Cotard delusion

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Cotard's delusion
ชื่ออื่นCotard's syndrome, Walking Corpse Syndrome
ภาพของนักประสาทวิทยา Jules Cotard (ค.ศ.1840–89)
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์

Cotard delusion (อาการหลงผิดกอตาร์)[1] หรือ Cotard's syndrome (กลุ่มอาการกอตาร์) หรือ Walking Corpse Syndrome (กลุ่มอาการศพเดินได้)[2] เป็นโรคทางจิตหาได้ยากที่คนไข้มีอาการหลงผิดว่าตนเองตายแล้ว (ไม่ว่าจะโดยอุปมาหรือจริง ๆ) หรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือกำลังเปื่อยเน่าอยู่ หรือได้สูญเสียเลือดหรืออวัยวะภายในไป หรือบางครั้งในกรณีที่มีน้อย อาจจะมีการหลงผิดว่ามีชีวิตเป็นอมตะ[3]

อาการ[แก้]

อาการหลักของ Cotard's syndrome คืออาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับ (delusion of negation) คือบ่อยครั้งคนไข้ปฏิเสธว่าตนมีอยู่หรือว่าบางส่วนของร่างกายของตนมีอยู่ อาการปรากฏเป็น 3 ระยะ

  • ในระยะแรก "Germination" คนไข้มีอาการซึมเศร้าพร้อมกับอาการโรคจิตอื่น ๆ (psychotic depression) และอาการไฮโปคอนดริเอซิส
  • ในระยะที่สอง "Blooming" คนไข้ปรากฏอาการของ Cotard delusion และอาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับอย่างเต็มที่
  • ในระยะที่สาม "Chronic" คนไข้มีอาการหลงผิดอย่างรุนแรงและมีอาการซึมเศร้าแบบเรื้อรัง[4]

คนไข้อาการนี้มักจะไม่สุงสิงกับคนอื่นและมักจะละเลยความสะอาดและสุขภาพของตน อาการหลงผิดนี้ทำให้คนไข้ไม่สามารถเข้าใจความจริง มีผลเป็นความเห็นผิดเพี้ยนอย่างรุนแรง เป็นอาการที่บ่อยครั้งพบในคนไข้โรคจิตเภท แม้ว่าอาการนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดประสาทหลอน (hallucination) แต่มีความหลงผิดที่มีกำลังเหมือนกับที่พบในคนไข้โรคจิตเภท[5]

ความเป็นจริงที่ผิดเพี้ยน[แก้]

ในปี ค.ศ. 1996 ยังและลีฟเฮดพรรณนาถึงกรณีคนไข้อาการนี้ผู้ประสบความบาดเจ็บที่สมองหลังจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์[6]

อาการต่าง ๆ ของคนไข้เกิดขึ้นท่ามกลางความรู้สึกรวม ๆ ว่า (สิ่งที่ประสบ) ไม่ใช่เรื่องจริง (เหมือนกับความรู้สึกเมื่อฝันว่าสิ่งที่ฝันไม่เป็นจริง) และความที่ตนเองตายแล้ว ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลของเมืองเอดินบะระ มารดาได้พาเขาไปที่ประเทศแอฟริกาใต้ เขาเชื่อว่า เขาได้ถูกพาไปยังนรก (ซึ่งยืนยันได้โดยความที่อากาศร้อน) และเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้วเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นความเสี่ยงในระยะต้น ๆ ของการฟื้นตัวของเขา หรือเพราะโรคเอดส์ (เพราะได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับคนไข้โรคเอดส์ที่สิ้นชีวิตไปเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) หรือเพราะการฉีดยาเกินเพื่อโรคไข้เหลือง เขาคิดว่าเขาได้ "ขอยืมวิญญาณมารดาของเขาเพื่อที่จะพาเขาไปดูรอบ ๆ นรก" และเธอ (จริง ๆ แล้ว) ยังนอนหลับอยู่ในประเทศสกอตแลนด์

