ปลาตะเพียนจุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Barbodes binotatus)
ปลาตะเพียนจุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Barbodes
สปีชีส์: B.  binotatus
ชื่อทวินาม
Barbodes binotatus
(Valenciennes, 1842)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาตะเพียนน้ำตก
ชื่อพ้อง
  • Barbus binotatus Valenciennes, 1842
  • Capoeta binotata (Valenciennes, 1842)
  • Puntius binotatus (Valenciennes, 1842)
  • Systomus binotatus (Valenciennes, 1842)
  • Barbus maculatus Kuhl & van Hasselt, 1823 (ความกำกวม)
  • Barbus maculatus Valenciennes, 1842 (ความกำกวม)
  • Systomus maculatus (Valenciennes, 1842)
  • Barbus oresigenes Bleeker, 1849
  • Barbus blitonensis Bleeker, 1852
  • Barbus kusanensis Bleeker, 1852
  • Barbus polyspilos Bleeker, 1857
  • Systomus goniosoma Bleeker, 1860
  • Barbus goniosoma (Bleeker, 1860)
  • Barbus maculatus hagenii Popta, 1911
  • Puntius sibukensis Fowler, 1941

ปลาตะเพียนจุด [2](อังกฤษ: Spotted barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbodes binotatus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีรูปร่าง คือ ลำตัวแบนข้าง สันหลังโค้งเล็กน้อย หัวมีขนาดปานกลาง ปากแคบ มีหนวดยาว 2 คู่ โดยอยู่ที่จะงอยปาก 1 คู่ มุมปาก 1 คู่ ลำตัวมีสีเงินแวววาว มีจุดสีดำเป็นทรงกลมที่ครีบหลังและคอดหางแห่งละ 1 จุด

เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบทั่วไปได้ที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ตั้งแต่ พม่า, ไทย, มาเลเซีย ไปจนถึงอินโดนีเซีย

สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ง่ายบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ เช่น จังหวัดเชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, จันทบุรี, ตราด, ชุมพร, เกาะช้าง และเกาะสมุย เป็นต้น[2]

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตะไคร่น้ำและอินทรียสารตามโขดหินและพื้นน้ำ รวมทั้งแมลงน้ำขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ หรือ LC[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jenkins, A., Kullander, F.F. & Tan, H.H. 2009. Puntius binotatus. In: IUCN 2013. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 26 November 2013.
  2. 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 146. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]