Event-related potential

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ERP)
รูปคลื่นแสดงองค์ประกอบของ ERP หลายอย่าง รวมทั้ง N100 (ขึ้นป้ายว่า N1) และ P300 (ขึ้นป้ายว่า P3) ให้สังเกตว่า ERP วาดให้ศักย์ลบอยู่ด้านบน นี่เป็นข้อปฏิบัติที่สามัญแม้จะไม่สากลในงานวิจัยเกี่ยวกับ ERP

event-related potential (ตัวย่อ ERP) หรือ ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ เป็นค่าการตอบสนองของสมอง เป็นผลโดยตรงต่อเหตุการณ์ทางการรับรู้ความรู้สึก ทางประชาน หรือทางระบบสั่งการ[1] โดยรูปนัย มันเป็นการตอบสนองทางสรีรวิทยาไฟฟ้าแบบเป็นพิมพ์เดียวกัน (stereotyped) ต่อตัวกระตุ้น วิธีนี้ช่วยให้สามารถประเมินการทำงานของสมองโดยไม่ต้องผ่าต้องเจาะสรีระร่างกาย

ERP สามารถวัดโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการวัดสัญญาณที่เสมอกับ ERP คือ event-related field (ERF) ซึ่งทำด้วยการบันทึกสนามแม่เหล็กในสมอง (magnetoencephalography, ตัวย่อ MEG)[2] evoked potential และ induced potential เป็นรูปแบบย่อยของ ERP

ประวัติ[แก้]

ในปี 1924 จิตแพทย์ชาวเยอรมัน นพ.ฮานส์ เบอร์เกอร์ แสดงว่า สามารถบันทึกการทำงานทางไฟฟ้าของสมองมนุษย์โดยติดอิเล็กโทรดที่หนังศีรษะแล้วขยายสัญญาณ เป็นวิธีที่เรียกว่า การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram ตัวย่อ EEG) คือความเปลี่ยนแปลงทางศักย์ไฟฟ้าสามารถแสดงเป็นกราฟตามเวลา หมอให้ข้อสังเกตว่า ศักย์ไฟฟ้าได้รับอิทธิพลภายนอกเช่นการกระตุ้นประสาทสัมผัส EEG ในทศวรรษต่อ ๆ จึงใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าของสมอง แต่การบันทึกคลื่นสมองที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางประสาทโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งเป็นประเด็นของการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ประชาน (cognitive neuroscience) ก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะข้อมูล EEG อย่างเดียวไม่สามารถแยกแยะกระบวนการทางประสาทโดยเฉพาะ ๆ

ERP จึงเป็นวิธีที่ดีกว่าเพื่อดึงข้อมูลทางความรู้สึก ทางประชาน และทางระบบประสาทสั่งการโดยเฉพาะ ๆ ด้วยเทคนิคการเฉลี่ยที่ทำง่าย ๆ ในระหว่างปี 1935-1936 คู่นักสรีรวิทยาชาวอเมริกัน (Hallowell Davis และภรรยาคือ Pauline Davis) เป็นพวกแรกที่ได้บันทึก ERP ในมนุษย์ที่ตื่นอยู่แล้วตีพิมพ์ผลงานในปี 1939 แต่เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่มีงานทดลองต่อจากนั้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ์ 1940 แต่งานวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกก็กลับเพิ่มขึ้นอีกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ในปี 1964 นักประสาทสรีรวิทยาชาวอังกฤษเกรย์ วอลเตอร์ และผู้ร่วมงานได้เริ่มงานศึกษาที่แสดงองค์ประกอบ (component) ของ ERP เมื่อรายงานองค์ประกอบ ERP ทางประชานเป็นอย่างแรก ที่เรียกว่า contingent negative variation (CNV)[3] งานศึกษาในปี 1965 สร้างความก้าวหน้าเมื่อค้นพบองค์ประกอบ P3 ที่เกิดเมื่อตัดสินใจ[4] ต่อมาอีก 15 ปี งานวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบ ERP ก็เป็นเรื่องนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1980 การมีคอมพิวเตอร์ที่ราคาไม่แพง ก็ได้เปิดประตูใหม่ให้แก่งานวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ปริชาน

