แอรอน แรมซีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Aaron Ramsey)
แอรอน แรมซีย์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม แอรอน เจมส์ แรมซีย์[1]
วันเกิด (1990-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี)[2]
สถานที่เกิด แคร์ฟิลลี เวลส์
ส่วนสูง 5 ft 10 in (1.78 m)[3]
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
คาร์ดิฟฟ์ซิตี
หมายเลข 10
สโมสรเยาวชน
1999–2006 คาร์ดิฟฟ์ซิตี
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2006–2008 คาร์ดิฟฟ์ซิตี 16 (1)
2008–2019 อาร์เซนอล 262 (40)
2010–2011นอตทิงแฮมฟอเรสต์ (ยืมตัว) 5 (0)
2011คาร์ดิฟฟ์ซิตี (ยืมตัว) 6 (1)
2019–2022 ยูเวนตุส 49 (5)
2022เรนเจอส์ (ยืมตัว) 7 (2)
2022–2023 โอเฌเซ นิส 27 (1)
2023– คาร์ดิฟฟ์ซิตี 8 (3)
ทีมชาติ
2005–2008 เวลส์ อายุไม่เกิน 17 ปี 15 (2)
2007–2009 เวลส์ อายุไม่เกิน 21 ปี 12 (2)
2008– เวลส์ 84 (21)
2012 บริเตนใหญ่ 5 (1)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2024
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 16 กันยายน 2023

แอรอน เจมส์ แรมซีย์ (อังกฤษ: Aaron James Ramsey; เกิด 26 ธันวาคม ค.ศ. 1990) เป็นนักฟุตบอลชาวเวลส์ ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางให้กับคาร์ดิฟฟ์ซิตีสโมสรในอีเอฟแอลแชมเปียนชิปและทีมชาติเวลส์

แรมซีย์เล่นกับคาร์ดิฟฟ์ซิตีตั้งแต่เรียนอยู่ที่โรงเรียน โดยอยู่ในทีมฟุตบอลเยาวชน 8 ปีก่อนที่จะลงแข่งในทีมรุ่นใหญ่ 16 ครั้ง แรมซีย์ย้ายมาอยู่กับอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 2008 หลังจากนั้นก็ต้องหยุดชะงักไปเมื่อขาหักจากในนัดที่แข่งกับสโตกซิตี โดยไรอัน ชอว์ครอส ได้ทำแรมซีย์ขาหักในฤดูกาลปี ค.ศ. 2010 หลังจากแรมซีย์พักฟื้นและได้เล่นในทีมสำรองของอาร์เซนอล จากนั้นแรมซีย์ได้ถูกยืมตัวไปยังนอตทิงแฮมฟอเรสต์ จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 และถูกยืมตัวไปเล่นให้กับสโมสรแรก คือ คาร์ดิฟฟ์ซิตี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ก่อนที่จะย้ายกลับมาอาร์เซนอลอีกครั้ง

ในฤดูกาล 2013-14 แรมซีย์กลับมาเล่นได้อย่างโดดเด่นอีกครั้ง ยิงต่อเนื่องถึง 13 ประตู ใน 19 นัดหลังสุด และในนัดที่เจอคาร์ดิฟฟ์ แรมซีย์ยิงอีก 2 ประตู แต่ให้เกียรติทีมเก่าโดยไม่แสดงอาการดีใจหลังจากการทำประตู โดยในฤดูกาลนี้ถือว่าแรมซีย์เป็นผู้เล่นที่โดดเด่นที่สุดของอาร์เซนอลก็ว่าได้ [4]

จากนั้นในช่วงเปิดกล่องของขวัญ แรมซีย์ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ต้องหยุดพักยาวนานกว่า 3 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทีมเป็นอย่างมาก จนกลับมาสู่ทีมในฐานะตัวสำรองได้อีกครั้งในนัดที่อาร์เซนอลไปเยือนเอฟเวอร์ตัน และเป็นฝ่ายแพ้ไป 0-3 [5]และได้ลงเป็นตัวจริงในเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ ที่อาร์เซนอลเป็นฝ่ายเอาชนะจุดโทษ วีแกน ซึ่งเป็นแชมป์เก่าไป 2-4 โดยในเกม 120 นาทีทั้งคู่เสมอกัน 1-1 โดยแรมซีย์ถูกเปลี่ยนตัวออกในช่วงเวลาพิเศษนาทีที่ 113 และเป็นคิม คัลสตอร์ม ที่ถูกเปลี่ยนตัวมาแทนที่ [6]

ในนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ กับ ฮัลล์ซิตี แรมซีย์เป็นผู้ยิงประตูให้กับอาร์เซนอลในนาทีที่ 109 ซึ่งเป็นช่วงเวลาพิเศษ หลังจากที่ทั้งคู่เสมอกัน 2-2 ทำให้อาร์เซนอลเป็นฝ่ายชนะไป 3-2 และยังถูกยกให้เป็นแมนออฟเดอะแมตช์ ทำให้อาร์เซนอลได้แชมป์เอฟเอคัพไปเป็นสมัยที่ 11 นับว่ามากที่สุดเทียบเท่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และถือว่าแชมป์รายการแรกของสโมสรด้วยในรอบ 9 ปี [7]

ในระดับทีมชาติ ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เวลส์ผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย และนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 60 ปีผ่านเข้ามาเล่นในรายการฟุตบอลระดับโลกรอบสุดท้ายเช่นนี้ เวลส์แม้จะเป็นเพียงทีมที่ถูกมองว่าเป็นรองหลาย ๆ ทีม แต่กลับสร้างผลงานได้อย่างดีเยี่ยม จนกระทั่งผ่านเข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศ โดยเฉพาะการเล่นของแรมซีย์ที่ได้รับคำชมว่าเล่นได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งจ่ายและยิงประตูเอง แม้ว่าในรอบรองชนะเลิศแรมซีย์จะไม่สามารถลงเล่นได้ก็ตามเพราะติดโทษห้ามลงแข่งขันจากการได้ใบเหลืองจากรอบ 8 ทีมสุดท้ายก่อนหน้านั้น[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Updated squads for 2017/18 Premier League confirmed". Premier League. 2 February 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  2. "แอรอน แรมซีย์". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2018.
  3. "Aaron Ramsey: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
  4. "บิลิชยกแรมซี่ย์ตัวอันตรายของปืนใหญ่". สยามสปอร์ต. 18 August 2014.
  5. "Everton 3-0 Arsenal". BBC. 6 April 2014. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  6. "Wigan 1-1 Arsenal". BBC. 12 April 2014.
  7. Report "Aaron Ramsey steers Arsenal to victory in epic FA Cup Final". fifa. 19 May 2014. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  8. หน้า 21 ต่อจากหน้า 1, กล้าที่จะฝัน โดย โต้ บ้านแหลม. "ลุ้นแชมป์ยูโร 2016". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21349: วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แรม 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]