Filopaludina martensi

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Filopaludina martensi
ภาพวาดเปลือกหอยด้านล่างเห็นฝาปิดเปลือก
ภาพวาดด้านหลัง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
ไม่ได้จัดลำดับ: clade Caenogastropoda

informal group Architaenioglossa

วงศ์ใหญ่: Viviparoidea
วงศ์: Viviparidae
สกุล: Filopaludina
สกุลย่อย: Siamopaludina
สปีชีส์: F.  martensi
ชื่อทวินาม
Filopaludina martensi
(Frauenfeld, 1864)[2]
ชื่อพ้อง[1]
  • Paludina cingulata Martens, 1860[3]
  • Vivipara martensi Frauenfeld, 1864[2]
  • Sinotai ingallsiana Ito, 1962
  • Bellamya ingallsiana Solem, 1966

Filopaludina martensi เป็นมอลลัสคาประเภทหอยฝาเดี่ยว จำพวกหอยขม (Viviparidae) ชนิดหนึ่ง

พบในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูกเป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวเองเมื่ออายุได้ 60 วัน ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 40-50 ตัว หอยที่ออกมาใหม่ ๆ มีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น หอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่ จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม มักอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่น คู, คลอง, หนอง, บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ, เสาหลัก, ตอไม้ หรือตามพื้น กินอาหารจำพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร หรือเศษใบไม้ใบหญ้าผุ ๆ ในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน

นับเป็นหอยขมชนิดที่พบได้แพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย และยังพบได้ในภูมิภาคใกล้เคียง เช่น ลาว, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม โดยชนิดต้นแบบพบในประเทศไทย ขณะที่ยังใช้ชื่อประเทศว่า "สยาม" อยู่[3]

นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ในตำรับอาหารไทย เช่น แกงคั่วหอยขม[4] มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ[5] และยังมีความเชื่อด้วยว่า หากใครได้ปล่อยหอยชนิดนี้ลงกลับสู่ธรรมชาติ จะนำความขมขื่นให้หมดไป[6]

ชนิดย่อย[แก้]

  • Filopaludina martensi cambodiensis Brandt, 1974[1]
  • Filopaludina martensi martensi (Frauenfeld, 1864)
  • Filopaludina martensi munensis Brandt, 1974[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Köhler F., Sri-aroon P. & Simonis J. (2012). "Filopaludina martensi". In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 9 November 2012.
  2. 2.0 2.1 von Frauenfeld G. R. (1864). "Verzeichnis der Namen der fossilen und lebenden Arten der Gattung Paludina Lam.". Verhandlungen der Kaiserlich-Königlichen Zoologisch-Botanischen Gesellschaft in Wien 14: 561-672. page 588. (เยอรมัน)
  3. 3.0 3.1 Martens E. v. (1860). "On the Mollusca of Siam". Proceedings of the Zoological Society of London 1860(1): 6-18, page 13.
  4. Piyatiratitivorakul, Piansiri; Boonchamoi, Pachanee (2008). ScienceAsia. 34 (4): 367. doi:10.2306/scienceasia1513-1874.2008.34.367. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. "หอยขม". ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.
  6. "ความหมายของการปล่อยสัตว์แต่ละชนิด". citecclub.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014. เก็บถาวร 2020-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Filopaludina martensi ที่วิกิสปีชีส์