ปัจจุบัน ERP เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ปริชานเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ทางสรีรวิทยา (physiological correlate) ของการรับความรู้สึก การรับรู้ และปริชาน กับการแปลผลข้อมูล[5]

การคำนวณ[แก้]

ERP สามารถวัดอย่างน่าเชื่อถือได้ด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ซึ่งใช้อิเล็กโทรดติดหนังศีรษะบันทึกคลื่นสมองตามเวลา คลื่น EEG สะท้อนการทำงานของกระบวนการในสมองเป็นพัน ๆ ที่เกิดพร้อมกัน ซึ่งก็หมายความว่า การตอบสนองของสมองต่อตัวกระตุ้นเดี่ยว ๆ หรือเหตุการณ์ที่เป็นเป้าหมายปกติจะมองไม่เห็นในค่า EEG ที่บันทึกคราวเดียว ดังนั้น เพื่อให้เห็นการตอบสนองของสมองต่อสิ่งเร้า จึงต้องทำการทดลองหลายรอบแล้วหาค่าเฉลี่ยของผลที่ได้ ซึ่งลบสัญญาณการทำงานของสมองที่เป็นไปโดยสุ่มออกไปได้ เหลือแต่รูปแบบคลื่นที่เป็นประเด็นคือ ERP[6]

สัญญาณรบกวนที่เป็นค่าสุ่มรวมทั้งการทำงานของสมองพื้นหลังบวกกับสัญญาณทางชีวภาพอื่น ๆ (เช่น electrooculography, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) และสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าแม่เหล็ก (เช่น ในสายหลอดไฟเรืองแสง) ล้วนแต่ทำให้สัญญาณที่ต้องการคือ ERP ไม่ชัด จากมุมมองทางวิศวกรรม สามารถนิยามอัตราสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (SNR) ของ ERP ที่บันทึก เหตุผลที่การทำค่าเฉลี่ยเพิ่ม SNR ของ ERP คือทำให้ชัดขึ้นและตีความหมายได้ มีคำอธิบายง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ถ้าสมมุติปัจจัยบางอย่างให้ง่าย ๆ ได้ ข้อสมมุติก็คือ

  1. สัญญาณที่สนใจเป็นชุด ERP ที่ล็อกอยู่กับเหตุการณ์ (event-locked) โดยมีเวลาการตอบสนอง (latency) และรูปคลื่นที่ไม่เปลี่ยน
  2. สัญญาณรบกวน (noise) สามารถประมาณได้ด้วยการแจกแจงปรกติที่มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 มีค่าความแปรปรวน (variance) เป็น ซึ่งไม่สัมพันธ์กับกันและกันระหว่างการทดลองและไม่ได้ล็อกเวลา (time-locked) กับเหตุการณ์ แต่ข้อสมมุตินี้ก็ละเมิดได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ร่วมการทดลองขยับลิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อนับสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการทดลอง

ถ้ากำหนดลำดับการทดลองเป็น กำหนดเวลาที่ผ่านไปหลังเหตุการณ์ th เป็น ค่าบันทึกของการทดลองแต่ละการทดลอง ๆ สามารถกำหนดเป็น โดย ก็คือสัญญาณ ERP ที่ต้องการและ ก็คือสัญญาณรบกวน (noise) ให้สังเกตว่า ตามข้อสมมุติที่ว่ามาแล้ว สัญญาณไม่ได้ขึ้นกับการทดลองใดทดลองหนึ่ง แต่สัญญาณรบกวนจะขึ้น

