แบรคิโอพอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Brachiopoda)
Brachiopoda
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian - Recent
Platystrophia ponderosa (Ordovician). Scale bar is 5.0 mm.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukarya
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Brachiopoda
Duméril, 1806
Subphyla and classes

See Classification

ความหลากหลาย
[[List of brachiopod genera|About 4,000 genera]]
Spiriferina rostrata

แบรคิโอพอด เป็นคำจากภาษาลาติน brachium หมายถึงแขน + ภาษาลาตินใหม่ -poda หมายถึงตีน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่บนท้องน้ำรู้จักกันอีกชื่อหนึงว่า หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝาด้วยลักษณะภายนอกมีความละม้ายกับหอยกาบคู่ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างใดเลย นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณว่าหลักฐานของแบรคิโอพอดที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึงร้อยละ 99[1]

แม้ว่าหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดจะมีลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ที่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปรกติแล้วหอยกาบคู่จะมีระนาบสมมาตรอยู่ระหว่างเปลือกฝาทั้งสอง ขณะที่แบรคิโอพอดจะมีระนาบสมมาตรแบบสมมาตรด้านข้าง คือระนาบสมมาตรจะตั้งฉากกับแนวหับเผย (hinge) เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หอยกาบคู่ใช้กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ในการทำให้เปลือกฝาทั้งสองมาปะกบกันและจะเปิดอ้าออกโดยใช้ลิกาเมนต์ด้านนอกหรือด้านในทันทีที่กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์คลายตัว ขณะที่แบรคิโอพอดใช้กล้ามเนื้อดิดักเตอร์ด้านในดึงให้ฝาทั้งสองเปิดออก และจะปิดปะกบเข้าหากันด้วยกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์

ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกลักษณะหนึ่งคือ แบรคิโอพอดทั้งหลายจะอาศัยอยู่ด้วยการยึดเกาะกับพื้นท้องทะเลโดยอาศัยอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้านเนื้อเยื่อยื่นออกไป ในทางตรงกันข้ามหอยกาบคู่ทั้งหลายจะเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระด้วยอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นเท้า ทั้งนี้ยกเว้นหอยพวกหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยรูดิสต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่ยึดเกาะกับพื้นท้องทะเล

นอกจากนี้ เปลือกฝาของแบรคิโอพอดถ้าไม่ประกอบด้วยสารแคลเซี่ยมฟอสเฟตก็เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต ขณะที่เปลือกฝาของหอยกาบคู่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต และท้ายสุดที่แบรคิโอพอดไม่เหมือนกับหอยกาบคู่ก็คือ แบรคิโอพอดบางกลุ่มมีเปลือกฝาเป็นปีกคล้ายครีบยื่นออกไปและรวมถึงมีหนามบนพื้นเปลือกฝา

ลักษณะทั่วไป[แก้]

Lingula anatina

แบรคิโอพอดอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบรคิโอพอดอินอาร์ทิคูเลตที่ใช้กล้ามเนื้อยึดเปลือกฝาทั้งสองให้เชื่อมปะกบเข้าหากัน ขณะที่แบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตเปลือกฝาทั้งสองเชื่อมประกบกันที่แนวหับเผย แบรคิโอพอดทั้งหลายเป็นสัตว์ทะเลพบได้ทั้งที่ยึดเกาะกับพื้นทะเลด้วยอวัยวะที่เรียกว่าเพดิเคิล หรืออาจจะอาศัยอยู่พื้นโคลน แบรคิโอพอดกินอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำด้วยอวัยวะที่เรียกว่าโลโฟพอร์ ซึ่งพบได้ให้สัตว์อื่นของไฟลั่มไบรโอซัวและไฟลั่มโฟโรนิดา

แบรคิโอพอดปัจจุบันมีขนาดเปลืกฝาระหว่างน้อยกว่า 5 มม. ถึงมากกว่า 8 ซม. โดยซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดจะมีขนาดเปลือกฝาในช่วงดังกล่าว แต่แบรคิโอพอดโตเต็มวัยบางชนิดอาจมีขนาดน้อยกว่า 1 มม. และบางชนิดอาจมีขนาดเปลือกฝากว้างถึง 38.5 ซม.

