เพชฌฆาตไซบอร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Battle Angel Alita)
เพชฌฆาตไซบอร์ก
銃夢
ชื่อภาษาอังกฤษBattle Angel Alita
แนวไซไฟ
มังงะ
เขียนโดยยูกิโตะ คิชิโระ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น ชูเอฉะ
ไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์
อนิเมะ
กำกับโดยฮิโรชิ ฟุคุโทมิ, ริน ทาโร่
สตูดิโอแมดเฮาส์

เพชฌฆาตไซบอร์ก (ญี่ปุ่น: 銃夢โรมาจิGanmu ทับศัพท์จาก GUNNM) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องและภาพโดยยูกิโตะ คิชิโระ ตีพิมพ์ในนิตยสาร Business Jump ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ความยาว 9 เล่มจบ

ชื่อเรื่อง GUNNM มาจากสองคำ คือ "GUN" (กัน - "ปืน" ในภาษาอังกฤษ) บวกกับ "夢" (มุ - ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "ความฝัน") มีการตีพิมพ์ทั้งหมด 3 ภาค โดยในภาคแรกนั้นเนื้อเรื่องถูกตัดตอนให้จบลงอย่างรวบรัดตามความต้องการของสำนักพิมพ์ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนได้ผลิตผลงานภาคต่อในชื่อว่า GUNNM : The Last Order เพชฌฆาตไซบอร์ก ภาค Last Order โดยอาศัยพื้นฐานเนื้อหาจากภาคที่ 1 แต่มีการแก้ไขจุดจบของเรื่องที่ไม่อิงตามเนื้อหาเดิมที่ปรากฏในเล่มที่ 9 ของภาคแรก และ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนภาคที่ 3 ในชื่อ GUNNM: Mars Chronicle

สำหรับชื่อในการตีพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษและประเทศทางตะวันตกส่วนใหญ่ จะใช้ชื่อว่า Battle Angel Alita โดยชื่อ อลิตะ เป็นชื่อของ กัลลี่ ตัวละครหลักของเรื่อง ที่ถูกเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับการตีพิมพ์ในประเทศเหล่านั้น

เนื้อเรื่อง[แก้]

เพชฌฆาตไซบอร์ก เป็นการ์ตูนแนวไซไฟที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกค้นหาความหมายของชีวิตของตัวละครเอก คือ กัลลี่ (Gally) ซึ่งเป็นไซบอร์กที่ถูกเก็บมาจากกองขยะใต้นครลอยฟ้า "ซาเลม" โดยหมอ "อิโดะ (Ido) " ซึ่งเป็นชาวซาเลมที่ถูกคัดออกจากการเป็นพลเมืองซาเลมเป็นผู้ซ่อมร่างของกัลลี่ให้ เธอฟื้นขึ้นมาแต่ว่าความทรงจำในอดีตได้หายไป สิ่งที่พอเหลืออยู่บ้าง คือ ทักษะการต่อสู้แบบ "พันเซอร์ คุนซ์" อันเป็นวิชาการต่อสู้รูปแบบเฉพาะของดาวอังคารที่หายสาบสูญไป

การผจญภัยของเพื่อตามหาความหมายและเยียวยาความเจ็บปวดของชีวิต คือสิ่งที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง เพชฌฆาตไซบอร์กทั้ง 9 เล่มได้ทำให้เราเห็นพัฒนาของตัวละคร จากการเป็นเด็กน้อยผู้สูญเสียความทรงจำ กลายเป็น ฮันเตอร์ วอร์ริเออร์ (ทำหน้าที่เหมือนตำรวจหรือนักล่าค่าหัว)

กัลลี่ได้สมัครเป็นฮันเตอร์วอริเออร์ และได้เผชิญหน้ากับมาคาคุ กัลลี่ชนะ แต่มาคาคุหนีไปได้ และร่างกัลลี่เสียหายหนัก อิโดะได้ให้ร่างเบอเซอเกอร์กับกัลลี่ กัลลี่ได้พบกับซาปันและทำให้ซาปันขายหน้า มาคาคุกลับมาล้างแค้น โดยลักพาตัวคิโยโกะลงไปในระบบท่อระบายน้ำใต้เมืองเศษเหล็ก ระหว่างการต่อสู้กับมาคาคุ กัลลี่ได้ค้นพบว่าร่างเบอร์เซอร์เกอร์สามารถสร้างพลาสมาได้ ดิสตี้โนวาเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นครั้งแรก มาคาคุได้เล่าว่าดิสตี้โนวาเป็นคนให้ร่างไซบอร์กกับเค้า มาคาคุแพ้กัลลี่ และถูกจับตาย กัลลี่ได้พบกับยูโก เด็กหนุ่มผู้ใฝ่ฝันที่จะขึ้นไปบนซาเลม ยูโกทำงานผิดกฎหมาย ลักขโมยสันหลังให้กับเวกเตอร์ ซาปันล่วงรู้ และวางแผนฆ่ายูโกเผื่อแก้แค้นกัลลี่ กัลลี่ฟันซาปันตกตึกสูง และหายสาบสูญ กัลลี่เองก็หนีหายตัวไปด้วย

