ในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์หรีอภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส และตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่ม อนิเมะเริ่มจัดจำหน่ายฤดูกาลที่ 1 ในประเทศไทยโดยบริษัททีไอจีเอ ฤดูกาลที่ 2, 3, 4 จัดจำหน่ายโดยบริษัทไรท์บียอนด์ ซีรีส์ กินทามะ' และ กินทามะ': ภาคล่วงเวลา จัดจำหน่ายโดยบริษัทโรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซีรีส์อนิเมะเคยมีการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ ทรูสปาร์ก, ทรูสปาร์กจัมพ์, การ์ตูนคลับแชนแนล, ช่อง 6, จีเอ็มเอ็มวัน, จีเอ็มเอ็มแชนเนล และช่องแก๊งการ์ตูนแชนเนล ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ฤดูกาลแรกมีการฉายทางแพลตฟอร์มอ้ายฉีอี้ ส่วนภาพยนตร์อนิเมะมีการฉายทางแพลตฟอร์มอ้ายฉีอี้ ปีลีปีลี และแอมะซอน ไพรม์วิดีโอ

เนื้อเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่องมีฉากเป็นประวัติศาสตร์คู่ขนานในช่วงปลายยุคเอโดะ ยุคที่มนุษยชาติถูกโจมตีโดยมนุษย์ต่างดาวที่เรียกกันว่า ชาวสวรรค์ (ญี่ปุ่น: 天人โรมาจิAmanto) ซามูไรแห่งนครเอโดะประเทศญี่ปุ่นพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องโลก แต่เมื่อโชกุนรู้ถึงพลังและวิทยาการของชาวสวรรค์จึงหวาดกลัวแล้วยอมจำนน โชกุนยินยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกับชาวสวรรค์ ออกคำสั่งห้ามพกดาบในที่สาธารณะและอนุญาตให้ชาวสวรรค์เข้าประเทศ ดาบของซามูไรถูกยึดไปและรัฐบาลบาคุฟุของโชกุนตระกูลโทกุงาว่าได้กลายเป็๋นรัฐบาลหุ่นเชิด

ซีรีส์เรื่องนี้เน้นที่เรื่องราวของซามูไรเพี้ยน ๆ ชื่อซากาตะ กินโทกิ ผู้ทำงานเป็นนักรับจ้างอิสระรับทำทุกอย่าง กินโทกิได้ช่วยเด็กหนุ่มชื่อชิมูระ ชินปาจิในการช่วยเหลือพี่สาวคือชิมูระ ทาเอะจากกลุ่มชาวสวรรค์ที่ต้องการนำตัวเธอไปทำงานใช้หนี้ในซ่องโสเภณี ชินปาจิรู้สึกประทับใจกินโทกิจึงผันตัวมาเป็นเด็กฝึกงานลูกจ้างของกินโทกิเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายและเพื่อเรียนรู้วิถีซามูไรเพิ่มเติม ทั้งคู่บังเอิญไปช่วยเด็กหญิงชาวสวรรค์ที่มีพลังเหนือมนุษย์ชื่อคางุระจากกลุ่มยากูซ่า พวกเขารับคางุระเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง แล้วทั้งสามคนก็เป็นที่รู้จักในชื่อ "ร้านรับจ้างสารพัด" (ญี่ปุ่น: 万事屋โรมาจิYorozuya)

แม้ว่าเนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องจบเป็นตอน ๆ แต่ก็มีพัฒนาการของเนื้อเรื่องในเนื้อเรื่องบางภาคและตัวละครปฏิปักษ์ที่กลับมาซ้ำ[4] ตัวอย่างเช่นอดีตสหายของกินโทกิชื่อทากาสุงิ ชินสุเกะผู้ถือว่ากินโทกิและอดีตสหายคนอื่นคือศัตรูและหาทางจะทำลายรัฐบาลโชกุน ในเวลาต่อมาทากาสุงิได้พันธมิตรอันได้แก่ คามุอิพี่ชายของคางุระ และหน่วยรบชั้นสูงมิมาวาริงุมิ เพื่อเตรียมก่อการรัฐประหารครั้งใหญ่ ภายหลังเมื่อปฏิปักษ์ที่แท้จริงคืออุซึโร่ผู้เป็นอมตะปรากฏตัว กินโทกิจึงร่วมกับทั้งสหายและศัตรูในการยับยั้งอุซึโร่ไม่ให้ทำลายโลก

แนวและรูปแบบการดำเนินเรื่อง[แก้]