เปลือกฝา[แก้]

แบรคิโอพอดมีเปลือกฝา 2 เปลือกฝาแม้ว่าจะไม่ได้จัดให้เป็นหอยกาบคู่ โดยที่เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเป็นเปลือกฝาด้านบนและเปลือกฝาด้านล่างแทนที่จะเป็นเปลือกฝาด้านซ้ายและเปลือกฝาด้านขวา โดยเปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเรียกว่าเปลือกฝาเพดิคอลและเปลือกฝาบราเชียล เปลือกฝาเพดอลถูกยึดติดกับเพดิคอลและมีกล้ามเนื้อแอดจัสเตอร์ยึดตรึงไว้ เปลือกฝาแบรเชียลอยู่ที่แบรเชียเดียรองรับอวัยวะโลโฟพอร์ แบรคิโอพอดจะเหมือนแอมโมไนต์คือมีลักษณะหกคะเมนด้วยเปลือกฝาเพดิคอลเป็นด้านท้องและเปลือกฝาแบรเชียลเป็นด้านหลัง ซึ่งไม่เป็นจริงในธรรมชาติ

โครงสร้างเปลือกฝาอาร์ทิคูเลต[แก้]

เปลือกฝาของแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตจะประกอยด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เปลือกฝาประกอบด้วยชั้นลามินาร์อยู่ด้านนอกและชั้นไฟบรัสอยู่ด้านในซึ่งเอียงลาดเข้าหาชั้นลามินาร์ไปในทิศทางเข้าหาขอบของเปลือกฝา ชั้นไฟบรัสมีช่องเปิดที่เรียกกันว่าพัลเลียลไซนัสซึ่งขณะที่มีชีวิตจะมีวัตถุแมนเทิล ลักษณะรูปแบบของพัลเลียลไซนัสในซากดึกดำบรรพ์จะใช้ในการวินิจฉัยแบรคิโอพอดสกุลต่างๆ

เปลือกฝาแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตอาจเป็นแบบอิมพังเทต พังเทต หรือซูโดพังเทต เปลือกฝาแบบอิมพังเทตจะทึบยกเว้นส่วนของช่องเปิดพัลเลียลในชั้นไฟบรัส เปลือกฝาแบบพังเทตจะมีรูเล็กๆของทิวบูลหรือพอร์หรือที่เรียกว่าพังตัมที่แผ่ขยายออกไปจากด้านในของชั้นไฟบรัส ไปจนเกือบทั้งหมดด้านนอกของชั้นลามินาร์ ส่วนเปลือกฝาแบบซูโดพังเทตมีรูปร่างเป็นแท่งของแร่แคลไซต์ไร้โครงสร้างในชั้นไฟบรัสที่อาจผุพังไปเหลือเปิดออกมาที่อาจเข้าใจว่าเป็นพังตัม

ประวัติวิวัฒนาการ[แก้]

ซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดมักพบเป็นกลุ่มอัดตัวกันแน่น อย่างเช่น Dalmanella meeki ยุคออร์โดวิเชียน
รูปลักษณะของแบรคิโอพอด
แบรคิโอพอดยุคคาร์บอนิเฟอรัส Neospirifer condor จากโบลิเวีย ขนาดชิ้นตัวอย่าง 7 ซม.
แบรคิโอพอดรินโชเนลลิด Rhynchotrema dentatum ยุคออร์โดวิเชียนตอนปลายทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียนน่า
แบรคิโอพอดสไปริเฟอริดยุคดีโวเนียนจากโฮไอโอ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ของโคโลนีของ hederellid ชิ้นตัวอย่างกว้าง 5 ซม.
แบรคิโอพอดสไปริเฟอริด Syringothyris sp. จากหมวดหินโลแกนยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้น ในวูสเตอร์ โฮไอโอ รอยพิมพ์ด้านใน
แบรคิโอพอด Petrocrania ติดกับแบรคิโอพอดสโตรฟอเมนิด ยุคออร์โดวิเชียนตอนปลายจากตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียนน่า

ซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดรุ่นแรกๆพบปรากฏในช่วงต้นๆของยุคแคมเบรียน เป็นแบรคิโอพอดอินอาร์ทิคูเลตคือชนิดที่ไม่มีหับเผย โดยชนิดอาร์ทิคูเลตซึ่งมีหับเผยจะพบในช่วงเวลาต่อมา มีความเป็นไปได้ที่ว่าจะพบแบรคิโอพอดในชั้นหินที่มีอายุแก่ลงไปอีกถึงช่วงบนของบรมยุคนีโอโปรเทอโรโซอิกแต่ยังไม่ชัดเจนแน่นอน แบรคิโอพอดพบได้ทั่วไปตลอดมหายุคพาลีโอโซอิกและได้ลดปริมาณลงอย่างมากในช่วงเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อครั้งสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน โดยก่อนที่จะถึงเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ถือได้ว่าแบรคิโอพอดเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่พบเห็นได้มากและหลากหลายมากกว่าหอยกาบคู่เสียอีก เมื่อเข้าสู่มหายุคมีโซโซอิกแล้วจำนวนและความหลากหลายของแบรคิโอพอดได้ลดลงเป็นอย่างมากแล้วส่วนใหญ่จะถูกแทนที่โดยหอยกาบคู่และก็วิวัฒนาการโดดเด่นต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ขณะที่แบรคิโอพอดส่วนใหญ่จะพบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมห่างออกไป

แบรคิโอพอดที่พบแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันอยู่ในชั้นเทเรบราตูลิดา ซึ่งมีรูปร่างลักษณะของเปลือกฝาคล้ายกับตะเกียงน้ำมันโบราณทำให้แบรคิโอพอดมีชื่อสามัญเรียกกันว่า “หอยตะเกียง (lamp shell)” ไฟลั่มที่ใกล้ชิดกับแบรคิโอพอดมากที่สุดอาจเป็นไฟลั่มโพโรนิดาซึ่งเป็นไฟลั่มเล็กๆที่รู้จักเรียกกันว่า “หนอนเกือกม้า” นอกจากไฟลั่มไบรโอซัวและอาจรวมถึงเอนโตพรอคต้าแล้ว ไฟลั่มนี้ถูกตั้งให้เป็นเหนือไฟลั่มโลโฟฟอราต้า

แบรคิโอพอดพวกอินอาร์ติคูเลตสกุล “ลิงกูล่า” ถือว่ามีความเก่าแก่ที่สุดและถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เกือบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเลย ซากดึกดำบรรพ์ของลิงกูล่าที่เก่าแก่ที่สุดพบในหินยุคแคมเบรียนตอนต้นประมาณ 550 ล้านปีมาแล้ว การกำเนิดของแบรคิโอพอดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่อาจมีบรรพบุรุษเป็นทากโบราณ (armored slug) ที่รู้จักกันว่า ฮัลกิเออเรียที่มีโลห์เล็กที่คล้ายแบรคิโอพอดที่หัวและหางของมัน

ในระหว่างยุคออร์โดวิเชียนและยุคไซลูเรียน แบรคิโอพอดได้ปรับตัวเองให้ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทั้งหมดและส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้น โดยบ้างก็อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเหมือนกันกับหอยกาบคู่ในปัจจุบัน (อย่างเช่นหอยแมลงภู่) บางแห่งที่เป็นชั้นหินปูนและที่ที่มีการตกสะสมตัวของปะการังก็พบเปลือกฝาของแบรคิโอพอดได้มากเช่นกัน

ตลอดประวัติทางธรณีวิทยาอันยาวนาน แบรคิโอพอดได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและแตกแขนงวิวัฒนาการไปอย่างหลากหลาย และก็รวมถึงการได้ผ่านการเผชิญกับเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ๆมาหลายครั้งเช่นกัน