ค่าเฉลี่ยของการทดลอง ครั้งก็คือ

ค่าคาดหมายของ (ตามที่หวัง) ก็คือสัญญาณ ERP เองซึ่งก็คือ

ความแปรปรวน (variance) ของมันก็คือ

เพราะเหตุนี้ แอมพลิจูดสัญญาณรบกวนของค่าเฉลี่ยการทดลอง ครั้งจึงคาดหมายว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่ามัชฌิม (mean) ซึ่งก็คือ โดยน้อยกว่าหรือเท่ากับ ในกรณี 68% คือโดยเฉพาะ ค่าเบี่ยงเบนในกรณี 68% จะเป็น ของค่าเบี่ยงเบนที่ได้ในการทดลองเดี่ยว ๆ (คือ ) โดยค่าเบี่ยงเบนที่ใหญ่กว่าคือ จึงคาดได้ว่าจะครอบคลุม 95% ของแอมพลิจูดสัญญาณรวบกวนที่เป็นไปได้

สัญญาณรบกวนที่มีแอมพลิจูดกว้าง (เช่น สัญญาณเนื่องกับการกะพริบตาหรือการเคลื่อนไหว) บ่อยครั้งใหญ่กว่าสัญญาณ ERP ที่ต้องการมาก จึงต้องเอาออกก่อนทำการเฉลี่ย ซึ่งทำได้ด้วยมือ (คือใช้ตาตรวจ) หรือใช้ระบบอัตโนมัติที่อาศัยขีดแบ่งตายตัวที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (เช่น จำกัดแอมพลิจูดมากสุดหรือจำกัดความชัน) หรือขีดแบ่งที่เปลี่ยนไปตามเวลาที่ได้จากสถิติของชุดการทดลอง[7][แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]

การตั้งชื่อองค์ประกอบ[แก้]

รูปคลื่น ERP ประกอบด้วยคลื่นศักย์ไฟฟ้าในทางบวกและทางลบ โดยมีชุด "องค์ประกอบ" (component) เป็นมูลฐาน[8] แม้องค์ประกอบ ERP บางอย่างจะเรียกเป็นอักษรย่อ (เช่น CNV, ERN) โดยมากก็เรียกด้วยอักษรตัวเดียว (N/P) ซึ่งระบุขั้ว (ลบ/บวก) ตามด้วยตัวเลขซึ่งระบุเวลาที่ล่วงไปหลังการแสดงตัวกระตุ้น (latency) มีหน่วยเป็นมิลลิวินาที หรือตามด้วยตัวเลขระบุอันดับในรูปคลื่น ยกตัวอย่างเช่น ยอดในทางลบซึ่งเป็นยอดสำคัญแรกในรูปคลื่นและเกิดที่ 100 มิลลิวินาทีหลังจากแสดงตัวกระตุ้น บ่อยครั้งเรียกว่า N100 (ซึ่งระบุว่าเกิด 100 มิลลิวินาทีหลังตัวกระตุ้นและมีค่าลบ) หรือ N1 (ระบุว่ามันเป็นยอดแรกและมีค่าลบ) ยอดแรกนี้มักตามด้วยยอดบวกซึ่งปกติเรียกว่า P200 หรือ P2 เวลาหลังจากตัวกระตุ้นขององค์ประกอบ ERP มักจะต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะองค์ประกอบหลัง ๆ ที่สัมพันธ์กับการแปลทางประชาน ยกตัวอย่างเช่น องค์ประกอบ P300 อาจมียอดในพิสัย 250-700 มิลลิวินาที[9][10]

ข้อดีข้อเสีย[แก้]

เทียบกับการวัดพฤติกรรม[แก้]