จุดเน้นหลักของฮิเดอากิ โซราจิในการเขียนกินทามะคือการใช้มุกตลก ต่อมาระหว่างการเขียนมังงะเป็นปีที่ 2 ได้เริ่มเพิ่มความเป็นนาฏกรรมในเนื้อเรื่องโดยยังคงความตลกขบขันไว้.[5] มุกตลกหลายครั้งในมังงะเป็นเสียดสีภาพจำเจจากซีรีส์มังงะแนวโชเน็งเรื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนแรกสุด หลังจากกินโทกิต่อสู้กับกลุ่มชาวสวรรค์เพื่อปกป้องชินปาจิและทาเอะ ชินปาจิบ่นว่ากินโทกิสู้ได้เพียง "หน้าเดียว" เอง กินโทกิจึงตอบว่า "เจ้าบ้า สำหรับคนเขียนการ์ตูนแล้วหน้าเดียวนี่ก็เสียเวลาวาดนะเฟ้ย!!" ในฉากที่กินโกทิอยากอ่านนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ (ในมังงะฉบับภาษาไทยแปลงเป็นนิตยสารซีคิดส์) อย่างจริงจังเกินจริง (ที่ถึงขั้นทำให้เขาต้องต่อสู้กับผู้อ่านคนอื่นเพื่อแย่งชิงมาอ่าน) ก็มีการพูดล้อเลียนซีรีส์มังงะแนวโชเน็งเช่นกัน[2][6] สถานการณ์ตลกขบขันอื่น ๆ มีความเฉพาะตัว ซึ่งผู้อ่านต้องรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงจะสามารถเข้าใจมุกตลกได้[7] อารมณ์ขันในเรื่องได้รับการระบุโดยสิ่งพิมพ์ว่า "แปลก" และ "ประหลาด" ทั้งยังมีการระบุแนวเรื่องโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ "ตลกบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์" และ "ตลกซามูไร" สำหรับประเภทแรกอ้างถึงมนุษย์ต่างดาว (ชาวสวรรค์)[8]

ประวัติการสร้าง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2546 ฮิเดอากิ โซราจิเป็นศิลปินมังงะหน้าใหม่ผู้เขียนมังงะเรื่องสั้นตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์แล้ว 2 เรื่อง[9] และกำลังเตรียมจะเขียนซีรีส์มังงะเรื่องแรก บรรณาธิการของเขาแนะนำให้เขาสร้างซีรีส์มังงะอิงจากเรื่องราวของกองกำลังตำรวจพิเศษชินเซ็นงุมิ โดยได้แรงบันดาลใจจากละครโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศ โซราจิพยายามสร้างซีรีส์นี้เพราะตัวเขาเองก็ยอมรับว่าชื่นชอบชินเซ็นงุมิ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ แทนที่จะทิ้งแนวคิดทั้งหมดโดยสิ้นเชิง โซราจิยังคงมุ่งเน้นที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแลต่เริ่มเริ่มสร้างเรื่องราวของตนเอง โดยเพิ่มองค์ประกอบความเป็นบันเทิงคดีแนววิทยาศาตร์และดัดแปลงบุคคลในประวัติศาสตร์จำนวนมากเพื่อสร้างเรื่องราวตามความชอบของตนมากขึ้น[10] ชื่อเรื่องดั้งเดิมของซีรีส์เคยตั้งเป็นชื่อว่า "โยโรซูยะ กิน-ซัง" (万事屋銀さん, แปลว่า "คุณกินนักรับจ้างสารพัด") แต่โซราจิเห็นว่าชื่อไม่ดึงดูดมากพอ หลังจากถกเถียงกันอย่างหนัก จึงตัดสินใจใช้ชื่อว่า กินทามะ หลังจากไปปรึกษากับครอบครัว ตัดสินใจใช้ชื่อที่ฟังดูสองแง่สองง่าม[11] แม้ว่าโซราจิเห็นว่ามังงะเรื่องสั้นของเขาเรื่อง "ซามูไรดะ" เป็นเรื่องที่แย่มาก แต่ฉากในมังงะเรื่องสั้นเรื่องนี้ก็เป็นพื้นฐานให้เรื่องกินทามะในการเพิ่มตัวละครมนุษย์ต่างดาว[12] โซราจิชอบยุคบากูมัตสึและยุคเซ็งโงกุเนืองจากทั้งสองยุคเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงปละสะท้อนด้านบวกและด้านลบของมนุษย์ ซีรีส์จึงให้มีฉากในยุคบากูมัตสึในโลกคู่ขนานเพื่อให้ความสำคัญของบูชิโดของตัวละครในฐานะที่เวลานั้นซามูไรอยู่ในช่วงตกต่ำของชีวิต[13] โซราจิยังได้อ้างอิงซีรีส์มังงะเรื่อง ซามูไรพเนจร (พ.ศ. 2537–2542) ซึ่งมีฉากในยุคบากูมัตสึและยุคเมจิว่าเป็นแหล่งแรงบันดาลใจสำคัญ[14]

สื่อ[แก้]

มังงะ[แก้]

ซีรีส์มังงะกินทามะ แต่งเรื่องและวาดภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546[15] สำนักพิมพ์ชูเอชะยังเผยแพร่มังงะตอนแรกในหน้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ[16] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 มีการประกาศว่ามังงะจะจบในวันที่ 15 กันยายนในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์[17] แต่ภายหลังมีประกาศในวันที่ 15 กันยายนว่ามังงะจะย้ายไปตีพิมพ์ต่อในนิตยสาร จัมป์กิกา.[18][19] ตีพิมพ์ต่อเนื่อง 3 ฉบับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561[20] ถึง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[21][22] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีการประกาศว่ามังงะจะเผยแพร่ต่อในแอปพลิเคชันฟรีกินทามะ[23] เริ่มลงในแพลตฟอร์มในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[24] และถึงตอนจบที่ตอนที่ 704 ในวันที่ 20 มิถุนายนของปีเดียวกัน[25][26] สำนักพิมพ์ชูเอชะรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ทั้งหมด 77 เล่ม วางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2547[27] ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562[28][29]

มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซีคิดส์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส) จนกระทั่งนิตยสารปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548[30] วางจำหน่ายจนครบ 77 เล่มในปี พ.ศ. 2565[31]

ในอเมริกาเหนือ กินทามะได้รับลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์วิซมีเดีย ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ระหว่าง เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 และเริ่มตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[32] โดยได้ตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 แล้วหยุดการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มต่อ [33]

การนำเสนอเนื้อหาข้ามเรื่อง[แก้]

หน้าปกนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 18/2011 แจ้งการตีพิมพ์การ์ตูนข้ามเรื่อง (Crossover) ชุด "กินทามะ" และ "สเก็ต ดานซ์"

การ์ตูนชุด กินทามะ ได้มีการตีพิมพ์ตอนพิเศษซึ่งมีเนื้อหาข้ามเรื่อง (Crossover) กับการ์ตูนชุด "สเก็ต ดานซ์" ในโชเน็นจัมป์ฉบับที่ 18/2011 ประจำวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อการประชาสัมพันธ์แอนิเมชั่นชุดใหม่ของกินทามะ และแอนิเมชั่นชุดแรกของเรื่องสเก็ต ดานซ์ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อต้นเดือนเมษายนปีเดียวกัน โดยการ์ตูนข้ามเรื่องของกินทามะและสเก็ต ดานซ์ แบ่งออกเป็นสองตอน คือ สเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" (นับลำดับตอนต่อเนื่องกับการ์ตูนในชุดของตัวเอง) และกินทามะตอนพิเศษ "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" โดยมีผู้เขียนเรื่องต้นฉบับของแต่ละเรื่อง (เคนตะ ชิโนฮาระ จากเรื่องสเก็ต ดานซ์ และฮิเดอากิ โซราจิ จากเรื่องกินทามะ) รับผิดชอบในเนื้อหาการ์ตูนชุดของตนเอง [34]

เนื้อหาของการ์ตูนข้ามเรื่องชุดนี้เริ่มขึ้นในการ์ตูนชุดสเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" โดยที่ตัวละครหลักของเรื่องกินทามะ (กินโทกิ, คางุระ, ชินปาจิ) ได้ข้ามมิติด้วยเครื่องย้ายมวลสารมายังห้องของชมรมสเก็ตดานซ์และได้พบกับสามตัวละครเอกของเรื่องดังกล่าว (บอสเซน, ฮิเมโกะ, สวิชต์) และจบลงด้วยเหล่าตัวละครเอกของทั้งสองเรื่องถูกเครื่องย้ายมวลสารดึงมาสู่มิติของเรื่องกินทามะ และต่อด้วยเรื่องกินทามะตอนพิเศษ "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" ซึ่งกล่าวถึงการแข่งขันชิงความเป็นสุดยอดร้านรับจ้างสารพัดระหว่างทีมกินทามะกับทีมสเก็ต ดานซ์ โดยใช้ฉากที่คล้ายกับโลกในเรื่อง "วันพีซ x โทริโกะ" ซึ่งเป็นการ์ตูนข้ามเรื่องอีกชุดหนึ่งของโชเน็นจัมป์ ที่ตีพิมพ์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

อนึ่ง หลังจากได้มีการออกอากาศแอนิเมชั่นของการ์ตูนชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ได้ 6 เดือน ได้มีการประกาศทำแอนิเมชั่นเนื้อหาข้ามเรื่องของทั้งสองเรื่องเป็นการเฉพาะ โดยมีกำหนดการออกอากาศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้จะเริ่มออกอากาศในตอน "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" ในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน และออกอากาศตอน "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน สตูดิโอที่รับผิดชอบการผลิดแอนิเมชั่นชุดนี้คือซันไรส์ ("สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ") และทัตซึโนะโกะ โปรดัคชั่น ("กินทามะ x สเก็ต ดานซ์") ซึ่งเป็นสตูดิโอที่รับผิดชอบแอนิเมชั่นชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ ตามลำดับ[35]

โอวีเอ[แก้]

ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ โอวีเอตอนแรก ใช้ชื่อตอนเดียวกับชื่อเรื่อง ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2005 โอวีเอตอนที่สองใช้ชื่อว่า "ชิโระยะฉะ โคทัน" (ญี่ปุ่น: 白夜叉降誕โรมาจิShiroyasha Kotan; "กำเนิดปีศาจขาว") ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2008 ดีวีดีของโอวีเอทั้งสองตอน ใช้ชื่อว่า Gintama Jump Anime Tour 2008 & 2005 ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทอะนิเพล๊กซ์ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 [36]

ซีรีส์อนิเมะ[แก้]

กินทามะ[แก้]

ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง กินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ 99 ตอนแรกกำกับโดยชินจิ ทากามาสึ ตอนที่ 100 ถึง 105 กำกับร่วมกันโดยชินจิ ทากามาสึและโยอิจิ ฟูจิตะ ตั้งแต่ตอนที่ 106 เป็นต้นไปกำกับโดยโยอิจิ ฟูจิตะ [37] ออกอากาศทางทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทอะนิเพล๊กซ์ได้จำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะตามลำดับเวลาดังนี้

ส่วนในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ได้แก่ บริษัททีไอทีเอ และบริษัทไรท์บิยอนด์

