ต่อมคาวเปอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bulbourethral gland)
ต่อมคาวเปอร์
กายวิภาคในชาย
สาขาของหลอดเลือดแดง internal pudendal artery (Bulbourethral gland มีป้ายอยู่ตรงกลางด้านซ้าย)
รายละเอียด
คัพภกรรมUrogenital sinus
หลอดเลือดแดงArtery of the urethral bulb
ตัวระบุ
ภาษาละตินGlandulae bulbourethrales
MeSHD002030
TA98A09.3.09.001
TA23659
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

Bulbourethral gland[1][2][3][4] หรือ ต่อมคาวเปอร์[1][3] (อังกฤษ: Cowper's gland) ตามชื่อของนักกายวิภาคชื่อว่า วิลเลียม คาวเปอร์ เป็นต่อมขับออก (exocrine gland) ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้มากมายหลายประเภท (ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย มีสุนัขเท่านั้นที่ไม่มี)[5] เป็นต่อมที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับต่อมบาร์โทลิน (Bartholin's gland) ในสัตว์ตัวเมีย

ตำแหน่ง[แก้]

ต่อมนี้อยู่ที่ส่วนหลังด้านข้างของส่วนที่เป็นเยื่อบุท่อปัสสาวะที่โคนองคชาต (ดูรูป) อยู่ในระหว่างสองชั้นของ fascia of the urogenital diaphragm ใน deep perineal pouch และปกคลุมด้วยใยกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะ (urethral sphincter) แนวขวาง

โครงสร้าง[แก้]

ต่อมลูกหมากผ่าออก แสดง bulbourethral glands ในใยกล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะใต้ต่อมลูกหมาก

ต่อมนี้เป็นต่อมประกอบ tubulo-alveolar แต่ละข้างมีขนาดเท่ากับเม็ดถั่วลันเตาในมนุษย์ ในลิงชิมแปนซี จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์[6] ในหมูป่า ต่อมนี้อาจยาวถึง 18 ซ.ม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5 ซ.ม.[5]

ต่อมนี้ประกอบด้วยกลีบเล็ก ๆ ที่มัดเข้าด้วยกันด้วยเยื่อเส้นใย แต่ละกลีบประกอบด้วยกระเปาะ (Acinus) หลายกระเปาะ มีภายในบุด้วยเนื้อเยื่อบุผิว (epithelium) ที่มีช่องเปิดออกไปเป็นท่อที่เชื่อมต่อกับท่อของกลีบอื่น ๆ รวมกันเป็นท่อสำหรับหลั่งออกท่อเดียว ท่อหลั่งออกนี้ยาวประมาณ 2.5 ซ.ม. และมีช่องเปิดเข้าไปในท่อปัสสาวะที่โคนองคชาต ต่อมนี้จะเล็กลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น[7]

หน้าที่[แก้]

เมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ ต่อมแต่ละข้างจะผลิตน้ำเหนียว ๆ ใส ๆ มีรสเค็มที่รู้จักกันว่า น้ำหล่อลื่น (pre-ejaculate) ซึ่งช่วยหล่อลื่นท่อปัสสาวะเพื่อเปิดทางแก่ตัวอสุจิ โดยทำฤทธิ์กรดที่เกิดจากปัสสาวะในท่อปัสสาวะให้เป็นกลาง[8] และช่วยล้างปัสสาวะและสิ่งแปลกปลอมที่เหลืออยู่ออกไป

แม้ว่าน้ำหล่อลื่นจะไม่มีตัวอสุจิ แต่ก็เป็นไปได้ว่ามันอาจจะเก็บตกตัวอสุจิที่อยู่ในป่ององคชาต (bulb of penis) อันเป็นส่วนเหลือจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งสุดท้าย ๆ แล้วส่งตัวอสุจิออกก่อนที่จะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิต่อไป

ต่อมคาวเปอร์ยังผลิตแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (prostate-specific antigen[9] ตัวย่อ PSA) และมะเร็งที่ต่อมคาวเปอร์อาจจะเพิ่มปริมาณ PSA ไปในระดับที่ทำให้สงสัยได้ว่าอาจมีมะเร็งต่อมลูกหมาก[ต้องการอ้างอิง]

รูปอื่น ๆ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์" (PDF). p. 13. สืบค้นเมื่อ 2557-04-09. ตอมขับน้ำเมือก หรือ ตอมคาวเปอร (Bulbourethral gland หรือ Cowper’s gland) {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "กายวิภาคของสัตว์เลี้ยง บทที่ 9 ระบบสืบพันธุ์" (PDF). p. 104. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "คำถามเรื่องกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Mechanism of Emission and Ejaculation". สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 Mark McEntee (December 2, 2012). Reproductive Pathology of Domestic Mammals. Elsevier Science. p. 333. ISBN 978-0-323-13804-8. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
  6. Jeffrey H. Schwartz (1988). Orang-utan Biology. Oxford University Press. p. 92. ISBN 978-0-19-504371-6. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
  7. Gray's Anatomy, 38th ed., p 1861.
  8. Chughtai, Bilal (April 2005). "A Neglected Gland: A Review of Cowper's Gland". International Journal of Andrology. Blackwell Publishing. 28 (2): 74–7. doi:10.1111/j.1365-2605.2005.00499.x. ISSN 0105-6263. PMID 15811067. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  9. prostate specific antigen เป็นเอนไซม์ไกลโคโปรตีนซึ่งมีการเข้ารหัสในยีน KLK3 เป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกโดยเซลล์เยื่อบุผิวของต่อมลูกหมาก ผลิตเพื่อการหลั่งน้ำอสุจิ ทำหน้าที่ละลายน้ำอสุจิที่เกาะติดกันคล้ายวุ้นเพื่อให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวไปได้อย่างอิสระ และเชื่อกันว่าทำหน้าที่ละลายเมือกที่ปากมดลูก เพื่อให้ตัวอสุจิสามารถเข้าไปในมดลูกด้วย