ตัวอย่างของความจริงที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากอาการหลงผิดกอตาร์พบในคนไข้อายุ 14 ปีผู้มีโรคลมชัก (epilepsy) คุณหมอกุมารจิตเวชในแผนกผู้ป่วยนอกที่ดูแลเขาพรรณนาถึงประวัติที่เขาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความตายที่เขารู้สึกเศร้าใจตลอดเวลา ไม่ค่อยเล่น ไม่สุงสิงกับคนอื่นและมีสภาพผิดปกติอื่น ๆ ทางร่างกาย เขาจะมีอาการอย่างนี้ 2 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 3 อาทิตย์ถึง 3 เดือน ในแต่ละครั้ง เด็กกล่าวว่า "ทุกคนตายแล้ว รวมทั้งต้นไม้ด้วย" และจะพรรณนาถึงตัวเองว่าเป็นกายที่ตายแล้ว และเตือนว่า โลกจะถูกทำลายภายใน 2-3 ชม. เขาจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่น่าชอบใจและไม่มีความสนใจในกิจกรรมอะไร ๆ[7]

พยาธิสรีรภาพ[แก้]

สภาพทางจิตและทางประสาทที่เป็นฐานของอาการนี้อาจจะสัมพันธ์กับอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ delusional misidentification (การระบุผิดด้วยความหลงผิด) ซึ่งเป็นความเชื่อว่าบุคคล สิ่งของหรือว่าสถานที่มีการเปลี่ยนตัวหรือแปรสภาพไป โดยสภาพทางประสาท อาการนี้เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับอาการหลงผิดคะกราส์ และอาการหลงผิดทั้งสองเชื่อกันว่าเป็นผลจากการขาดการเชื่อมต่อกันระหว่างเขตในสมองที่รู้จำใบหน้า (fusiform face area[8]) กับเขตที่เชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกับความรู้จำนั้น (อะมิกดะลาและเขตลิมบิกอื่น ๆ)

การขาดการเชื่อมต่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าใบหน้าที่ได้เห็นไม่ใช่เป็นของบุคคลที่เห็น ดังนั้นจึงไม่เกิดความรู้สึกคุ้นเคยที่ใบหน้านี้ควรจะทำให้เกิดและทำให้เกิดความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง ถ้าใบหน้าที่เห็นเป็นใบหน้าที่คนไข้รู้จัก คนไข้ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นของตัวปลอม (ซึ่งเป็นอาการของอาการหลงผิดคะกราส์) แต่ถ้าคนไข้เห็นหน้าตนเองแล้วไม่เกิดความรู้สึกว่าใบหน้ากับตนเองนั้นสัมพันธ์กัน ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตนเองไม่มีอยู่จริง ๆ

สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ แสดงว่า อาการนี้สัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้าง (parietal lobe) คนไข้อาการนี้จะมีการฝ่อในสมองมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยเฉพาะในสมองกลีบหน้าด้านใน (median)[9]

อาการนี้พบโดยหลักในคนไข้โรคจิต เช่น โรคจิตเภท แต่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกับความเจ็บป่วยทางประสาทหรือทางจิตและมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับโรคซึมเศร้าและความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว ยังเกิดขึ้นในคนไข้โรคไมเกรนอีกด้วย[8]

นอกจากนั้นแล้ว อาการหลงผิดนี้ยังเกิดจากผลข้างเคียงลบของยาต้านไวรัสอะไซโคลเวียร์ คืออาการมีความสัมพันธ์กับซีรั่มของเลือดที่มี CMMG ในระดับสูง (CMMG เป็น metabolite ของอะไซโคลเวียร์) คนไข้ที่มีไตเสียหายดูเหมือนจะมีความเสี่ยงแม้กับระดับยาที่ลดลงและในกรณีที่กล่าวถึงในสิ่งตีพิมพ์ การฟอกไตสามารถกำจัดอาการหลงผิดได้ภายใน 2-3 ชม.[10] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า อาการหลงผิดเช่นนี้อาจจะไม่ใช่เหตุที่เพียงพอเพื่อที่จะให้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทางจิตเวช

