ไอเมด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอเมด
นักพัฒนาบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคัล ซอฟต์แวร์ จำกัด
รุ่นเสถียร
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์, ลินุกซ์
ประเภทแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์
สัญญาอนุญาตOpen License
เว็บไซต์[1]

ไอเมด (iMed) คือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันสำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในระบบงานส่วนหน้า (Front office) ของสถานพยาบาล ซึ่งครอบคลุมการให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้งาน และพัฒนาคุณภาพในการให้บริการผู้ป่วย ไอเมดถูกออกแบบและพัฒนาโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคัล ซอฟต์แวร์ จำกัด ซึ่งเป็นทีมพัฒนาเดิมของทีมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก Hospital OS ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) โดยได้รับการยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางกว่า 60 สถานพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อขยายขอบเขตในการตอบสนองความต้องการของสถานพยาบาลทุกขนาด ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรมไอเมดขึ้น โดยมีจุดเด่นในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน และยังคงแนวคิดของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ลิขสิทธิ์แบบเปิดไว้ (Technology Transfer and Open Source Concept) พร้อมทั้งให้ source code ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์อย่างสูงในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระยะยาว

คุณลักษณะของโปรแกรม[แก้]

  • เป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ สามารถใช้งานผ่านเบราว์เซอร์
  • สามารถตั้งเวลาเพื่อสำรองข้อมูล
  • มีระบบระบุตัวผู้ป่วยด้วยลายนิ้วมือและรูปภาพ
  • มีระบบสแกนเอกสารทางการแพทย์
  • มีระบบตรวจสอบย้อนหลัง ประวัติของการบันทึก แก้ไข ประวัติการรักษา (Tracking)

แผนการติดตั้งระบบโดยทั่วไป[แก้]

การติดตั้งระบบโดยทั่วไป ประกอบด้วย ขั้นตอนดังนี้

  1. การวิเคราะห์ระบบ และการปรับแก้ตามความต้องการ (System analysis and customization)
  2. การนำเข้าข้อมูลจากระบบเก่าเข้าสู่ iMed (Database preparation)
  3. การอบรมผู้ใช้งาน (Training)
  4. การเตรียมการติดตั้งก่อนเริ่มใช้งานระบบ (Pre go-live)
  5. เริ่มใช้งานระบบ (Go-live)
  6. การส่งมอบงานหลังเริ่มใช้งานระบบและให้การสนับสนุน (Post go-live & Support)

ทั้งนี้ ระยะเวลาและวิธีการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับรายละเอียดของงานในแต่ละ สถานพยาบาลที่จะติดตั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]