BYOD

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Bring Your Own Device (BYOD) (แปลตามอักษร: "นำอุปกรณ์ของคุณมาเอง") อธิบายถึงแนวโน้มทางเทคโนโลยี ที่พนักงานนำอุปกรณ์พกพาของตัวเองมาที่ที่ทำงาน และใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีการควบคุมการเข้าถึงของบริษัท เช่น อีเมล ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และฐานข้อมูล[1] บางคนใช้คำว่า Bring Your Own Technology (BYOT) เนื่องจากมันมีความหมายกว้างกว่า ไม่จำกัดอยู่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ด้วย[2] (เช่น เว็บเบราว์เซอร์, โปรแกรมเล่นสื่อ, แอนตี้ไวรัส, โปรแกรมประมวลคำ)

BYOD มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกธุรกิจที่ประมาณ 90% ของพนักงาน ใช้อุปกรณ์ของตัวเองอยู่แล้วในที่ทำงาน (แม้จะใช้อย่างจำกัดก็ตาม) ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถห้ามแนวโน้มดังกล่าวได้ บางคนเชื่อว่า BYOD อาจช่วยให้พนักงานมีผลิตภาพมากขึ้น[3]

หากปล่อยไว้โดยไม่บริหารจัดการ วิธีปฏิบัติดังกล่าวอาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูล[4] ตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานคนหนึ่งใช้สมาร์ตโฟนของเขาเพื่อเข้าถึงเครือข่ายของบริษัท และต่อมาทำโทรศัพท์ดังกล่าวหาย ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทที่เก็บอยู่ในโทรศัพท์ดังกล่าว ก็อาจจะถูกอ่านได้โดยคนที่ไม่อาจไว้ใจได้[5]

ประเด็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่ง ซึ่งตัดสินใจได้ยากในการบริหารจัดการ BYOD ก็คือการติดตามและควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายของบริษัทและเครือข่ายส่วนตัว

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tony Bradley (21 ธันวาคม 2011). "Pros and Cons of Bringing Your Own Device to Work". PCWorld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012.
  2. "BYOD: The Complete Guide". hysolate.com.
  3. Gina Smith (16 กุมภาพันธ์ 2012). "10 myths of BYOD in the enterprise". TechRepublic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012.
  4. Brian Bergstein (21 พฤษภาคม 2012). "IBM Faces the Perils of "Bring Your Own Device"". Technology Review. MIT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2012.
  5. Paul Rubens (9 เมษายน 2012). "4 Steps to Securing Mobile Devices and Apps in the Workplace". eSecurity Planet.