Character Strengths and Virtues

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Character Strengths and Virtues (หนังสือ))
ผู้เขียนหนังสือ Character Strengths and Virtues กล่าวถึง ความสำคัญและอิทธิพลของ หลักการที่มั่นคงและชัดเจน ต่อตัวบุคคล

หนังสือคู่มือ Character Strengths and Virtues หรือ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม เขียนโดย Christopher Peterson และ Martin Seligman แสดงถือ ความความพยายามแรกๆของสังคมวิชาการที่จะจำแนกและแยกแยะลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก ของมนุษย์[1]

ในขณะที่ หนังสือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ของ American Psychiatric Association ได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความผิดปกติทางจิต, หนังสือ Character Strengths and Virtues มีจุดประสงค์ในการสร้างขอบข่ายเชิงทฤษฎีเพื่อช่วยการส่งเสริมการการประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก[1] หนังสือ Character Strengths and Virtues ได้จำแนกคุณธรรมออกเป็น 6 กลุ่มหลักๆ ซึ่งมาจาก ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย ที่วัดได้ 24 ลักษณะ

ความแข็งแกร่งและคุณธรรม[แก้]

หนังสือ Character Strengths and Virtues ได้ให้คำจำกัดความของ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย (character strengths) ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณสมบัติ

  1. ช่วยความรู้สึกเติมเต็ม (fulfilling);
  2. ให้คุณค่าที่แท้จริง (intrinsically valuable);
  3. ไม่มีการเปรียบเทียบแข่งขัน (non-rivalrous);
  4. ไม่ใช่สิ่งตรงข้ามกับลักษณะที่ต้องการ (not the opposite of a desirable trait) เช่น ความ มั่นคงและยืดหยุ่นแม้อาจดูเหมือนตรงกันข้ามกันเองแต่ทั้งสองเป็นลักษณะที่ต้องการ;
  5. คงเส้นคงวา (trait-like) เช่น รูปแบบของนิสัยจะค่อนข้างมั่นคงแม้เวลาจะผ่านไป;
  6. ไม่ใช่เป็นผลรวมของ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย อื่นๆ ที่นิยามไว้ในหนังสือ Character Strengths and Virtues;
  7. เป็นแบบอย่าง (personified);
  8. สามารถสังเกตได้จากอัจฉริยบุคคลในวัยเยาว์ (observable in child prodigies) ถึงแม้ว่าลักษณะนี้อาจใช้ไม่ได้กับ ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย ทุกๆอัน;
  9. ไม่มีอยู่ในตัวทุกๆคน (absent in some individuals);
  10. เพาะบ่มได้ โดยค่านิยมของสังคม หรือ โดยการฝึกฝน (nurtured by societal norms and institutions).

หนังสือ Character Strengths and Virtues แนะนำ 6 คุณธรรมที่พิจารณาแล้วดีสำหรับสังคมและวัฒนธรรมส่วนใหญ่ตลอดประวัติศาสตร์ และคุณธรรมเหล่าช่วยเสริมสร้างความสุข เพื่อได้ปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม การแนะนำคุณธรรมสากล (ครอบคลุมทุกอย่างสำหรับทุกวัฒนธรรม) นอกจากจะช่วยขยายขอบเขตการวิจัยทางด้านจิตวิทยาจากการบำบัดการบกพร่องไปสู่การเสริมสร้างสภาวะที่ดี แล้วยังทำให้เกิดผลอีกด้านคือ การที่ นักวิชาการชั้นนำของจิตวิทยาเชิงบวก ได้กำลังท้าทายแนวคิดของ moral relativism และยังแนะนำว่าคุณธรรมนั้นมีผลมาจากพื้นฐานทางชีววิทยา[1]

ลักษณะบุคลิกนิสัยทั้ง 24 อันนั้นได้ถูกจำกัดความในเชิงพฤติกรรม ด้วยดัชนีชี้วัดเชิงจิตวิทยา (psychometric evidence) เพื่อแสดงว่า ลักษณะบุคลิกนิสัย เหล่านี้สามารถวัดได้อย่างเชื่อถือได้[2]

Socrates: An example of all the CSV's virtues (whether one groups them into six or even just three)

การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวก รวมถึงการช่วยให้บุคคลหรือองค์กรสามารถจำแนกข้อดีของเขาได้อย่างถูกต้องและใช้ข้อดีเหล่านั้น เพื่อเพิ่มหรือรักษาระดับของความเป็นอยู่ที่ดีไว้ได้ นักบำบัดทางจิต รวมถึงบุคลากรด้านจิตวิทยา สามารถใช้วิธีการของจิตวิทยาเชิงบวก ในการเสริมสร้างวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลต่างๆซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ป่วยทางจิต

นักวิชาการอื่นๆได้สนับสนุนการจัด 24 ลักษณะบุคลิกนิสัย ไว้เป็น 4 กลุ่มของความแข็งแกร่งเชิงบุคลิกภาพ: ความแข็งแกร่งเชิงปัญญา (Intellectual), ความแข็งแกร่งเชิงสังคม (Social), ความแข็งแกร่งเชิงการควบคุมอารมณ์ (Temperance), ความแข็งแกร่งเชิงอุตรวิสัญชาน (Transcendent). หรือ แม้แต่แค่ 3 กลุ่ม โดยปราศจาก ความแข็งแกร่งเชิงอุตรวิสัญชาน. โดยที่ 3 หรือ 4 กลุ่มนี้ง่ายกว่าที่จะจำและยังสามารถครอบคลุม 24 ลักษณะบุคลิกนิสัย ได้อย่างครบถ้วน[3].