เทียบกับวิธีการวัดทางพฤติกรรม ERP ให้ข้อมูลการแปลผลของระบบประสาทอย่างต่อเนื่องระหว่างเวลาที่แสดงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทำให้สามารถระบุได้ว่า การเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ ทางการทดลองมีผลต่อการแปลผลระยะไหน ข้อดีอีกอย่างเหนือวิธีการวัดทางพฤติกรรมก็คือ อาจให้ข้อมูลการแปลผลตัวกระตุ้นแม้พฤติกรรมจะไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เพราะ ERP มีขนาดเล็กมาก จึงต้องทำการทดลองเป็นจำนวนมากเพื่อให้วัดมันได้อย่างถูกต้อง[11]

เทียบกับการวัดทางประสาทสรีรภาพอื่น ๆ[แก้]

การต้องเจาะต้องผ่า[แก้]

ไม่เหมือนกับการวัดด้วยไมโครอิเล็กโทรดซึ่งต้องสอดเข้าไปในสมอง และการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (PET) ที่ต้องฉายรังสี ERP ใช้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองซึ่งเป็นหัตถการที่ไม่ต้องตัดต้องผ่า (non-invasive)

รายละเอียดเชิงพื้นที่และเวลา[แก้]

ERP ให้รายละเอียดเชิงเวลาได้ดี เพราะความเร็วการบันทึกจำกัดด้วยอัตราการชักตัวอย่างที่อุปกรณ์บันทึกสามารถทำได้ เทียบกับการวัดอาศัยเลือด (เช่น fMRI, PET และ fNIRS) ที่จำกัดเพราะการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในเลือดเนื่องกับการทำงานของเซลล์ประสาทคือ Blood-oxygen-level dependent (BOLD) เป็นไปช้ากว่า ถึงกระนั้น รายละเอียดเชิงพื้นที่จะแย่กว่าวิธีการวัดอาศัยเลือด เพราะจริง ๆ แล้วการระบุต้นกำเนิดของสัญญาณ ERP เป็นการหาเหตุจากรายละเอียดที่สังเกตเห็น (inverse problem) ที่ทำไม่ได้อย่างแน่นอนเพียงแต่ประมาณได้ ดังนั้น ERP จึงให้คำตอบได้ดีถ้าเป็นคำถามเกี่ยวกับความเร็วของประสาท แต่ไม่ค่อยเหมาะเพื่อระบุตำแหน่งประสาทที่ทำงาน[1]

ค่าใช้จ่าย[แก้]

งานวิจัยที่ใช้ ERP มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่างานที่ต้องใช้การสร้างภาพวิธีอื่น ๆ เช่น fMRI, PET และ MEG เพราะการซื้อและการบำรุงรักษาเครื่อง EEG มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ERP ในการตรวจรักษา[แก้]

แพทย์และประสาทแพทย์บางครั้งจะใช้ภาพกระดานหมากรุกที่กะพริบเป็นตัวกระตุ้นทางตาเพื่อตรวจความเสียหายหรือการบาดเจ็บในระบบการเห็น ในคนปกติ นี้จะก่อการตอบสนองเป็นอย่างดีในเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex หรือ V1) ในสมองกลีบท้ายทอย

ความผิดปกติขององค์ประกอบ ERP ได้พบในงานวิจัยทางการแพทย์เมื่อมีปัญหาทางประสาทเช่น

ERP ในงานวิจัย[แก้]

ERP ใช้อย่างกว้างขวางในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาปริชาน (cognitive psychology) ประชานศาสตร์ และจิตสรีรวิทยา (psychophysiology) นักจิตวิทยาเชิงทดลอง (experimental psychology) และนักประสาทวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งเร้าหลายอย่างที่ก่อการตอบสนองของ ERP ที่เชื่อถือได้จากผู้ร่วมการทดลอง เวลาการตอบสนองเช่นนี้เชื่อว่า เป็นค่าวัดระยะการสื่อสารหรือระยะแปลผลในสมอง ในตัวอย่างกระดานหมากรุกที่กล่าวด้านบนในบุคคลปกติ การตอบสนองของเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิอยู่ที่ราว ๆ 50-70 มิลลิวินาที นี่ดูเหมือนจะบ่งเวลาที่ใช้เพื่อถ่ายโอนตัวกระตุ้นทางตาคือแสงที่เข้ามาในตาให้เป็นกระแสประสาทแล้วส่งไปถึงเปลือกสมอง

