เส้นประสาทเฟเชียล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Facial nerve)
เส้นประสาทเฟเชียล หรือ
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
(Facial nerve)
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินnervus facialis
MeSHD005154
นิวโรเนมส์551
TA98A14.2.01.099
TA26284
FMA50868
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เส้นประสาทเฟเชียล[1] หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7[1] (อังกฤษ: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของพาราซิมพาเทติกไปยังปมประสาทของศีรษะและคออีกจำนวนมาก

เส้นทาง[แก้]

เส้นประสาทเฟเชียลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนในกะโหลกศีรษะ (intracranial portion) ส่วนในกระดูกขมับ (intratemporal portion) และส่วนนอกกระดูกขมับ (extratemporal portion)

ส่วนในกะโหลกศีรษะ[แก้]

ใยประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลเริ่มตั้งแต่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ จนถึงใยประสาทขมวดเป็นเส้นประสาทเฟเชียลและออกจากสมองที่มุมซีรีเบลโลพอนทีน (cerebellopontine angle) สามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

นอกจากใยประสาทนี้แล้ว ยังมีใยประสาทนอกพีระมิด (extrapyramidal system) มายังเฟเชียล นิวเคลียสเพื่อช่วยควบคุมความตึงตัวและประสานการเคลื่อนไหวใบหน้า รวมทั้งการประสานอารมณ์กับการแสดงสีหน้า ทั้งจากบริเวณสมองกลีบหน้า (frontal lobe) โกลบัส พาลลิดัส (globus pallidus) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus)

ส่วนในกระดูกขมับ[แก้]

เส้นประสาทเฟเชียลส่วนในกระดูกขมับ

เส้นประสาทเฟเชียลเข้าสู่ส่วนพีทรัสของกระดูกขมับ (Petrous portion of temporal bone) ผ่านทางปากรูประสาทหู (internal acoustic meatus) วิ่งคดเคี้ยวอยู่ภายในคลองประสาทเฟเชียล (facial canal) จนออกจากกระดูกขมับที่ช่องสไตโลมาสตอยด์ (stylomastoid foramen) แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนนอกกระดูกขมับ[แก้]

เส้นประสาทของหลังศีรษะ ใบหน้า และด้านข้างคอ (แสดงเส้นประสาทเฟเชียลส่วนนอกกระดูกขมับ อยู่บริเวณกลางภาพ)

หลังจากเส้นประสาทเฟเชียลออกจากช่องสไตโลมาสตอยด์ จะแตกแขนงออกมาเป็นเส้นประสาทโพสทีเรียร์ออริคิวลาร์ (posterior auricular nerve) เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (Posterior belly of Digastric) และกล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (Stylohyoid muscle) แล้ววิ่งผ่านกลางต่อมน้ำลายพาโรติดแบ่งต่อมน้ำลายเป็นกลีบผิว และกลีบลึก ในต่อมน้ำลายพาโรติดเส้นประสาทเฟเชียลจะแตกแขนงออกจำนวนมาก โดยตอนแรกแบ่งออกเป็นสองแขนงหลัก แล้วแยกย่อยออกอีกรวมเป็น 5 แขนง

แขนง[แก้]

ส่วนในกระดูกขมับ[แก้]

ส่วนนอกกระดูกขมับ[แก้]

หน้าที่[แก้]

ประสาทนำออก[แก้]

เส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่หลักในการสั่งการควบคุมกลุ่มกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (muscles of facial expression) และยังสั่งการไปยังกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (posterior belly of the digastric muscle) กล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียสในหูชั้นกลาง (stapedius) กล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อลายที่เจริญมาจากส่วนโค้งคอหอยที่สอง (2nd pharyngeal arch)

เส้นประสาทเฟเชียลยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (submandibular gland) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีผลเพิ่มการหลั่งน้ำลายจากต่อมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปเลี้ยงเยื่อเมือกของจมูกและต่อมน้ำตาผ่านทางปมประสาทเทอริโกแพลาทีน (pterygopalatine ganglion)

เส้นประสาทนี้ยังทำหน้าที่เป็นประสาทนำออกในรีเฟล็กซ์กระจกตา (corneal reflex)

ประสาทนำเข้า[แก้]