  • บริษัททีไอทีเอ ได้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 1 [43] และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น[44] และ ดีวีดี 12 แผ่น[45]
  • บริษัทไรท์บิยอนด์ ได้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 2, ปี 3 และ ปี 4
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 2 ในรูปแบบวีซีดี 23 แผ่น ดีวีดี 12 แผ่น
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 3 ในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น ดีวีดี 13 แผ่น
    • วางจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะปี 4 ในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น ดีวีดี 13 แผ่น

ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 ในประเทศไทยทางช่องการ์ตูนคลับแชนแนล เมื่อในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยออกอากาศตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 52 และเคยมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะครบทุกตอนทางช่องทรู สปาร์ค ในปัจจุบันมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะทางช่อง 6 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน

โยรินูกิ กินทามะ-ซัง[แก้]

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาษาญี่ปุ่นที่ ja:よりぬき銀魂さん

หลังจบแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวได้ออกอากาศภาพยนตร์แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุด "โยรินุกิ กินทามะ-ซัง" (ญี่ปุ่น: よりぬき銀魂さんทับศัพท์: Yorinuki Gintama-san; "รวมตอนที่ดีที่สุดของกินทามะ") ซึ่งเป็นการคัดเลือกตอนเก่า ๆ ของแอนิเมชั่นชุดกินทามะจากทั้งสี่ภาคมาออกอากาศซ้ำในระบบโทรทัศน์รายละเอียดสูง (HDTV) โดยชื่อของรายการนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อล้อเลียนการออกอากาศซ้ำของแอนิเมชั่นชุด "ซาซาเอะซัง"[46] แอนิเมชั่นชุดนี้มีจำนวน 51 ตอน ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 จนถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทั้งนี้ นอกจากการปรับปรุงระบบการออกอากาศจาก 4:3 มาเป็น 16:9 แล้ว ได้มีการเพิ่มเพลงเปิดและเพลงปิดรายการขึ้นใหม่อย่างละ 4 เพลง ดังรายชื่อต่อไปนี้

เพลงเปิดรายการ
  1. "บะคุจิ แดนเซอร์" (ญี่ปุ่น: バクチ・ダンサーโรมาจิBakuchi Dansā; "Bakuchi Dancer") โดย Does (ตอนที่ 1-9)
  2. "คะเซะ โน โงะโทะคุ" (ญี่ปุ่น: 風のごとく; "Kaze no Gotoku") โดย โจ อิโนะอุเอะ (ตอนที่ 10-26) [47]
  3. "คะโนเซ เกิร์ล" (ญี่ปุ่น: 可能性ガールทับศัพท์: Kanōsei Gāru; "Kanōsei Girl") โดย คุริยะมะ จิอะกิ (ตอนที่ 27-39)
  4. "คาโทะเนียโงะ" (ญี่ปุ่น: カートニアゴ) โดย FILP (ตอนที่ 40-51)
เพลงปิดรายการ
  1. "โบะคุทะจิ โนะ คิเซ็ทซึ" (ญี่ปุ่น: 僕たちの季節; "Bokutachi no Kisetsu") โดย Does (ตอนที่ 1-9)
  2. "เวฟ" (อังกฤษ: "WAVE") โดย Vijandeux (ตอนที่ 10-26)
  3. "อินมายไลฟ์" (อังกฤษ: "IN MY LIFE") โดย Azu (ตอนที่ 27-39)
  4. "ซะกุระเนะ" (ญี่ปุ่น: 桜音; "Sakurane") โดย Piko (ตอนที่ 40-51)

กินทามะ'[แก้]

ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการออกอากาศแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 โยอิจิ ฟูจิตะ ผู้กำกับแอนิเมชั่นชุดนี้ได้กล่าวว่าแอนิเมชั่นชุดนี้จะออกอากาศต่อเมื่อทีมงานผลิตรายการสามารถรวมรวบวัตถุดิบสำหรับการทำแอนิเมชั่นได้เพียงพอ ส่วนชินจิ ทากามัตสึ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรายการ ได้กล่าวย้ำว่า แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุดนี้ยังไม่จบ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งอย่างแน่นอน[48] ต่อมาสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ได้ประกาศในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ว่า แอนิเมชั่นชุดใหม่ของเรื่องนี้จะกลับมาแพร่ภาพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[49]

เมื่อจบการออกอากาศแอนิเมชั่นชุด "โยรินุกิ กินทามะ-ซัง" ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 แล้ว ในสัปดาห์ถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวจึงเริ่มการแพร่ภาพแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดใหม่ ภายใต้ชื่อ กินทามะ' (ญี่ปุ่น: 銀魂’โรมาจิGintama' มีการเพิ่มเครื่องหมายอะพอสทรอฟีไว้หลังชื่อ) ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดล่าสุดที่กำลังออกอากาศในขณะนี้[50] ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับใน 4 ภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ สำหรับดีวีดีชุดแรกจากแอนิเมชั่นชุดนี้จะเริ่มจัดจัดจำหน่ายในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[51]

ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ' คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี 13 แผ่น

กินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลา[แก้]

ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลาสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นภาคต่อเนื่องจากภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ' ที่จบไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ[52] สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน รวบรวมเป็นดีวีดีได้ 4 แผ่น วางจำหน่ายระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลา คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีบ๊อกซ์เซ็ต รวมดีวีดี 4 แผ่น วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กินทามะ มารุ[แก้]

