นกกะปูดใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Centropus sinensis)

นกกะปูดใหญ่ หรือ นกกดเพลิง[3] (อังกฤษ: Greater coucal, Crow pheasant) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) แต่ไม่ใช่นกปรสิต เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอเชีย จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงจีนและลงไปทางใต้ถึงอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย

นกกะปูดใหญ่มีขนาดใหญ่คล้ายอีกา มีหางยาว และมีปีกสีน้ำตาลทองแดง พบในแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายจากป่าถึงพื้นเพาะปลูก และสวนในเมืองใหญ่ เป็นนกมักมีพฤติกรรมปีนป่ายตามพุ่มไม้หรือเดินอยู่ตามพื้นดินเพื่อหาแมลง ไข่ หรือลูกนกชนิดอื่นกินเป็นอาหาร

ลักษณะ[แก้]

นกกะปูดใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัดคู ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 48-52 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว ปากหนาและสันปากบนโค้งลงตอนปลาย ตอนปลายสุดงุ้มลงคลุมปลายปากล่าง ขนบริเวณหัว ลำคอ และอกค่อนข้างน้อยและเส้นขนค่อนข้างแข็ง ปีกค่อนข้างสั้นและมนกลม ขนปลายปีกมี 9 เส้น หางค่อนข้างยาวและปลายหางมน ขนหางมี 8 เส้น ขนหางแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไปและสามารถแผ่ออกได้เหมือนพัด ขาค่อนข้างยาว หนาและแข็งแรง นิ้วเท้ามีข้างละ 4 นิ้ว นิ้วหลังมีเล็บยาวค่อนข้างตรง[3]

สองเพศมีสีสันเหมือนกัน แต่นกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่านกตัวผู้เล็กน้อย[4] ปากสีดำ ม่านตาสีแดง หัว คอ และหลังตอนบนสีดำเหลือบเขียวเล็กน้อย แต่หลังตอนบนเหลือบสีน้ำตาลและม่วงด้วย ก้านขนบริเวณหัว คอ และอกสีดำเป็นมัน หลังตอนล่างและปีกสีน้ำตาลแกมแดง แต่ขนปลายปีกสีดำคล้ำๆ หางสีดำเหลือบเขียวหม่น ขนคลุมใต้ปีกสีดำ ขาและนิ้วเท้าสีดำ

นกวัยอ่อนมีชุดขนสีดำคล้ำมีจุดบนกระหม่อมและมีแถบสีขาวบนส่วนล่างและหาง

ชนิดย่อยและการกระจายพันธุ์[แก้]

เล็บหลังที่ตรงยาวอันเป็นลักษณะของสกุล

ชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดพบในหุบเขาอินดัส (Indus Valley) ผ่านเขตย่อยหิมาลายัน (sub-Himalayan) และที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (Gangetic plains) ไปจนถึงประเทศเนปาล รัฐอัสสัม และตีนเขาในประเทศภูฏาน และตอนใต้ของจีน (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลเจ้อเจียง, มณฑลฝูเจี้ยน)[5]

Centropus sinensis + Centropus toulou
  • ชนิดย่อย parroti Stresemann, 1913 พบในคาบสมุทรอินเดีย (รัฐมหาราษฏระ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐโอริศา และทางใต้) มีหลังสีดำ นกวัยอ่อนไม่มีขีดที่ปีก[5]
  • ชนิดย่อย intermedius Hume, 1873 มีขนาดเล็กที่สุดพบในประเทศบังคลาเทศ ทางตะวันตกของคาชาร์ (Cachar) ในพม่า และหุบเขาชิน (Chin Hills) ในจีน (มณฑลยูนนาน, มณฑลไหหลำ), ไทย, อินโดจีน และตอนเหนือบางส่วนของคาบสมุทรมลายู[5]
  • ชนิดย่อย bubutus Horsfield, 1821 พบในตอนใต้บางส่วนของคาบสมุทรมลายู, หมู่เกาะสุมาตรา, ไนแอส, หมู่เกาะเมนตาวี, ชวา, บาหลี, บอร์เนียว, ภาคตะวันตกฟิลิปปินส์ (บาลาแบก (Balabac), คากายัน (Cagayan), ซูลู และปาลาวัน) ชนิดย่อยนี้มีปีกสีแดงซีด[5]
  • ชนิดย่อย anonymus Stresemann, 1913 พบในตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ (บาซิลัน, เกาะซูลู) และปีกสั้นและสีเข้มกว่า bubutus[5]
  • ชนิดย่อย kangeangensis Vorderman, 1893 พบในเกาะแกงจีน (Kangean Islands) มีชุดขนซีดสลับเข้ม[5]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2009). "Centropus sinensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2.
  2. In Shaw's General Zoology 9, pt. 1, p. 51. (Type locality China, Ning Po.) per Payne (2005)
  3. 3.0 3.1 นกกะปูดใหญ่ เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน birds of Thailand
  4. Ali, S & SD Ripley (1981). Handbook of the birds of India and Pakistan. Volume 3 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 240–244.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Payne, RB (2005). The Cuckoos. Oxford University Press. pp. 238–242. ISBN 0198502133.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1977) Steroid synthesizing cellular sites in the testis of Crow Pheasant Centropus sinensis (Stephens). Pavo 14(1&2), 61–64.
  • Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1980) Histological and histochemical observations on the adrenal gland of four species of birds, Dicrurus macrocercus (Viellot), Centropus sinensis (Stephens), Sturnus pagodarum (Gmelin) and Columba livia (Gmelin). Zool. Beitrage 26(2):287–295.
  • Khajuria, H (1975) The Crow-pheasant, Centropus sinensis (Stevens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. All-India Congr. Zool. 3:42.
  • Khajuria, H (1984) The Crow-Pheasant, Centropus sinensis (Stephens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. Rec. Z.S.I. 81(1–2):89–93.
  • Natarajan, V (1993). "Awakening, roosting and vocalisation behavioiur of the Southern Crow-Pheasant (Centropus sinensis) at Point Calimere, Tamil Nadu". ใน Verghese, A; Sridhar, S; Chakravarthy, AK (บ.ก.). Bird Conservation: Strategies for the Nineties and Beyond. Ornithological Society of India, Bangalore. pp. 158–160.
  • Natarajan, V (1990) The ecology of the Southern Crow-Pheasant Centropus sinensis parroti Stresemann (Aves: Cuculidae) at Point Calimere, Tamil Nadu. Ph.D. Dissertation, University of Bombay, Bombay.