แรดดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Black Rhinoceros)
แรดดำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน - ปัจจุบัน 3.6–0Ma
แรดดำใต้-กลาง (Diceros bicornis minor) ใน แอฟริกาใต้
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Perissodactyla
วงศ์: Rhinocerotidae
สกุล: Diceros
Gray, 1821
สปีชีส์: D.  bicornis
ชื่อทวินาม
Diceros bicornis
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย

Diceros bicornis bicornis
Diceros bicornis brucii
Diceros bicornis chobiensis
Diceros bicornis ladoensis
Diceros bicornis longipes
Diceros bicornis michaeli
Diceros bicornis minor
Diceros bicornis occidentalis

การกระจายพันธุ์ของแรดดำ

แรดดำ เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากแรดขาว (Ceratotherium simum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diceros bicornis มีรูปร่างทั่วไปคล้ายแรดขาว เพียงแต่สีผิวที่คล้ำกว่า จึงเป็นมาของชื่อ "แรดดำ" ปากของแรดดำจะเป็นติ่งแหลมยื่นออกมาบริเวณริมฝีปากบน เนื่องจากชอบตวัดกินใบไม้มากกว่า และคอของแรดดำจะสั้นกว่าแรดขาว ผิวหนังมีรอยย่นและตุ่มนูนและหนากว่า หูกลมกว่าแรดขาว

ขนาดของแรดดำจะมีขนาดเล็กกว่าแรดขาวพอสมควร คือ ความยาวเต็มที่ประมาณ 140-170 เซนติเมตร ความสูงของไหล่ 3.3-3.6 เมตร น้ำหนักเต็มที่โดยประมาณ 800-1,300 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ในประเทศเคนยา, แทนซาเนีย, แอฟริกาใต้, แคเมอรูน, นามิเบียและซิมบับเว มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย คือ D. b. michaeli, D. b. longipes, D. b. bicornis, D. b. minor ซึ่งบางครั้งเขตหากินของแรดดำอาจจะเข้าไปอยู่ในถิ่นของแรดขาว แต่สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เคยที่จะต่อสู้แก่งแย่งกัน

แรดดำเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ฉุนเฉียวง่ายกว่าแรดขาว สามารถวิ่งได้เร็ว 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่บางครั้งเมื่อตกใจหรือป้องกันตัวอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สถานภาพในธรรมชาติของแรดดำปัจจุบันอยู่ในสภาวะ CR (Critically Endangered) คือ มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้

อนุกรมวิธานและชื่อ[แก้]

แรดดำมี 4 ชนิดย่อย:[3]

ลักษณะ[แก้]

แรดดำเมื่อโตเต็มที่สูง 140-170 ซม.จรดไหล่ ยาว 3.3-3.6 ม.[6] หนัก 800-1400 กก. เพศเมียตัวเล็กกว่าเพศผู้ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลังโดยทั่วไปยาว 50-140 ซม. นอยาวสุดที่วัดได้ยาวเกือบ 1.5 ม.[7] ในบางตัวอาจมีนอที่ 3 ซึ่งมีขนาดเล็ก นอใช้ในการป้องกันตัว ข่มขู่ ขุดรากไม้ หักกิ่งไม้เพื่อกิน สีผิวขึ้นกับสีดินในถิ่นอาศัยและพฤติกรรมการแช่ปลักของแรด โดยทั่วไปมักมีสีดำ แรดดำมีขนาดเล็กกว่าแรดขาว ริมฝีปากบนแหลมยาวไว้ใช้เพื่อหยิบจับใบไม้และกิ่งตอนกินอาหาร[7] ซึ่งแรดขาวจะมีปากเหลี่ยมเพื่อใช้สำหรับกินหญ้า เราสามารถแยกแรดดำจากแรดขาวได้เพราะแรดดำมีหูและกะโหลกที่เล็กกว่า

แรดดำมีหนังหนาเพื่อป้องกันหนามและหญ้า ผิวหนังของมันจะเต็มไปด้วยปรสิตภายนอกอย่างไรและเห็บซึ่งจะถูกกินโดยนกกระยางและนกอ็อกซ์เพกเกอร์ที่อาศัยอยู่กับแรด แต่เดิมพฤติกรรมนี้ถูกคิดว่าเป็นตัวอย่างของภาวะพึ่งพาแต่หลักฐานเมื่อเร็วๆนี้พิสูจน์ว่านกอ็อกซ์เพกเกอร์อาจเป็นปรสิตเสียเอง[8]. แรดดำมีสายตาไม่ดี จึงต้องอาศัยการได้ยินและการดมกลิ่น หูของมันช่วงหมุนที่ค่อนข้างกว้างเพื่อใช้ในการตรวจสอบเสียงและมีการดมกลิ่นดีเลิศพร้อมแจ้งให้ทราบเมื่อมีนักล่าเข้าใกล้