กินทามะ พีเรียด[แก้]

กินทามะ พีเรียด ภาคโปโรริ[แก้]

กินทามะ พีเรียด ภาคชิโรงาเนะ โนะ ทามาชี[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์แอนิเมชัน[แก้]

มีภาพยนตร์สามเรื่องที่อิงจากแฟรนไชส์กินทามะเรื่องแรกคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ เป็นการดัดแปลงมาจากเนื้อเรื่องภาคเบนิซากุระของเรื่องกินทามะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อคาซึระถูกคนของกองทหารอสุราลอบทำร้าย เหล่านักรับจ้างสารพัดจึงออกสืบหาต้นตอของเรื่องราวทั้งหมด [53][54] ภาพยนตร์ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้บนเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ของบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เมื่อวันที่ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 [55] ได้ออกฉายในงาน Manga & Anime festa ณ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 6 และ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 [56] ออกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดีวีดีและวีซีดีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และเคยออกอากาศทางช่องแก๊งการ์ตูน เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 [57]

ภาพยนตร์เรื่องที่สองคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้ในงานฉายภาพยนตร์ ฮันเดอร์ x ฮันเตอร์ เดอะ มูฟวี่ เนตรสีเพลิงกับกองโจรเงามายาเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [58] ออกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดีวีดีและวีซีดี

ภาพยนตร์เรื่องที่สามประกาศสร้างในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ในหนังสือมังงะเล่มที่ 77 [59] ภาพยนตร์มีชื่อเสียงว่า กินทามะ เดอะ ไฟนอล ในประเทศญี่ปุ่น และ กินทามะ เดอะ เวรี่ ไฟนอล ในประเทศไทย ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564[60][61] ดัดแปลงจากบทสุดท้ายของมังงะต้นฉบับ ประกอบกับเนื้อเรื่องที่เพิ่มเข้าไปใหม่[62] วง Spyair ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงหลักชื่อเพลง "วาดาจิ" (ญี่ปุ่น: 轍~Wadachi~; แปลว่า "รอยล้อรถ") ส่วนวง Does ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงแทรก[63] การ์ดภาพวาดของตัวละครจากเรื่อง ดาบพิฆาตอสูร วาดโดยโซราจิ ประกอบด้วยภาพของโคมาโดะ ทันจิโร่และเสาหลัก เป็นของแจกให้ผู้เข้าชมในการฉายภาพยนตร์สัปดาห์แรก[64][65] อนิเมะตอนพิเศษ กินทามะ เดอะ เซมิ-ไฟนอล ซึ่งมีเนื้อเรื่องผูกกับภาพยนตร์ เริ่มฉายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ทางบริการออนไลน์ dTV อนิเมะตอนพิเศษตอนที่สองฉายในวันที่ 20 มกราคม[66] ในประเทศไทย ภาพยนตร์กินทามะ เดอะ เวรี่ ไฟนอล จัดจำหน่ายโดยบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และดูแลการตลาดโดยบริษัท ไฟว์สตาร์ เอเจนซี่ จำกัด ภาพยนตร์ออกฉายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[67]

ภาพยนตร์ไลฟ์แอคชัน[แก้]

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 สำนักพิมพ์ชูเอฉะได้ประกาศว่าเรื่องกินทามะจะได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอคชัน และจะออกฉายในปี พ.ศ. 2560 กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดยยูอิจิ ฟุคุดะ และนำแสดงโดย ชุน โอะงุริ [68]

ภาพยนตร์ไลฟ์แอคชันดัดแปลงจากเรื่องกินทามะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในประเทศไทย ภาพยนตร์เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560 [69] โดยมีชื่อเรื่องภาษาไทยว่า กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด

ซีดีซาวน์แทร็ก[แก้]

ดนตรีประกอบภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประพันธ์โดย เออิจิ คามางาตะ ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจำหน่ายซีดีเซาด์แทร็กของภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประกอบด้วยเซาวน์แทร็กจำนวน 32 เพลง รวมไปถึงเพลงเปิดเพลงแรก และเพลงปิดสองเพลงแรก [70]

ซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 2 วางจำหน่ายในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 40 เพลง[71] ส่วนซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 3 ที่เป็นลำดับล่าสุด วางจำหน่ายในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 28 เพลง[72]

ไลต์โนเวล[แก้]

ไลต์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เล่มที่ 1

นิยายไลต์โนเวลที่อิงจากหนังสือการ์ตูน กินทามะ เขียนเนื้อเรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ วาดภาพประกอบโดยฮิเดอากิ โซราจิ เจ้าของเรื่องต้นฉบับ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ฉากของเรื่องเป็นโรงเรียนชื่อโรงเรียนกินทามะ โดยกินโทกิรับบทอาจารย์โดยใช้ชื่อว่า ซากาตะ กินปาจิ และตัวละครอื่น ๆ ส่วนใหญ่รับบทนักเรียนหรืออาจารย์คนอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื้อเรื่องของไลต์โนเวลกินทามะตีพิมพ์ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ ใช้ชื่อเรื่องว่า ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ (ญี่ปุ่น: 3年Z組銀八先生โรมาจิ3-Nen Z-Gumi Ginpachi-sensei; "ปี 3 ห้อง Z อาจารย์กินปาจิ") ไลต์โนเวลเล่มแรกตีพิมพ์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 7 [73][74] ซึ่งมีชื่อเรื่องดังต่อไปนี้

