อะโทรพีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Atropine)
อะโทรพีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าAtropen
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682487
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาOral, IV, IM, rectal
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล25%
การเปลี่ยนแปลงยา50% hydrolysed to tropine and tropic acid
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ2 hours
การขับออก50% excreted unchanged in urine
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-(8-methyl-8-azabicyclo[3.2.1]oct-3-yl) 3-hydroxy-2-phenylpropanoate
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.096
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC17H23NO3
มวลต่อโมล289.369 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • CN3[C@H]1CC[C@@H]3C[C@@H](C1)OC(=O)C(CO)c2ccccc2
  • InChI=1S/C17H23NO3/c1-18-13-7-8-14(18)10-15(9-13)21-17(20)16(11-19)12-5-3-2-4-6-12/h2-6,13-16,19H,7-11H2,1H3/t13-,14+,15+,16? checkY
  • Key:RKUNBYITZUJHSG-SPUOUPEWSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

อะโทรพีน (Atropine) เป็นสารธรรมชาติชนิด tropane alkaloid สกัดจาก Atropa belladonna, Datura stramonium, Mandragora officinarum และพืชอื่นๆ ในวงศ์มะเขือ เป็น secondary metabolite ของพืชเหล่านี้ และมีประโยชน์เป็นยาที่มีฤทธิ์สำคัญหลายอย่าง สารนี้เป็น competitive antagonist ของ muscarinic acetylcholine receptor ชนิด M1, M2, M3, M4 และ M5 จัดเป็นยาต้านโคลีเนอร์จิก (พาราซิมพาโธไลติก) ชื่อสปีชีส์พืช "belladonna" มาจากที่ใช้ดั้งเดิมของสารนี้ซึ่งใช้ในการแต้มตาให้สตรีมีรูม่านตาโตดูสวยงาม ยานี้เป็นยาหลักในรายการบัญชียาสำคัญขององค์การอนามัยโลก

ฤทธิ์ทางสรีรวิทยาและที่ใช้[แก้]

ในการกู้ชีพ[แก้]

อะโทรพีนแบบฉีดมีบทบาทในการรักษาภาวะหัวใจเต้นช้า โดยยับยั้งการทำงานของเส้นประสาทเวกัสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทพาราซิมพาเธติกของหัวใจที่มีหน้าที่ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ดังนั้นอะโทรพีนจึงมีฤทธิ์ทำให้หัใจเต้นเร็วขึ้น ในแนวทางปฏิบัติเดิมนั้นมีการบรรจุอะโทรพีนเอาไว้ในแนวทางการช่วยกู้ชีพสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นชนิดที่ไม่มีคลื่นไฟฟ้าและชนิดที่มีคลื่นไฟฟ้าแต่ไม่มีการเต้นของหัวใจ แต่เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่พบว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนจึงถูกถอดออกจากแนวทางปฏิบัติฉบับปี 2010