อาจกล่าวได้ว่าการลดจำนวนลงอย่างช้าๆของแบรคิโอพอดตลอดระยะเวลา 100 ล้านปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น เป็นผลโดยตรงมาจาก (1) การเพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายของหอยกาบคู่ที่หาอาหารด้วยอวัยวะกรอง ซึ่งได้ขับไล่แบรคิโอพอดให้ออกจากถิ่นฐานเดิมของมัน (2) การเพิ่มการรบกวนในตะกอนโดยพวกที่หากินโดยใช้เหยื่อล่อ (รวมถึงหอยกาบคู่ที่ขุดรูอยู่จำนวนมาก) และ (3) การเพิ่มการล่าด้วยการบดขยี้เปลือกฝาที่รุนแรงและหลากหลายขึ้น อย่างไรก็ตามก็ควรจะระลึกว่าหอยกาบคู่มีความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างถิ่นฐานที่อยู่อาศัยซึ่งไม่เคยพบในแบรคิโอพอดมาก่อน อย่างเช่นการขุดรูอยู่

ความมากมาย ความหลากหลาย และการมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วของแบรคิโอพอดในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกทำให้แบรคิโอพอดมีประโยชน์ในการใช้เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีเพื่อการเปรียบเทียบการลำดับชั้นหินในบริเวณกว้าง

การจำแนก[แก้]

ในการจำแนกดั้งเดิม ไฟลั่มแบรคิโอพอดถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือชั้นอาร์ติคูเลตและชั้นอินอาร์ติคูเลต ด้วยอันดับของแบรคิโอพอดทั้งหมดได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่สิ้นมหายุคพาลีโอโซอิก การจำแนกจึงยึดถือเอารูปลักษณ์สัณฐาน (รูปร่าง)ของซากดึกดำบรรพ์เป็นเกณฑ์ แต่ในช่วง 40 ปีมานี้ได้มีการวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นทั้งในซากดึกดำบรรพ์และในแบรคิโอพอดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการศึกษาทางพันธุศาสตร์ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการจำแนกทางอนุกรมวิธาน

การจำแนกทางอนุกรมวิธานถือว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นผู้ศึกษาต่างกันอาจจำแนกออกไปต่างกัน ในจำนวน 2000 ชิ้นงานดังส่วนหนึ่งในตำราบรรพชีวินวิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เขียนโดย วิลเลียม คาร์ลสัน และบรันตัน ได้นำเสนอแนวคิดการจำแนกแบรคิโอพอดเป็นกลุ่มคือ พวกเขาแบ่งแบรคิโอพอดออกเป็น 3 ไฟลั่มย่อย 8 ชั้น และ 26 อันดับ การจำแนกนี้เชื่อว่าจะใกล้เคียงกับประวัติวิวัฒนาการ ความหลากหลายของแบรคิโอพอดได้ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อสิ้นมหายุคพาลีโอโซอิก มีเพียง 5 อันดับใน 3 ชั้นเท่านั้นที่อยู่รอดจนถึงปัจจุบันทั้งหมดประมาณระหว่าง 300 ถึง 500 ชนิด ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงกลางของยุคไซลูเรียนจะมีแบรคิโอพอดอยู่ทั้งสิ้นถึง 16 อันดับ

อนุกรมวิธานของแบรคิโอพอด

สีเขียวสายพันธุ์ปัจจุบัน, สีเทาสูญพันธุ์
after Williams, Carlson, and Brunton, 2000

ไฟลั่มย่อยชั้นอันดับสูญพันธุ์
LinguliformeaLingulata Lingulidano
SiphonotretidaOrdovician
AcrotretidaDevonian
PaterinataPaterinidaOrdovician
CraniformeaCraniforma Craniidano
CraniopsidaCarboniferous
TrimerellidaSilurian
Rhynchonelliformea Chileata ChileidaCambrian
DictyonellidinaPermian
ObolellataObolellidaCambrian
KutorginataKutorginidaCambrian
Strophomenata OrthotetidinaPermian
TriplesiidinaSilurian
BillingselloideaOrdovician
ClitambonitidinaOrdovician
StrophomenidaCarboniferous
ProductidaPermian
Rhynchonellata ProtorthidaCambrian
OrthidaCarboniferous
PentameridaDevonian
Rhynchonellidano
AtrypidaDevonian
SpiriferidaJurassic
Thecideidano
AthyrididaCretaceous
Terebratulidano

ซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดในประเทศไทย[แก้]

