วาฬสีน้ำเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Balaenoptera musculus)
วาฬสีน้ำเงิน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ควอเทอนารี – ปัจจุบัน
[1][2]
วาฬสีน้ำเงินขนาดโตเต็มที่
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[4]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Mysticeti
วงศ์: Balaenopteridae
สกุล: Balaenoptera
สปีชีส์: B.  musculus
ชื่อทวินาม
Balaenoptera musculus
(Linnaeus, 1722)
ชนิดย่อย
  • B. m. brevicauda Ichihara, 1966
  • ?B. m. indica Blyth, 1859
  • B. m. intermedia Burmeister, 1871
  • B. m. musculus Linnaeus, 1758
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[5]
  • Sibbaldius sulfureus Cope, 1869
  • Balaena musculus Linnaeus, 1758

วาฬสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬสีน้ำเงินขนาดโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 30-34 เมตร แต่ถ้าขนาดเล็กจะมีความยาวน้อยกว่า 30 เมตร (วาฬสีน้ำเงินแคระ หรือ B. m. brevicauda) แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมีความยาว 60 เมตร ซึ่งเทียบได้กับความยาวของช้างในปัจจุบันจำนวนแปดเชือกมาต่อกันเรียงแถว(ช้างบางสายพันธุ์ในปัจจุบันสามารถยาวได้ถึง 7.4 เมตรหรือ 7.5 เมตร) น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100–200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเกือบเท่าช้างหนึ่งตัว หัวใจมีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง และเส้นเลือดบางเส้นกว้างขนาดที่มนุษย์พอจะลงไปว่ายน้ำได้ และครีบหางก็มีขนาดกว้างกว่าปีกของเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา มีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก[6]

อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกด้วย และแม้จะมีขนาดร่างกายใหญ่โต แต่วาฬสีน้ำเงินก็มีรูปร่างเพรียวยาวเหมาะแก่การว่ายน้ำ จึงสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 20 นอตต่อชั่วโมง[6]

ลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม

กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 150 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 30 กว่านาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 50 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 10 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยเคยกินวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตัน

วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 70 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราวเกิน 500,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 98 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1950 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง [7]

นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,500 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย

ปัจจุบัน มีปริมาณวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้อยู่ประมาณหนึ่งพันกว่าตัว (น้อยมาก) อีกทั้งมีหลักฐานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เปอร์เซนต่อปี แต่ยังไม่มีการประมาณจำนวนวาฬชนิดนี้ที่ดีพอในบริเวณอื่นของโลก [8]

อ้างอิง[แก้]

  • J. Calambokidis and G. Steiger (1998). Blue Whales. Voyageur Press. ISBN 0-89658-338-4.
  • "Blue Whale". American Cetacean Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2005-01-07.
  • "Blue whale, Balaenoptera musculus". MarineBio.org. สืบค้นเมื่อ 2006-04-21.
  • NOAA Fisheries, Office of Protected Resources Blue whale biology & status
  1. "Fossilworks Dataway". Fossilworks Gateway to Paleontology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-21. สืบค้นเมื่อ 2018-04-20.
  2. Deméré, Thomas A.; Berta, Annalisa; McGowen, Michael R. (June 2005). "The Taxonomic and Evolutionary History of Fossil and Modern Balaenopteroid Mysticetes" (PDF). Journal of Mammalian Evolution. 12 (1/2): 99–143. doi:10.1007/s10914-005-6944-3.
  3. ["จาก [[IUCN]] (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-02. จาก IUCN (อังกฤษ)]
  4. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  5. "Balaenoptera musculus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  6. 6.0 6.1 "อัศจรรย์โลกใต้น้ำ ตอนที่ 1". ช่อง 7. 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 3 January 2015.[ลิงก์เสีย]
  7. วาฬสีน้ำเงิน
  8. ""วาฬสีน้ำเงิน" เจ้าสมุทรที่ใกล้สูญพันธุ์". ผู้จัดการออนไลน์.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]