วงศ์ปลาหมอแคระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Badidae)
วงศ์ปลาหมอแคระ
ชนิด Badis badis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anabantiformes
วงศ์: Badidae
Kullander & Britz, 2002
สกุล

สำหรับปลาหมอแคระที่เป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสี ดูที่: ปลาหมอแคระ

วงศ์ปลาหมอแคระ (อังกฤษ: Chameleonfish) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Badidae

เดิมวงศ์นี้เคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Nandidae) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาต่างหาก เป็นปลาขนาดเล็กกระจายพันธุ์อยู่ทวีปเอเชียได้แก่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ มีความหลากหลายสูงสุดที่เอเชียใต้และประเทศพม่า โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกไกลสุด คือ ประเทศจีนทางตอนใต้และประเทศไทย

เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำสำคัญ ๆ ในภูมิภาคเหล่านี้ เช่น แม่น้ำคงคา, แม่น้ำพรหมบุตร, แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง และแม่น้ำแม่กลอง

แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Badis และ Dario 13 ชนิด ในสกุล Badis มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นปลาที่หากินแบบซุ่มรอเหยื่อด้วยการลอยตัวนิ่ง ๆ แล้วจึงฮุบ สามารถเปลี่ยนสีลำตัวไปตามอารมณ์และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และยังสามารถกลอกลูกตาไปมาได้ด้วยคล้ายกับกิ้งก่าคาเมเลี่ยน อันเป็นที่มาในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มีความยาวโดยเฉลี่ยเพียง 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นปลที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ในประเทศไทยพบ 3 ชนิดเท่านั้น คือ

โดยตัวผู้ในสกุล Badis มีความสวยงามทางสีสันและลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน มีพฤติกรรมดูแลและเลี้ยงลูกปลา นับตั้งแต่เริ่มผสมพันธุ์ด้วยการต้อนตัวเมียเข้าไปในผนังถ้ำหรือโพรงต่าง ๆ หรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ปลาตัวเมียจะวางไข่ติดกับผนังถ้ำ ไข่ใช้เวลา 3-4 วันในการฟักเป็นตัว ในระยะแรกลูกปลาจะยังว่ายน้ำไม่ได้และเกาะติดกับผนัง และอีก 3-4 วันในการที่ถุงไข่แดงจะยุบลงไป และออกว่ายน้ำในแนวขนานหากินเองได้ และพ่อปลาจะเลิกดูแลลูกในช่วงนี้[1] [2] [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Froese, R. & D. Pauly. Editors. 2008. FishBase. World Wide Web electronic publication. www.fishbase.org, version (04/2008).
  2. Kullander, S. O. & R. Britz. 2002. Revision of the family Badidae (Teleostei: Perciformes), with description of a new genus and ten new species. Ichthyological Exploration of Freshwaters, 13 (4) : 295-372.
  3. Vidthayanon, C. 2005. Thailand Red Data : Fishes. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Bangkok. 107 pp.33

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]