อีกอย่างหนึ่ง การตอบสนองที่เรียกว่า P300 จะเกิดราว ๆ 300 วินาทีในการทดลองที่ให้ตัวกระตุ้นซ้ำ ๆ โดยขัดไม่ค่อยบ่อยด้วยตัวกระตุ้นที่ผิดไป (ซึ่งเรียกว่า oddball paradigm) ไม่ว่าตัวกระตุ้นจะเป็นทางไหน เช่น ทางตา ทางสัมผัส ทางหู ทางจมูก ทางการรู้รส เป็นต้น เพราะนี่เป็นความไม่แปรเปลี่ยนโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีตัวกระตุ้นเช่นไร จึงเข้าใจว่า องค์ประกอบ P300 สะท้อนการตอบสนองทางประชานในระดับการแปลผลที่สูงขึ้นต่อตัวกระตุ้นที่ไม่คาดหวังหรือที่เด่น (salient) การตอบสนอง P300 ยังได้ศึกษาในเรื่องการตรวจหาข้อมูลและความจำในสมอง[20] เพราะ P300 คงเส้นคงวามากต่อตัวกระตุ้นใหม่ ๆ จึงสามารถสร้างตัวต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์อาศัยมันได้ เช่น เมื่อบุคคลมองที่ตัวอักษรที่ต้องการเป็นลำดับต่อ ๆ กันในเมทริกซ์ แล้วจัดให้แถวและสดมภ์ของเมทริกซ์กะพริบโดยสุ่ม การตอบสนองแบบ P300 จะเกิดเมื่อแถวหรือสดมภ์ซึ่งมีอักษรที่กำลังมองกะพริบ ซึ่งในที่สุดทำให้คอมพิวเตอร์ระบุอักษรที่ต้องการได้[21]

องค์ประกอบ ERP อื่น ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ ในงานวิจัยโดยเฉพาะในสาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยารวมทั้ง ELAN, N400 และ P600/SPS