ในประเทศไทย นิยายไลต์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์ วางจำหน่ายเล่มที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 [75] ปัจจุบันตีพิมพ์ครบ 7 เล่มแล้ว ซึ่งมีชื่อเรื่องดังนี้

  1. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ
  2. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 2: ทัศนศึกษาล่ะ! ทุกคนมารวมตัวกัน!!
  3. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 3: ไปห้องให้คำปรึกษาแก่นักเรียนกันเถอะ!
  4. กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ 4: มีเรื่องแบบนั้นกับเรื่องแบบนี้ด้วยเร้ออออออ!!
  5. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ RETURN: ไอ้หนุ่มเลือดเย็น ทากาสุงิคุง
  6. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ Phoenix: Funky Monkey Teachers
  7. กลับมาแล้วจ้ะ กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ Forever: ลาก่อน ชาว 3Z อันเป็นที่รัก

นอกจากนี้ ยังมีฉบับนิยายของภาพยนตร์กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ที่เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิเช่นเดียวกัน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่น [76] นิยายฉบับนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย

วิดีโอเกม[แก้]

ไกด์บุ๊ค[แก้]

ปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไกด์บุ๊คกินทามะแล้ว 3 เล่ม สำหรับมังงะ 2 เล่ม และอนิเมะ 1 เล่ม ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่มแรก มีชื่อว่า Gintama Official Character Book - Gin Channel (ญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」) ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตัวหนังสือประกอบด้วยข้อมูลตัวละคร บทสัมภาษณ์ฮิเดอากิ โซราจิ และสติกเกอร์ตัวละคร [82] ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่ม 2 มีชื่อว่า Gintama Official Character Book 2 - Fifth Grade (ญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」) ตีพิมพ์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเล่มที่เพิ่มข้อมูลของตัวละครใหม่เพิ่มเติมจากเล่มแรก [83] ไกด์บุ๊คสำหรับอนิเมะมีชื่อว่า Gintama Official Animation Guide "Gayagaya Box" (ญี่ปุ่น: オフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱) ตีพิมพ์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสกินทามะออกอากาศถึงตอนที่ 100 มีข้อมูลเกี่ยกวับนักพาย์ผู้พากย์เป็นตัวละครในกินทามะ[84]

เสียงตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนเรื่องกินทามะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในปี พ.ศ. 2549 [85] หนังสือการ์ตูนกินทามะ 12 เล่มที่ออกวางแผงในปีนั้น ขายได้จำนวนรวมกัน 7,500,000 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านเล่ม ติดอันดับการ์ตูนขายดีของนิตยสารโซเน็นจัมป์ในปี พ.ศ. 2550 [86] ในปี พ.ศ. 2551 ยอดจำหน่ายของการ์ตูนกินทามะเป็น 20 ล้านเล่ม[87]