  • Acosarina antesulcata Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Acosarina kanmarai Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Anomalaria glomerosa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Arctitreta percostata Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Arionthia sapa Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Aseptella satunensis Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
  • Asperlinus asperulus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Aspinosella sinauris Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Attenuatella piyasini Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Bibatiola costata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Brachythyrina rectangulus (Kutorga) Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Brachythyrina thailandica Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัด ตรัง
  • Brachythyrina toriyamai Yanagada, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Callispirina austrina Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Cancrinella yanagidae Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 ถ้ำน้ำมโหฬาร อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Cancrinelloides monticulus Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Caplinoplia thailandensis Racheboeuf in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
  • Caricula salebrosa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Celebetes gymnus Grant, 1976 จังหวัดพังงา
  • Celebetes leptus Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Chonetinella andamanensis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Chonetinella cymatilis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Chonetinella granti Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Chonosteges thailandica Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Cleiothyridina seriata Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาช้าง เขาพริก และเขาตกน้ำ จังหวัดราชบุรี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
  • Cleiothyridina tribulosa Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Clorinda wongwanichi Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
  • Coledium satuni Boucot & Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
  • Composita advena Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Composita dolabrata Grant, 1977 เขาตกน้ำ จังหวัดราชบุรี
  • Composita subsolana Grant, 1978 เขาช้าง จังหวัดราชบุรี และบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
  • Compressoproductus pentagonalis Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Comuquia modesta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Cooperina polytreta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Costachonetina krotowi Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Cruricella couria Grant, 1976 บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และเกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Cyrtonotella thailandica Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
  • Cyrtonotella transversalis Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
  • Demonedys fastigiata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง และบ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี
  • Derbyella kanmerai Yanagida, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
  • Derbyia scobina Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Desmoinesia prayongi Yanagada, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Diplanus minuta Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Dyschrestia spodia Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Echinoconchus huaipotensis Yanagida, 1974 บ้านสูบ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
  • Eileenella elegans Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
  • Elasmata retusus Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Erismatina cooperi Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Globosobucina scopae Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Glyptosteges percostatus Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Goleomixa acymata Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Gratiosina insculpta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Haydenella buravasi Grant, 1976 เขาช้าง จังหวัดราชบุรี
  • Haydenella granti Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Hemiptychina desticata Grant, 1976 จังหวัดพังงา
  • Hemiptychina mintrita Grant, 1977 เขาพริกและเขาช้าง จังหวัดราชบุรี
  • Hemiptychina murrita Grant, 1978 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Heteralosia haerens Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Heteralosia iphia Grant, 1977 จังหวัดพังงา เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Hustedia funaria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Hustedia ratburiensis Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Incisius concisus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Juresania dissimilis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Kasetia kaseti Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
  • Kitakamithyris buravasi Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Komukia solita Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Kozlowskia cornuta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Kozlowskia opipara Grant, 1977 จังหวัดพังงา
  • Kutorginella aprica Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Kutorginella fraterculus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
  • Kutorginella paucispinosa Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
  • Lampangella lata Waterhouse, 1983 ห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Linoproductus kaseti Grant, 1976 จังหวัดพังงา
  • Litocothia cateora Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Marginifera arenaria Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Marginifera banphotensis Yanagada, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Marginifera drastica Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Marginifera nesiotes Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Marginifera otaria Grant, 1977 เขาช้างและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Martiniopsis trimmata Grant, 1976 จังหวัดพังงา
  • Meekella addicta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Meekella bisculpta Grant, 1976 บ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี
  • Meekella colpata Grant, 1976 เขาช้าง และเขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Minispina alata Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Mucrospiriferinella undulosa Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Nematocrania crassia Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Neochonetes sakagamii Yanagada, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Neospirifer koewbaidhoni Yanagada, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