การกระจายพันธุ์[แก้]

แรดดำในประเทศแทนซาเนีย

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 แรดดำมีจำนวนมากที่ในแรดทุกชนิด ประมาณปี ค.ศ. 1900 อาจมีแรดดำถึง 100,000 ตัว[1]อาศัยอยู่ในแอฟริกา ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำนวนแรดดำลดลงอย่างรุนแรงจาก 70,000 ตัว[9] ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็น 10,000 ถึง 15,000 ในปี ค.ศ. 1981 ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 จำนวนแรดดำต่ำกว่า 2500 ตัวและในปี ค.ศ. 2004 มีรายงานว่าเหลือเพียง 2,410 ตัว ตามองค์การกองทุนแรดสากล ประชากรแรดแอฟริกาฟื้นฟูเล็กน้อยเป็น 3,610 ในช่วงปี ค.ศ. 2003[10] ตามรายงานจากสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 จากการสำรวจแรดดำแอฟริกาตะวันตกเมื่อเร็วๆนี้ที่กระจายพันธุ์ในทุ่งหญ้าสะวันนาในทางตะวันตกของแอฟริกาพบว่าลดลงเหลือเพียงแค่ 10 ตัว หรือสรุปได้ว่าชนิดย่อยนี้กำลังจะสูญพันธุ์[11] แรดขาวเหนือก็กำลังจะสูญพันธุ์เหมือนกับแรดดำแอฟริกาตะวันตก จำนวนล่าสุดที่พบเหลือเพียงแค่ 4 ตัว แรดชนิดเดียวที่สามารถฟื้นฟูได้คือแรดขาวใต้ซึ่งมีอยู่มากกว่า 14,500 ตัวในปัจจุบันจากมากกว่า 50 ตัวเล็กน้อยในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20[12]

แรดดำถูกคุกคามให้สูญพันธุ์จากการล่าเอานออย่างผิดกฎหมายและการสูญเสียที่อยู่ นอแรดถูกใช้ในการแพทย์แผนจีน นักสมุนไฟรกล่าวว่าสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยหมดสติ รักษาไข้ และช่วยให้แข็งแรงและความสมบูรณ์ทางเพศในผู้ชาย[13] ประสิทธิภาพของนอแรดในการรักษาโรคต่างๆไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เอกสารขายยาเอกสารแรกของนอแรดดำในสหรัฐอเมริกา (ยืนยันโดยการทดสอบทางพันธุกรรมของนอที่ยึดมา) เกิดขึ้นที่ร้านจำหน่ายยาแผนจีนในไชน่าทาวน์ในพอร์ตแลนด์[13] มีการใช้นอแรดในตะวันออกกลางเพื่อใช้ด้ามมีดแกะสลักที่หรูหราสำหรับมีดที่ใช้ในพิธีกรรมที่เรียกว่า "jambiya" ความต้องการที่มากมายในคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นสาเหตุให้แรดดำลดลงถึง 96% ระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึง 1992

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 IUCN SSC African Rhino Specialist Group (2008). Diceros bicornis เก็บถาวร 2011-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 28 November 2008.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Hillman-Smith, A.K. Kes; and Colin P. Groves. (1994). "Diceros bicornis" (PDFemma = Mammalian Species): 1. doi:10.2307/3504292. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |te= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Diceros bicornis ssp. longipes". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2011. สืบค้นเมื่อ November 10, 2011.
  5. Andrew Meldrum (July 12, 2006). "West African black rhino feared extinct". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  6. Dollinger, Peter and Silvia Geser. "Black Rhinoceros". World Association of Zoos and Aquariums. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  7. 7.0 7.1 Ellis, Richard (2004). No Turning Back: The Life and Death of Animal Species. New York: Harper Perennial. pp. 205–208. ISBN 0-06-055804-0.
  8. Weeks, P (2000). "Red-billed oxpeckers: vampires or tickbirds?" (PDF). Behavioral Ecology. 11 (2): 154–160.
  9. "WWF Factsheet; Black Rhinoceros Diceros Bicornis" (PDF). World Wildlife Fund. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-11-19. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  10. "Black Rhino Information". International Rhino Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  11. Andrew Meldrum (July 12, 2006). "West African black rhino feared extinct". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  12. Sean Markey (July 12, 2006). "West African Black Rhino Extinct, Group Says". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
  13. 13.0 13.1 Michael Milstein (June 27, 2007). "Shop owner pleads guilty to selling black rhino horn". The Oregonian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Diceros bicornis ที่วิกิสปีชีส์