หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Anterior cerebral artery)
หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล
(Anterior cerebral artery)
ผิวนอกของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ แสดงบริเวณต่างๆ ที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงซีรีบรัล สีฟ้าแสดงบริเวณที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ ซีรีบรัล
วงกลมของวิลลิส (circle of Willis) และหลอดเลือดแดงของสมอง หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล (ด้านบนของภาพ) ออกมาจากทางแยกสามทางของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid) ซึ่งแยกเป็นหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล, หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล และ หลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ซีรีบรัลในแต่ละข้าง
รายละเอียด
จากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำซีรีบรัล (cerebral veins)
เลี้ยงซีรีบรัม
ตัวระบุ
ภาษาละตินarteria cerebri anterior
MeSHD020771
TA98A12.2.07.022
TA24502
FMA50028
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล ให้ออกซิเจนเลี้ยงส่วนใหญ่ของส่วนกลางของสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้างส่วนซุพีเรียร์ มีเดียล (superior medial parietal lobes) เป็นแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลคาโรติด (internal carotid artery) และเป็นส่วนหนึ่งของวงกลมของวิลลิส (Circle of Willis)

หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลข้างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันด้วยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์คอมมิวนิเคติง (anterior communicating artery)

บริเวณที่หลอดเลือดนี้เลี้ยง[แก้]

บริเวณที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลได้แก่

  1. ผิวส่วนใกล้ลำตัว (medial surface) ของสมองกลีบหน้า โดยหลอดเลือดแดงมีเดียลออร์บิโต-ฟรอนทัล (medial orbito-frontal artery) และสมองกลีบข้าง
  2. ด้านหน้าสี่ในห้าส่วนของคอร์ปัส คาโลซัม (corpus callosum)
  3. ประมาณ 1 นิ้วของคอร์เท็กซ์ส่วนด้านหน้าและข้างศีรษะ (frontal and parietal cortex)
  4. ส่วนด้านหน้าของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) และอินเทอร์นัลแคปซูล (internal capsule)

การอุดตัน[แก้]

การอุดตันของหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัลทำให้เกิดผลดังนี้

  1. อัมพาตของเท้าและขาด้านตรงข้าม
  2. สูญเสียความรู้สึกของเท้าและขาด้านตรงข้าม
  3. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับการทำลายทั้งสองข้าง (bilateral damage)

ภาพอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]