อิโดตามหากัลลี่ ระหว่างตามหา ได้พบกับซิมิล่า น้องสาวของจาชูกัน แชมเปี้ยนมอเตอร์บอล (ลักษณะคล้ายการแข่งรถสูตร 1) อิโดจึงพบว่ากัลลี่ก็เป็นผู้เล่นมอเตอร์บอลด้วย กัลลี่ได้ร่างเผื่อเล่นมอเตอร์บอลจากทีม ร่างนี้มีดาบติดศอก ซึ่งเป็นอาวุธของผู้ฝึกแพนเซอร์คุนซ์ ดาบนั้นทำจากเหล็กดามัสกัส กัลลี่เก็บร่างเบอร์เซอร์ไว้ในโกดัง กัลลี่ชนะมอเตอร์บอลหลายครั้งจนได้เลื่อนจาก ลีกสาม เป็นลีกหนึ่ง และกำลังจะได้แข่งกับจาชูกัน

อิโดค้นพบว่าดิสตี้โนวาเป็นชาวซาเลมซึ่งถูกขับไล่ลงมายังเมืองเศษเหล็กเช่นเดียวกับตัวเอง นอกจากนั้นดิสตี้โนวาได้ดัดแปลงสมองให้จาชูกัน แต่สมองมีปัญหาและกำลังจะตาย อิโดได้ช่วยให้จาชูกันสามารถแข่งครั้งสุดท้ายกับกัลลี่ได้จนชนะ ก่อนที่จาชูกันจะตายในสนามแข่ง ซาปันเห็นกัลลี่ออกทีวีในการแข่งมอเตอร์บอล จึงเกิดอาการบ้าและได้ฆ่าคนรัก ซาร่า โดยไม่ได้ตั้งใจ ซาปันโทษกัลลี่ที่ทำให้ซาร่าตาย และออกตามล่ากัลลี่เพื่อล้างแค้น สองปีต่อมาซาปันพบกัลลี่ และถูกกัลลี่ฆ่าอีกครั้ง

ดิสตี้โนวาได้ร่างเบอร์เซอร์เกอร์ไป อิโดพยายามติดต่อขอร่างเบอร์เซอร์เกอร์คืน แต่ดิสตี้โนวากลับเอาสมองของซาปันมาใส่ร่างเบอร์เซอร์เกอร์ ซาปันจึงฆ่าอิโดและโนวา และตามมาล้างแค้นกัลลี่ ดิสตี้โนวาสามารถคืนชีพได้เพราะนาโนแมชชีน รีสตอเรอร์ และได้มอบกระสุนนาโนแมชชีนให้กับกัลลี่เพื่อทำลายร่างเบอร์เซอร์เกอร์ และสํญญาจะชุบชีวิตให้กับอิโด ซึ่งกัลลี่ก็สามารถฆ่าซาปันได้เป็นครั้งสุดท้าย และร่างเบอร์เซอร์เกอร์ก็ถูกทำลาย

