สับปะรด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ananas comosus)
สับปะรด
สับปะรดเป็นพืชที่นิยมปลูกทั่วประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
หมวด: พืชดอก (Magnoliophyta)
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ชั้น: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Liliopsida)
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Bromeliaceae
วงศ์ย่อย: Bromelioideae
สกุล: Ananas
สปีชีส์: A.  comosus
ชื่อทวินาม
Ananas comosus
(L.) Merr.
ชื่อพ้อง

Ananas sativus

สับปะรด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80–100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล

เป็นผลไม้เขตร้อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสามของโลก โดยรัฐฮาวายเป็นแหล่งเพาะปลูกสับปะรดที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 2016 คอสตาริกา, บราซิล และฟิลิปปินส์มีสัดส่วนการผลิตสับปะรดเกือบ 1 ใน 3 ของโลก[1]

แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไป เช่น[2]

  • ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรดแจน"
  • ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด"
  • ภาคเหนือ เรียกว่า "บะนัด, บะจะแจนนัด, บ่อนัด"
  • ภาคใต้ เรียกว่า ", สัปรด,ย่านัด, หย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง, มะลิ" (โดย ย่านัด หรือ หย่านัด มีที่มาจากภาษาโปรตุเกส: Ananás)[3]

ลักษณะของสับปะรด[แก้]

รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90–100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน

ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้ด้วย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม[แก้]

สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9–29.4 ℃ ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000–1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง

สับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน, ดินร่วนปนทราย, ดินปนลูกรัง, ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5–5.5 แต่ไม่เกิน 6.0

ฤดูกาลของสับปะรด[แก้]

แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย[แก้]

ไร่สับปะรด

เนื่องจากความทนทาน ทำให้ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเล ได้แก่

พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย[แก้]

  • พันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา นิยมปลูกทั่วไป ผลใหญ่ ฉ่ำน้ำ เนื้อสีเหลืองอ่อน
  • พันธุ์อินทรชิต (Singapore Spanish) เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
  • พันธุ์ขาว (Selangor Green) ลักษณะคือด้านบนมีหลายจุก ใบสั้นแคบและชิดกันมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เนื้อสับปะรดมีรสชาติหวานไม่มาก
  • พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี (Mauritius Pine, Ceylon, Malacca Queen) นิยมปลูกทางภาคใต้ ใบมีแถบสีแดงที่ตอนกลางใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเล็กเปลือกหนาเนื้อสีเหลืองเข้ม หวานกรอบ
  • พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง นิยมปลูกในจังหวัดเชียงราย ผลกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม รสหวานจัด
  • พันธุ์ตราดสีทอง จุดสังเกตของพันธุ์นี้คือลักษณะของผลที่มีสีเหลืองคล้ายสีทองสวยงามน่ากิน รสชาติมีความหวานกรอบตลอดทั้งผล
  • พันธุ์ภูแล ลักษณะเด่นคือผลมีขนาดเล็กและสามารถทานได้ทั้งผล
  • พันธุ์ห้วยมุ่น
  • พันธุ์เพชรบุรี ผลย่อยติดกันไม่แน่น แกะออกมารับประทานได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก แกนผลรับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว [4]

สรรพคุณ[แก้]

สับปะรดสด
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน202 กิโลจูล (48 กิโลแคลอรี)
12.63 g
น้ำตาล9.26 g
ใยอาหาร1.4 g
0.12 g
0.54 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.079 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.031 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(3%)
0.489 มก.
(4%)
0.205 มก.
วิตามินบี6
(8%)
0.110 มก.
โฟเลต (บี9)
(4%)
15 μg
วิตามินซี
(44%)
36.2 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
13 มก.
เหล็ก
(2%)
0.28 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
12 มก.
ฟอสฟอรัส
(1%)
8 มก.
โพแทสเซียม
(2%)
115 มก.
สังกะสี
(1%)
0.10 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

สรรพคุณทางสารเคมี[แก้]

มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีเลน (bromelain) ช่วยการย่อยในระบบทางเดินอาหาร มีเกลือแร่, วิตามินซีจำนวนมาก และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ และนำไปใช้ในการผลิตเบียร์เพื่อป้องกันการตกตะกอนทำให้เบียร์ไม่ขุ่น[5]

สรรพคุณทางสมุนไพร[แก้]

  • ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ
  • แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก
  • บรรเทาอาการโรคบิด
  • ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
  • แก้ท้องผูก
  • เป็นยาแก้โรคนิ่ว
  • แก้ส้นเท้าแตก
  • ส่วนของรากสับปะรด นำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้[6]
  • ช่วยในการฆ่าตัวอ่อนของหนอนแมลงวันได้นะค่ะ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pineapple production in 2016, Crops/Regions/World list/Production Quantity (pick lists)". UN Food and Agriculture Organization, Corporate Statistical Database (FAOSTAT). 2017. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
  2. "สับปะรด". tungsong.com.
  3. "คิดต่างระหว่างบรรทัด 29 10 58". ฟ้าวันใหม่. 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  4. สับปะรด” สุดยอดผลไม้ ที่ให้ประโยชน์ทั้งแง่เศรษฐกิจและสุขภาพ สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  5. "รายงานการศึกษาดูงาน ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สัปปะรด" (PDF). สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016.
  6. "สับปะรด สรรพคุณและประโยชน์ของสับปะรด 32 ข้อ !". greenerald.com.