Xenarthra

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Edentata)
Xenarthra
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีนยุคกลาง - ปัจจุบัน
ตัวกินมดยักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับใหญ่: Xenarthra
Cope, 1889
อันดับ และ อันดับย่อย


การจำแนกดูที่รายละเอียดเนื้อหา

Xenarthra เป็นชื่อของกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่แต่ในทวีปอเมริกา ต้นกำหนดของกลุ่มนี้ย้อนหลังไปได้ถึงยุคเทอร์เชียรีตอนต้น (ประมาณ 60 ล้านปีก่อน หลังมหายุคมีโซโซอิกเล็กน้อย) การดำรงอยู่ของสัตว์กลุ่มนี้ในอเมริกาเหนือสามารถอธิบายได้จากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอเมริกา[1][2]

สัตว์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยตัวกินมด, สลอธ และ อาร์มาดิลโล ในอดีตกลุ่มนี้เคยถูกจัดหมวดหมู่ให้รวมอยู่กับตัวนิ่มและ อาร์ดวาร์ก ภายใต้อันดับ Edentata (หมายถึง "ไร้ฟัน" เพราะสมาชิกในอันดับไม่มีฟันตัดหน้าหรือฟันกรามหน้า หรือมีฟันกรามที่ยังไม่พัฒนาดี) ต่อมาจึงได้พบว่าอันดับอีเดนตาตาประกอบไปด้วยสัตว์จากหลายตระกูลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นอันดับนี้จึงถูกยกเลิกตามมาตรฐานการจัดลำดับ ปัจจุบันตัวนิ่มและอาร์ดวาร์ก ถูกจัดอยู่ในอันดับแยกต่างหากจากกัน และกำหนดเป็นอันดับใหญ่ Xenarthra ขึ้นเพื่อสำหรับสัตว์ในตระกูลที่เหลือ โดยที่ชื่อ "Xenarthra" หมายถึง "ข้อต่อกระดูกที่แปลกประหลาด" มีที่มาจากข้อต่อกระดูกของสัตว์กลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น เนื่องจากกลุ่มนี้ขาดคุณลักษณะที่เชื่อว่ามีในบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มมีรก ประเภทอื่นที่รู้จักกัน จึงถูกจัดให้อยู่นอกกลุ่มมีรก ซึ่งเป็นกลุ่มของมีรก ประเภทอื่นในปัจจุบัน

ตามสัณฐานวิทยาของกลุ่ม Xenarthra และหลักฐานสนับสนุนจากการศึกษาระดับโมเลกุล ตัวกินมดและสลอธจัดว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากที่สุดในกลุ่ม ในอันดับ Xenarthra มักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 อันดับ คือ อันดับ Pilosa ประกอบด้วยอันดับย่อย Vermilingua และ Folivora และอันดับ Cingulata ที่แยกต่างหาก ปัจจุบันกลุ่ม Xenarthra มีสถานะเป็น หมู่ หรือ อันดับใหญ่และเป็นส่วนหนึ่งของ อันดับหมู่ใหญ่ Atlantogenata[3][4][5][6]

การจำแนก[แก้]

XENARTHRA

อ้างอิง[แก้]

  1. David Archibald, J (2003). "Timing and biogeography of the eutherian radiation: Fossils and molecules compared". Molecular Phylogenetics and Evolution. 28 (2): 350–9. doi:10.1016/S1055-7903(03)00034-4. PMID 12878471.
  2. Woodburne, Michael O. (2010). "The Great American Biotic Interchange: Dispersals, Tectonics, Climate, Sea Level and Holding Pens". Journal of Mammalian Evolution. 17 (4): 245–264. doi:10.1007/s10914-010-9144-8. PMC 2987556. PMID 21125025.
  3. Delsuc, Frédéric; Catzteflis, François M.; Stanhope, Michael J.; Douzery, Emmanuel J. P. (August 2001). "The evolution of armadillos, anteaters and sloths depicted by nuclear and mitochondrial phylogenies: implications for the status of the enigmatic fossil Eurotamandua" (PDF). Proc. R. Soc. Lond. B. 268 (1476): 1605–15. doi:10.1098/rspb.2001.1702. PMC 1088784. PMID 11487408. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-01-17.
  4. Kleisner, K; Ivell, R; Flegr, J (2010). "The evolutionary history of testicular externalization and the origin of the scrotum". Journal of Biosciences. 35 (1): 27–37. doi:10.1007/s12038-010-0005-7. PMID 20413907. S2CID 11962872.
  5. Elgar, M. A.; Harvey, P. H. (1987). "Basal Metabolic Rates in Mammals: Allometry, Phylogeny and Ecology". Functional Ecology. 1 (1): 25–36. doi:10.2307/2389354. JSTOR 2389354.
  6. Lovegrove, Barry G. (2000). "The Zoogeography of Mammalian Basal Metabolic Rate". The American Naturalist. 156 (2): 201–19. doi:10.1086/303383. JSTOR 3079219. PMID 10856202. S2CID 4436119.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]