วาฬฟิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Balaenoptera physalus)
วาฬฟิน
เกี่ยวกับเสียงนี้ เสียงร้องของวาฬฟิน
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นย่อย: Eutheria
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Mysticeti
วงศ์: Balaenopteridae
สกุล: Balaenoptera
สปีชีส์: B.  physalus
ชื่อทวินาม
Balaenoptera physalus
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย[2]
  • B. p. physalus (Linnaeus, 1758) – วาฬฟินเหนือ
  • B. p. quoyi (Fischer, 1829) – วาฬฟินใต้
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2]
  • Balaena physalus Linnaeus, 1758

วาฬฟิน (อังกฤษ: fin whale, finback whale,[2] common rorqual;[1] ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera physalus) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae)

วาฬฟินจัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองมาจากวาฬสีน้ำเงิน (B. musculus) ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 27 เมตร น้ำหนักมากกว่า 75 ตัน ขนาดลูกแรกเกิดยาว 6-6.5 เมตร มีลักษณะเด่น คือ สีด้านหลังสีดำ ด้านท้องสีขาวตัดกันชัดเจน มีซี่กรองอาหารจำนวน 240-480 แผง บนขากรรไกรบนแต่ละข้าง ร่องใต้คางมีจำนวน 50-100 ร่อง[3]

วาฬฟินพบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[4] และมีหลักฐานที่พบเพียงตัวอย่างเดียว เป็นซากโครงกระดูกขุดพบเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ที่หมู่บ้านวิจิตราธานี กิโลเมตรที่ 36 จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นซากโครงกระดูกที่มีขนาดตัวยาวประมาณ 22 เมตร ถูกฝังอยู่ในโคลนนานมากจนบางส่วนเป็นฟอสซิลแล้ว ประมาณจากช่วงอายุที่สามารถเกิดเป็นฟอสซิลได้อยู่ในราวเกือบ 1,000 ปี ส่วนหัวยาว 5 เมตร ซากถูกฝังอยู่ในพื้นที่ของโครงการวิจิตราธานี ซึ่งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จึงเชื่อแน่ว่าบริเวณนี้เคยเป็นแนวฝั่งทะเลมาก่อน และจะนำโครงกระดูกไปหาอายุโดยวิธีวิเคราะห์สารคาร์บอน 14 ต่อไป ปัจจุบันซากถูกเก็บรักษาไว้ที่โครงการวิจิตราธานี[3]

และพบอีกครั้งเป็นกรณีที่ยังมีชีวิต เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 ที่เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง วาฬฟินความยาว 10 เมตร ว่ายเข้ามาเกยตื้นบริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ในระดับน้ำที่มีความลึกเพียง 1 เมตรเท่านั้น ทำให้ต้องดิ้นรนนานกว่า 3 ชั่วโมง จนกระทั่งน้ำขึ้นในเวลาเที่ยงวันเดียวกัน จึงเป็นอิสระว่ายลงทะเลไปได้[5]

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Reilly, S.B., Bannister, J.L., Best, P.B., Brown, M., Brownell Jr., R.L., Butterworth, D.S., Clapham, P.J., Cooke, J., Donovan, G.P., Urbán, J. & Zerbini, A.N. (2008). Balaenoptera physalus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 7 October 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 จาก itis.gov
  3. 3.0 3.1 ปลาวาฬฟิน
  4. บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546
  5. "พบ'ปลาวาฬฟิน'เกยตื้นไทย จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2013-01-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Balaenoptera physalus ที่วิกิสปีชีส์