Case series

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Case series หรือ clinical series เป็นแบบงานวิจัยทางการแพทย์ที่ติดตามผู้ร่วมการทดลอง ที่ได้รับสารหรือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง (exposure) เช่นคนไข้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน[1] หรือที่ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์เพื่อหาการได้รับปัจจัยและผลทางสุขภาพที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ Case series อาจเป็นแบบติดต่อกัน (consecutive)[2] หรือไม่ติดต่อกัน (non-consecutive)[3] ขึ้นอยู่กับว่า รายงานรวมคนไข้ที่เป็นประเด็นทั้งหมด ที่มาหาผู้เขียนในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือรวมเพียงแค่บางส่วน เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (descriptive) ที่ไม่เหมือนกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์อื่น ๆ เช่นงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control study) หรือการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพราะว่า งานศึกษาแบบนี้ไม่ได้ทดสอบสมมุติฐาน คือ ไม่ได้หาหลักฐานเพื่อตรวจสอบเหตุและผล (แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์แบบ "case-only" ที่ใช้ต่อข้อมูลจากการศึกษาประเภทนี้ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสาร [ปัจจัย] ที่ได้รับกับลักษณะทางพันธุกรรม[4]) เป็นการศึกษาที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อความเอนเอียงโดยการคัดเลือก (selection bias)

ยกตัวอย่างเช่น งานที่รายงานคนไข้หลาย ๆ คนที่มีโรคอย่างหนึ่ง และ/หรือ สารที่ได้รับที่เป็นประเด็นสงสัย จะชักตัวอย่างคนไข้จากกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ (เช่นจากโรงพยาบาลหรือคลินิก) ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนของประชากรทั้งกลุ่มไม่ได้ ความสามารถในการเชื่อมเหตุกับผล (Internal validity) ในงานศึกษาแบบนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เพราะไม่มีกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ เพราะผลที่ได้จากปรากฏการณ์อื่น ๆ เช่นยาหลอก, Hawthorne effect (ผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะการเปลี่ยนแปลง), Pygmalion effect (ผลที่ได้เพราะความคาดหวังที่มีต่อคนไข้), time effect, practice effect, หรือ natural history effect ไม่สามารถแยกออกจากผลที่เกิดจากปัจจัยที่เป็นประเด็นศึกษาได้ คือ ถ้ามีกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลจากปรากฏการณ์อื่นเหล่านั้นเหมือน ๆ กัน การเปรียบเทียบผลที่ได้จากสองกลุ่มก็จะแสดงผลที่ได้จากปัจจัยที่เป็นประเด็น โดยที่มีค่าที่เกิดจากปรากฏการณ์อื่น ๆ เหล่านั้นหักล้างออกไปแล้ว ดังนั้น เราจะสามารถประเมินผลที่ได้จริง ๆ จากปัจจัย ก็ต่อเมื่อใช้กลุ่มเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ส่วนของการศึกษาประเภทนี้[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of case series - NCI Dictionary of Cancer Terms". National Cancer Institute (NIH).
  2. "Definition of consecutive case series - NCI Dictionary of Cancer Terms".
  3. "Definition of nonconsecutive case series - NCI Dictionary of Cancer Terms".
  4. Khoury, MJ; Flanders, WD (August 1996). "Nontraditional epidemiologic approaches in the analysis of gene-environment interaction: case-control studies with no controls!" (PDF). American Journal of Epidemiology. 144 (3): 207–13. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a008915. PMID 8686689.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Polgar, S; Thomas, SA (2013). Introduction to research in the health Sciences. Churchill Livingstone.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]