งานวิจัยพบว่า วัฒนธรรมมีผลต่อประสบการณ์หลงผิดของคนไข้อาการนี้ ซึ่งสนับสนุนความคิดว่า มีระบบประชานโดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นอมตะ โดยที่ความคิดหลักในปัจจุบันเชื่อว่า ความรู้สึกว่าเป็นอมตะและอาการหลงผิดอื่น ๆ เป็นวิวัฒนาการในมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความกดดันทางสังคม[11][โปรดขยายความ]

การบำบัดรักษา[แก้]

มีรายงานถึงการรักษาด้วยยาที่ประสบความสำเร็จหลายรายงาน มีทั้งการใช้การรักษาวิธีเดียวและการรักษาหลายวิธี[12] มีการใช้ยาแก้ซึมเศร้า ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) และยารักษาอารมณ์ (mood stabilizer) หลายรายงานกล่าวถึงผลบวกที่เกิดขึ้นจากการช็อตด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy) ซึ่งโดยมากจะทำพร้อมกับการบำบัดด้วยยา[12]

ประวัติ[แก้]

อาการนี้มีชื่อตามประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสนามว่าฌูล กอตาร์ (ค.ศ. 1840-1889) ผู้ได้พรรณนาถึงอาการนี้เป็นครั้งแรกในการบรรยายที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1880 ซึ่งเขาเรียกอาการนี้ว่า le délire de négation (อาการเพ้อโดยปฏิเสธไม่ยอมรับ)[13][14] เขาแสดงว่า อาการมีระดับต่าง ๆ กันตั้งแต่เบาจนถึงหนัก ความสิ้นหวังและความเกลียดตนเองเป็นอาการของระดับเบา ส่วนระดับหนักมีอาการหลงผิดขั้นรุนแรงและความซึมเศร้าแบบเรื้อรัง

ในการบรรยายครั้งหนึ่ง นพ. กอตาร์ได้กล่าวถึงคนไข้คนหนึ่งซึ่งมีนามสมมติว่านางสาว X ผู้ปฏิเสธถึงการมีอยู่ของหลายส่วนในร่างกายของเธอและว่าเธอต้องทานอาหาร หลังจากนั้นเธอก็เชื่อว่าเธอถูกพระเจ้าสาปชั่วกาลนานและไม่สามารถเสียชีวิตได้โดยธรรมชาติ ในที่สุดเธอก็เสียชีวิตเพราะขาดอาหาร