ส่วนในประเทศไทย ในระยะแรก กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะเป็นไปในทางลบ เนื่องจากผู้อ่านบางกลุ่มอ่านกินทามะไม่เข้าใจ[30] แต่ด้วยการพัฒนาเนื้อหาของผู้แต่งในระยะต่อมา และการแปลเป็นภาษาไทยที่ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กินทามะกลับมามีความนิยมอย่างท่วมท้นในประเทศไทย โดยเฉพาะการประกาศเรื่องและตัวละครชายดีเด่นในปี2010 ผลการโหวตปรากฏว่า การ์ตูนกินทามะได้อันดับที่สองรองจากK-on! และซากาตะ กินโทกิ ได้รับการโหวตให้เป็นตัวละครชายยอดนิยมแห่งปี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Official Website for Gin Tama". Viz Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2018. สืบค้นเมื่อ October 27, 2017.
  2. 2.0 2.1 Aoki, Deb. "Gin Tama, volume 1 by Hideaki Sorachi". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2009. สืบค้นเมื่อ July 11, 2009.
  3. 銀魂. eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
  4. Santos, Carlo (May 12, 2009). "RIGHT TURN ONLY!! Gin and Juice". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  5. โซราจิ, ฮิเดอากิ (2005). กินทามะ เล่ม 6. สยามอินเตอร์คอมิกส์. p. 26. ISBN 978-4-08-873781-2.
  6. Santos, Carlo (July 8, 2008). "RIGHT TURN ONLY!! Strange Times". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.
  7. Santos, Carlo (April 4, 2008). "Gin Tama, vol. 5 review". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 11, 2009.
  8. Douresseaux, Leroy (June 29, 2009). "Gin Tama: Volume 13". Comic Book Bin. สืบค้นเมื่อ August 4, 2009.
  9. Sorachi, Hideaki (2007). Gin Tama, Vol. 2. Viz Media. pp. 152. ISBN 978-1-4215-1359-1.
  10. Sorachi, Hideaki (2007). Gin Tama, Vol. 1. Viz Media. pp. 204–205. ISBN 978-1-4215-1358-4.
  11. Sorachi, Hideaki (2008). Gin Tama, Vol. 5. Viz Media. p. 46. ISBN 978-1-4215-1618-9.
  12. Sorachi, Hideaki (2007). Gin Tama, Vol. 1. Viz Media. p. 203. ISBN 978-1-4215-1358-4.
  13. Quick Japan (ภาษาญี่ปุ่น). Otashuppan. October 2009. pp. 22–41. ISBN 978-4778311940.
  14. Sorachi, Hideaki (25 January 2021). "15作家の「祝辞」紹介" [Introduction of 15 writers' congratulations]. Twitter (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021. The reason why historical stories are being dealt with in all sorts of manga and game media today, and why they are being supported by the younger generation, is undoubtedly because of the work "Ruroken". As usual, I was one of the radish thieves, or rather, a senior member of the thieves, who trespassed into the fields cultivated by Mr. Watsuki without permission and sold radishes. (...) We are all children of the "Ruroken" bloodline, so please don't sue us or anything like that.
  15. 2004年新年2号 [Year 2004, New Year edition] (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2008. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  16. "Shonen Jump Posts 1st Japanese Chapters of 22 Manga for Free". Anime News Network. August 3, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ August 10, 2009.
  17. Pineda, Rafael Antonio (August 20, 2018). "Gintama Manga Ends in 5 Chapters". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ August 22, 2018.
  18. 「銀魂」約15年の歴史に幕!“最終回のむこう側”をジャンプGIGAにシリーズ掲載. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). September 15, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2020. สืบค้นเมื่อ June 18, 2020.
  19. Pineda, Rafael Antonio (September 15, 2018). "Gintama Manga Moves to Jump Giga Magazine". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2018. สืบค้นเมื่อ September 15, 2018.
  20. Hodgkins, Crystalyn (December 2, 2018). "Gintama Manga Starts Final Run in Jump GIGA Magazine on December 28". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ December 2, 2018.
  21. 「銀魂」ジャンプGIGA最新話の扉絵を許斐剛が描く、西尾維新原作の読切も. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). January 25, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2020. สืบค้นเมื่อ June 18, 2020.
  22. 「銀魂」今回も完結ならず、今後の続きは公式アプリで. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). February 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2020. สืบค้นเมื่อ June 18, 2020.
  23. Sherman, Jennifer (February 21, 2019). "Gintama Manga 'Continues' in App". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ February 21, 2019.
  24. Hodgkins, Crystalyn (May 2, 2019). "Gintama Manga Continues in App Starting on May 13". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2019. สืบค้นเมื่อ May 2, 2019.
  25. Hodgkins, Crystalyn (May 27, 2019). "Gintama Manga's 'Final' Chapter Will Launch on June 20 (Updated)". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2022. สืบค้นเมื่อ February 21, 2023.
  26. 「銀魂」ホントにホントでホントの完結!最後の予算を振り絞った感謝の新聞広告も. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). June 20, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2020. สืบค้นเมื่อ June 18, 2020.
  27. 銀魂―ぎんたま― 1 [Gintama 1] (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2011. สืบค้นเมื่อ June 17, 2009.
  28. Hodgkins, Crystalyn (January 5, 2019). "Shueisha Confirms Gintama Manga Will End in 77th Volume". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2019. สืบค้นเมื่อ January 5, 2019.
  29. 銀魂―ぎんたま― 77 (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2019. สืบค้นเมื่อ May 29, 2019.
  30. 30.0 30.1 ข้อมูลการ์ตูนกินทามะ
  31. โซราจิ, ฮิเดอากิ. "เล่ม 77". กินทามะ. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์.
  32. "Gin Tama, Vol. 1" (ภาษาอังกฤษ). Viz Media. สืบค้นเมื่อ June 17, 2009.
  33. "Viz Confirms Gintama Manga 23 Is Final N. American Volume (Updated)". เครือข่ายข่าวอนิเมะ. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  34. "บอกเล่าข่าวการ์ตูนประจำสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน 2554". kartoon-discovery.com. April 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ September 16, 2011.
  35. "บอกเล่าข่าวการ์ตูนประจำสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 5-11 กันยายน 2554". kartoon-discovery.com. September 11, 2011. สืบค้นเมื่อ September 16, 2011.[ลิงก์เสีย]
  36. "銀魂 ジャンプアニメツアー2008&2005 DVD" [Gintama Jump Anime Tour 2008 & 2005] (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.
  37. "Yoichi Fujita to Stop Directing Gintama This Spring". Anime News Network. January 11, 2009. สืบค้นเมื่อ July 11, 2009.
  38. "銀魂 1 通常版" (ภาษาอังกฤษ). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ April 10, 2009.[ลิงก์เสีย]