เส้นประสาทเฟเชียลรับรู้รสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี การรับรู้รสชาติถูกส่งไปยังส่วนรับความรู้สึกของซอลิเทรี นิวเคลียส (solitary nucleus) ส่วนการรู้สึกทั่วไปของลิ้นจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นมาทางเส้นประสาทไทรเจมินัลส่วนที่สาม (third division of trigeminal nerve; V-3) ซึ่งทั้งใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปและความรับรู้รสชาติจะเดินทางมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ ผ่านทางเส้นประสาทลิ้น (lingual nerve) ก่อนที่เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานีจะแยกจากเส้นประสาทลิ้น

เส้นประสาทจะเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านทางรูเปิดพีโทรทิมพานิก (petrotympanic fissure) ซึ่งตรงนี้เส้นประสาทจะไปรวมกับเส้นประสาทเฟเชียลที่เหลือบริเวณคลองเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี จากนั้นใยประสาทรับรู้รสชาติส่วนนี้จะไปถึงปมประสาทเจนิคิวเลต (ซึ่งเป็นปมประสาทของใยประสาทรับรสชาติของเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี และวิถีประสาทรับรสชาติอื่นๆ) จากปมประสาทเจนิคิวเลต ใยประสาทรับรสชาติซึ่งต่อไปเรียกว่าเนอร์วัส อินเตอร์มีเดียส (nervus intermedius) จะเดินทางผ่านปากรูประสาทหูขนานไปกับรากประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียล แล้วเข้าไปยังแอ่งกะโหลกหลัง (posterior cranial fossa) แล้วไซแนปส์กับซอลิเทรี นิวเคลียส

โรคของเส้นประสาทเฟเชียล[แก้]

การบาดเจ็บหรือความผิดปกติของเส้นประสาทเฟเชียลทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลัน (acute facial nerve paralysis) มีอาการอ่อนแรงของใบหน้าซีกหนึ่งด้านเดียวกับเส้นประสาทที่เป็นโรค อัมพาตเบลล์ (Bell's palsy) เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลันชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้เอง เกิดจากปมประสาทของเส้นประสาทสมองอักเสบ มักเป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อไวรัสหรือเป็นผลจากโรคไลม์ (Lyme disease) อัมพาตเบลล์ยังอาจเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดยาชาเฉพาะส่วนในทางทันตกรรมผิดตำแหน่ง อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกซึ่งแสดงอาการคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่อัมพาตชนิดนี้อาการดีขึ้นได้ด้วยยา

การทดสอบเส้นประสาทเฟเชียล[แก้]

เนื่องจากเส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าใต้อำนาจจิตใจ ดังนั้นการทดสอบเส้นประสาทเฟเชียลทำโดยการให้ผู้ถูกทดสอบยักคิ้ว ยิ้มยิงฟัน ขมวดคิ้ว หลับตาสนิท (หากผู้ถูกทดสอบทำไม่ได้ จะเรียกว่า ตาหลับไม่มิด[1] (lagophthalmos)) [2] ทำปากจู๋ ทำแก้มป่อง หากปกติจะต้องสมมาตรทั้งสองซีก

หากมีอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuron lesion) ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเฉพาะกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับรอยโรค เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนบน (ได้แก่กล้ามเนื้อฟรอนทาลิสและกล้ามเนื้อหลับตา) ถูกเลี้ยงด้วยใยเส้นประสาทเฟเชียลทั้งสองข้าง ในขณะที่อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neuron lesion) จะมีอาการอ่อนแรงทั้งใบหน้าส่วนบนและส่วนล่างด้านเดียวกันกับรอยโรค

การทดสอบการรับรสชาติทำโดยการป้ายสารละลายที่มีรสชาติที่บริเวณด้านหน้า 2/3 ของลิ้น หรือใช้การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้า

รีเฟล็กซ์กระจกตา[1] (Corneal reflex) เป็นการทดสอบการทำงานของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 และ 7 โดยใยประสาทนำเข้านั้นคือใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปของเส้นประสาทไทรเจมินัล ส่วนใยประสาทขาออกคือเส้นประสาทเฟเชียล เมื่อมีการกระตุ้นบริเวณกระจกตาข้างหนึ่งโดยสิ่งแปลกปลอมหรือการสัมผัสจะทำให้มีการกะพริบตาทั้งสองข้างพร้อมกัน กลไกนี้เกิดจากการเส้นประสาทเฟเชียลควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้ามัดหนึ่ง ชื่อว่ากล้ามเนื้อหลับตา[1] (Orbicularis oculi) ทำหน้าที่กะพริบตา

รูปประกอบเพิ่มเติม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  2. Kliniska Färdigheter: Informationsutbytet Mellan Patient Och Läkare, LINDGREN, STEFAN, ISBN 91-44-37271-X

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]