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "WHO Schedules for Clinical Assessment in Neuropsychiatry (การหลงผิด)" (PDF). p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-06. สืบค้นเมื่อ 2557-06-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) เก็บถาวร 2016-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Berrios G.E. and Luque R. (1995) Cotard's delusion or syndrome?. Comprehensive Psychiatry 36: 218-223
  3. Berrios G.E., Luque R. (1995). "Cotard Syndrome: clinical analysis of 100 cases". Acta Psychiatrica Scandinavica. 91: 185–188. doi:10.1111/j.1600-0447.1995.tb09764.x.
  4. Provider: John Wiley & Sons, Ltd Content:text/plain; charset="UTF-8" TY - JOUR AU - Yarnada, K. AU - Katsuragi, S. AU - Fujii, I. TI - A case study of Cotard's syndrome: stages and diagnosis JO - Acta Psychiatrica Scandinavica VL - 100 IS - 5 PB - Blackwell Publishing Ltd SN - 1600-0447 UR - http://dx.doi.org/10.1111/j.1600-0447.1999.tb10884.x DO - 10.1111/j.1600-0447.1999.tb10884.x SP - 396 EP - 398 KW - Cotard's syndrome KW - depression KW - electroconvulsive therapy PY - 1999 ER -
  5. Young, A. W., Robertson, I. H., Hellawell, D. J., de, P. K. W., & Pentland, B. (January 1, 1992) . Cotard delusion after brain injury. Psychological Medicine, 22, 3, 799-804.
  6. Young, A. W.; Leafhead, K. M. (1996). "Betwixt Life and Death: Case Studies of the Cotard Delusion". ใน Halligan, P. W.; Marshall, J. C. (บ.ก.). Method in Madness: Case studies in Cognitive Neuropsychiatry. Hove: Psychology Press. p. 155.
  7. Mendhekar, D. N., & Gupta, N. (January 1, 2005) . Recurrent postictal depression with Cotard delusion. Indian Journal of Pediatrics, 72, 6, 529-31.
  8. 8.0 8.1 Pearn, J. & Gardner-Thorpe, C (May 14, 2002). "Jules Cotard (1840-1889) His life and the unique syndrome that bears his name" (abstract). Neurology. 58 (9): 1400–3. PMID 12011289.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. TY - JOUR T1 - Brain atrophy and interhemispheric fissure enlargement in Cotard's syndrome. AU - Joseph,AB AU - O'Leary,DH PY - 1986/10/ JF - The Journal of clinical psychiatry JO - J Clin Psychiatry IS - 10 VL - 47 N1 - Case Reports, KW - Adolescent KW - Adult KW - Atrophy KW - Brain KW - Death KW - Delusions KW - Female KW - Frontal Lobe KW - Humans KW - Male KW - Middle Aged KW - Tomography, X-Ray Computed SP - 518-20 UR - http://ukpmc.ac.uk/abstract/MED/3759917 N2 - อาการหลักของ Cotard's syndrome ก็คืออาการหลงผิดว่าตายแล้ว สิ่งตีพิมพ์ชี้ว่ามักเกิดขึ้นกับรอยโรคของสมองกลีบข้าง ความสัมพันธ์เช่นนี้พบโดยการเปรียบเทียบที่ใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (computed tomography) ในคนไข้ 8 คนผู้มี Cotard's syndrome กับกลุ่มควบคุม 8 คนที่มีความเหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ในเรื่องของวัย เพศ เผ่าพันธ์และข้อวินิจฉัยหลักทางจิตเวช มีแนวโน้ม 2 อย่างที่พบ คือเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม คนไข้อาการนี้มีการฝ่อในสมองโดยทั่ว ๆ ไปมากกว่า โดยเฉพาะในสมองกลีบหน้าด้านใน (median) แต่ว่าความผิดปกติในสมองกลีบข้างอย่างเดียวไม่สามารถแยกกลุ่มวิจัยจากกลุ่มควบคุมได้ ซึ่งหมายความว่า อาการนี้อาจสัมพันธ์กับการฝ่อในสมองหลายเขต (multifocal) และความผิดปกติในสมองกลีบหน้า ER -
  10. Anders Helldén, Ingegerd Odar-Cederlöf, Kajsa Larsson, Ingela Fehrman-Ekholm,Thomas Lindén (December 2007). "Death delusion" (Journal Article). BMJ. 335 (7633): 1305–1305. doi:10.1136/bmj.39408.393137.BE. PMC 2151143. PMID 18156240.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Cohen, David; Consoli, Angèle (2006). "Production of supernatural beliefs during Cotard's syndrome, a rare psychotic depression". Behavioral and Brain Sciences. 29 (5): 468–470. doi:10.1017/S0140525X06299102.
  12. 12.0 12.1 Debruyne, H.; Portzky, M.; Van den Eynde, F.; Audenaert, K. (June 2010). "Cotard's syndrome: A Review". Current Psychiatry Reports. 11 (3): 197–202. doi:10.1007/s11920-009-0031-z. PMID 19470281. S2CID 23755393.
  13. Cotard's syndrome ใน Who Named It?
  14. Berrios G.E. & Luque R. (1999) Cotard's 'On hypochondriacal delusions in a severe form of anxious melancholia'. History of Psychiatry 10: 269-278.