  39. "銀魂 第1期のDVD情報はこちら!!" (ภาษาอังกฤษ). ซันไรซ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-26. สืบค้นเมื่อ June 20, 2009.
  40. "銀魂 シーズン其ノ弐のDVD情報はこちら!!". ซันไรส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ June 20, 2009.
  41. "Gintama - Products - DVD 3" (ภาษาญี่ปุ่น). ซันไรส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-04. สืบค้นเมื่อ July 20, 2009.
  42. "銀魂 シーズン其ノ四 1" [Gintama Season 4, Volume 1] (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ October 11, 2009.
  43. "ประกาศจากบริษัททีไอจีเอเรื่องการถือลิขสิทธิ์การ์ตูนกินทามะปี 2". ทีไอจีเอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-14. สืบค้นเมื่อ September 8, 2009.
  44. "วีซีดีกินทามะแผ่นที่ 1-25". ทีไอจีเอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01. สืบค้นเมื่อ July 15, 2009.
  45. "ดีวีดีกินทามะแผ่นที่ 1-12". ทีไอจีเอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01. สืบค้นเมื่อ July 15, 2009.
  46. "「銀魂」最終回の日に両国国技館でイベント、全国で約2万人が"2期宣言"に拍手喝采 - ザテレビジョン". March 29, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ June 21, 2010.
  47. "ナタリー - 井上ジョー新曲がアニメ「よりぬき銀魂さん」オープニング". May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ June 21, 2010.
  48. "Gintama Director Shinji Takamatsu: 'It's Not Over'". Anime News Network. March 29, 2010. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  49. "News: Gintama TV Anime to Resume". Anime News Network. December 1, 2010. สืบค้นเมื่อ December 5, 2010.
  50. "News: Crunchyroll to Simulcast Gintama TV Anime's Return". Anime News Network. March 28, 2011. สืบค้นเมื่อ March 28, 2011.
  51. "Gintama' 1 Regular Edition". Neowing. สืบค้นเมื่อ June 7, 2011.
  52. "New Gintama Anime Episodes to Resume on TV" (ภาษาอังกฤษ). Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 26, 2012.
  53. "Gintama, Haruhi Suzumiya Films' Dates Listed in 2010". Anime News Network. November 2, 2009. สืบค้นเมื่อ November 3, 2009.
  54. "Gintama, Precure, Shin-chan Movie Trailers Streamed". Anime News Network. December 12, 2009. สืบค้นเมื่อ December 12, 2009.
  55. "ประกาศลิขสิทธิ์เซ็ตใหม่ บาคุมัง / ยัตเตอร์แมน / กินทามะเดอะมูวี / กาโร่เดอะมูวี่". โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์. April 6, 2011. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  56. "Manga & Anime festa". เซนชู พับลิชชิ่ง. July 20, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
  57. นิตยสาร Rose Magazine ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2557
  58. "ประกาศลิขสิทธิ์ใหม่โรสมีเดีย ธันวาคม 2556 ครั้งที่ 3 X03 GintamaMovie2". โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์. December 21, 2013. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
  59. Sherman, Jennifer (August 1, 2019). "Gintama Manga Gets New Anime Film". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2019. สืบค้นเมื่อ August 1, 2019.
  60. Sherman, Jennifer (December 21, 2019). "New Gintama Anime Film Opens in 2021". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ December 21, 2019.
  61. Pineda, Rafael Antonio (August 12, 2020). "New Gintama Anime Film's Teaser Claims January 2021 Film Is 'Finale for Real'". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2020. สืบค้นเมื่อ August 12, 2020.
  62. Pineda, Rafael Antonio (August 19, 2020). "Gintama: The Final Anime Film Is Based on Manga's Finale". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  63. Loo, Egan (October 9, 2020). "Gintama: The Final Film's Trailer Highlights SPYAIR's Theme Song, Story Finale 'For Real'". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ October 11, 2020.
  64. Pineda, Rafael Antonio (December 7, 2020). "Gintama The Final Film Presents Trailer, Demon Slayer Card Drawn By Gintama's Hideaki Sorachi". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2021. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.
  65. Loo, Egan (December 19, 2020). "See Demon Slayer: Kimetsu no Yaiba Characters — as Drawn by Gintama's Hideaki Sorachi". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2020. สืบค้นเมื่อ December 19, 2020.
  66. Pineda, Rafael (January 27, 2021). "Gintama The Semi-Final Net Anime Also Gets Cast Commentary Track". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2021. สืบค้นเมื่อ January 27, 2021.
  67. "กินทามะ เดอะ เวรี่ ไฟนอล". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. สืบค้นเมื่อ February 14, 2022.
  68. "Gintama Manga Gets Live-Action Film Adaptation in 2017 Starring Shun Oguri". Anime News Network. June 30, 2016. สืบค้นเมื่อ August 31, 2017.
  69. "กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. สืบค้นเมื่อ August 31, 2017.
  70. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック Soundtrack" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.
  71. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.
  72. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.
  73. "銀魂3年Z組銀八先生" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2009.
  74. "帰ってきた3年Z組銀八先生フォーエバ- さらば、愛しき3Zたちよ" (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. สืบค้นเมื่อ September 13, 2013.
  75. "กินทามะ‬ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ". สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์. สืบค้นเมื่อ July 11, 2015.
  76. "劇場版 銀魂 完結篇" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ August 30, 2017.
  77. "Gintama Gin-San to Issho" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
  78. "Gintama: Banji Oku Chuubu" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
  79. "Gintama: Gin-Oh Quest" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
  80. "Gintama DS: Yorozuya Daisoudou" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
  81. "Gintama: Gintoki vs. Dokata" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
  82. "銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ July 26, 2009.
  83. "銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ July 26, 2009.
  84. "オフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ July 26, 2009.
  85. "Shounen Jump Manga Circulation Numbers". Comipress. June 1, 2006. สืบค้นเมื่อ August 27, 2009.
  86. "Comipress News article on "The Rise and Fall of Weekly Shōnen Jump"". Comipress. May 6, 2007. สืบค้นเมื่อ June 2, 2008.
  87. "ジャンプ作品売り上げ推移" (ภาษาญี่ปุ่น). GeoCities. สืบค้นเมื่อ March 28, 2008.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]