กัลลี่ได้กลายเป็น ทูนด (TUNED) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสายลับของซาเลม เพื่อดำเนินการจับกุม ศจ.ดีสตีส โนวา นักวิทยาศาสตร์ผู้บ้าคลั่ง ระหว่างตามหาโนวา กัลลี่ได้รับมอบหมายให้คุมครองรถไฟเสบียง และได้พบรักกับโฟเกีย ซึ่งเข้าร่วมเป็นทหารรับจ้างของทูนด รถไฟเสบียงถูกกองโจรบาร์แจ็คโจมตี กัลลี่และโฟเกียถูกจับแต่หนีออกมาได้ท่ามกลางทะเลทราย โฟเกียแบกกัลลี่เดินกลางทะเลทรายจนเกือบตายทั้งคู่ แต่เกิดมีฝนมหัศจรรย์ตกลงมา และทูนดก็เข้าช่วยเหลือ กัลลี่ได้แยกจากฟอร์เกียที่หมู่บ้านชาวประมง และปฏิบัติการณ์ตามหาโนวาต่อ ทูนดสร้างหุ่นเลียนแบบกัลลขึ้นมา 12 ตัว และส่งหุ่นตัวที่สองมาทดสอบต่อสู้กับกัลลี่ กัลลี่ ชนะด้วยความช่วยเหลือจากลู โอเปอร์เรเตอร์คนใหม่ของทูนด กัลลี่ได้พบกับโคโยมิ และเกิดตกลงไปในถ้ำใต้ดินด้วยกัน กัลลี่เสียหายหนักต้องเข้าภาวะจำศีล กัลลี่ได้รับความช่วยเหลือจากเคออส ผู้มีพลังไซโคมิตรี้ เคออสหลงรักกัลลี่ ได้จับกัลลี่แต่งชุดเจ้าสาว และช่วยพากัลลี่ไปพบโนวา เคออสเปิดเผยว่าโนวาเป็นพ่อของเค้า ระหว่างทางได้เผชิญหน้ากับกองโจรบาร์แจ็ค และเด็นหัวหน้ากองโจร กัลลี่ต่อสู้กับเด็น แต่โคโยมิกลับปกป้องเด็น กัลลี่จึงไว้ชีวิตเด็น

เคออสพากัลลี่ไปพบอิโด ซึ่งโนวาได้ชุบชีวิตให้ตามสัญญา เคออสทิ้งกัลลี่ไว้กับอิโด เพื่อไปพบโนวาแต่เพียงคนเดียว กัลลี่ได้พบว่าอิโดได้ลบความทรงจำของตัวเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เค้าจำกัลลี่ไม่ได้ กัลลี่จึงเดินทางตามเคออสไปพบกับโนวา ในระหว่างนั้นกองโจรบาแจ็คและเด็นได้เข้าโจมตีซาเลมอย่างเต็มกำลัง แต่ได้พบกับความพ่ายแพและย่อยยับ โนวาทำลายกัลลี่ได้สำเร็จ และได้ให้ร่างใหม่กัลลี่บนซาเรม เมลคิเซเดค คอมพิวเตอร์สมองของซาเลม จะทำลายซาเลม โดยปล่อยให้ซาเรมตกใส่เมืองเศษเหล็ก โนวาได้ให้นาโนแมชชีนกับกัลลี่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนซาเรมให้กลายเป็นต้นไม้แห่งชีวิตและไม่ตกลงมา ยังผลให้ร่างไซบอร์กของกัลลี่กลายเป็นมนุษย์เต็มที่ กัลลี่ได้พบกับโฟเกียและได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างมนุษย์และมีความสุขตลอดไป

ตัวละคร[แก้]

  • กัลลี่
  • ไดสุเกะ อิโด (Dr. Daisuke Ido)
  • จาชูกัน
  • ดิสตี โนวา
  • ฟอกเกีย
  • เด็น
  • เคออส

รายชื่อตอน[แก้]

จุดเด่นของเรื่อง[แก้]

นอกจาการเดินเรื่องด้วยการต่อสู้และการเอาชนะตนเองแล้ว สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญคือการมีข้อมูลทางวิชาการประกอบเรื่อง มีการลง footnote หรือหมายเหตุท้ายหน้า รวมถึงการใส่ภาคผนวก เพื่ออธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประกอบในเรื่องเป็นจำนวนมาก

นาโนเทคโนโลยี[แก้]

ตัวละครหลักศาสตราจารย์ดิสตี โนวาผู้ใช้นาโนเทคโนโลยีจะมีอำนาจมากคล้ายๆกับผู้วิเศษคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลระดับโมเลกุลทำให้เขาสามารถทำการ ฟื้นฟูสมอง ชุบชีวิต ไปจนถึงสร้างอาวุธทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว เป็นการ์ตูนที่พูดถึงนาโนเทคโนโลยีมานานมาก ก่อนที่สาขานี้จะเป็นที่สนใจของสาธารณชน

พลาสมา[แก้]

ทักษะหนึ่งของกัลลี่คือการควบคุมสนามแม่เหล็กและพลังงานความร้อน ซึ่งทำใช้พลาสมาเป็นอาวุธได้

พันเซอร์ คุนซ์[แก้]

