ศิลปะสมถะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Arte Povera)

ศิลปะสมถะ[1] (อังกฤษ: Arte Povera) เป็นลักษณะงานศิลปะของศิลปะสมัยใหม่ คำว่า “Arte Povera” หรือ “ศิลปะสมถะ” เป็นคำที่เริ่มใช้กันขึ้นในอิตาลีในช่วงของความไม่สงบเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อศิลปินเริ่มที่จะมีถือคติรุนแรงทางการเมือง ศิลปินเริ่มโจมตีคุณค่าของสถาบันทางการของรัฐบาล, อุตสาหกรรม และวัฒนธรรม หรือแม้แต่ตั้งข้อกังขาที่เป็นการแสดงออกของแต่ละบุคคลนั้นจะเป็นสิ่งที่มีเหตุผลทางจริยธรรมที่จะดำรงอยู่หรือไม่ นักวิพากษ์ศิลป์เจอร์มาโน เชลันท์จัดงานแสดงศิลปะสองครั้งในปี ค.ศ. 1967 และ ค.ศ. 1968 ตามด้วยหนังสืออันมีอิทธิพลชื่อ “Arte Povera” เพื่อเป็นเผยแพร่ความคิดของศิลปะปฏิรูป ที่แยกตัวจากกรอบประเพณีนิยมและมีพลังของโครงสร้าง และ ตลาดของศิลปะ แม้ว่าเชลันท์จะพยายามใช้ความหมายขององค์ประกอบของศิลปะดังกล่าวในการครอบคลุมศิลปะจากทั่วโลก แต่อันที่จริงแล้วเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอยู่แต่กับศิลปินชาวอิตาลีผู้โจมตีปรัชญาบรรษัทโดยการแสดงออกทางศิลปะที่ใช้วัสดุและลักษณะงานที่นอกกรอบของสิ่งที่เคยใช้และเคยสร้างกันมา

งานศิลปะแบบต่างๆ ที่มีตั้งแสดงให้ชมมากที่สุดของขบวนการศิลปะสมถะอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะลิกเตนสไตน์

Artists[แก้]

มิเคลอันเจโล พิสโตเลตโตเริ่มงานเขียนบนกระจกในปี ค.ศ. 1962 ที่เป็นงานศิลปะที่เชื่อมงานเขียนกับความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 พิสโตเลตโตก็เริ่มใช้เศษผ้าและประติมากรรมคลาสสิกที่พบทั่วไปในอิตาลีในการสร้างงานทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทลายความแตกต่างของอันดับชั้นของศิลปะและสิ่งของที่หาได้ทั่วไป การใช้วัสดุที่ถูกทิ้งขว้างก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสร้างงานศิลปะสมถะ ในงาน “Muretto di straci” (ไทย: ผนังผ้าขี้ริ้ว) ที่สร้างในปี ค.ศ. 1967 พิสโตเลตโตสร้างพรมแขวนผนังอันงดงามแปลกตาจากอิฐธรรมดาที่ห่อด้วยเศษผ้าที่ทิ้งแล้ว

ศิลปินเช่นยานิส คูเนลลิส และ มาริโอ เมิร์ซพยายามที่จะให้งานศิลปะเป็นสิ่งที่ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น และแสดงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างตัวบุคคลกับธรรมชาติ

ศิลปิน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-27.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะสมถะ