ปลาแค้ยักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bagarius yarrelli)
ปลาแค้ยักษ์
ปลาแค้ยักษ์ในประเทศอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Sisoridae
สกุล: Bagarius
สปีชีส์: B.  yarrelli
ชื่อทวินาม
Bagarius yarrelli
(Sykes, 1839)
ชื่อพ้อง[2]
  • Bagarius bagarius (Hamilton 1822)
  • Pimelodus bagarius Hamilton 1822
  • Bagarius yarrellii (Sykes 1839) [สะกดผิด]
  • Bagrus yarrelli Sykes 1839

ปลาแค้ยักษ์ (อังกฤษ: Goonch; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagarius yarrelli) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae)

รูปร่างลักษณะ[แก้]

มีรูปร่างคล้ายปลาแค้วัว (B. bagarius) ที่อยู่ในสกุลเดียวกันมากจนสังเกตได้ยาก ที่แตกต่างกันคือ ครีบท้องของปลาแค้ยักษ์จะอยู่เยื้องด้านท้ายของครีบหลัง สีสันก็คล้ายกันมาก แต่อาจมีสีน้ำตาลเข้มหรือคล้ำกว่าในปลาตัวเต็มวัย รวมทั้งมีกระตามผิวหนังมากกว่าด้วย เมื่อปลาโตยิ่งขึ้นยิ่งมีมากขึ้น มีขนาดประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร อาศัยอยู่ในสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำสาละวินจนถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้ แต่พบมากในแม่น้ำโขง เนื้อมีรสชาติดีและมีสีเหลืองอ่อนรวมถึงหนังและไขมัน ซึ่งต่างจากปลาแค้วัวซึ่งมีเนื้อสีขาว โดยทั้ง 2 ชนิด มักถูกปรุงเป็นอาหารด้วยวิธีเดียวกัน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ปลาแค้ยักษ์ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาแค้ควาย" หรือ "ปลาตุ๊กแก" เป็นต้น[3] [4]

ข้อสงสัยกรณีทำร้ายมนุษย์[แก้]

ปลาแค้ยักษ์ ในประเทศอินเดียและเนปาล ถูกต้องสงสัยว่าเป็นตัวการทำร้ายมนุษย์จนถึงแก่ชีวิต เนื่องจากมีเด็กวัยรุ่นลงเล่นน้ำในแม่น้ำ 2 รายแล้วถูกสัตว์ขนาดใหญ่บางอย่างฉุดกระชากลงไป จึงมีการสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นปลาชนิดนี้ โดยอาจจะเป็นปลาที่กินซากศพของมนุษย์ที่ถูกทิ้งน้ำแล้วติดใจก็เป็นได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่สงบนิ่งมาก และจะกินอาหารเฉพาะสัตว์น้ำด้วยกันเท่านั้น แต่ก็มีบางรายสันนิษฐานน่าจะเป็นปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) มากกว่า ซึ่งเรื่องราวนี้ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ชุด River Monsters ในช่องแอนิมอลแพลนเน็ตในชื่อตอน Killer Catfish ในปี ค.ศ. 2009[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ng, H.H. (2012). "Bagarius bagarius". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 22 January 2012.
  2. Sykes, W.H. 1839: On the fishes of the Deccan. Proceedings of the General Meetings for Scientific Business of the Zoological Society of London, 1838 (pt 6): 157-165.
  3. หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026
  4. หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5
  5. Corpse-Eating Mutant Fish Caught

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]