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Luck, Steven J. (2005). An Introduction to the Event-Related Potential Technique. The MIT Press. ISBN 978-0-262-12277-1.
  2. Brown, Colin M; Peter Hagoort (1999). "The cognitive neuroscience of language". ใน Brown, Colin M; Hagoort, Peter (บ.ก.). The Neurocognition of Language. New York: Oxford University Press. p. 6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  3. Walter, W. Grey; Cooper, R.; Aldridge, V. J.; McCallum, W. C.; Winter, A. L. (July 1964). "Contingent Negative Variation: An Electric Sign of Sensori-Motor Association and Expectancy in the Human Brain". Nature. 203 (4943): 380–384. Bibcode:1964Natur.203..380W. doi:10.1038/203380a0. PMID 14197376.
  4. Sutton, S.; Braren, M.; Zubin, J.; John, E. R. (1965-11-26). "Evoked-Potential Correlates of Stimulus Uncertainty". Science. 150 (3700): 1187–1188. Bibcode:1965Sci...150.1187S. doi:10.1126/science.150.3700.1187. PMID 5852977.
  5. Handy, T. C. (2005). Event Related Potentials: A Methods Handbook. Cambridge, Massachusetts: Bradford/MIT Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) [ต้องการเลขหน้า]
  6. Coles, M. G. H.; Rugg, M. D. (1995). "Event-related brain potentials: An introduction". ใน Rugg, M. D.; Coles, M. G. H. (บ.ก.). Electrophysiology of mind: Event-related brain potentials and cognition. Oxford psychology series, No. 25. New York: Oxford University Press. pp. 1-26.
  7. "ERP_REJECT, rejection of outlier trials from ERP studies". Matlab File Exchange. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  8. Luck, S.J.; Kappenman, E.S., บ.ก. (2012). The Oxford Handbook of Event-Related Potential Components. Oxford University Press. p. 664. ISBN 9780195374148.
  9. For discussion of ERP component naming conventions see Luck, Steven (2005), An Introduction to the Event-Related Potential Technique, MIT Press, pp. 10-11.
  10. Haider, Ali; Fazel-Rezai, Reza (2017). "Application of P300 Event-Related Potential in Brain-Computer Interface". Event-Related Potentials and Evoked Potentials. doi:10.5772/intechopen.69309. ISBN 978-953-51-3639-2.
  11. Luck, Steven (2005). "Comparison with Behavioral Measures". An Introduction to the Event-Related Potential Technique. MIT Press. pp. 21-23.
  12. Johnstone, Stuart J.; Barry, Robert J.; Clarke, Adam R. (April 2013). "Ten years on: A follow-up review of ERP research in attention-deficit/hyperactivity disorder". Clinical Neurophysiology. 124 (4): 644–657. doi:10.1016/j.clinph.2012.09.006.
  13. Barry, Robert J; Johnstone, Stuart J; Clarke, Adam R (February 2003). "A review of electrophysiology in attention-deficit/hyperactivity disorder: II. Event-related potentials". Clinical Neurophysiology. 114 (2): 184–198. doi:10.1016/S1388-2457(02)00363-2.
  14. Boutros, Nashaat; Torello, Michael W.; Burns, Elizabeth M.; Wu, Shu-Shieh; Nasrallah, Henry A. (June 1995). "Evoked potentials in subjects at risk for Alzheimer's Disease". Psychiatry Research. 57 (1): 57–63. doi:10.1016/0165-1781(95)02597-P.
  15. S, Prabhakar; Syal, P; Srivastava, T (2000-07-01). "P300 in newly diagnosed non-dementing Parkinson's disease : effect of dopaminergic drugs". Neurology India. 48 (3): 239–42. PMID 11025627.
  16. Boose, Martha A.; Cranford, Jerry L. (1996). "Auditory Event-Related Potentials in Multiple Sclerosis". Otology & Neurotology. 17 (1): 165–70. PMID 8694124.
  17. Duncan, Connie C.; Kosmidis, Mary H.; Mirsky, Allan F. (2008-06-28). "Event-related potential assessment of information processing after closed head injury". Psychophysiology. 40 (1): 45–59. doi:10.1111/1469-8986.00006. PMID 12751803.
  18. D'Arcy, Ryan C.N; Marchand, Yannick; Eskes, Gail A; Harrison, Edmund R; Phillips, Stephen J; Major, Alma; Connolly, John F (April 2003). "Electrophysiological assessment of language function following stroke". Clinical Neurophysiology. 114 (4): 662–672. doi:10.1016/S1388-2457(03)00007-5.
  19. Hanna, Gregory L.; Carrasco, Melisa; Harbin, Shannon M.; Nienhuis, Jenna K.; LaRosa, Christina E.; Chen, Poyu; Fitzgerald, Kate D.; Gehring, William J. (September 2012). "Error-Related Negativity and Tic History in Pediatric Obsessive-Compulsive Disorder". Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry. 51 (9): 902–910. doi:10.1016/j.jaac.2012.06.019. PMC 3427894. PMID 22917203.
  20. McCormick, Brian (2006). "Your Thoughts May Deceive You: The Constitutional Implications of Brain Fingerprinting Technology and How It May Be Used to Secure Our Skies". Law & Psychology Review. 30: 171–84.
  21. Farwell, L.A.; Donchin, E. (December 1988). "Talking off the top of your head: toward a mental prosthesis utilizing event-related brain potentials". Electroencephalography and Clinical Neurophysiology. 70 (6): 510–23. doi:10.1016/0013-4694(88)90149-6. PMID 2461285.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]