  • Neospirifer steritamakensis (Gerassimov) Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Notothyris hexeris Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Notothyris sakagami Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Notothyris triplax Grant, 1976 บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เขาพริก จังหวัดราชบุรี และเกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Opikina bellicostata Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
  • Orbicoelia fraterculus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Orthotetes perplexus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Orthotetina phetchabunensis Yanagida, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Orthotetina ruchae Yanagida & Nakornsri, 1999 เขาหินกลิ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Orthotichia javanapheti Yanagida, 1964 ตำบลบ้านโภชน์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • Orthotichia waterhousei Grant, 1976 เขาช้าง เขาตกน้ำ เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Paralyttonia tenax Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
  • Paraspiriferina gentiles Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
  • Perigeyerella tricosa Grant, 1976 เขามุก จังหวัดตรัง
  • Permophricodothyris notialasiatica Grant, 1976 จังหวัดพังงา และเขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Phricodothyris toriyamai Yanagida, 1966 ถ้ำน้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
  • Plectodonta (Plectodonta) forteyi Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 จังหวัดสตูล
  • Plicambocoelia tansathieni Boucot & Brunton in Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
  • Pontielasma praeundatum Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Pontisia exoria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Prorugaria thailandica Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Purdonella magna Hamada, 1964 ห้วยซำปอด อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Pustuloplica cooperi Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Quasiprosserella samedensis Boucot & Cocks in Boucot et al., 1999 บ้านป่าเสม็ด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  • Rafinesquina komalarjuni Hamada, 1964 บ้านทุ่งดินลุ่ม อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
  • Ramavectus pumwarni Grant, 1976 จังหวัดพังงา เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Retimarginifera alata Waterhouse in Waterhouse et al.,, 1981 เกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
  • Retimarginifera celeteria Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Rhamnaria bunopasi Waterhouse in Waterhouse et al.,, 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Rhipidomella cordialis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง เขาตกน้ำและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Rhynchopora culta Waterhouse, 1982 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Rigbyella crassa Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Rorespirifer ruinosus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Rugaria molengraaffi (Broili) Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Rugosochonetes bansupensis Yanagida, 1974 บ้านสูบ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
  • Sarytchevinella tenuissima Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Schuchertella cooperi Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Septasteges acanthus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Septospirigerella felinella Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Spinifrons planaconvexa Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Spinomarginifera plana Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Spinomartinia prolifica Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Spiriferella modesta Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
  • Spiriferellina aduncata Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Spiriferellina yanagidai Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Squamularia postgrandis Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Stenoscisma kanmerai Yanagida, 1975 ห้วยหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Stenoscisma quasimutabilis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
  • Stenoscisma tetricum Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Stereochia koyaoensis Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
  • Stereochia litostyla Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
  • Stictozoster leptus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Streptorhynchus khwaense Grant, 1976 บ้านเขา จังหวัดกาญจนบุรี เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Streptorhynchus sulculatum Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Streptorhynchus turbineus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Striochonetes scutella Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Sulciplica thailandica Hamada, 1960 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Swaicoelia rotunda Hamada, 1968 เส้นทางสายเชียงใหม่-อำเภอฝาง ระหว่าง กม. 105-108 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  • Terebratuloidea mimula Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Tipispirifer oppilatus Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Tornquistia orthogonal Wongwanich et al., 2004 จังหวัดสตูล
  • Tornquistia tricorporum Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาว จังหวัดพังงา
  • Tornquistia tropicalis Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Torynifer turbatus Waterhouse in Waterhouse et al., 1981 เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
  • Transennatia pitakpaivani Waterhouse, 1983 หมวดหินห้วยทาก จังหวัดลำปาง
  • Tuberculatella tubertella Waterhouse, 1982 ห้วยบุนนาค อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • Uncinunellina mitigate Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Uncinella siamestris Grant, 1976 เขาช้างและเขาพริก จังหวัดราชบุรี
  • Urushtenia arguta Grant, 1976 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Urushtenia murina Grant, 1977 เกาะมุก จังหวัดตรัง
  • Waagenites speciosus Waterhouse & Piyasin, 1970 เขาพริก จังหวัดราชบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลจากนักบรรพชีวินวิทยา W. H. Easton (1960) ใน Invertebrate Paleontology (New York: Harper and Brothers).
  • Williams, A; Carlson, S.J.; Brunton, C.H.C. (2000). "Brachiopod classification". ใน Williams, A.; และคณะ (บ.ก.). Brachiopoda (revised). Vol. 2. Part H of Kaesler, R.L. (บ.ก.). Treatise on Invertebrate Paleontology. Boulder, Colorado and Lawrence, Kansas: Geological Society of America and The University of Kansas. ISBN 0-8137-3108-9.
  • MLF (Moore, Lalicker and Fischer); Invertebrate Fossils, McGraw-Hill Book, 1952
  • [1] http://www.scienceforums.net/forum/showthread.php?p=339638 เก็บถาวร 2009-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2549) ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 99 หน้า

เชื่อมต่อภายนอก[แก้]