ความสามารถในการต่อสู้ของกัลลี่เกิดจากการสามารถใช้วิชาการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่เรียกว่า พันเซอร์ คุนซ์ อันเป็นวิชาเก่าแก่และหาได้ยาก และสืบทอดมาเฉพาะผู้อาศัยในอาณานิคมดาวอังคาร เบื้องหลังและความเป็นมาของวิชาพันเซอร์ คุนซ์ จะถูกอรรถาธิบายใน เพชฌฆาตไซบอร์ก ภาค Last Order

เมืองเศษเหล็ก และ นครลอยฟ้าซาเล็ม[แก้]

เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองเศษเหล็ก ซึ่งอยู่ภายใต้นครลอยฟ้า "ซาเล็ม" โดยทั้งสองเมืองมีความสัมพันธ์ในลักษณะไม่เท่าเทียมกัน โดยซาเล็มเป็นผู้ควบคุมความเป็นไปและใช้ทรัพยากรที่เมืองเศษเหล็กรวบรวมและแปรรูปส่งขึ้นไปให้ผ่านทาง แฟคตอรี่ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนรัฐบาลของเมืองเศษเหล็ก อย่างไรก็ดี แฟคตอรี่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมให้การทำงานของเมืองเศษเหล็กเป็นไปอย่างปกติเท่านั้น จึงไม่มีบทบาทในการต่อต้านอาชญากรรมและสวัสดิภาพของคนในเมืองเศษเหล็กมากนัก นอกจากนี้ กฎหมายในเมืองเศษเหล็กทั้งหมดก็เป็นไปเพื่อปกป้องการทำงานของแฟคตอรี่และการคงอยู่ของนครลอยฟ้าซาเล็ม เช่น วัตถุหรือสิ่งมีวิตที่บินได้ถือเป็นอาชญากรรม เมืองเศษเหล็กจึงไม่มีนก การแย่งชิงทรัพย์สินระหว่างฮันเตอร์วอริเออถือเป็นอาชญากรรม (เช่น หัวของอาชญากร) แต่การปล้นชิงวัตถุสิ่งของ การฆ่าคนที่ไม่ได้ทำงานให้แฟคตอรี่ส่วนใหญ่ไม่ถือเป็นอาชญากรรม เป็นต้น

ฮันเตอร์ วอริเออ[แก้]

เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ล่าค่าหัวอาชญากรที่แฟคตอรี่ขึ้นบัญชีไว้ ลักษณะการทำงานคล้ายตำรวจ แต่ไม่มีการจัดองค์กรและไม่มีการทำงานร่วมกัน ทำให้ฮันเตอร์วอริเออไม่มีบทบาทในการเป็นผู้พิทักษ์คุณธรรมแต่อย่างใด

กองโจรบาแจ๊ค[แก้]

ถือเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่จัดมีการจัดทัพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อล้มล้างการปกครองของแฟคตอรี่ และทำลายนครลอยฟ้าซาเล็ม สำหรับอุดมการณ์ของกลุ่ม อาจพิจารณาจากคำพูดของ "เด็น" ผู้นำกลุ่มกองโจร ที่กล่าวว่าเขาต้องการ "สร้างอาณาจักรที่นกบินได้"

เพชฌฆาตไซบอร์ก ภาค Last Order[แก้]

เนื้อเรื่องทั้ง 9 เล่มของเพฌชฆาตไซบอร์กมีจุดเด่นที่การดำเนินเรื่องที่รวดเร็วและแสดงให้เราเห็นถึงการต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิตของกัลลี่อย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของความทรงจำในอดีตของกัลลี่นั้น ในภาคแรกจะไม่ค่อยได้รับการคลี่คลายหรือเฉลยปริศนามากเท่าไหร่นัก แต่จะมาเน้นค่อนข้างมากในภาค "Last Order" แทน อีกสิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นส่วนเด่นที่สุดของเพชฌฆาตไซบอร์กคือ การมีส่วนของเกร็ดความรู้ทางทฤษฏี เช่น ทฤษฏีทางจิตวิทยา ทฤษฏีทางฟิสิกส์ มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง ทำให้เพชฌฆาตไซบอร์กไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านความบันเทิง แต่ยังให้ในเรื่องของความรู้และความเข้าใจในการค้นหาความหมายของชีวิตอีกด้วย

เนื้อหาโดยละเอียดสามารถดูได้ที่ เพชฌฆาตไซบอร์ก ภาค Last Order

ภาพยนตร์[แก้]

เรื่อง เพชฌฆาตไซบอร์ก ได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ในชื่อเรื่องว่า อลิตา แบทเทิล แองเจิ้ล

ผลงานอื่น ๆ ของผู้เขียน[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]