รายการจากหนังสือ Character Strengths and Virtues[แก้]

ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม ได้แก่[1]

  • ปัญญา และ ความรู้ (Wisdom and Knowledge): ความแข็งแกร่งที่เกี่ยวข้องกับการหาและใช้ความรู้
    • ความสร้างสรรค์ (creativity) (บุคคลตัวอย่าง Albert Einstein)
    • ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) (บุคคลตัวอย่าง John C. Lilly)
    • ความใจกว้างเปิดใจ (open-mindedness) (บุคคลตัวอย่าง William James)
    • ความรักในการเรียนรู้ (love of learning) (บุคคลตัวอย่าง Benjamin Franklin)
    • ทัศนคติและปัญญา (perspective and wisdom) (บุคคลตัวอย่าง Ann Landers): การประสมประสานระหว่าง ความรู้กับประสบการณ์ และความตั้งใจในการเอาความรู้กับประสบการณ์นั้นไปใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่[4] Many, but not all, studies find that adults' self-ratings of perspective/wisdom do not depend on age.[5] This stands in contrast to the popular notion that wisdom increases with age.[5]
  • ความกล้า (Courage): ความแข็งแกร่งที่ช่วยบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย แม้เมื่อมีอุปสรรค
    • ความกล้าหาญ (bravery) (บุคคลตัวอย่าง Ernest Shackleton)
    • ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (persistence) (บุคคลตัวอย่าง John D. Rockefeller)
    • ความเที่ยงธรรม (integrity) (บุคคลตัวอย่าง Sojourner Truth)
    • ความมีชีวิตชีวา (vitality) (บุคคลตัวอย่าง Dalai Lama)
  • มนุษยธรรม (Humanity): ความแข็งแกร่งของความเมตตาและการเป็นมิตรกับผู้อื่น
    • ความรัก (love) (บุคคลตัวอย่าง Romeo and Juliet)
    • ความใจดี (kindness) (บุคคลตัวอย่าง Cicely Saunders)
    • ปัญญาเชิงสังคม (social intelligence) (บุคคลตัวอย่าง Robert Kennedy)
  • ความยุติธรรม (Justice): ความแข็งแกร่งที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของสังคมและชุมชน
    • ความรับผิดชอบต่อสังคม (active citizenship / social responsibility / loyalty / teamwork) (บุคคลตัวอย่าง Sam Nzima)
    • ความเสมอภาค (fairness) (บุคคลตัวอย่าง Mohandas Gandhi)
    • ความเป็นผู้นำ (leadership)
  • ความยับยั้งชั่งใจ (Temperance): ความแข็งแกร่งที่ปกป้องเราจากความเกินพอดี
    • การให้อภัย (forgiveness and mercy) (บุคคลตัวอย่าง Pope John Paul II)
    • ความอ่อนน้อมถ่อมตน (humility and modesty) (บุคคลตัวอย่าง Bill W., หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Alcoholics Anonymous)
    • ความรอบคอบ (prudence) (บุคคลตัวอย่าง Fred Soper)
    • การควบคุมตนเอง (self-regulation and self control) (บุคคลตัวอย่าง Jerry Rice)
  • อุตรวิสัญชาน (Transcendence): ความแข็งแกร่งที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอกภพและให้ความหมายของชีวิต
    • การรู้คุณค่า (appreciation of beauty and appreciation of excellence) (บุคคลตัวอย่าง Walt Whitman)
    • ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ กตัญญู (gratitude) (บุคคลตัวอย่าง G. K. Chesterton)
    • ความหวัง (hope) (บุคคลตัวอย่าง Martin Luther King, Jr.)
    • อารมณ์ขันและความขี้เล่น (humor and playfulness) (บุคคลตัวอย่าง Mark Twain)
    • จิตวิญญาณ (spirituality) (บุคคลตัวอย่าง Albert Schweitzer)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-516701-5.
  2. Cloninger, C. Robert (2005). "Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification". American Journal of Psychiatry. American Psychiatric Association. 162 (162): 820–821. doi:10.1176/appi.ajp.162.4.820-a. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2007-04-05.
  3. Jessica Shryack, Michael F. Steger, Robert F. Krueger, Christopher S. Kallie. 2010. The structure of virtue: An empirical investigation of the dimensionality of the virtues in action inventory of strengths. Elsevier.
  4. Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. p. 106. ISBN 0-19-516701-5.
  5. 5.0 5.1 Peterson, Christopher; Seligman, Martin E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. Oxford: Oxford University Press. p. 185. ISBN 0-19-516701-5.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]