ว่านสามพันตึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dioscorea bulbifera)
ว่านสามพันตึง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Dioscoreales
วงศ์: Dioscoreaceae
สกุล: Dioscorea
สปีชีส์: D.  bulbifera
ชื่อทวินาม
Dioscorea bulbifera
L.

ว่านสามพันตึง หรือ ว่านพระฉิม หรือ มันขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea bulbifera บางท้องที่เรียก มันเหน็บ มันอีโม้ เป็นพืชในวงศ์กลอย ภาษาสันสกฤตเรียกว่า Varahi ภาษามลยาฬัมเรียก Kaachil และภาษามราฐีเรียก Dukkar Kand เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาและเอเชีย เป็นพืชรุกรานในฟลอริดา เป็นไม้เลื้อย ดอกแยกเพศแยกต้น มีทั้งหัวบนดินและใต้ดิน หัวใต้ดินแข็ง อยู่ได้นาน และมีการสะสมของลิกนิน หัวเกิดบริเวณผิวดิน รูปกลมหรือเหมือนลูกแพร์ มีขนปกคลุม หัวบนดินออกตามกิ่ง กลมหรือเป็นรูปไต เปลือกเรียบสีน้ำตาล เนื้อสีเหลืองอ่อน ใช้ลำต้นเลื้อยพัน เหนียว ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ส่วนลำต้นไม่มีขน ไม่มีปีกและหนาม เลื้อยพันไปทางซ้าย ผิวใบด้านบนเป็นมัน เป็นถุงเล็กน้อยระหว่างเส้นใบ มีนวลสีน้ำเงิน หัวขนาดเล็กมีปุ่มปม หัวขนาดใหญ่ผิวเรียบ หรือเป็นเหลี่ยม เนื้อของหัวสีเหลืองอ่อนหรือเหลือบม่วง ทำปฏิกิริยากับอากาศได้เป็นสีส้ม เป็นเมือกมาก ช่อดอกตัวผู้ห้อยลง สีเขียวแกมชมพูหรือขาว ช่อดอกตัวเมียห้อยลง ผลยาวรี มีปีก สีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดมีปีก

ลำต้น

สายพันธุ์[แก้]

ว่านสามพันตึง แบ่งย่อยเป็น 4 สายพันธุ์

  • variety bulbifera ไม้ป่า หัวและหัวย่อยมีกลิ่นเหม็นฉุน ใบรูปหัวใจสั้น พบทั่วไป
  • variety heterophylla เหมือน bulbifera แต่ใบรูปหัวใจยาวกว่า พบในมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์พบตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของแอฟริกา ไปจนถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปลูกทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การใช้ประโยชน์[แก้]

รับประทานได้ทั้งหัวบนดินและใต้ดิน แต่หัวใต้ดินแข็ง ต้องแช่น้ำเพื่อกำจัดสารพิษก่อนจึงนำมาประกอบอาหารได้[1] ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคท้องร่วงหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร[2] มีสเตอรอยด์มาก[3] หัวย่อยที่แก่รสชาติไม่ดี พันธุ์ป่ามักมีพิษ ชาวซีมังในมาเลเซียเตรียมแป้งจากว่านสามพันตึงโยขูดหัวเป็นผงละเอียด นวดกับปูนขาว แล้วห่อด้วยใบตอง เผาไฟหรือฝังใต้ดินให้เกิดการหมัก แป้งที่ได้จากการเผาเรียบเกล็บ แป้งที่ได้จากการหมักเรียก โกยี หัวมีวิตามินซีมาก พันธุ์ป่าจะมีสารพิษไดออสโครีนตัวเดียวกับที่พบในกลอย

อ้างอิง[แก้]

  1. "หัวมันหัวกลอย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
  2. Duke, James A. (1993). Handbook of Alternative Cash Crops. CRC Press. ISBN 0-8493-3620-1. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. "Meet the plants: Dioscorea bulbifera". National Tropical Botanical Garden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 112 - 119