ปลาเก๋าเสือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Epinephelus fuscoguttatus)
ปลาเก๋าเสือ
ภาพวาดปลาเก๋าเสือ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Serranidae
สกุล: Epinephelus
สปีชีส์: E.  fuscoguttatus
ชื่อทวินาม
Epinephelus fuscoguttatus
(Forsskål, 1775)
ชื่อพ้อง[2]
  • Perca summana fuscoguttata Forsskål, 1775
  • Serranus fuscoguttatus (Forsskål, 1775)
  • Serranus horridus Valenciennes, 1828
  • Serranus taeniocheirus Valenciennes, 1830
  • Serranus lutra Valenciennes, 1832
  • Epinephelus lutra (Valenciennes, 1832)

ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (อังกฤษ: Brown-marbled grouper, Tiger grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus fuscoguttatus)

เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง[3]

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย

เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400–600 บาท[4] รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า  ปลาเก๋ามุกมังกร ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว่า[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rhodes, K.; Sadovy, Y.; Samoilys, M. (2018). "Epinephelus fuscoguttatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T44673A100468078. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T44673A100468078.en. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2021.
  2. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2019). "Epinephelus fuscoguttatus" in FishBase. December 2019 version.
  3. "Brown-marbled grouper (Epinephelus fuscoguttatus)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2012.
  4. "ปลากะรังจุดฟ้า". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2012.
  5. "ปลาเก๋ามุกมังกร ปลาสวรรค์อันดามัน". คมชัดลึก. 20 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]